
การตรวจสุขภาพภายในช่องปากและฟันทุกๆ 6 เดือนเป็นเรื่องทั่วไปสำหรับทุกคนที่ไม่ต้องมีความกังวลใดๆ แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพหรือโรคประจำตัวแล้วทันตแพทย์ต้องซักถามรายละเอียดเกี่ยวกับโรคและยาที่ได้รับเพื่อให้การดูแลเป็นพิเศษ บทความนี้จึงเป็นบทความเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากให้ปลอดภัยโดย ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านผู้สูงอายุ จาก คลินิกทันตกรรมสตาร์เด็นท์ ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) ได้มาให้ข้อมูลสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว และข้อจำกัดของผู้ป่วยที่ต้องมีความระมัดระวังเรื่องการดูแลสุขภาพฟันและช่องปากเป็นพิเศษ ได้แก่
- โรคในกลุ่มผู้มีภาวะสมองเสื่อม เช่น Alzheimer's disease, Parkinson disease, etc.
- โรคไต (Chronic kidney disease)
- เบาหวาน (Diabetes)
- ความดันโลหิตสูง (High blood pressure)
- โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)
- โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis (including treatments))
- ผู้ป่วยได้รับรังสีรักษา (Radiation therapies)
- กลุ่มอาการของโรคที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดภูมิต่อต้านเนื้อเยื่อตนเอง(Sjoegren Disease)
- ภาวะปากแห้ง (Xerostomia)
- Human Immunodeficiency Virus or HIV
- ผู้สูงอายุ (Elderly)
- ผู้มีข้อจำกัดทางร่างกาย เช่น ผู้พิการ ผู้มีปัญหาในการเคลื่อนไหวของร่างกาย เป็นต้น
ซึ่งเหตุผลที่ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพราะ
- กลุ่มโรคบางโรคทำให้ผู้ป่วยมีข้อจำกัดทางด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย มีผลต่อประสิทธิภาพในการแปรงฟันและการดูแลสุขภาพในช่องปากด้อยลง
- ภาวะของโรค ณ ช่วงเวลาต่างๆ อาจเป็นข้อจำกัดในการทำงานทันตกรรมด้วย ซึ่งทันตแพทย์ต้องให้ความระมัดระวังในการรักษาเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
- ภาวะของโรคที่รุนแรงหรือเรื้อรัง อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้ป่วย และมีผลทางอ้อมต่อการให้ความสำคัญในการดูแลช่องปาก ทำให้ไม่สนใจดูแลตัวเอง มีโอกาสการติดเชื้อสูงขึ้น หรือทำให้กระบวนการลุกลามของโรคภายในช่องปากเร็วขึ้นกว่าปกติ
เพื่อให้การรักษามีความปลอดภัย ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ผู้ที่มีข้อจำกัดด้านการเคลื่อนไหว และผู้ที่ทานอาหารเสริมต่างๆ ควรให้ข้อมูลรายละเอียดแก่ทันตแพทย์ก่อนการรักษาทางทันตกรรม และเป็นข้อมูลที่ถูกต้องไม่ปิดบัง ทั้งโรคประจำตัวและยาที่ใช้ประจำ การแพ้ต่างๆ (ยา อาหาร สารต่างๆ) และอาหารเสริม เป็นต้น และ ภายหลังการเข้าพบทันตแพทย์แล้ว อาจจะมีการสอบถามเพิ่มเติมในบางกรณี
และสำหรับบุคคลทั่วไป ทันตแพทย์ยังได้ให้ข้อสังเกต สัญญาณเตือนสำหรับปัญหาสุขภาพในช่องปากแบบไหนที่ควรมาพบแพทย์ เช่น
- เสียวฟันมาก อาจเกิดจากฟันผุที่ลึกใกล้ทะลุโพรงประสาทฟัน ฟันสึก ฟันร้าว ฟันแตกจากการเคี้ยวอาหารที่แข็งเกินไป แปรงฟันแรงเกินไปหรือนอนกัดฟัน
- เหงือกบวมหลายตำแหน่ง แบบเป็นๆหายๆ หรือมีฟันโยกร่วมด้วย
- เลือดออกเวลาแปรงฟัน
- มีกลิ่นปากตลอดเวลาหรือหลังรับประทานอาหาร
- ไหมขัดฟันรุ่ย ขาด หรือมีกลิ่นเหม็นเวลาทำความสะอาดซอกฟัน
- ปวดข้อต่อขากรรไกร หรือมีเสียงดังข้างหูเวลาอ้าปากหุบปาก
- นอนกัดฟัน
ปัญหาทางทันตกรรมโดยส่วนใหญ่ไม่มีแสดงอาการเตือนที่ชัดเจน ทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบว่าควรเข้ารับการรักษาทางทันตกรรมเมื่อใด การตรวจสุขภาพช่องปากทุก 6 เดือนโดยทันตแพทย์ จึงเป็นคำแนะนำที่สำคัญ เพื่อค้นหารอยโรคและทำการรักษาตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นซึ่งรักษาง่ายและมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการรักษาโรคที่ลุกลามแล้ว นอกจากนี้ผู้ป่วยยังจะได้รับการแนะนำวิธีปฏิบัติและดูแลสุขภาพช่องปากและฟันที่ถูกต้องเพื่อเป็นการป้องกันก่อนที่จะเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา