บทความ "ภาระหน้าที่ของกรรมการบริษัท"

ข่าวทั่วไป Wednesday April 1, 2009 15:37 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--1 เม.ย.--แกรนท์ ธอร์นตัน ช่วงเวลานี้ มีบริษัทจํานวนมากที่กําลังเผชิญกับปัญหาสภาวะเศรษฐกิจถดถอย ในขณะเดียวกัน การปฏิบัติหน้าที่ของ กรรมการบริษัทตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายก็ทวีความสําคัญยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าที่ในส่วนที่จะสร้างความมั่นใจว่า บริษัทยังคงสามารถดําเนินกิจการอยู่ได้ ดังนั้นเราน่าจะมาตอก ย้ำถึงบทบาทและภาระหน้าที่ของกรรมการโดยการทบทวนประเด็นสําคัญๆ ดังต่อไปนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กรรมการมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการจัดการงาน ของบริษัท กล่าวคือต้องรับผิดชอบ: - ให้ผู้ถือหุ้นได้ชําระค่าหุ้นจริง - ให้มี เตรียมการเป็นประจํา และรักษาไว้ให้เรียบร้อย ซึ่งบรรดาสมุดบัญชีและเอกสารที่กฎหมายกําหนดไว้ - แจกจ่ายเงินปันผลหรือดอกเบี้ยให้เป็นไปโดยถูกต้อง - จัดการให้เป็นไปโดยถูกต้องตามมติของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น นอกจากนั้น กรรมการต้องไม่ประกอบการค้าขายใดๆ ที่มีรูปแบบลักษณะกิจการเป็นอย่างเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับการค้าขายของบริษัท ไม่ว่าทําเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อประโยชน์ผู้อื่น หรือไปเข้าหุ้นส่วนไม่จํากัดความรับผิดในห้างค้าขายอื่น ซึ่งประกอบกิจการที่มีสภาพเป็นอย่างเดียวกันและแข่งขันกับกิจการของบริษัท โดยมิได้รับความยินยอมจากที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน พ.ศ. 2535 ได้บัญญัติไว้ในทางเดียวกัน โดยได้กําหนดเพิ่มเติมไว้ซึ่งอํานาจและภาระหน้าที่ของกรรมการอาทิเช่น - ต้องจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการอย่างน้อยหนึ่งครั้งทุกระยะเวลา 3 เดือน - กรรมการต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของบริษัท ด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กรรมการจะต้องเป็นผู้รับผิดต่อบริษัทในความเสียหายอันเกิดจากการกระทําการหรือละเว้นกระทําการใดอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามภาระหน้าที่กล่าวข้างต้น โดยบริษัทหรือ ผู้ถือหุ้นอาจเป็นผู้ดําเนินการเรียกร้องดังกล่าว ในฐานะกรรมการ ท่านจะต้อง : - ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังและซื่อสัตย์ - ให้ความสนใจเป็นพิเศษโดยเฉพาะเมื่อบริษัทกําลังจัดการเงินของบุคคลอื่น - กระทําการเพื่อผลประโยชน์ของบริษัทแม้ว่าจะไม่มีส่วนได้เสียใดๆ - ใช้ข้อมูลที่ได้รับในฐานะที่เป็นกรรมการของบริษัทอย่างเหมาะสมและเพื่อประโยชน์ของบริษัท การใช้ข้อมูลที่ได้รับดังกล่าวเพื่อผลประโยชน์ของตนเองหรือบุคคลอื่น ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม หรือเพื่อให้บริษัทได้รับความเสียหาย ถือว่าเป็นการกระทําความผิดอย่างร้ายแรงแม้ว่าจะมิใช่ข้อมูลที่เป็นความลับก็ตาม เพราะหากใช้โดยไม่สุจริตแล้วย่อม ถือว่าเป็นการกระทําความผิด หากท่านมีส่วนได้เสียใดๆ ที่เป็นการขัดกับภาระหน้าที่ในฐานะที่เป็นกรรมการ ท่านพึงต้องเปิดเผย ณ ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น สิ่งที่ควรกระทํา กรรมการถือเป็นบุคคลผู้รับผิดชอบการควบคุมดูแลการดําเนินธุรกิจของบริษัท ท่านจึงต้องทําความเข้าใจ หนังสือบริคณห์สนธิ ข้อบังคับ และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ที่กําหนดอํานาจหน้าที่และขอบเขตอํานาจของกรรมการ หนทางหนึ่งที่จะช่วยปกป้องตัวท่านเองไม่ให้ผิดพลาดก็คือ การรับรู้ทันปัจจุบันกับสิ่งที่บริษัทกําลังดําเนินการอยู่ โดยท่านควร: - เข้าประชุมคณะกรรมการอย่างต่อเนื่อง - ทําความเข้าใจการดําเนินการ โครงการ หรือกลยุทธ์ ซึ่งมีผลกระทบต่อการดําเนินธุรกิจของบริษัท กล่าวคือหากการนั้นเกี่ยวข้องกับการทําให้เกิดความเสี่ยงซึ่งเงินทุนของบริษัท - แสวงหาคําปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ หากท่านไม่มีความรู้ความชํานาญในเรื่องที่ต้องตัดสินใจ - สอบถามผู้จัดการและพนักงานถึงการดําเนินไปของกิจการเพื่อให้มั่นใจว่าได้มีการปฏิบัติตามนโยบาย กระบวนการ หรือการมอบอํานาจอย่างเหมาะสม - ทําให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ได้รับก่อนการประชุมกรรมการนั้น ทันท่วงที เชื่อถือได้ และตรงประเด็น ซึ่งควรรวมถึง ประมาณการกระแสเงินสด รายงานการดําเนินงาน งบดุล และสรุปการดําเนินธุรกิจของบริษัท - รับรองว่ามีการดําเนินการจัดการและเข้าใจถึงความเสี่ยงต่างๆ และการปฏิบัติตามภาระหน้าที่ทางกฎหมาย และเหนือสิ่งอื่นใดเพื่อเป็นการปกป้องตัวท่านเอง ในการที่จะเป็นกรรมการของบริษัทได้นั้น ท่านจะต้องเต็มใจ มีความสามารถ และมีเวลาเพียงพอ เกี่ยวกับ แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย: แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย เป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงธุรกิจในฐานะบริษัทที่ปรึกษาและให้บริการอย่างมืออาชีพระดับแนวหน้าของประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 มีประสบการณ์ในการให้คําปรึกษาแก่บริษัทต่างๆ ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียปี พ.ศ. 2540 โดยใช้วิธีการปรับโครงสร้างหนี้ การลดค่าใช้จ่าย และการปรับปรุงแผนธุรกิจ กลุ่มงานให้บริการของแกรนท์ ธอร์นตัน ได้แก่ การให้คําปรึกษาด้านธุรกิจ การตรวจสอบบัญชี การให้คําปรึกษาทางภาษี การให้บริการปรึกษาเฉพาะทาง การจัดหาบุคลากรระดับผู้บริหาร ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย กรุณาเข้าชมเว็บไซต์ www.grantthornton.co.th บทความนี้สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ www.grantthornton.co.th/publications ฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร แกรนท์ ธอร์นตัน ชั้น 18 แคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซี่ซั่นส์เพลส 87/1 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร +66 (0)2 205 8222 แฟกซ์ +66 (0)2 654 3339 อีเมล์ marketing@gt-thai.com เว็ปไซต์ www.grantthornton.co.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ