ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร(ฉบับที่ ๓๖) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการบริจาคให้แก่สานักงานปลัดสานักนายกรัฐมนตรี เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อ

ข่าวทั่วไป Monday October 4, 2021 10:11 —ข้อบังคับและประกาศภาษีสรรพากร

(ฉบับที่ ๓๖)เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการบริจาคให้แก่สานักงานปลัดสานักนายกรัฐมนตรี เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อ

ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๗๒๓) พ.ศ. ๒๕๖๔ อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการบริจาคให้แก่สานักงานปลัดสานักนายกรัฐมนตรี เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา สำหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่สานักงานปลัดสานักนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา ๔ (๑) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๗๒๓) พ.ศ. ๒๕๖๔ จะต้องบริจาคเป็นเงินเท่านั้น โดยบริจาคผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาทาเนียบรัฐบาล ชื่อบัญชี "สานักงานปลัดสานักนายกรัฐมนตรีเพื่อรับบริจาคสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙ )" เลขที่บัญชี ๐๖๗-๐-๑๓๘๒๙-๐

ข้อ ๒ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่สานักงานปลัดสานักนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา ๔ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๗๒๓) พ.ศ. ๒๕๖๔ จะบริจาค เป็นเงิน ทรัพย์สินหรือสินค้าก็ได้ โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้

(๑) กรณีที่บริจาคเป็นเงินต้องเป็นการบริจาคผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาทาเนียบรัฐบาล ชื่อบัญชี "สานักงานปลัดสานักนายกรัฐมนตรีเพื่อรับบริจาคสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙ )" เลขที่บัญชี ๐๖๗-๐-๑๓๘๒๙-๐ (๒) กรณีที่บริจาคเป็นทรัพย์สินหรือสินค้า ต้องเป็นทรัพย์สินหรือสินค้า ประเภทและชนิดตามที่สานักงานปลัดสานักนายกรัฐมนตรีกำหนด

(๓) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซื้อทรัพย์สินมาเพื่อบริจาค ต้องมีหลักฐาน การได้มาซึ่งทรัพย์สินที่ระบุจานวนและมูลค่าของทรัพย์สินนั้น โดยให้ถือว่ามูลค่าตามหลักฐานดังกล่าวเป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค

(๔) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนาทรัพย์สินที่ได้บันทึกบัญชีทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นมาบริจาค ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือจากการคานวณหัก ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินเป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค

(๕) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนาสินค้ามาบริจาค ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ ผลิตเองหรือซื้อมาเพื่อขาย ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนของสินค้าดังกล่าวที่มีเอกสารหลักฐานสามารถพิสูจน์ได้เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค แต่มูลค่าดังกล่าวต้องไม่เกินราคาสินค้าคงเหลือยกมา ตามมาตรา ๖๕ ทวิ (๖) แห่งประมวลรัษฎากร

(๖) มูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าที่ซื้อมาเพื่อบริจาคนั้น จะต้องมีจานวนไม่เกินราคาที่พึงซื้อได้โดยปกติ ทั้งนี้ ตามมาตรา ๖๕ ตรี (๑๕) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อ ๓ การบริจาคให้แก่สานักงานปลัดสานักนายกรัฐมนตรีให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏ ในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา ๔ และมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๗๒๓) พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐาน การบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน

ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔

เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ (นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)

อธิบดีกรมสรรพากร

ที่มา: http://www.rd.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ