รายงานแนวโน้มการลงทุนโลก ประจำเดือนสิงหาคม 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 18, 2009 11:23 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 ก.ย.--อเบอร์ดีน สรุปความเห็นของอเบอร์ดีน ? เศรษฐกิจโลกเตรียมที่จะขยายตัวอีกครั้งภายในครึ่งหลังของปี 2552 ? นโยบายการเงินยังคงผ่อนคลายจนถึงปี 2553 ? เกิดภาวะฟองสบู่ในตลาดหุ้นบางแห่ง แต่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ราคาปรับลดลงจนน่าลงทุน คงไม่เกิดข้อสงสัยอีกแล้วว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวขึ้นหรือไม่ นอกจากจะสงสัยว่าการฟื้นตัวน่าจะแข็งแกร่งในระดับใด ภาคการผลิตควรจะเป็นตัวนำในการฟื้นตัว เนื่องจากธุรกิจกำลังกักตุนสินค้าคงคลัง เพื่อต้อนรับอุปสงค์ที่เริ่มขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ ปัจจุบันมีสถิติที่แน่นอนมากขึ้นว่าตลาดบ้านในสหรัฐฯเริ่มมีการฟื้นตัว โดยเฉพาะในกลุ่มบ้านใหม่ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยอยู่ในระดับต่ำ แรงจูงใจให้ซื้อบ้านจากรัฐบาล และราคาบ้านที่ลดลง ล้วนเป็นแรงกระตุ้นอุปสงค์ของการซื้อบ้านมากเป็นพิเศษ ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากราคาพลังงานที่ลดลง แต่ยังมีความเสี่ยงว่าการปรับขึ้นของราคาน้ำมันรอบใหม่จะทำให้ผู้บริโภคเสียประโยชน์นี้ไป เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร แม้ว่าจะเหมือนกันในหลายด้านกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่อยู่ในขั้นที่ตามหลังสหรัฐฯอยู่มากเมื่อพิจารณาในมุมของวัฏจักรเศรษฐกิจ ภาคการบริการทางการเงินเป็นองค์ประกอบสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรในไม่กี่ปีที่ผ่านมาไม่นานนี้ และยังต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าจะฟื้นตัวขึ้น เศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปและญี่ปุ่นยังคงพึ่งพาอุปสงค์จากต่างประเทศในการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของตน แต่ในเอเชียนอกจากญี่ปุ่นและในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ มีอัตราการหดตัวทางเศรษฐกิจน้อยกว่า และมีการนำนโยบายการเงินและการคลังแบบผ่อนคลายสูงมาใช้ ซึ่งจะทำให้ประเทศเหล่านี้ฟื้นตัวจากเศรษฐกิจตกต่ำในขณะนี้ได้อย่างรวดเร็ว แต่การอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ตลาดยังอยู่ในข้อยกเว้นจากการนำมาใช้ โดยเฉพาะในประเทศที่อุปสงค์ของสินเชื่อยังไม่ลดลงจากสาเหตุของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่ลดลง ทรัพย์สินทางการเงินมีทีท่าที่ยังคงปรับตัวได้ดีในระยะปานกลางแม้ว่าปัจจัยพื้นฐานของธุรกิจยังไม่ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนก็ตาม เนื่องจากกระบวนการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ตลาดจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นเป็นอันดับแรกก่อนจะไปกระทบภาคเศรษฐกิจจริง อย่างไรก็ตาม ข้อสงสัยที่ดีจะส่งเสริมให้เกิดการแก้ไขสิ่งที่ผิด ซึ่งหนึ่งในการแก้ไขอาจจะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้ อเบอร์ดีนยังเลือกที่จะลงทุนส่วนใหญ่ในภูมิภาคเช่นกลุ่มตลาดเกิดใหม่และเอเชีย แม้ว่าในอนาคตใกล้ๆนี้ ผลการดำเนินงานของตลาดมีความเป็นไปได้ที่จะตกต่ำลงก็ตาม เรามีความสนใจในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น โดยเฉพาะในตลาดเช่น สหราชอาณาจักร ซึ่งให้อัตราผลตอบแทนจากมูลค่าการลงทุนมากกว่า 9%* หลังจากมูลค่าในตลาดของอสังหาริมทรัพย์ในสหราชอาณาจักรลดลงมามาก *ที่มา: ไอพีดี ยูเค ออล พร็อพเพอร์ตี้ — ดัชนีอัตราผลตอบแทนจากค่าเช่าเฉลี่ยต่อปี ไมค์ เทอร์เนอร์ หัวหน้าฝ่ายวางแผนและจัดสรรการลงทุนโลก แนวโน้มเศรษฐกิจและตลาด ดัชนีภาคอุตสาหกรรมของโลกกำลังเข้าสู่เสถียรภาพจากที่ทรุดลงในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว และดูเหมือนจะปรับตัวขึ้นได้จากการกักตุนสินค้าคงคลังของภาคธุรกิจในช่วงเข้าสู่ครึ่งหลังของปี ประกอบกับภาครัฐมีการใช้จ่าย ซึ่งจะทำให้ประเทศใหญ่สามารถมีตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่เติบโตขึ้น ซึ่งนำไปสู่การสิ้นสุดลงของภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย และลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเงินฝืด สหรัฐอเมริกา ภาคเอกชนของสหรัฐฯยังมีอุปสงค์ในระดับต่ำ แต่อาจแฝงสัญญาณของการฟื้นตัวอยู่ด้วยก็เป็นได้ กิจกรรมการซื้อขายบ้านปรับตัวดีขึ้นพอประมาณ โดยยอดขายบ้านใหม่เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สามติดต่อกัน ราคาบ้านตามดัชนี เคส-ชิลเลอร์ ปรับขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบสามปี แต่ยังไม่แน่ชัดว่ามาตรการจูงใจผู้ซื้อบ้านในเชิงภาษีจะมีผลมากเท่าใด ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นยังอยู่ในระดับต่ำ และจำนวนการว่างงานยังคงมีสูง ราคาพลังงานยังคงเป็นปัจจัยคุกคามการบริโภค เช่นเดียวกับการปรับขึ้นเงื่อนไขของการปล่อยกู้จากธนาคาร และอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยจากตราสารหนี้ปรับเพิ่มขึ้น แต่ในภาพรวม การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังดูดีต่อไปจนขึ้นปี 2553 แล้ว แม้ว่าจะมีข้อสงสัยถึงระดับความแข็งแกร่งของการฟื้นตัวก็ตาม ยุโรป รวมสหราชอาณาจักร วงจรธุรกิจในสหราชอาณาจักรยังตามหลังสหรัฐฯ ภาคการผลิตในสหราชอาณาจักรมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจน้อยกว่าภาคการบริการมาก ดังนั้นสหราชอาณาจักรจะไม่ได้ประโยชน์มากนักจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการผลิตของโลก อันที่จริงภาคการบริการทางการเงินเป็นองค์ประกอบที่ใหญ่ที่สุดของผลผลิตจากภาคการบริการทั้งหมดของสหราชอาณาจักร ประกอบกับผลกำไรจากธุรกิจบริการทั้งหมดเพิ่งเริ่มจะฟื้นตัว จึงยังจะต้องใช้เวลาอีกสักระยะก่อนที่รายได้และการจ้างงานจะส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจอย่างเป็นเรื่องเป็นราว อย่างไรก็ตาม อุปสงค์กำลังฟื้นตัวขึ้น พร้อมกับมีสัญญาณที่เพิ่งเริ่มต้นของการฟื้นตัวในอุตสาหกรรมที่อยู่อาศัยของยุโรป ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นมีความคล้ายกับเขตเศรษฐกิจยุโรป ซึ่งกำลังประสบกับการลดลงมากของอุปสงค์ภายในประเทศ โดยยอดขายปลีกในเดือนพฤษภาคมปรับลดลงเป็นเดือนที่เก้าติดต่อกัน เนื่องจากอัตราค่าจ้างตกต่ำลงมากที่สุดในรอบสองทศวรรษ โดยลดลงไปแล้ว 7% จากปีที่แล้ว สินค้าคงคลังของภาคธุรกิจยังคงอยู่ในระดับสูง แสดงถึงแนวโน้มในระยะสั้นของเศรษฐกิจญี่ปุ่นซึ่งจะไม่ดีเท่าประเทศอื่น เอเชียและกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ในเอเชียที่ไม่รวมญี่ปุ่น ดัชนีราคาผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของจีนทรงตัวในระดับเดิมในเดือนกรกฎาคม แต่มีการเปลี่ยนแลงในองค์ประกอบของดัชนี โดยแสดงการเติบโตที่ย้ายจากการลงทุนด้านโครงการพื้นฐาน มาอยู่ที่การลงทุนด้านที่อยู่อาศัยและการส่งออก การเติบโตของจีนจะยังคงมีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในเอเชียต่อไป โภคภัณฑ์ ราคาน้ำมันได้ปรับขึ้นอีกครั้งถึงระดับ 70 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล แต่ปัจจัยพื้นฐานที่ยังอ่อนแอ เป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าการเก็งกำไรเป็นตัวเร่งตลาดน้ำมันให้ปรับตัวขึ้น ยกตัวอย่างเช่น โอเป็ค ทำการผลิตน้ำมันสูงกว่าโควตาการผลิตถึง 1 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนมิถุนายน ในขณะที่องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ กำหนดจำนวนวันการใช้น้ำมันที่เพียงพอกับความต้องการอยู่ในระดับสูงที่ใกล้จะเป็นสูงสุดตลอดกาล ในขณะนี้ปริมาณสำรองน้ำมันของสหรัฐฯยังคงเพิ่มขึ้นสัปดาห์ต่อสัปดาห์ ภาคอุตสาหกรรมก็มีปัญหาจากอุปทานที่มากเกินไปเช่นกัน ยกเว้นการผลิตแร่ทองแดง ซึ่งราคาปรับตัวขึ้นมากที่สุด โดยส่วนใหญ่มีแรงหนุนจากการเติบโตของเศรษฐกิจจีน เรายังคงระมัดระวังการปรับฐานของราคาโภคภัณฑ์ที่มีนัยสำคัญ แต่เชื่อมั่นว่าในระยะยาวแนวโน้มของราคาโภคภัณฑ์จะยังสูงขึ้น ตราสารหนี้ เงินท้องถิ่น และนโยบายการเงิน นโยบายการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐฯรับรู้สัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเช่นกัน และรับรู้ว่าการขึ้นราคาพลังงานควรจะได้รับการชดเชยโดยการลดกำลังการผลิตเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้ได้ เรารู้สึกว่าการลดภาระหนี้สินทั้งในส่วนผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่ยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจะกระตุ้นให้รัฐบาลคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายไว้จนถึงปีหน้า ที่จริงคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯก็ไม่ได้ตัดทิ้งโอกาสที่จะใช้มาตรการอัดฉีดเม็ดเงินใหม่เข้าสู่ตลาด (Quantitative Easing - QE) ในระยะต่อไป แต่ก่อนหน้านั้น ยังมีโครงการรับซื้อทรัพย์สินอื่นๆ เช่น โครงการรับซื้อหนี้รายย่อยจากเจ้าหนี้ (Term Asset-back loan facility —TALF) และโครงการลงทุนร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Investment Partnership - PPIP) ซึ่งอาจขยายขนาดขึ้นได้ ในโครงการลงทุนร่วมภาครัฐและเอกชน มีเป้าหมายที่จะส่งเสริมการลงทุนในตลาดหุ้น แทนการอัดฉีดสภาพคล่องที่เป็นเป้าหมายของมาตรการอัดฉีดเม็ดเงินใหม่เข้าสู่ตลาดหรือ QE ดังนั้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ต่อไป ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศจะเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินว่าจะมีการออกมาตรการอัดฉีดเม็ดเงินใหม่เข้าสู่ตลาด (QE) ระยะต่อไปหรือไม่ ในสหราชอาณาจักร ในที่สุดรัฐบาลเลือกที่จะขยายขนาดโครงการอัดฉีดเม็ดเงินใหม่เข้าสู่ระบบ (QE) และใช้ประโยชน์จากโครงการนี้ให้เต็มที่ พร้อมกับประกาศการรับซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มอีก 5 หมื่นปอนด์ในช่วงสามเดือนข้างหน้านี้ สิ่งนี้ยืนยันความเห็นของเราว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้พื้นฐานน่าจะตรึงไว้ที่ 0.5% ในปีหน้า ธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรป เลือกที่จะคงสถานะเดิมในการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารครั้งล่าสุด แม้ว่าการเติบโตของเขตเศรษฐกิจยุโรปอยู่ในพวกที่ช้าที่สุดในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ระบบที่ไม่ยืดหยุ่นในตลาดแรงงานและตลาดสินค้าสร้างแนวโน้มให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งรัฐบาลกำลังเฝ้าระวังอยู่ ภายหลังการเข้าซื้อคืนพันธบัตร (ระยะหนึ่งปี) ขนานใหญ่ในเดือนที่แล้ว ธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรปอาจจะยังไม่มีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงนโยบายของตนอีกเป็นระยะเวลาหนึ่ง ในการประชุมนโยบายการเงินครั้งล่าสุดของธนาคารกลางญี่ปุ่น แถลงเป็นนัยถึงพัฒนาการที่ดีขึ้นของเศรษฐกิจของตน แต่ในความจริงคือญี่ปุ่นกำลังจมอยู่กับภาวะเงินฝืดที่ยาวนานอีกครั้ง คำถามสำคัญคือธนาคารกลางจะสามารถยืดโครงการรับซื้อพันธบัตรไว้ได้นานเท่าใด เราสงสัยว่าญี่ปุ่นอาจจะใช้มาตรการอัดฉีดเม็ดเงินใหม่เข้าสู่ระบบที่ยาวนานกว่าในประเทศอื่น และทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายคงไว้ที่อัตรา 0.1% ไปตลอดปี 2553 นโยบายการเงินในเอเชียนอกจากญี่ปุ่นยังคงอยู่ในด้านผ่อนคลาย แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดจะปรับขึ้นในจีนในเดือนที่ผ่านมา ปริมาณเงินในตลาดของจีน (ทั้งเงินที่อยู่ในประเภท M1 และ M2) ขยายตัวขึ้น 25-30% ซึ่งสูงกว่าช่วงเศรษฐกิจฝืดเคืองในปี 2549-2550 การจัดเตรียมสภาพคล่องน่าจะคงอยู่ต่อไป ในช่วงที่การส่งออกยังอ่อนแอ ในประเทศลาตินอเมริกา นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายคาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แม้ว่าบางประเทศอาจจะเข้าใกล้จุดต่ำสุดของวงจรอัตราดอกเบี้ยขาลงแล้ว พันธบัตรรัฐบาล การซื้อขายพันธบัตรระยะยาวของประเทศในกลุ่ม G7 ให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยที่ห่างกันมากระหว่าง 3-4% ยกเว้นพันธบัตรญี่ปุ่น ในระยะใกล้นี้เป็นเรื่องยากที่ความแตกต่างของอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยจะหลุดจากกรอบนี้ ซึ่งในเวลาต่อไป จะเป็นการชี้นำว่าพันธบัตรระยะสั้นมูลค่าจะปรับตัวขึ้นสูง และพันธบัตรระยะยาวมูลค่าจะปรับ ตัวลดลง ในช่วงปานกลางต่อไป ตลาดพันธบัตรรัฐบาลน่าจะยิ่งรับแรงกดดันด้านปริมาณพันธบัตรออกใหม่มากขึ้น เนื่องจากนักการเมืองในสภาจะใช้เวลานานในการแก้ไขงบประมาณให้สมดุล กรณีนี้มีความใกล้เคียงเป็นพิเศษกับสหราชอาณาจักร ซึ่งสิ่งที่จะตามมาได้แก่การปรับตัวในลักษณะชันขึ้นของเส้นเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของพันธบัตรอังกฤษ หุ้นกู้ กรกฎาคมดัชนีหุ้นกู้ปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง โดยดัชนีทุกตัวล้วนแสดงถึงส่วนต่างอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของหุ้นกู้ที่เกินกว่าของพันธบัตรสหรัฐฯปรับลดลง โดยส่วนใหญ่ผลประกอบการของภาคธุรกิจออกมาดีกว่าการคาด การณ์ของนักวิเคราะห์ในเดือนที่ผ่านมา แต่การเติบโตของยอดขายยังไม่เกิดขึ้นในหลายบริษัท ความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้อยู่ในด้านดีมากขึ้น กระแสเงินสดยังคงแข็งแกร่ง ซึ่งเป็นผลจากการลดลงของรายจ่ายด้านทุน ในการซื้อขายหุ้นกู้ในปัจจุบัน ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของหุ้นกู้ของหลายบริษัทที่สูงกว่าของพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับลดลงจากระดับช่วงก่อนการล้มละลายของ เลห์แมน บราเธอร์ส เราคาดการณ์ว่าปัจจัยแวดล้อมในช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่ชะลอตัวลงจากเดิมจะเกิดจากปริมาณการออกหุ้นกู้ใหม่ เราจึงทำประโยชน์จากสภาพคล่องในตลาดที่มีสูง โดยการขายหุ้นกู้ออกไปบางส่วน ซึ่งเราเชื่อว่ามีมูลค่าปรับขึ้นสูงสุดในขณะนี้ การเสนอการแก้ไขหลักการทำบัญชี (IAS 39) ในการตีราคาตราสารทางการเงิน สามารถจะหนุนภาค อุตสาหกรรมการเงิน โดยมีข้อแนะนำจากคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีสากล (IASB) ว่าในอนาคตตราสารหนี้ที่มีกระแสเงินสดของลูกหนี้ค้ำประกัน จะต้องตัดจำหน่ายมูลค่าตราสารหนี้ออกไปเป็นงวดๆ โดยจะไม่ยึดหลักการตีราคาตามราคาตลาดแบบเดิม แต่วิธีการนี้จะไม่เปลี่ยนแปลงฐานะทุนของธนาคารส่วนใหญ่ หากมีความเป็นไปได้ที่การเปลี่ยนวิธีการตีราคาทรัพย์สินมาใช้วิธีการนี้ ทำให้มีการคืนกลับมูลค่าทางบัญชีของทรัพย์สิน ก็จะสามารถยกระดับความเชื่อมั่นให้เพิ่มขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ ตราสารหนี้กลุ่มตลาดเกิดใหม่ ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของพันธบัตรกลุ่มตลาดเกิดใหม่ที่สูงกว่าของพันธบัตรสหรัฐฯยังคงปรับลดลงในเดือนกรกฎาคม โดยพันธบัตรกลุ่มที่มีสภาพคล่องต่ำกว่า และมีความเสี่ยงมากกว่าปรับขึ้นสูงสุด เราพบว่ามูลค่าปรับขึ้นในตลาดพันธบัตรที่เป็นสกุลเงินท้องถิ่นมากกว่าในตลาดที่เป็นสกุลเงินหลักของโลก และเราคาดว่าส่วนต่างอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของพันธบัตรกลุ่มตลาดเกิดใหม่ที่สูงกว่าของพันธบัตรสหรัฐฯจะยิ่งปรับลดลงในระยะสิ้นปี แม้ว่าการปรับฐานราคาทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงมีโอกาสเกิดขึ้นได้ก็ตาม อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เงินยูโรและเงินปอนด์ยังคงเป็นสองสกุลเงินหลักของโลกที่มีความแข็งแกร่งน่าลงทุนมากที่สุดในสายตาของนักลงทุน ซึ่งแนวโน้มนี้อาจจะคงอยู่ต่อไปในระยะเวลาอันใกล้นี้ เรามีความกังวลในเรื่องการปรับฐานของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในตลาดโดยรวม ซึ่งจะหนุนเงินเหรียญสหรัฐฯให้แข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับเงิน ยูโรและเงินปอนด์ อัตราแลกเปลี่ยนเงินเหรียญสหรัฐในช่วงแข็งค่าไม่น่าจะเกิน 1.35 เหรียญต่อยูโร หรือ 1.57 เหรียญต่อปอนด์ ผลกระทบจากการนี้จะขยายไปถึงเงินตราในสกุลที่มีอัตราผลตอบแทนสูง (จากอัตราดอกเบี้ยและค่าเงิน) เช่นเงินเหรียญออสเตรเลีย แคนาดา และนิวซีแลนด์ ซึ่งอาจจะอ่อนค่าลงมากขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐฯ ตราสารทุน ตลาดหุ้นดูเหมือนจะปรับตัวขึ้นไปล่วงหน้าก่อนการปรับขึ้นของปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจมหภาค จนทำให้ผู้สันทัดกรณีหลายท่านเกิดความสงสัยเกี่ยวกับมูลค่าที่ซื้อขายในปัจจุบันนี้ ในรายงานครั้งก่อนของเรา เราเห็นว่าตลาดหุ้นไม่ได้อยู่ในระดับราคาถูกหรือแพงข้างใดข้างหนึ่ง เมื่อพิจารณาจากอัตราส่วนราคาต่อกำไร ที่อยู่ในช่วงใกล้กับค่าเฉลี่ยย้อนหลังระยะยาวของหุ้นนั้น ซึ่งหมายถึงมีการเติบโตของกำไรในระดับปานกลาง และตลาดหุ้นของโลกก็ยังคงมีลักษณะเช่นนี้ แม้ว่าตลาดหุ้นของบางประเทศหรือในบางภูมิภาคดูเหมือนจะถูกปั่นราคามากเกินไป ซึ่งแสดงว่าเกิดภาวะฟองสบู่ เช่น ตลาดหุ้นจีน เป็นต้น ซึ่งราคาของหุ้นใหม่ที่เพิ่งเปิดขายต่อสาธารณะเมื่อไม่นานมานี้ มีอัตราส่วนราคาต่อกำไร ถีบตัวไปถึง 50 เท่าหรือมากกว่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นตลาดที่อันตราย หากจะกล่าวถึงสภาพคล่องที่มีอยู่อย่างมากมายว่าเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ราคาตราสารทางการเงินปรับขึ้นมากอีกครั้ง ก็ไม่น่าจะเกินเลยไป คำถามต่อไปก็น่าจะได้แก่ เมื่อไรสภาพคล่องจะหมดไป คำตอบคือยังไม่น่าจะหมด ไปจนกว่าจะล่วงเข้าปี 2553 ไปพอสมควร ดังนั้นเรามีความเชื่อมั่นว่าทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงจะยังสามารถปรับขึ้นได้ต่อไปใน 18 เดือนต่อจากนี้ แต่ตลาดยังเต็มไปด้วยความกังวลที่จะต้องก้าวข้าม ซึ่งนั่นจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการปรับฐานราคาได้ในระดับที่สมเหตุสมผล ในกรณีนี้ เรายังเชื่อมั่นว่าเรามาใกล้การปรับขึ้นของตลาด และได้ปรับขึ้นเป้าหมายการปรับขึ้นของดัชนี S&P500 ในระยะสั้น ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1000 -1050 จุด แต่สภาพคล่องยังไม่ได้ลงลึกเข้าไปในภาคเศรษฐกิจจริง อย่างที่น่าจะเป็น (เช่น การกระตุ้นอุปสงค์ของภาคเอกชน) แต่เป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้น เพื่อส่งเสริมการลงทุนในทรัพย์ที่มีความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม หากมีการปรับฐานราคาก็อาจจะไม่มาก เนื่องจากเป็นเพียงความคิดเห็นของเราเท่านั้นที่ว่านักลงทุนต้องการใช้เงินสดกลับไปลงทุนใหม่ ในขณะที่ภาวะตลาดจากข้อมูลทางเทคนิคก็ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ทางด้านกำไร ที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เห็นว่ากำไรขององค์กรธุรกิจออกมาดีกว่าการคาดการณ์ จากการลดต้นทุนอย่างรุนแรง ซึ่งทำให้กำไรส่วนต่างเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง ประเด็นสำคัญคือยอดขายมีการเติบโตขึ้นแล้วหรือยัง หากเศรษฐกิจโลกขยายตัวจริง ซึ่งมีทีท่าว่าจะเป็นไปได้มากขึ้น เมื่อนั้นกำไรของภาคธุรกิจก็อาจจะเติบโตในระดับสูงจนเกินการคาดการณ์ของนักลงทุน เป็นที่แน่นอนว่าสภาพคล่องมีอย่างมหาศาลในเอเชียและกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ซึ่งมีพื้นฐานแนวโน้มของผลกำไรที่ยังไม่เคยเสียหายไปเหมือนในประเทศที่พัฒนาแล้ว ประกอบกับมีการใช้นโยบายการเงินและการคลังที่ผ่อนคลายลงมากในตลาดเหล่านี้ เรายังคงให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดเหล่านี้มากกว่าตลาดอื่น เนื่องจากเรามีความเชื่อมั่นในโครงสร้างเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ในระยะยาวในภูมิภาคเหล่านี้ ซึ่งเป็นแรงหนุนให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศและศักยภาพในการทำกำไรเติบโตขึ้น ที่มาพร้อมกับเงินปันผลในระดับสูง อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องธรรมดา หากการรับความเสี่ยงของนักลงทุนลดลง ดัชนีตลาดหุ้นในภูมิภาคเหล่านี้ก็จะได้รับผลกระทบในทางลบได้ในระยะสั้น ด้านปัจจัยอื่น เรามีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลกระทบต่อผลตอบแทนรวมจากการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ที่เกิดจากการอ่อนค่าลงของเงินเหรียญสหรัฐฯ และจากข้อพิจารณาว่าบางทีตลาดหุ้นสหราชอาณาจักรมีความอ่อนไหวสูงที่สุดต่อความเลวร้ายของแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค แม้ว่าตลาดจะมีปัจจัยหนุนจากผลตอบแทนที่เป็นเงินปันผลในระดับสูงก็ตาม ด้วยเหตุผลเหล่านี้ เราจึงอยู่ในฐานะที่ระมัดระวังมากขึ้นเกี่ยวกับการลงทุนในตลาดเหล่านี้ ที่มีความเชื่อมโยงไปถึงตลาดเอเชียและกลุ่มตลาดเกิดใหม่ด้วย ในส่วนของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดขึ้นพร้อมกันทั่วโลก ได้ลดอุปสงค์ของผู้เช่าลง โดยมูลค่าค่าเช่าของอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์โดยรวมตกต่ำลงในทุกภูมิภาค แต่อัตราการตกต่ำลงก็กำลังลดลง การปรับตัวของราคาตลาดของอสังหาริมทรัพย์อยู่ในเชิงลบในสหราชอาณาจักรและยุโรปตะวันออก ต่อมาภายหลังในเอเชีย กลุ่มประเทศแถบอ่าวอาหรับและลาตินอเมริกามีการลดลงหนักเช่นกัน ซึ่งส่งผลให้โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ใหม่ๆต้องหยุดชะงักลง แต่การฟื้นตัวส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับอุปสงค์ของผู้เช่าที่จะกลับมาอีกครั้ง และการเติบโตของมูลค่าค่าเช่ายังต้องใช้เวลาอีกสองปีสำหรับตลาดในประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างไรก็ตาม ตลาดที่ตกต่ำลงส่วนใหญ่เป็นที่รับรู้แล้วในปัจจุบัน ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับฐานลดลงจนมากเกินไปในหลายประเทศ ซึ่งนำโอกาสมาสู่นักลงทุน โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักร ซึ่งมียังมีข้อได้เปรียบจากการอ่อนค่าลงของเงินปอนด์ด้วย เราคาดการณ์ว่าราคาตลาดของอสังหาริมทรัพย์จะมีเสถียรภาพก่อนการขึ้นอัตราค่าเช่าในทุกภูมิภาค แต่ระดับของการปรับขึ้นจะถูกจำกัดจากการพึ่งพาเงินทุนจากกองทุนอสังหาริมทรัพย์ และการขาดแคลนสินเชื่อที่ยังยืดเยื้อ สหรัฐฯเป็นประเทศหนึ่งที่มีการออกตราสารหนี้จำนวนมากที่ใช้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ค้ำประกัน ซึ่งจะครบกำ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ