ความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญากับงานวิจัยสมุนไพร

ข่าวเทคโนโลยี Monday October 16, 2006 14:10 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 ต.ค.--สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
ดร.นภาวรรณ นพรัตนาภรณ์ ประธานคณะกรรมการจัดงานการประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 32 (วทท.32) กล่าวว่า ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึงผลงานที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ แปลว่า เราทุกคนมีสิทธิที่จะคิดสร้างสรรค์ จนกระทั่งสามารถนำไปสู่การที่จะเป็นทรัพย์สินทางปัญญา เป็นทรัพย์สินอีกชนิดหนึ่งนอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์ เป็นทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ และอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ไม่อาจเคลื่อนย้ายได้
ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นทรัพย์สินอีกอย่างหนึ่งที่เราทุกคนสามารถที่จะสร้างขึ้นมาได้ แต่ทรัพย์สินทางปัญญานั้น มีลักษณะพิเศษ คือจะต้องมีความใหม่ ความใหม่ในที่นี้จะต้องไม่เคยเป็นหรือทำในสิ่งต่อไปนี้ คือ
(1) จะต้องยังไม่เกิด คนยังไม่รู้ หรือเคยใช้มาก่อน ยังไม่เคยถูกใช้ ทรัพย์สินทางปัญญามาก่อน ยังไม่เคยจดสิทธิบัตรมาก่อน ยังไม่เคยถูกตีพิมพ์มาก่อน ยังไม่เคยนำมาใช้แพร่หลายในสาธารณะหรือนำมาจำหน่ายมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเอามาใช้มาเปิดเผยต่อสาธารณะนั้นจะต้องไม่เกิน 12 เดือน ก่อนที่เราจะไปดำเนินการทางทรัพย์สินทางปัญญา ตรงนี้เป็นรายละเอียดที่นักวิชาการ ผู้ที่จะทำในเรื่องธุรกิจที่เกี่ยวกับสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์อะไรต่าง ๆ ก็ตาม ที่เกิดจากการวิจัยท่านจะต้องรับทราบไว้เพื่อที่ว่าเราจะได้ไม่เสียสิทธิหรือโอกาสในเรื่องเกี่ยวกับเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญาที่เราจะสร้างสรรค์กัน
ทรัพย์สินทางปัญญา คือทรัพย์สินที่สามารถสร้างขึ้นได้ โดยใช้มันสมองพวกเราทุกคนมีมันสมอง ที่มีขนาดไม่ต่างกันมากนัก เพียงแต่ว่าเรารู้จักจะใช้มันสมองของเราคิดในสิ่งที่คนอื่นไม่เคยคิด คิดไม่ถึง เป็นเส้นผมบังภูเขา นี่คือมันสมอง ความสามารถและไหวพริบ ตรงนี้บางคนเรียกว่าเป็นพรสวรรค์ เป็นสิ่งที่บางคนมีมาตั้งแต่เกิด แต่บางทีเราสามารถที่จะสร้างขึ้นมาได้ ถ้าเราฝึกตัวของเราเอง เรามีการเตรียมตัว มีการเตรียมการ ความมานะพยายาม บางทีเราค้นไปถึงงานวิจัย นักวิชาการ บางทีเราทำการค้นคว้าวิจัย เรานึกว่ามันใหม่แล้ว แต่พอเราไปสืบค้นข้อมูลไปสืบค้นสิทธิบัตรใหม่ ปรากฏว่าเขาจดมาหลายปีแล้ว โดยที่เรายังไม่รู้ อย่าทิ้งความมานะพยายามทำต่อไป ทำต่อไป ค้นต่อค้นในจุดที่คนเขาอาจจะยังนึกไม่ถึง การที่จะทำอย่างนี้ได้ เราต้องติดตามงานที่คนเขาทำกัน ในหัวข้อเรื่องที่เราทำแล้วคนอื่นทำอยู่ทั่วโลก เขาทำอะไร ทำอยู่ที่ไหน ฉะนั้นเราคงจะได้ยินคำว่า Stage of the Earth ขณะนี้ ในเรื่องที่เราทำอยู่นี้ ชาวบ้านเขาทำอะไรกัน อยู่ที่ไหน ทำไปแค่ไหนแล้ว ไม่ใช่ว่าเรานั่งทำอะไรอยู่คนเดียว แล้วบอกว่า ของฉันใหม่ที่สุดแล้ว ที่ไหนได้พอเราไปสืบค้นดู มีคนเขาทำรู้มา 10 ปี แล้ว ถ้าเราพบอย่างนั้น เราต้องมานะพยายามทำต่อไปอีก ถ้าในประเทศของเรามีกลุ่มคนเหล่านี้มาก ๆ เราก็จะสามารถที่จะไปสู่จุดมุ่งหมายของเราได้ในเวลาที่ไม่นานนัก การเตรียมการ และการวางแผน เราจะรังสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญาขึ้นมา ต้องมีการเตรียมการและวางแผน ถ้าเราคิดว่าเราเป็นผู้ที่รู้และต้องการจะเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาในเรื่องอะไร เราจะต้องสืบค้นข้อมูลก่อน คือการเตรียมการจะเป็นฐานข้อมูลที่เราจะสามารถเข้าไปสืบค้นได้ เป็นฐานข้อมูลที่ไม่เสียเงิน สืบข้อมูลเสียก่อนว่าอะไรที่เขาทำแล้ว จดสิทธิบัตรไปแล้ว อะไรที่ยังไม่ได้ทำ หรือแม้แต่สิ่งที่จดสิทธิบัตรไปแล้วสมบูรณ์แล้วหรือยัง ถ้ายังเราสามารถทำต่อยอดอะไรได้อีกบ้าง ความเข้าใจในกระบวนการเรื่องการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย อันนี้เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งสำคัญมาก บางทีไม่ใช่เพียงว่าจะเป็นเจ้าของ อยากจะเป็นเจ้าของทรัพย์ทางปัญญาขึ้นมาไปดำเนินการจดสิทธิบัตรแค่นั้นจบ ไม่ใช่แค่นั้นเพิ่งจะเริ่มต้น เมื่อเราได้สิทธิบัตรมาแล้ว ต้องเข้าใจในเรื่องกระบวนการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย ซึ่งมีอายุในการคุ้มครองมีขอบเขตในการคุ้มครอง และที่สำคัญที่สุดก็คือ เราต้องเข้าใจว่าเมื่อได้มาแล้ว สมมติว่าไปดำเนินการในการจดสิทธิบัตร ซึ่งต้องใช้เวลาหลายปี ต้องต่อสู้กันกว่าจะได้ พอได้แล้วจบ ไม่ใช่นะ ต้องเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ถ้าตัวของเราไม่คิดที่จะทำให้เกิดประโยชน์ต้องให้คนอื่นทำ โดยเฉพาะในแวดวงของคนที่จะเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ให้เขาได้รู้ งานของนักวิจัยที่ทำส่วนใหญ่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าเราให้คนอื่นได้รู้ เขาก็จะสามารถไปพัฒนาต่อยอดได้อีก ก็จะทำให้เกิดการพัฒนาวิชาการอย่างลึกซึ้ง ที่สามารถนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้สมบูรณ์ ที่กล่าวมาเป็นเรื่องของส่วนบุคคล เป็นเรื่องจริงได้ที่แต่ละคน จะต้องทำ จะต้องมีถ้าเราให้ความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญา ส่วนในเรื่องสุดท้ายคือ เรื่องการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เป็นเรื่องสำคัญ เมื่อเราได้ดำเนินการทางทรัพย์สินทางปัญญาแล้วได้สิทธิบัตรมาแล้ว ต่อไปเป็นหน้าที่ของการบริหารจัดการ ตรงนี้เป็นหน้าที่ขององค์กร เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่ให้ทุน อย่างเช่น สภาวิจัยแห่งชาติ ซึ่งจะเข้ามาให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการกับทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากงานวิจัย อย่างน้อยก็คือโครงการที่วิจัยที่สภาวิจัยแห่งชาติ ได้ให้ทุนสนับสนุนทำให้ทำวิจัยมาเป็นเวลาช้านาน ตรงนี้เป็นประเด็นที่สำคัญมาก เพราะว่าต่อให้เรามีสัก 1,000 สิทธิบัตรหรือ10,000 สิทธิบัตร แต่เราไม่ทำอะไรเลย เราไม่เอาไปใช้ประโยชน์ ไม่ใช้บริหารจัดการต่อก็เป็นเพียงแผ่นกระดาษ ไม่ก่อประโยชน์อะไร
ทรัพย์สินทางปัญญานั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประเภทที่หนึ่ง คือ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม ที่เรียกว่า Industrial Property หมายถึงสิทธิบัตรที่ได้รับการกล่าวกันมากในเชิงพาณิชย์ต่าง ๆ ในวงการซื้อขายต่าง ๆ เขาจะถามก่อนเลย ใครที่มีสิ่งใหม่ที่จะนำมาเสนอขาย นักวิชาการมีอะไรจะมาเสนอขาย เขาจะถามก่อนจากภาคเอกชนว่า คุณมีสิทธิบัตรหรือไม่ ถ้ามีสิทธิบัตรก็จะคุยกันง่ายว่าเป็นตัวที่แสดงให้เห็น เป็นการรับประกันคุณภาพผลงานที่นักวิจัยนักวิชาการท่านนั้นจะเสนอขายนั้น เป็นสิ่งที่คิดค้นใหม่ ไม่ได้ไปลอกเลียนแบบใครมา เป็นสิ่งใหม่ สิทธิบัตรนั้นบ่งบอกถึงอะไร หลายอย่างในตัวของมันเอง เป็นสิ่งใหม่ เป็นสิ่งที่มีคุณค่าในเชิงพาณิชย์ ฉะนั้น เป็นประเภทของทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญ และก็จะเกี่ยวข้องกับเรามาก เครื่องหมายทางการค้า Trade mark นี้ก็เป็นอีกประเภทหนึ่ง ความลับทางการค้าบางทีการจดสิทธิบัตร จะมีในส่วนที่เกี่ยวกับการเปิดเผย การเปิดเผยในเรื่องรายละเอียดของสิ่งที่เราคิดค้น เราบอกว่าใหม่ บอกว่าของเราใหม่ แล้วเราจะเอาอะไรพิสูจน์ว่าใหเป็นสิ่งใหม่ ฉะนั้นจึงต้องเปิดเผยสิ่งที่เราคิดค้นให้เขาเห็นว่ามันใหม่อย่างไร
เราจะเขียนได้อย่างไรว่าเป็นของใหม่ ตรงนี้คือสิ่งที่เราจะต้องสืบค้น ต้องทำงาน ต้องเตรียมการว่าในเรื่องเดียวกัน ใกล้เคียงกัน คนอื่นเขาทำอะไร เขาเปิดเผยอะไรไปแล้วบ้าง และสิ่งที่เราคิดได้ เรามีอะไรที่เราไม่เหมือนกับเขา ซึ่งเราคิดขึ้นใหม่ แล้วยังไม่มีใครบันทึกเอาไว้ หรือเปิดเผยต่อสาธารณะเอาไว้
แต่ว่าบางทีก็มีบางเรื่องที่เขาบอกว่าเขาไม่อยากจะเปิดเผย เพราะอยากจะให้เป็นความลับทางการค้า แต่ต้องเป็นคนแรกที่คิดได้ กฎหมายระบุไว้ว่า ถ้าอย่างนั้นมีอีกช่องทางหนึ่งที่เป็น Trade secret บอกว่าเขียนความลับอันนี้แล้วคุณเอาซ่อนไว้ เอาเก็บไว้ในตู้นิรภัย อันนี้ก็ไปจดได้อีกเหมือนกัน ก็ใครไม่อยากให้เปิดเผยเพราะเป็นความลับ อาทิ แผนผังวงจรรวม ชื่อทางการค้า อันนี้ล้วนแล้วแต่เป็นทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม เป็นประเภทหนึ่งของทรัพย์สินทางปัญญา แต่สิ่งที่จะมาเกี่ยวข้องกับเราอย่างมากคือเกี่ยวข้องกับสิทธิบัตรและความลับทางการค้า
อีกอันหนึ่งเกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์ (copyright) สิทธิบัตรอะไรเป็นตัวบ่งบอก หน่วยงานภาครัฐที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องเป็นผู้ที่ออกหนังสือสำคัญให้ เพื่อบ่งบอกหรือแสดงถึงการคุ้มครองการประดิษฐ์ที่ผู้ประดิษฐ์จะเป็นคนเดียวหรือจะเป็นคณะก็ได้ สามารถพิสูจน์ได้ด้วยลายลักษณ์อักษร ด้วยผลการวิจัยว่าตัวเองเป็นคนแรก เป็นสิ่งใหม่ที่เขาได้เป็นผู้คิดค้น ฉะนั้นสิทธิบัตรจึงไปเกี่ยวข้องกับหน่วยงานภาครัฐ คือกองสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะเป็นผู้ที่จะพิสูจน์ หรือจะเป็นผู้ที่จะอนุมัติหนังสือสำคัญให้ แต่ก็ใช้เวลานานพอสมควร เหตุผลก็คือมีตัวอย่างอยู่ที่กระทรวงหรือที่กองสิทธิบัตร
อีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า อนุสิทธิบัตร หมายถึงหนังสือรับรองการประดิษฐ์แต่มีระยะเวลาการคุ้มครองสั้นกว่า แบบสิทธิบัตรประมาณครึ่งหนึ่ง
ทั้งสองอย่างนี้ นักวิจัย นักวิชาการ จะทำการวิจัย ไม่ใช่เฉพาะแต่เพียงสมุนไพรเท่านั้น ท่านต้องเข้าใจ โดยเฉพาะในสมัยนี้ ซึ่งเรื่องของสิทธิบัตร หรือของทรัพย์สินทางปัญญามีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนหรืออาจจะสำคัญมากกว่า Publication หรือสิ่งตีพิมพ์ อันนี้จะต้องทำความเข้าใจ แล้วก็ต้องรู้ในการที่จะรักษาสิทธิในการที่จะไม่ให้เสียสิทธิในการที่จะดำเนินการเป็นทรัพย์สินทางปัญญา
การสืบค้นข้อมูลทางสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ หน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ มหาวิทยาลัยที่มีหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมา จะต้องให้ความสำคัญ ต่อไปนี้นักวิจัยที่เป็นมืออาชีพจริง ๆ จะไม่ใช่นั่งเทียนทำวิจัยต้องสืบค้นข้อมูลก่อน ในเรื่องที่เราจะทำว่าคนอื่นเขาทำอะไรไปถึงไหน เราจะไม่ทำเรื่องนี้ จะได้หลีกไปทำในเรื่องที่คนเขายังไม่ได้คิด ไม่ได้ทำ บางครั้งก็คิดได้ พิสูจน์ได้ จะต้องจดสิทธิบัตรไว้ก่อนแล้ว เพื่อจองหรือแสดงความเป็นเจ้าของของความคิดอันนั้น ซึ่งเรามั่นใจว่าสามารถพิสูจน์หรือวิจัยต่อไปและพิสูจน์ให้เห็นว่าวิจัยต่อไปได้ สามารถทำได้ง่าย ๆ ซึ่งเดี๋ยวนี้คงจะไม่มีมหาวิทยาลัยใหม่หรือหน่วยงานภาครัฐไหนเป็นผู้ผลิตเทคโนโลยีจะไม่ให้ความสนใจของการดำเนินการทรัพย์สินทางปัญญา
“งานวิจัย”
เวลาเราพูดถึงงานวิจัย เราหมายความถึงการสร้างองค์ความรู้ใหม่ เป็นเป้าหมายหลักของการทำการวิจัย ซึ่งอันนี้ก็สอดคล้องอย่างดีเลยของเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ด้านของการจดสิทธิบัตร เพราะเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ การวิจัยนี้ ถ้าไม่ใช่เรื่องขององค์ความรู้ใหม่ก็เหมือนกับการวิจัยเป็นหน้าที่ปกติไม่ใช่ของใหม่ ประโยชน์ก็จะไม่มาก ฉะนั้นนักวิจัยที่เป็นนักวิจัยมืออาชีพที่เก่งจริง ๆ ท่านจะต้องทำความรู้ใหม่ให้ได้ ทำความรู้ใหม่ให้เกิดขึ้นจากการใช้งบประมาณเพื่อการวิจัย อย่าไปทำแต่งานในหน้าที่ปกติ
ประการที่สอง เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่จะช่วยใช้ประโยชน์ในภาคการผลิตที่มีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น เกษตรกรรม อุตสาหกรรม อันนี้ก็คือภาคที่ประเทศเรานี้ให้ความสำคัญอยู่ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือนวัตกรรมใหม่ ซึ่งอันนี้ก็โดยตรงเลย ที่จะเดินหรือนำไปสู่ความที่จะสามารถดำเนินการในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาได้ ฉะนั้นจุดสำคัญของเรื่องนี้ก็คือ โครงการวิจัยด้านสมุนไพร
ลักษณะโครงการวิจัยด้านสมุนไพร จะมีความเชื่อมโยงหรือเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา โครงการวิจัยด้านสมุนไพรส่วนมากแล้ว จะเป็นโครงการวิจัยที่จะทำในเชิงบูรณาการ หลายมิติด้วยกัน จะเห็นว่าในระยะ 2-3 ปี ที่ผ่านมานี้ สภาวิจัยแห่งชาติ ได้ให้การสนับสนุนการวิจัยในลักษณะบูรณาการอย่างเต็มรูปแบบ แล้วสมุนไพรก็เป็นโครงการแรก ๆ ที่สภาวิจัยแห่งชาติ ได้ให้การสนับสนุน เป็นโครงการที่ใหญ่มากที่มีทีมนักวิจัยที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทำเรื่องสมุนไพรที่เป็นประโยชน์ต่อวงการอุตสาหกรรม ต่อวงการเภสัช โดยร่วมทีมกันทำงานหลาย ๆ แง่มุม มีสาขามาจากหลายสาขา ฉะนั้นงานวิจัยด้านสมุนไพรนี้ จะเห็นว่าเป็นสหสาขา ก็คือต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ ใช้นักวิชาการที่มีความรู้หลายด้านมาร่วมกันทำงานวิจัย เริ่มแรกทำเพื่อเป็นการผลิตขนาดใหญ่มาก ๆ ก็ต้องมีตั้งแต่การรวบรวมพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์ การเพาะเลี้ยงให้ได้ปริมาณมาก ๆ เพราะว่าสารที่ออกฤทธิ์เป็นปริมาณไม่มากก็ต้องมีการปลูกพืชที่เป็นตัวให้สารออกฤทธิ์ในปริมาณมาก เป็นเรื่องของนักเกษตร นักพืชสวนที่สามารถปลูกได้มาก ๆ ปลูกอย่างไรให้มีสารออกฤทธิ์ และรู้อย่างไรว่าจะต้องเก็บเกี่ยวช่วงใด นักเทคโนโลยีการเกษตรจะต้องเข้ามา เสร็จแล้วในลำดับนี้สุดท้าย นักเภสัช นักเคมี จะต้องเข้ามาอีก จะทำอย่างไร จะวิจัยว่าสารออกฤทธิ์ที่สำคัญในสมุนไพร ช่วงอายุ เท่าไร อย่างไร จึงจะเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุดที่จะให้สารออกฤทธิ์ในปริมาณที่มาก เพื่อที่จะให้การผลิตสามารถที่จะนำไปสู่การคุ้มทุน ที่สำคัญก็คือจะต้องมีวิธีวิเคราะห์หรือสกัดความบริสุทธิ์ หรืออะไรก็ตามที่เป็นเรื่องของนักเคมี มาจนถึงขั้นตอนที่สำคัญคือจะเอาไปใช้ประโยชน์ เป็นเรื่องของนักแพทยศาสตร์ที่จะต้องมีการทดสอบ ทดลองสิ่งที่มีชีวิต หลายครั้งจะต้องมีการทดลองแม้กระทั่งในมนุษย์ นี่เป็นงานวิจัยที่เป็นสหสาขาวิชาการ ต้องการคนที่มีความรู้หลาย ๆ ฝ่ายมาร่วมกัน เพื่อจะให้เกิดความสมบูรณ์ให้ได้สมุนไพรออกมา เพื่อจะมาบล็อกว่านี่ใช้ได้ สุดท้ายต้องลงเอยด้วยเรื่องของนักเศรษฐศาสตร์ที่จะมาประเมินว่าวิธีการที่ท่านพบว่าใหม่นี้ คุ้มทุนหรือเปล่า อันนี้เราจะเห็นว่างานวิจัยทางด้านสมุนไพรนี้เป็นงานวิจัยที่ต้องทำต่อเนื่อง ใช้เวลานาน ใช้คนมาก แน่นอนต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมืออุปกรณ์อะไรต่ออะไร แน่นอนเป็นโครงการที่ต้องใช้งบประมาณมาก เพราะฉะนั้นการทำวิจัยสมุนไพรขึ้นทำเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะพบว่าไม่ค่อยได้ผล จนกระทั่งสมบูรณ์ เพราะเหตุว่าเป็นลักษณะเป็นแบบสหสาขาวิชา และการวิจัยสมุนไพรจะมีลักษณะต่อยอด อันนี้สำคัญมาก ถ้าเราไปหาดูว่ามีใครเขาทำอะไร ทำไว้ครึ่ง ๆ กลาง ๆ เพราะว่าขาดงบประมาณ ขาดคน ขาดองค์ประกอบอะไรอีกหลายอย่าง ทำให้ไม่สามารถทำต่อไปจนจบขั้นสุดท้ายที่จะเอาไปทำประโยชน์เราไปค้นมา อาจจะเป็นในประเทศเรา ในปัจจุบันมีคนทำเอาไว้จำนวนมากมายแล้วสามารถนำมาพัฒนาอีกได้ ตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญที่มีโอกาสสิ่งใหม่ ๆ อาจจะเป็นสารใหม่ ค้นพบการใช้ประโยชน์กรรมวิธีสกัดสารชนิดใหม่ ๆ ซึ่งจะนำไปสู่การดำเนินการด้านทรัพย์สินทางปัญญา การดำเนินการนั้นไม่ใช่มองแค่ประเทศไทย มองไปถึงประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่จะคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทย โครงการวิจัยบูรณาการของสมุนไพรนั้น บูรณาการหลายมิติ ทำในแง่ของเนื้อหาวิจัย มีเนื้อหาหลายด้านซึ่งต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญที่จะมาช่วยกันทำบูรณาการในเรื่องบุคลากรในการวิจัย บูรณาการในเรื่องสถาบัน องค์กรที่จะต้องร่วมมือกับภาครัฐหลาย ๆ ภาค ภาควิชาการหลาย ๆ แห่ง ภาคเอกชน มาร่วมกันทำ ฉะนั้นจะเห็นว่าสาขาวิชาและเทคโนโลยีทำให้การดำเนินการทางทรัพย์สินทางปัญญา จะต้องมีความรอบคอบ มีความชัดเจน เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาในภายหลัง เพราะจะต้องเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก ผลงานกว่าจะดำเนินการไปจนถึงขั้นจดสิทธิบัตร อาจจะมาจากการคิดค้นของตนเอง และต่อไปด้วยการพิสูจน์ว่าใช้ได้ นำไปใช้ได้จริง จะเห็นว่าเกี่ยวข้องกับหลาย ๆ คน หน่วยงานหลายองค์กร หลาย ๆ พื้นฐาน ของเทคโนโลยี จึงต้องมีความชัดเจน มีความเที่ยงตรงในการดำเนินการของการดำเนินการของทรัพย์สินทางปัญญา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ชัดเจนในเรื่องของกฏ ระเบียบแนวทางปฏิบัติ ในการที่จะพิจารณาว่าสัดส่วนในเรื่องสิทธิประโยชน์หลาย ๆ ครั้งเป็นสิ่งที่ทำให้ล่วงเลย ทำให้การดำเนินการทางทรัพย์สินทางปัญญาไม่สำเร็จ ตกลงกันไม่ได้ ไม่ชัดเจน ไม่ทะเลาะกันก่อนตั้งแต่ต้น ไปทะเลาะที่หลังก็เลยเสียทรัพย์สินทางปัญญาจากการวิจัยและการคุ้มครอง
ขั้นตอนการทำทรัพย์สินทางปัญญา
1. สำรวจข้อมูลก่อนทำข้อเสนอ
2. ยื่นขอสิทธิบัตรก่อนนำเสนอในการประชุมวิชาการ หรือจะไปตีพิมพ์ หรือจะไปเปิดเผยต่อสาธารณชน หรือจะเอาไปทดลองใช้ให้ปลอดภัยไว้ต้องขอจดสิทธิบัตรก่อน กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะใช้ในวันแรกที่เราไปยื่นจด จะนับวันนั้นไม่ว่าเราจะ ได้ทรัพย์สินทางปัญญามาเมื่อไร ขั้นตอนการจดของกรมทรัพย์สินทางปัญญาบางเรื่อง ใช้เวลา 4-5 ปี ฉะนั้น ตรงนี้นักวิชาการต้องระวัง ปกตินักวิชาการกับการตีพิมพ์มักจะคู่ กันต่อไปนี้ต้องคิดสักนิด แล้วดำเนินการการทางทรัพย์สินทางปัญญาเสียก่อน เพื่อไม่ให้เสียสิทธิ เมื่อมีภาคเอกชนสนใจการวิจัยที่เราทำ มาติดต่อ นักวิจัยควรจะหารือหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาขององค์กรของท่านก่อน เช่น มหาวิทยาลัยก็ดี อีกหน่วนงานหนึ่งที่ต้องแจ้งก็คือ เช่น ท่านที่ได้รับทุนจากสภาวิจัยแห่งชาติ ต้องแจ้งเจรจากับผู้ที่จะมารับการถ่ายทอดเมื่อได้ สิทธิบัตรแล้ว การมี การประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนต่างได้ทราบ ผู้สนใจจะได้นำไปใช้ไม่ใช่ได้ สิทธิบัตร มาแล้วกลับไปกอดไว้ จะต้องนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ให้ภาคเอกชนได้ รู้ว่าหน่วยงานนี้ได้สิทธิบัตรมาแล้ว ใครสนใจจะเข้ามาศึกษามาสำรวจเทคโนโลยี
เกี่ยวกับการวิจัย
การบริหารของทรัพย์สินทางปัญญา ก็เพื่อจะช่วยผู้ประดิษฐ์ เจ้าของหน่วยงานที่สร้างประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา โดยจะต้องมีระบบในการที่จะจัดสรร
ผลประโยชน์ ให้แก่ผู้เกี่ยวข้องอย่างเป็นธรรม เพื่อก่อให้เกิดแรงจูงใจผลงาน ใหม่นั้น นักวิจัยซึ่งเป็นคนแรกที่เป็นคนคิดค้นผลงาน งานที่เป็นนวัตกรรมซึ่ง สามารถนำไปสู่การดำเนินการทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา มีดังนี้
1. สิ่งแรกที่ได้รับเกียรติที่จะปรากฏชื่อของเขาในเอกสารทางทรัพย์สินทางปัญญา
2. การแบ่งสรรสิทธิประโยชน์ในหลาย ๆ หน่วยงาน เขาจะให้กับผู้ประดิษฐ์มากกว่าส่วน อื่น ซึ่งอันนี้จะทำให้เกิดกำลังใจสามารถนำเอาสิทธิประโยชน์ส่วนนี้ เอาไปพัฒนางานวิจัยให้ยิ่งลึกซึ้งยิ่งเก่งขึ้นอีก มีความพร้อมในเครื่องอุปกรณ์มากขึ้นไปอีก จ้างคนแพงขึ้นไปอีกหาลูกมือมาทำได้มากขึ้นไปอีก
3. แก้ไขปัญหาซึ่งผู้ประดิษฐ์คิดค้น ผู้วิจัย ไปบริหารจัดการเอง และ
4. มีมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ