DMT ปักธงรายได้ปี 67 เติบโต 10% ท่องเที่ยวบูมหนุน ปริมาณจราจรแตะ 116,000 คันต่อวัน เดินหน้า 7 กลยุทธ์ - ลุยประมูลงานใหม่ ดันอนาคตโตยั่งยืน

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 14, 2024 10:47 —ThaiPR.net

DMT ปักธงรายได้ปี 67 เติบโต 10% ท่องเที่ยวบูมหนุน ปริมาณจราจรแตะ 116,000 คันต่อวัน เดินหน้า 7 กลยุทธ์ - ลุยประมูลงานใหม่ ดันอนาคตโตยั่งยืน

บมจ.ทางยกระดับดอนเมือง (DMT) ตั้งเป้ารายได้ปีมังกรทองเติบโต 10% รับผลดีจากปริมาณการจราจรคึกคักจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว คาดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 116,000 คันต่อวัน พร้อมเปิด 7 กลยุทธ์สร้างการเติบโตทางธุรกิจที่ยั่งยืน งบลงทุนกว่า 167 ล้านบาทในการพัฒนาด้านเทคโนโลยี และเพิ่มประสิทธิภาพทางยกระดับ เตรียมความพร้อมลุยประมูลงาน M5, M82, M9, M7 และทางพิเศษสายกะทู้ - ป่าตองจังหวัดภูเก็ต สนับสนุนผลงานเติบโตอย่างมั่นคง

ดร.ศักดิ์ดา พรรณไวย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) หรือ DMT เปิดเผยว่า แผนธุรกิจในปี 2567 บริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้เติบโตประมาณ 10% จากปีก่อน ตามคาดการณ์ปริมาณการจราจรเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 116,000 คันต่อวัน จากปี 2566 เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 106,907 คันต่อวัน และจากการติดตามแนวโน้มปริมาณจราจรบนทางยกระดับดอนเมือง พบว่า ในไตรมาสที่ 4/2566 มีปริมาณจราจรเฉลี่ยต่อวันสูงสุดในรอบ 3 ปี ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดโควิด-19 เฉลี่ยไตรมาส 4/2566 อยู่ที่ 110,336 คันต่อวัน ซึ่งแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นนี้เกิดหลังภาวะการแพร่ระบาดโควิด-19 คลี่คลาย อยู่ในช่วงที่ภาคธุรกิจกำลังฟื้นฟู ทำให้มีกิจกรรมการเดินทางเพิ่มสูงขึ้นเพื่อปรับตัวให้กลับไปใกล้เคียงช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 และรัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวที่ชัดเจน เช่น มาตรการฟรีวีซ่าเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจีน จำนวน 8.5 ล้านคนในปีนี้ รวมทั้งคาดว่าภาพรวมการท่องเที่ยวของไทยปี 2567 จะฟื้นตัวขึ้นมาอยู่ในระดับเดียวกับก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งเคยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทย 38 ล้านคน

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้วางกลยุทธ์เพื่อดำเนินการตามแผนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน 2567-2571 ภายใต้งบประมาณปี 2567 ใน 7 ด้าน ได้แก่

  • กลยุทธ์ Safer Road Traffic Management/Maintenance เป็นกลยุทธ์เพื่อความยั่งยืนระยะยาว ที่ประกอบด้วยโครงการและงานประจำในการขับเคลื่อน เช่น โครงการพัฒนาเทคโนโลยีการชำระเงิน งานซ่อมบำรุงรักษาทางยกระดับ งานกู้ภัยและจัดการจราจร งานควบคุมการจราจร และพัฒนาระบบ Smart Traffic Management เป็นต้น เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กรที่มีการปรับเปลี่ยนตามบริบทองค์กร และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ คือ "เป็นบริษัทฯ ประกอบกิจการในระบบคมนาคม ขนส่ง และกิจการอื่นๆ ด้วยระบบบริหารที่มีประสิทธิภาพ ล้ำสมัย อย่างยั่งยืน"
  • กลยุทธ์ Inclusive Growth เป็นกลยุทธ์ที่สร้างความเข้มแข็งขององค์กรในด้านการบริหารการจัดการต้นทุนการดำเนินงาน ทั้งในด้านต้นทุนการบริการและต้นทุนทางการเงิน เพื่อสร้างโอกาสในการแข่งขัน และดึงดูดพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อต่อยอดไปยังโครงการทางด่วนใหม่ๆ และเติบโตไปด้วยกัน รวมทั้งเป็นการพัฒนาธุรกิจเพื่อส่งเสริมธุรกิจที่บริษัทฯ มีความเชี่ยวชาญ เพื่อความยั่งยืนและต่อเนื่องของธุรกิจ
  • กลยุทธ์สร้างแหล่งรายได้อื่น New Business Venture บริษัทฯ มีนโยบายในการเพิ่มธุรกิจแสวงหาธุรกิจใหม่ เพื่อการขับเคลื่อนการเติบโตของบริษัทฯ ซึ่งมีโครงสร้างกลุ่มงานธุรกิจใหม่ (New Business Venture) โดยมีเป้าหมายสร้างธุรกิจแหล่งรายได้อื่นเพิ่มเติมจากธุรกิจในปัจจุบัน ซึ่งปีที่ผ่านมา DMT ได้เปิดตัวบริษัทย่อย 1 บริษัท คือ บริษัท เอ สยาม อินฟรา จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจ ตรวจสอบและซ่อมบำรุงด้านงานวิศวกรรมโยธา และยังคงมีเป้าหมายการขยายกิจการกลุ่ม New Business ต่อเนื่อง
  • กลยุทธ์ความยั่งยืน ESG in Process (Environment Social Governance in Process) นับเป็นกลยุทธ์แกนกลางเชื่อมโยงกลยุทธ์ธุรกิจทั้งหมด ซึ่งมิติด้านสิ่งแวดล้อม (E) สังคม (S) และการกำกับดูแล (G) ถูกผสมผสานและผนึกเข้ากับกระบวนการดำเนินงานของบริษัทฯ ในทุกกิจกรรม มุ่งเน้นการมอบคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม 3Rs Projects (Waste, Energy, Water, Paper) โดยมีเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก 30-40% เทียบจากกรณีฐาน ภายในปี ค.ศ.2030
  • กลยุทธ์ HPO & Smart Working Place ในการพัฒนาศักยภาพองค์กรให้มีความสามารถในการแข่งขันในอนาคต และรองรับความเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านบุคลากร และเทคโนโลยี ซึ่งกลยุทธ์นี้ เป็นการวางแผนระยะสั้นและระยะยาวให้บริษัทฯ สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง เช่น โดยการเข้าสู่การได้รับรองมาตรฐาน ISO/IEC27001 และ TQA การวางแผนรองรับวิกฤตและโอกาสในอนาคต การพัฒนาศักยภาพบุคลากร และโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตพนักงาน เป็นต้น
  • กลยุทธ์ Relationship/Partnership/Synergy Development เป็นกลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย โดยมีแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กรกับผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ จากการวิเคราะห์และจำแนกผู้มีส่วนได้เสียพร้อมทั้งกำหนดระดับความสำคัญ เพื่อแผนการสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานจากพันธมิตรทางธุรกิจที่หลากหลาย
  • กลยุทธ์ DMT Excellence Recognition เป็นกลยุทธ์ในการสร้างการรับรู้ความเชี่ยวชาญของบริษัทฯ ผ่านการประเมินของหน่วยงานภายนอกที่แสดงออกถึงศักยภาพของบริษัทฯ พร้อมทั้งแสดงผลงานเชิงประจักษ์ เพื่อแสดงความพร้อมและสร้างโอกาสในการขยายธุรกิจในอนาคต
  • สำหรับงบลงทุนในปีนี้ มีจำนวน 167.33 ล้านบาท ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ 1. งบลงทุนเพื่อการศึกษาวิจัยในการเทคโนโลยีทางยกระดับ และการศึกษางานโครงการต่างๆ ตามวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ รวมทั้งการศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการที่ภาครัฐเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนด้วยงบลงทุนเพื่อการลงทุนจัดซื้อทางด้านเทคโนโลยีทรัพย์สินใหม่ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการดำเนินงานลดลง และ 3. งบลงทุนเพื่อการดำเนินงานบำรุงทางยกระดับตามแผนงาน ซึ่งสอดคล้องกับหลักวิศวกรรม

    ด้านความคืบหน้าการเข้าร่วมประมูลโครงการ บริษัทฯ ได้เตรียมความพร้อมครบทุกด้าน ทั้งการเงิน และการระดมทุน สำหรับการเข้าร่วมประมูลโครงการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชนในปี 2567 ได้แก่ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางขุนเทียน - บ้านแพ้ว (M82), โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุขช่วงรังสิต - บางปะอิน (M5), โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครตอน ทางยกระดับบางขุนเทียน-บางบัวทอง (M9), โครงการ Rest Area บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (M7), โครงการทางพิเศษสายกะทู้ - ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต และโครงการทางด่วนอื่นๆ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับผลการประเมินความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ของแต่ละโครงการ นอกจากนี้ ยังมีแผนการศึกษาทางเชื่อมอื่นๆ เช่น AOT Ramp และโครงการอื่นๆ ที่ไม่ใช่ทางด่วนหรือทางพิเศษ (Non-Toll Business) เป็นต้น


    เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ