ผลการศึกษาด้านเศรษฐกิจชี้ รัฐบาลสหรัฐฯ สิ้นเปลืองงบประมาณ 563 ล้านดอลลาร์ เพราะระบุยี่ห้อสินค้าในสเปคคอมพิวเตอร์

ข่าวเทคโนโลยี Tuesday March 28, 2006 17:29 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--28 มี.ค.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง
- การระบุยี่ห้อสินค้าในสเปคสำหรับการจัดซื้อทำให้ราคาสูงขึ้น ลดการแข่งขัน จำกัดทางเลือก —
- ผลการศึกษาระบุ 69 เปอร์เซ็นต์ของข้อกำหนดการจัดซื้อภาครัฐในปี 2547 ระบุยี่ห้อไมโครโพรเซสเซอร์ -
การระบุยี่ห้อสินค้าไว้ในสเปคสำหรับการจัดซื้อฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ของภาครัฐก่อให้เกิดผลเสียอย่างมาก โดยประชาชนผู้เสียภาษีของสหรัฐฯ ต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นถึง 563 ล้านดอลลาร์ ตามผลการศึกษาทางด้านเศรษฐกิจฉบับล่าสุดของ อาร์. เพรสตัน แมคอาฟี่, เจ. สแตนลีย์ จอห์นสัน ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการจัดการ สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย การศึกษาดังกล่าวซึ่งมีชื่อว่า “การปรับปรุงระบบจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ: ประโยชน์ของกำหนดสเปคที่เป็นกลางโดยไม่ระบุผู้ผลิต” ได้รับการสนับสนุนจากเอเอ็มดี (NYSE: AMD)
นอกจากนี้ การศึกษาดังกล่าวยังระบุว่า ในปี 2547 ประมาณ 69 เปอร์เซ็นต์ของสัญญา จัดซื้อระบบและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มีข้อความที่กำหนดยี่ห้อเฉพาะของไมโครโพรเซสเซอร์ หรือระบุว่าโพรเซสเซอร์ควรมีคุณสมบัติเทียบเท่ากับไมโครโพรเซสเซอร์ยี่ห้อนั้นๆ
กฎหมายระดับประเทศของสหรัฐฯ (กฎระเบียบว่าด้วยการจัดซื้อของรัฐบาล) ห้ามไม่ให้กำหนดสเปคโดยมีการระบุยี่ห้อสินค้าในกรณีส่วนใหญ่ ทั้งนี้ข้อกำหนดสเปคที่ระบุ “ยี่ห้อหรือผลิตภัณฑ์เทียบเท่า” มักจะมีลักษณะกีดกันผลิตภัณฑ์ยี่ห้ออื่นๆ และกระตุ้นให้มีการตัดสินใจซื้อโดยพิจารณาจากชื่อเสียงและทัศนคติที่มีต่อยี่ห้อสินค้า แทนที่จะอ้างอิงผลการทดสอบประสิทธิภาพที่มีลักษณะเป็นกลาง
“ข้อความที่มีลักษณะกีดกันในเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างนอกจากจะขัดขวางการแข่งขันแล้ว ยังทำให้หน่วยงานราชการไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ในเรื่องประสิทธิภาพ” ศาสตราจารย์ แมคอาฟี่ กล่าว “การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการกำหนดสเปคโดยระบุยี่ห้อสินค้านับเป็นการทำลายกลไกการแข่งขันของตลาด ทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์มีราคาสูงขึ้นโดยใช่เหตุ ทั้งยังจำกัดทางเลือกของผู้ใช้ และส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้เสียภาษี ข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้ควรจะนำมาใช้เป็นแนวทางในการกระตุ้นให้หน่วยงานราชการทุกแห่งตื่นตัวกับปัญหานี้และปรับเปลี่ยนนโยบายการจัดซื้อจัดจ้าง”
“แนวทางการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐซึ่งมีลักษณะปิดกั้นการแข่งขันส่งผลให้ประชาชนผู้เสียภาษีของสหรัฐฯ ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณหลายร้อยล้านดอลลาร์โดยไม่จำเป็น ทั้งๆ ที่ในช่วงนี้เราจำเป็นที่จะต้องรัดเข็มขัดในเรื่องของงบประมาณในด้านต่างๆ” ซู ชไนเดอร์ รองประธานฝ่ายนโยบายและความสัมพันธ์ต่างประเทศ และที่ปรึกษาด้านกฎหมายสำหรับผู้บริหารของเอเอ็มดี กล่าว “การปรับใช้แนวทางจัดซื้อจัดจ้างโดยไม่ระบุผู้ผลิตรายใดรายหนึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้กำหนดนโยบาย เพราะจะช่วยกระตุ้นการแข่งขันในการประมูลโครงการ และทำให้หน่วยงานต่างๆ ได้รับประโยชน์สูงสุดจากงบประมาณที่ใช้จ่ายไป ทั้งยังช่วยเพิ่มทางเลือกที่หลากหลายสำหรับผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง”
ข้อมูลสำคัญอื่นๆ ที่ระบุไว้ในผลการศึกษา ได้แก่:
- ก่อนปี 2548 กองทัพอากาศของสหรัฐฯ (U.S. Air Force - USAF) กำหนดให้ใช้ไมโคร-โพรเซสเซอร์ของอินเทลในการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ทั้งหมด แต่ในภายหลัง USAF ได้ปรับเปลี่ยนข้อกำหนดดังกล่าวเพื่อเปิดโอกาสให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไมโครโพรเซสเซอร์หลายยี่ห้อสามารถเข้าร่วมแข่งขันในการประมูล ทั้งนี้ผลการศึกษาชี้ว่า USAF จะสามารถประหยัดงบประมาณได้ประมาณ 2.2 ล้านดอลลาร์ในแต่ละปี จากการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น
- การกำหนดสเปคที่ไม่เป็นกลางจะจำกัดการแข่งขันและปิดกั้นโอกาสของซัพพลายเออร์บางราย การใช้ข้อความที่ต่อต้านการแข่งขันในเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างจะนอกจากจะทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นแล้ว ยังลดปริมาณ ความหลากหลายและคุณภาพของสินค้า
- ไม่มีเหตุผลเรื่องประสิทธิภาพใดๆ ที่จะสนับสนุนการใช้ข้อความที่มีลักษณะกีดกันในการจัดซื้อจัดจ้าง สำหรับผลิตภัณฑ์บางอย่าง ความหลากหลายและความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์ทำให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อจำเป็นต้องระบุยี่ห้อ แทนที่จะให้รายละเอียดทางด้านเทคนิคและคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ และในกรณีของไมโครโพรเซสเซอร์ การใช้ผลการทดสอบประสิทธิภาพหรือเบนช์มาร์ค (benchmark) ของบุคคลที่สาม จะช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องการกำหนดสเปคในการจัดซื้อจัดจ้างดังกล่าว
รัฐบาลของประเทศต่างๆ ทั่วโลกตระหนักถึงปัญหาเรื่องการจัดซื้ออุปกรณ์ไอทีซึ่งมีลักษณะปิดกั้น โดยรัฐบาลของอาร์เจนติน่า ออสเตรเลีย เบลเยียม แคนาดา ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมัน ไอร์แลนด์ อิตาลี ญี่ปุ่น สวีเดน สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ ได้ออกเอกสารคำแนะนำซึ่งระบุให้มีการกำหนดสเปคที่เป็นกลาง และห้ามระบุยี่ห้อสินค้าไว้ในสัญญาการจัดซื้อจัดจ้าง ในขณะเดียวกันคณะกรรมาธิการยุโรปได้ตั้งข้อสังเกตไว้ในการศึกษาฉบับหนึ่งซึ่งตีพิมพ์ในปี 2547 ซึ่งชี้ว่าการใช้กฎระเบียบใหม่สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างช่วยลดราคาสินค้าได้ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ บทสรุปของผลการศึกษาฉบับล่าสุดมีอยู่ที่ http://www.amd.com/breakfree
จุดยืนของเอเอ็มดีในเรื่องการแข่งขันที่เปิดกว้างและเป็นธรรม
เอเอ็มดีสนับสนุนการแข่งขันที่เปิดกว้างและเป็นธรรม รวมทั้งมุ่งเน้นการนำเสนอคุณประโยชน์และความหลากหลายของสินค้า เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมของเอเอ็มดีช่วยให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์สูงสุดในเรื่องของสมรรถนะ ประสิทธิภาพ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ องค์กรธุรกิจและผู้บริโภคควรมีอิสระที่จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายซึ่งได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเมื่อกลไกของตลาดสามารถทำงานได้ตามปกติ ผู้บริโภคก็จะมีอำนาจอย่างเต็มที่ในการตัดสินใจเลือก และทุกฝ่ายก็จะได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึง หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเยี่ยมชม http://www.amd.com/breakfree
เกี่ยวกับเอเอ็มดี
แอดวานซ์ ไมโคร ดีไวซ์ (NYSE: AMD) เป็นผู้นำระดับโลกด้านการจัดหาโซลูชั่นไมโคร -โพรเซสเซอร์ที่เป็นนวัตกรรมสำหรับตลาดด้านการประมวลผล การสื่อสาร และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เอเอ็มดีก่อตั้งขึ้นในปี 2512 โดยมุ่งเน้นการนำเสนอโซลูชั่นด้านการประมวลผลที่เหนือกว่าและสอดรับกับความต้องการของผู้ใช้ทั่วโลก รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้จาก www.amd.com
กรุณาติดต่อ:
มิส ลิน ยอง
ผู้จัดการการตลาดคอนซูมเมอร์
บริษัท เอเอ็มดี ฟาร์อีส จำกัด
(65) 6559 9951
อีเมล์: lynn.yong@amd.com
ประชาสัมพันธ์ข่าวโดย
บริษัท พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง จำกัด
สุชาย เฉลิมธนศักดิ์
0 2971 3711
อีเมล์: suchai@pc-a.co.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ