ธุรกิจทั่วโลกมองต่างกันเกี่ยวกับคาดการณ์ ด้านรายรับและการส่งออกในปี 2009 ผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่มีทัศนคติด้านลบ

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 14, 2009 16:19 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 ม.ค.--แกรนท์ ธอร์นตัน ผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติที่จัดทำโดย แกรนท์ ธอร์นตัน (Grant Thornton International Business Report) ได้สำรวจทัศนคติของธุรกิจจำนวนกว่า 7,200 ราย จาก 36 กลุ่มเศรษฐกิจ รายงานว่า ธุรกิจต่างๆ ทั่วโลกมีทรรศนะว่า ภายในระยะเวลา 12 เดือนข้างหน้า การเติบโตของการส่งออกจะอ่อน ตัวลง (ค่าดุลยภาพที่ +4%*) โอกาสในการเพิ่มรายรับมีจำกัด (+11%) และโอกาสในการเพิ่มราคามีจำกัด (+14%) อย่างไรก็ตาม ธุรกิจต่างๆ มองว่าความสามารถในการทำกำไรจะลดลงเพียงเล็กน้อย (-5%) ทางด้านรายรับ ธุรกิจในบางประเทศยังคงมีความคาดหวังในระดับสูงต่อรายรับ ได้แก่ เวียดนาม (+91%) อินเดีย (+71%) รวมถึงแอฟริกาใต้และอาร์เมเนีย (+54% ทั้งสองพื้นที่) แต่บางประเทศ เกรงว่าจะมีการรับรู้รายได้ในระดับต่ำสุด ได้แก่ ฮ่องกง (-48%) ไต้หวัน (-44%) ญี่ปุ่น (-23%) และสเปน (-21%) ส่วนผู้ประกอบการชาวไทยมีมุมมองด้านลบต่อรายรับ โดยมีดุลยภาพโดยรวมที่ -14% ซึ่งคล้ายคลึงกันกับผลการสำรวจเมื่อต้นปี 2008 ทางด้านโอกาสในการส่งออก ผู้ประกอบการชาวไทยมีทัศนคติด้านลบตามกระแส โดยมีค่าดุลยภาพด้านลบที่ -11% ซึ่งหมายความว่า ผู้ประกอบการหลายรายไม่คาดหวังต่อการเพิ่มขึ้นของการส่งออกอย่างมีนัยสำคัญในปี 2009 ไม่น่าแปลกใจที่ว่าผลการสำรวจจากทั่วโลกแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มขาลงจากปีที่แล้วอย่างมีนัยสำคัญ (แม้ว่ากลุ่มเศรษฐกิจยังคาดหวังต่อการเพิ่มขึ้นของรายรับ) โดยค่าเฉลี่ยโลกของความคาดหวังต่อรายรับลดลงกว่า 50 จุดจากเมื่อปีที่ผ่านมา หากมองในแง่ของภูมิภาคแล้ว สหภาพยุโรปกลายเป็นกลุ่มทางการค้าที่ซบเซาที่สุดจากการพิจารณารายรับ โดยมีดุลยภาพเพียงแค่ +5% ที่คาดหวังว่ารายรับจะเพิ่มสูงขึ้น เปรียบเทียบกับละตินอเมริกาที่มีทัศนคติด้านบวกสูงสุดที่ +30% อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงความคาดหวังด้านการส่งออก สหภาพยุโรปกลับมีทัศนคติด้านบวกสูงสุดที่ +11% ในขณะที่เอเชียแปซิฟิกมีทัศนคติด้านลบสูงสุดโดยไม่เปลี่ยนแปลงไปจากปี 2008 “ยอดขายและการส่งออกเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการรับรู้รายได้” มร. ปีเตอร์ วอล์คเกอร์ กรรมการอาวุโส แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย กล่าวอธิบาย "ทั้งสองปัจจัยได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ของผู้บริโภคและระดับการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ แม้ว่าผลการสำรวจโดยรวมจะไม่เป็นที่น่าแปลกใจ แต่ความแตกต่างของผลการสำรวจในระดับบริษัทและประเทศนั้นมีความน่าสนใจทีเดียว โดย ดูเหมือนว่าหลายธุรกิจยังไม่เข้าใจถึงผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวต่อตลาดของตนเอง และกำลังคาดหวังให้เกิดการฟื้นตัวอย่างอัศจรรย์ในช่วงต้นปีนี้ ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจต่างๆ ใน 26 ประเทศจาก 36 ประเทศที่ได้รับการสำรวจคาดหวังว่าการส่งออกจะเพิ่มสูงขึ้น แต่ด้วยกลุ่มเศรษฐกิจผู้นำเข้าที่ใหญ่ที่สุดต่างกำลังชะลอตัว คำถามก็คือตลาดสำหรับการส่งออกนั้นจะอยู่ที่ใด” “ผลการสำรวจรวมจากผู้ประกอบธุรกิจชาวไทยซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติทางลบโดยทั่วไปที่เกิดจากการเมืองภายในประเทศและสภาวะเศรษฐกิจโลก อาจแสดงสภาพความเป็นจริงและน่าจะช่วยให้ผู้ประกอบการวางแผนที่เหมาะสมสำหรับปีนี้ได้” “คำแนะนำที่เรามีให้ต่อธุรกิจในระยะสั้นคือมุ่งเน้นการลดค่าใช้จ่าย พัฒนาความสามารถในการผลิต และรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับลูกค้าไว้ ถัดมาคือการตัดสินใจเสริมความแข็งแกร่งให้กับงบดุลเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเศรษฐกิจขาขึ้น นอกจากนี้ ธุรกิจต่างๆ ควรมีความตื่นตัวในการซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (Distressed Assets) ในราคาถูก ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของบริษัทในระยะยาว นอกจากนี้ควรใช้ประโยชน์จากบรรยากาศทางธุรกิจที่เงียบเหงาในขณะนี้เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถต่างๆ (เช่น การฝึกอบรมพนักงาน) อาจเป็นการลงทุนที่ดีสำหรับอนาคต” “ไม่มีใครอาจคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจขาขึ้นจะเริ่มต้นเมื่อใด แต่เราเชื่อมั่นว่าสิ่งแวดล้อมทางการค้าจะเปลี่ยนไปอย่างมาก สิ่งสำคัญคือการพิจารณาแผนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป” รายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของ แกรนท์ ธอร์นตัน (IBR) ทำการสำรวจทัศนคติของผู้บริหาร ในบริษัทเอกชนทั่วโลกทุกปี การสำรวจริเริ่มขึ้นเมื่อปี 1992 ใน 9 ประเทศในทวีปยุโรป และในปัจจุบันครอบคลุม 7,200 ธุรกิจในเศรษฐกิจ 36 กลุ่ม โดยเป็นการรายงานข้อมูลเชิงแนวโน้มในระดับพื้นที่ ระดับภูมิภาค และระดับโลก ในประเด็นเศรษฐกิจและการพาณิชย์ที่ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น ‘เครื่องจักร’ ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ซึ่งข้อมูลสำหรับภาคอุตสาหกรรมหลัก 8 ภาคนั้นมีการจัดทำเป็นครั้งแรกในปี 2009 นี้ การสำรวจดำเนินการโดย Experian Business Strategies Limited ทั้งนี้ แกรนท์ ธอร์นตัน อินเตอร์เนชั่นแนล จะมอบเงิน 5 ดอลลาร์สหรัฐให้แก่ องค์กร UNICEF ต่อผลสำรวจหนึ่งฉบับที่มีผู้ร่วมให้ข้อมูล รวมเป็นเงิน 39,000 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2008 หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ IBR รวมถึงการรับชมผลการสำรวจ หรือร่วมการสำรวจที่เปรียบเทียบผลการสำรวจของท่านกับผลการสำรวจจากทั่วโลก กรุณาเข้าชมเว็บไซต์ www.internationalbusinessreport.com และท่านสามารถดาวน์โหลดข่าวประชาสัมพันธ์นี้ได้ที่เว็บไซต์ www.grantthornton.co.th/press เกี่ยวกับ แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย: แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย เป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงธุรกิจในฐานะบริษัทผู้ให้บริการอย่างมืออาชีพระดับแนวหน้าของประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 มีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาแก่บริษัทต่างๆ ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียปี พ.ศ. 2540 โดยใช้วิธีการปรับโครงสร้างหนี้ การลดค่าใช้จ่าย และการปรับปรุงแผนธุรกิจใหม่ การให้บริการของแกรนท์ ธอร์นตัน ได้แก่ การให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ การตรวจสอบบัญชี การให้คำปรึกษาทางภาษี การให้บริการปรึกษาเฉพาะทาง การจัดหาบุคลากรระดับผู้บริหาร ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย กรุณาเข้าชมเว็บไซต์ www.grantthornton.co.th. ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: ปีเตอร์ วอล์คเกอร์ ลักษณ์พิไล วรทรัพย์ กรรมการอาวุโส ส่วนงานให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย T +66 (0)2 205 8250 T +66 (0)2 205 8142 E peter.walker@gt-thai.com E lakpilai.worasaphya@gt-thai.com คริสทีน โฮบาร์ท ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารนานาชาติ T +44 (0) 20 7391 9548 M +44 (0) 79 0005 2240 E christine.hobart@gtuk.com

แท็ก การส่งออก  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ