HUMAN PAPILLOMAVIRUS (HPV)

ข่าวทั่วไป Tuesday May 15, 2007 14:00 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--15 พ.ค.--รพ. บำรุงราษฎร์ฯ
HPV คืออะไร
Human papillomavirus (HPV) คือ ไวรัสชนิดหนึ่งที่พบได้โดยทั่วไป1
HPV มีกว่า 100 ชนิด ส่วนมากจะไม่เป็นอันตราย2 ไม่ทำให้เกิดอาการใดๆ และมักจะหายไปได้เอง3
ในจำนวนนี้มี 30 ชนิด ซึ่งมักติดเชื้อในบริเวณอวัยะเพศของหญิงและชาย4
การติดเชื้อ HPV บริเวณอวัยวะเพศ พบบ่อยเพียงใดและใครมักติดเชื้อนี้
ประมาณ 630 ล้านคน ทั่วโลกติดเชื้อ HPV นี้5
จากข้อมูลการสำรวจพบว่าสัดส่วนของประชากรผู้หญิงเอเชียที่ติดเชื้อ HPV นั้นมีจำนวนจำกัด
ผลการวิจัยระดับนานานาชาติพบว่าการติดเชื้อ HPV ในผู้หญิงมีความแตกต่างกันจากผลการศึกษาใน 11 ประเทศ และในกลุ่มอายุที่ต่างกัน6 โดยในรัฐโฮจิมินท์ ซิตี้ ประเทศเวียดนามเอเชีย มีการติดเชื้อ HPV ร้อยละ 11 และ ในฮานอยร้อยละ 27 และ ในบูซาน ประเทศเกาหลีใต้ประมาณร้อยละ 108 สำหรับประเทศไทยนั้นมีการติดเชื้อ HPV ร้อยละ 9 ในจังหวัดลำปาง และร้อยละ 10 ในจังหวัดสงขลา9นอกจากนี้ผลการศึกษาในจังหวัด Shanxi ประเทศจีน พบว่าเป็นประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกสูงที่สุด ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ HPV ชนิดที่มีความเสี่ยงสูงถึงร้อยละ 2410
อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของหญิงและชายวัยเจริญพันธ์ มีการติดเชื้อ HPV ตลอดช่วงชีวิต11
ผู้หญิงในช่วงอายุ 50 ปีส่วนมาก จะมีโอกาสติดเชื้อถึงร้อยละ 8012
การติดเชื้อ HPV พบบ่อยที่สุดในผู้หญิงวัยเยาว์ที่มีอายุระหว่าง 18 — 28 ปี13
การติดเชื้อ HPV โดยส่วนมาก ไม่มีสัญญาณหรืออาการใดบ่งบอก และไวรัสจะติดต่อไปได้ แม้ไม่ได้แสดงอาการใดๆ เช่น การมีหูดขึ้น หรือสิ่งบ่งบอกอื่นๆ ที่ตาเห็นได้14
การติดเชื้อ HPV มีผลกระทบอย่างไร
ส่วนมากการติดเชื้อ HPV จะหายไปเองในระยะ 1 — 2 ปี ตามธรรมชาติของระบบภูมิต้านทานของร่างกายเรา15
การติดเชื้อ HPV ชนิดที่มีความเสี่ยงสูง คือ ชนิด 16, 18, 31 และ 45 หากยังคงดำเนินต่อไป จะนำไปสู่การเป็นมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งส่วนอื่น ๆ ของอวัยวะเพศ16
HPV ชนิด 16 และ 18 เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกประมาณร้อยละ 7017
HPV ชนิดที่มีความเสี่ยงต่ำ สามารถทำให้เกิดโรคหูดอวัยวะเพศ18
HPV ชนิด 6 และ 11 เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหูดอวัยวะเพศร้อยละ 90 19
ในบางกรณี การติดเชื้อ HPV ชนิด 16 หรือ 11 จากแม่อาจทำให้ทารกเกิด
recurrect respiratory papillomatosis(RRP)20 คือ เป็นแผลชนิดไม่รุนแรงใน
บริเวณทางเดินหายใจ ทำให้เกิดเสียงหายใจแรง และบางกรณีทำให้หายใจลำบาก21
HPV ทั้งชนิดที่มีความเสี่ยงสูงและมีความเสี่ยงต่ำ อาจทำให้เกิดแผลบริเวณปากมดลูก และทำให้ผลของ Pap Test ออกมาผิดปกติได้22 เพราะ Pap test คือการตรวจมะเร็งและการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปากมดลูกว่ามีความผิดปกติหรือไม่23
เชื้อ HPV จะพัฒนาไปสู่การเป็นมะเร็งได้อย่างไร
โดยทั่วไปการติดเชื้อ HPV มักจะหายได้เอง แต่บางครั้งในการติดเชื้อชนิดที่มีความเสี่ยงสูงอาจนำไปสู่การเป็นมะเร็งปากมดลูก แผลที่ปากมดลูกเกิดจากเซลล์ปากมดลูกที่ผิดปกติไปเรียกว่า เกิด cervical intraepithelial neoplasia (CIN) และหลังจากการติดเชื้อ HPV ขั้นต้น การลุกลามไปสู่การเป็นมะเร็งปากมดลูกขึ้นกับชนิดของ HPV
HPV ชนิดที่มีความเสี่ยงต่ำ (HPV ชนิด 6 หรือ 11) มีความเสี่ยงต่ำที่จะลุกลามต่อไป แต่อาจจะเป็นอยู่นาน24 โดยทั่วไปการติดเชื้อ HPV โดยส่วนใหญ่จะหายไปเองในระยะ 24 เดือนแรก25
HPV ชนิดที่มีความเสี่ยงสูง (HPV ชนิด 16 และ 18) มักเกี่ยวข้องกับ CIN 2 หรือ แผลในระดับที่สูงขึ้นไป แม้ CIN จะมีสาเหุตจากการติดเชื้อ HPV และมักหายไปเองโดยไม่ต้องรักษาแต่โอกาสที่จะลุกลามไปสู่การเป็นมะเร็งชนิดที่ไม่ลุกลามมีมากกว่าที่เป็นใน ระดับที่สูงกว่า (CIN 2/3)
CIN 2/3 คือ แผลของปากมดลูก หรือ แผลก่อนระยะเป็นมะเร็งชนิดสูง
CIN 1 คือ แผลชนิดไม่รุนแรง รวมถึง หูดอวัยวะเพศ26 มีการวินิจฉัยเชื้อ HPV ได้อย่างไร
Pap test ซึ่งช่วยตรวจสอบความผิดปกติของปากมดลูก ซึ่งมักเป็นความผิดปกติที่เกิดจากเชื้อ HPV27
เนื่องจาก Pap test ไม่ช่วยในการตรวจหาเชื้อ HPV โดยตรง ผลการตรวจอาจไม่ สามารถยืนยันว่ามีการติดเชื่อ HPV หรือไม่28
เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการพัฒนาการตรวจระดับโมเลกุลที่สามารถตรวจหาการติดเชื้อ HPV สำหรับผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 30 ได้ชัดเจนมากขึ้น และมีประโยชน์ในการตรวจร่วมกับ Pap test ซึ่งเป็นการตรวจหาความผิดปกติเล็ก ๆ น้อยๆ ที่อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ HPV29
การติดเชื้อ HPV รักษาได้อย่างไร
ปัจจุบัน ยังไม่มียาต้านไวรัสที่สามารถรักษาการติดเชื้อ HPV ได้30
มีหลายวิธีในการรักษาโรคที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ HPV ซึ่งการติดเชื้อดังกล่าว ได้แก่ หูดอวัยวะเพศ แผลระยะก่อนเป็นมะเร็ง และมะเร็งปากมดลูก31
สามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้อย่างไร
เราสามารถลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อโดยรักษาความสัมพันธ์ทางเพศแบบสามีภรรยาเดียว ทั้ง 2 ฝ่าย ในระยะยาวกับคู่สมรสที่ไม่มีการติดเชื้อ และจำกัดจำนวนของคู่ขา (sexual partners)32
การใช้ถุงยางอนามัย หากใช้อย่างถูกวิธีจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อนี้ได้ อย่างไรก็ตามยังไม่มีการประเมินผลชัดเจนถึงอัตราการลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อนี้โดยการใช้ถุงยางอนามัย33
จำไว้ว่า HPV มักไม่มีอาการบ่งบอกใดๆ ให้เห็นชัด34 ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะรู้ว่าผู้ใดติดเชื้อนี้อยู่35 และการป้องกัน 100 เปอร์เซ็นต์ต่อการติดเชื้อนี้ คือ ละเว้นจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่กำลังมีเชื้อนี้อยู่36
คุณผู้หญิงควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลสุขภาพถึงการตรวจ Pap test อย่างสม่ำเสมอ และพูดคุยถึงผลการตรวจอย่างละเอียด

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ