ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๔๐๐) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการปรับปรุงรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน

ข่าวทั่วไป Thursday January 14, 2021 14:32 —ข้อบังคับและประกาศภาษีสรรพากร

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๔๐๐) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการปรับปรุงรายได้และรายจ่าย

ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน อาศัยอานาจตามความในข้อ 4 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 369 (พ.ศ. 2563) อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการปรับปรุงรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ในประกาศนี้ "บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน" หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร

"ธุรกรรมที่ถูกควบคุม" หมายความว่า ธุรกรรมระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน

"ธุรกรรมที่ไม่ถูกควบคุม" หมายความว่า ธุรกรรมระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่คู่สัญญาของธุรกรรมนั้นไม่ใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน

"ผลตอบแทนสาหรับธุรกรรม" หมายความรวมถึง ตัวชี้วัดทางการเงินซึ่งสัมพันธ์กับวิธีการกาหนดราคาที่เลือกใช้ ดังต่อไปนี้ หรือตัวชี้วัดทางการเงินอื่นที่เหมาะสมซึ่งสัมพันธ์กับวิธีการกาหนดราคาอื่น แล้วแต่กรณี

(1) ราคา สาหรับวิธีการเปรียบเทียบราคาที่มิได้ถูกควบคุม (2) อัตรากาไรจากการขายต่อ สาหรับวิธีราคาขายต่อ (3) อัตรากาไรส่วนเพิ่มจากต้นทุน สาหรับวิธีราคาทุนบวกกาไรส่วนเพิ่ม (4) อัตรากาไรสุทธิ สาหรับวิธีอัตรากาไรสุทธิที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกรรม (5) ส่วนแบ่งกาไรจากการดาเนินงาน สาหรับวิธีแบ่งสรรกาไรของธุรกรรม ข้อ 2 ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันมีข้อกาหนดทางด้านการพาณิชย์หรือการเงินระหว่างกัน โดยมีการกาหนดผลตอบแทนสาหรับธุรกรรมที่ถูกควบคุมนั้นแตกต่างไปจากที่ควรจะกาหนดหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวได้ดาเนินการโดยอิสระ ในลักษณะที่เชื่อได้ว่ามีการถ่ายโอนกาไร อันทาให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลรายหนึ่งรายใดไม่ได้รับหรือได้รับกาไรหรือเงินได้พึงประเมินที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีน้อยกว่าที่พึงจะได้รับหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวได้ดาเนินการโดยอิสระ เจ้าพนักงานประเมินมีอานาจปรับปรุงรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลดังกล่าวเพื่อให้ได้จานวนรายได้ที่พึงได้รับและรายจ่ายที่พึงได้จ่ายหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวได้ดาเนินการโดยอิสระ เสมือนว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวได้รับและได้จ่ายตามนั้นเพื่อใช้ในการคานวณกาไรสุทธิที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร หรือเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียตามมาตรา 70 หรือมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

จานวนกาไรหรือเงินได้พึงประเมินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่งจะถือว่าเป็นจานวนที่พึงได้รับหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวได้ดาเนินการโดยอิสระต่อเมื่อการกาหนดผลตอบแทนสาหรับธุรกรรมที่ถูกควบคุมนั้นไม่แตกต่างไปจากผลตอบแทนสาหรับธุรกรรมที่ไม่ถูกควบคุมอันอาจเทียบเคียงกันได้

ในการพิจารณาปรับปรุงรายได้และรายจ่ายตามวรรคหนึ่งและการพิจารณาเทียบเคียงผลตอบแทนสาหรับธุรกรรมตามวรรคสองให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กาหนดตามข้อ 3 ถึงข้อ 10

ข้อ 3 ธุรกรรมที่ไม่ถูกควบคุมจะเข้าลักษณะเป็นธุรกรรมที่อาจเทียบเคียงกันได้กับธุรกรรมที่ถูกควบคุมในกรณีดังต่อไปนี้

(1) เมื่อธุรกรรมที่นามาเทียบเคียงกันนั้นไม่มีความแตกต่างอันอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสาคัญต่อตัวชี้วัดทางการเงินที่ถูกตรวจสอบด้วยวิธีการกาหนดราคาตามข้อ 5 หรือ

(2) เมื่อธุรกรรมที่นามาเทียบเคียงกันนั้นมีความแตกต่างอันอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสาคัญต่อตัวชี้วัดทางการเงินที่ถูกตรวจสอบด้วยวิธีการกาหนดราคาตามข้อ 5 แต่ได้มีการปรับปรุงความสามารถในการเทียบเคียงกันของธุรกรรมนั้นอย่างเหมาะสมเพื่อขจัดผลกระทบของความแตกต่างดังกล่าวแล้ว

ข้อ 4 ในการพิจารณาความสามารถในการเทียบเคียงกันตามข้อ 3 ให้นาปัจจัยดังต่อไปนี้มาพิจารณาเท่าที่มีความเกี่ยวพันในเชิงเศรษฐกิจกับข้อเท็จจริงและสถานการณ์

(1) ข้อตกลงตามสัญญาในการทาธุรกรรม (2) หน้าที่งานที่คู่สัญญาแต่ละรายรับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมนั้น โดยคานึงถึงสินทรัพย์ที่ใช้และความเสี่ยงที่รับ

(3) ลักษณะของทรัพย์สินที่โอนหรือบริการที่ทา (4) สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในขณะที่ทาธุรกรรม และ (5) กลยุทธ์ทางธุรกิจซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันใช้ในการทาธุรกรรม ข้อ 5 ในการพิจารณาว่าผลตอบแทนสาหรับธุรกรรมที่ถูกควบคุมเป็นผลตอบแทนสาหรับธุรกรรมที่พึงกาหนดหากได้ดาเนินการโดยอิสระให้พิจารณาเลือกใช้วิธีการกาหนดราคาที่เหมาะสมที่สุดสาหรับสถานการณ์ในแต่ละกรณีโดยคานึงถึงปัจจัยที่กาหนดไว้ตามข้อ 6 ประกอบการเลือกใช้นั้น

วิธีการกาหนดราคาตามวรรคหนึ่ง หมายถึง วิธีการกาหนดราคาที่ได้รับการรับรองแล้วดังต่อไปนี้ (1) วิธีการเปรียบเทียบราคาที่มิได้ถูกควบคุม (Comparable Uncontrolled Price Method) โดยการเทียบเคียงระหว่างราคาที่เรียกเก็บจากการโอนทรัพย์สินหรือการให้บริการสาหรับธุรกรรมที่ถูกควบคุมกับราคาที่เรียกเก็บจากการโอนทรัพย์สินหรือการให้บริการสาหรับธุรกรรมที่ไม่ถูกควบคุมอันอาจเทียบเคียงกันได้

(2) วิธีราคาขายต่อ (Resale Price Method) โดยการเทียบเคียงระหว่างอัตรากาไรจากการขายต่อซึ่งผู้ซื้อทรัพย์สินผ่านธุรกรรมที่ถูกควบคุมได้รับจากการนาทรัพย์สินนั้นไปขายต่อผ่านธุรกรรมที่ไม่ถูกควบคุม กับอัตรากาไรจากการขายต่อซึ่งได้รับจากการซื้อมาและขายต่อทรัพย์สินผ่านธุรกรรมที่ไม่ถูกควบคุมอันอาจเทียบเคียงกันได้

(3) วิธีราคาทุนบวกกาไรส่วนเพิ่ม (Cost Plus Method) โดยการเทียบเคียงระหว่างอัตรากาไรส่วนเพิ่มจากต้นทุนซึ่งรวมทั้งต้นทุนทางตรงและทางอ้อมในการโอนทรัพย์สินและให้บริการสาหรับธุรกรรมที่ถูกควบคุม กับอัตรากาไรส่วนเพิ่มจากต้นทุนซึ่งรวมทั้งต้นทุนทางตรงและทางอ้อมในการโอนทรัพย์สินและให้บริการสาหรับธุรกรรมที่ไม่ถูกควบคุมอันอาจเทียบเคียงกันได้

(4) วิธีอัตรากาไรสุทธิที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกรรม (Transactional Net Margin Method) โดยการเทียบเคียงระหว่างอัตรากาไรสุทธิที่สัมพันธ์กับฐานที่เหมาะสม (เช่น ต้นทุน ยอดขาย หรือสินทรัพย์ เป็นต้น) ซึ่งเป็นผลจากการทาธุรกรรมที่ถูกควบคุม กับอัตรากาไรสุทธิที่สัมพันธ์กับฐานเดียวกันนั้นซึ่งเป็นผลจากการทาธุรกรรมที่ไม่ถูกควบคุม

(5) วิธีแบ่งสรรกาไรของธุรกรรม (Transactional Profit Split Method) โดยการปันส่วนผลกาไร(หรือขาดทุน) ที่ได้รับจากธุรกรรมที่ถูกควบคุม ให้เป็นไปตามส่วนที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแต่ละรายได้มีส่วนร่วมดาเนินการในธุรกรรมที่ถูกควบคุมนั้นเพื่อให้แต่ละบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นได้รับส่วนแบ่งตามส่วนที่พึงคาดหมายว่าจะได้รับหากได้มีส่วนร่วมดาเนินการในธุรกรรมที่ไม่ถูกควบคุมอันอาจเทียบเคียงกันได้เว้นแต่ในกรณีที่สามารถนาวิธีการกาหนดราคาวิธีการใดวิธีการหนึ่งตาม (1) ถึง (4) มาปรับใช้เพื่อหาจานวนกาไรหรือเงินได้พึงประเมินบางส่วนที่คู่สัญญาที่เป็นอิสระพึงได้รับสาหรับการปฏิบัติหน้าที่งานที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมที่ถูกควบคุมนั้นได้ ให้นาวิธีแบ่งสรรกาไรของธุรกรรมมาปรับใช้เฉพาะกับส่วนของกาไรที่คงเหลืออยู่หลังจากหักจานวนกาไรหรือเงินได้พึงประเมินที่ได้จากการปรับใช้วิธีการกาหนดราคาตาม (1) ถึง (4) แล้ว

การเลือกใช้วิธีการกาหนดราคาอื่นนอกเหนือจากวิธีการกาหนดราคาที่ได้รับรองแล้วตามวรรคสองจะสามารถกระทาได้เฉพาะในกรณีที่พิสูจน์ได้ว่าไม่สามารถปรับใช้วิธีการกาหนดราคาที่ได้รับการรับรองแล้วกับธุรกรรมที่ถูกควบคุมได้อย่างสมเหตุสมผลและมีวิธีการกาหนดราคาอื่นที่อาจปรับใช้ได้กับกรณีได้อย่างเหมาะสมที่สุด โดยหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประสงค์จะเลือกใช้วิธีการกาหนดราคาอื่นให้แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเป็นหนังสือพร้อมคาอธิบายเบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีการกาหนดราคานั้นภายในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการปรับใช้วิธีการกาหนดราคาอื่นนั้นกับธุรกรรมที่ถูกควบคุม พร้อมทั้งจัดเตรียมเอกสารหรือหลักฐานซึ่งอธิบายถึงเหตุที่ไม่สามารถปรับใช้วิธีการกาหนดราคาที่ได้รับการรับรองแล้วกับธุรกรรมที่ถูกควบคุมได้และคาอธิบายเกี่ยวกับวิธีการกาหนดราคาอื่นที่ปรับใช้นั้นโดยละเอียดพร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้

ข้อ 6 ในการพิจารณาเลือกใช้วิธีการกาหนดราคาที่เหมาะสมที่สุดตามข้อ 5 ให้คานึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้

(1) จุดแข็งและจุดอ่อนของแต่ละวิธีการกาหนดราคา (2) ความเหมาะสมของวิธีการกาหนดราคาตามลักษณะของธุรกรรมที่ถูกควบคุมผ่านการวิเคราะห์หน้าที่งานของคู่สัญญาแต่ละรายในธุรกรรมที่ถูกควบคุมนั้นโดยคานึงถึงสินทรัพย์ที่ใช้และความเสี่ยงที่รับ

(3) ความมีอยู่ของข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่จาเป็นในการปรับใช้วิธีการกาหนดราคาที่เลือกใช้

(4) ระดับความสามารถในการเทียบเคียงกันได้ระหว่างธุรกรรมที่ถูกควบคุมและธุรกรรมที่ไม่ถูกควบคุม รวมถึงความน่าเชื่อถือของการปรับปรุงความสามารถในการเทียบเคียงกันตามข้อ 3 วรรคหนึ่ง (2)

ข้อ 7 ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีการทาธุรกรรมที่ถูกควบคุมตั้งแต่สองธุรกรรมขึ้นไปภายใต้สถานการณ์เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน โดยธุรกรรมดังกล่าวมีความเกี่ยวเนื่องกันและไม่สามารถวิเคราะห์แยกจากกันได้อย่างน่าเชื่อถือ ให้รวมธุรกรรมดังกล่าวเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาตามข้อ 3 ถึงข้อ 6

ข้อ 8 ในกรณีที่สามารถคานวณช่วงของผลตอบแทนที่พึงได้รับหากได้ดาเนินการโดยอิสระได้ เมื่อนาช่วงดังกล่าวมาเทียบเคียงกับตัวชี้วัดทางการเงินสาหรับธุรกรรมที่ถูกควบคุมหรือชุดของธุรกรรมที่ถูกรวมเข้าด้วยกันตามข้อ 7 ที่ได้ถูกตรวจสอบด้วยวิธีการกาหนดราคาตามข้อ 5 แล้ว และปรากฏว่าตัวชี้วัดทางการเงินนั้นอยู่ภายนอกช่วงของผลตอบแทนที่พึงได้รับหากได้ดาเนินการโดยอิสระ เจ้าพนักงานประเมินมีอานาจปรับปรุงรายได้และรายจ่ายอันเกี่ยวเนื่องกับธุรกรรมที่ถูกควบคุมของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ถูกตรวจสอบนั้นตามข้อ 2 เพื่อปรับปรุงให้ตัวชี้วัดทางการเงินดังกล่าวสามารถสะท้อนสถานการณ์ของกรณีได้ดีที่สุดและอยู่ภายในช่วงของผลตอบแทนที่พึงได้รับหากได้ดาเนินการโดยอิสระ

ช่วงของผลตอบแทนที่พึงได้รับหากได้ดาเนินการโดยอิสระตามวรรคหนึ่ง หมายถึง ช่วงของตัวชี้วัดทางการเงินอันเป็นผลที่ได้จากการปรับใช้วิธีการกาหนดราคาที่เหมาะสมที่สุดตามข้อ 5 กับธุรกรรมที่ไม่ถูกควบคุมหลายธุรกรรมที่อาจเทียบเคียงกันได้ตามข้อ 3

ข้อ 9 ภายใต้บังคับของวรรคสอง ในกรณีที่ธุรกรรมที่ถูกควบคุมเป็นการบริการจะถือว่าค่าตอบแทนสาหรับการบริการดังกล่าวเป็นค่าตอบแทนที่พึงกาหนดหากได้ดาเนินการโดยอิสระต่อเมื่อ

(1) เป็นค่าตอบแทนสาหรับการบริการที่ได้กระทาจริง (2) บริการนั้นมีประโยชน์หรือพึงคาดหมายได้ว่าจะมีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจหรือในทางการค้าแก่ผู้รับบริการ

(3) เป็นบริการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นอิสระภายใต้สถานการณ์ที่อาจเทียบเคียงกันได้พึงจ่ายค่าตอบแทนเพื่อให้ได้รับบริการนั้นจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่นที่ไม่ใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน หรือเพื่อให้มีการทาบริการนั้นโดยหน่วยงานภายในของตนเอง และ

(4) จานวนค่าตอบแทนเป็นจานวนที่พึงกาหนดหากได้ดาเนินการโดยอิสระสาหรับการบริการที่อาจเทียบเคียงกันได้

ค่าตอบแทนของธุรกรรมการบริการซึ่งเป็นไปเพื่อประโยชน์ของความเป็นเจ้าของของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ถือว่าเป็นค่าตอบแทนที่พึงกาหนดหากได้ดาเนินการโดยอิสระ

ข้อ 10 ในกรณีที่ธุรกรรมที่ถูกควบคุมเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินไม่มีตัวตนให้คานึงถึงประเด็นดังต่อไปนี้ ประกอบการพิจารณาผลตอบแทนสาหรับธุรกรรมที่ถูกควบคุมด้วย

(1) กรณีที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาประโยชน์ในทรัพย์สินไม่มีตัวตนให้คานึงถึงหน้าที่งานที่คู่สัญญาแต่ละรายรับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา การปรับปรุง การบารุงรักษา การคุ้มครอง และการแสวงหาประโยชน์ในทรัพย์สินไม่มีตัวตนนั้น โดยคานึงถึงสินทรัพย์ที่ใช้และความเสี่ยงที่รับ

(2) กรณีที่เกี่ยวข้องกับการให้สิทธิการใช้ ขาย หรือโอนทรัพย์สินไม่มีตัวตนให้คานึงถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ข้อจากัดทางภูมิศาสตร์ คุณลักษณะที่เฉพาะตัวหรือไม่เฉพาะตัว และสิทธิในการมีส่วนร่วมพัฒนาในทรัพย์สินไม่มีตัวตน

ข้อ 11 เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ปรับปรุงรายได้และรายจ่ายอันเกี่ยวเนื่องกับธุรกรรมที่ถูกควบคุมของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลรายหนึ่งรายใดตามข้อ 2 แล้ว หากปรากฏข้อเท็จจริงว่า การปรับปรุงตามข้อ 2 มีส่วนที่เป็นการปรับเพิ่มรายได้สาหรับธุรกรรมที่ถูกควบคุมซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ถูกปรับปรุงยังไม่เคยได้รับจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งของธุรกรรมที่ถูกควบคุม หรือมีส่วนที่เป็นการปรับลดรายจ่ายสาหรับธุรกรรมที่ถูกควบคุมซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ถูกปรับปรุงได้จ่ายออกไปให้กับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งของธุรกรรมที่ถูกควบคุมแล้ว จานวนรายได้ที่ไม่ได้รับจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งหรือจานวนรายจ่ายที่จ่ายเกินออกไปให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งให้ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ถูกปรับปรุงนั้นได้จ่ายออกไปให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง และให้เจ้าพนักงานประเมินมีอานาจพิจารณาปรับปรุงรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันให้เสมือนว่าได้มีการรับและจ่ายเงินได้พึงประเมินดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการคานวณกาไรสุทธิที่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร หรือเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 70 หรือมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อ 12 ภายใต้บังคับของวรรคสอง เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ปรับปรุงรายได้และรายจ่ายสาหรับธุรกรรมที่ถูกควบคุมของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลรายหนึ่งรายใดตามข้อ 2 หรือข้อ 11 แล้ว หากปรากฏข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้

(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ถูกปรับปรุงรายได้และรายจ่ายตามข้อ 2 หรือข้อ 11 ดังกล่าวไม่มีการโต้แย้งการปรับปรุงนั้นและได้ชาระภาษีให้เป็นไปตามผลของการปรับปรุงดังกล่าวแล้ว หรือได้มีการโต้แย้งการปรับปรุงนั้นแต่ได้มีคาวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคาพิพากษาศาลเป็นที่สุดแล้วและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวได้ยอมชาระภาษีให้เป็นไปตามผลของคาวินิจฉัยหรือคาพิพากษาดังกล่าวแล้ว และ

(2) จานวนรายได้หรือรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวที่ถูกปรับปรุงโดยเจ้าพนักงานประเมินตามข้อ 2 นั้น เป็นจานวนที่ได้เคยถูกรวมในการคานวณกาไรสุทธิหรือเงินได้พึงประเมินที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งของธุรกรรมที่ถูกควบคุมแล้ว และคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ปกปิดข้อมูลการทาธุรกรรมที่ถูกควบคุมดังกล่าวหรือแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมนั้นเป็นเท็จ

ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอานาจพิจารณาปรับปรุงรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งของธุรกรรมที่ถูกควบคุมนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายได้และรายจ่ายของคู่สัญญาฝ่ายแรกด้วย ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการคานวณกาไรสุทธิที่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร หรือเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 70 หรือมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

เพื่อประโยชน์ในการเว้นการเก็บภาษีซ้อนตามสัญญาที่รัฐบาลไทยได้ทาไว้กับรัฐบาลต่างประเทศหรือที่สานักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยได้ทาไว้กับสานักงานเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศ การพิจารณาปรับปรุงตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามข้อตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนตามสัญญา ที่รัฐบาลไทยได้ทาไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ หรือที่สานักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยได้ทาไว้กับสานักงานเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศ

ข้อ 13 เพื่อประโยชน์ในการเว้นการเก็บภาษีซ้อนตามสัญญาที่รัฐบาลไทยได้ทาไว้กับรัฐบาลต่างประเทศหรือที่สานักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยได้ทาไว้กับสานักงานเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศ และเพื่อการป้องกันการเกิดข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการกาหนดราคาระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันเป็นการล่วงหน้า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งมีการทาธุรกรรมด้านการพาณิชย์หรือการเงินกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เข้าลักษณะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ อาจร้องขอให้มีการจัดทาข้อตกลงการกาหนดราคาเป็นการล่วงหน้า เพื่อกาหนดหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในการหาผลตอบแทนสาหรับธุรกรรมระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันที่จะมีขึ้นภายในช่วงเวลาในอนาคตที่ได้ตกลงกันไว้

ข้อ 14 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสาหรับเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2564

เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ (นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)

อธิบดีกรมสรรพากร

ที่มา: http://www.rd.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ