ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๔๒) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจำหน่ายหนี้สูญ

ข่าวทั่วไป Monday November 15, 2021 11:15 —ข้อบังคับและประกาศภาษีสรรพากร

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๔๒) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจำหน่ายหนี้สูญ

และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา ๘๒/๑๑ แห่งประมวลรัษฎากร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๒/๑๑ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔ อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการ และได้นาภาษีขายไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา ๘๒/๓ แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ต่อมาหากมีหนี้สูญเกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ และการจำหน่ายหนี้สูญดังกล่าวได้เป็นไปตามจานวน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนาภาษีขายที่คำนวณจากส่วนของหนี้สูญดังกล่าว มาหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ได้มีการจำหน่ายหนี้สูญได้ การจำหน่ายหนี้สูญและการคำนวณส่วนของหนี้สูญเพื่อนามาหักออกจากภาษีขายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๕ ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๘๕) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจำหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา ๘๒/๑๑ แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"ข้อ ๓ ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจานวนเกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท หนี้สูญที่จะจำหน่ายนอกจากต้องมีลักษณะตามข้อ ๒ แล้ว ต้องมีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ด้วย

(๑) ได้ติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณี โดยมีหลักฐานการติดตามทวงถามอย่างชัดแจ้ง แต่ไม่ได้รับชำระหนี้ โดยปรากฏว่า

(ก) ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เป็นคนสาบสูญ หรือมีหลักฐานว่าหายสาบสูญไป และไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชำระหนี้ได้ หรือ

(ข) ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้อยู่ในลาดับก่อนเป็นจานวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้

(๒) ได้ดำเนินการฟองลูกหนี้ในคดีแพ่งหรือได้ยื่นคาขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟองในคดีแพ่ง โดยได้มีหมายบังคับคดีของศาลแล้วและมีรายงานการบังคับคดีครั้งแรกของเจ้าพนักงานบังคับคดีอันสามารถแสดงได้ว่าได้มีการดำเนินการบังคับคดีแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดจะชำระหนี้ได้

(๓) ได้ดำเนินการฟองลูกหนี้ในคดีล้มละลายหรือได้ยื่นคาขอรับชำระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟองในคดีล้มละลาย หรือในคดีที่ผู้ชำระบัญชีร้องขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลาย โดยได้มีการประนอมหนี้กับลูกหนี้โดยศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้นั้น หรือลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายและได้มีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกหรือศาลได้มีคำสั่งปิดคดีแล้ว

การดำเนินการตาม (๒) หรือ (๓) ที่ได้กระทาในต่างประเทศหรือการดำเนินการอื่นในลักษณะทานองเดียวกันที่ได้กระทาในต่างประเทศ ต้องมีเอกสารหลักฐานแห่งการดำเนินการที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ออกให้ และหลักฐานดังกล่าวต้องได้รับการรับรองคาแปลจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย ตามระเบียบของกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการรับรองเอกสาร

ข้อ ๔ ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจานวนไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท หนี้สูญที่จะจำหน่ายนอกจากต้องมีลักษณะตามข้อ ๒ แล้ว ต้องมีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ด้วย

(๑) ได้ดำเนินการตามข้อ ๓ (๑) แล้ว (๒) ได้ดำเนินการฟองลูกหนี้ในคดีแพ่งและศาลได้มีคำสั่งรับคาฟองนั้นแล้ว หรือได้ยื่นคาขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟองในคดีแพ่งและศาลได้มีคำสั่งรับคาขอนั้นแล้ว

(๓) ได้ดำเนินการฟองลูกหนี้ในคดีล้มละลายและศาลได้มีคำสั่งรับคาฟองนั้นแล้ว หรือในคดีที่ผู้ชำระบัญชีร้องขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายและศาลได้มีคำสั่งรับคาฟองนั้นแล้ว หรือได้ยื่นคาขอรับชำระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟองในคดีล้มละลาย และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาล แล้วแต่กรณี ได้มีคำสั่งรับคาขอรับชำระหนี้นั้นแล้ว

ในกรณีตาม (๒) หรือ (๓) กรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าหนี้ ต้องมีคำสั่งอนุมัติให้จำหน่ายหนี้นั้นเป็นหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

ให้นาความในข้อ ๓ วรรคสอง มาใช้บังคับแก่การดำเนินการตาม (๒) หรือ (๓) หรือการดำเนินการอื่นในลักษณะทานองเดียวกันที่ได้กระทาในต่างประเทศ ด้วยโดยอนุโลม

ข้อ ๕ ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจานวนไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท และมีลักษณะตามข้อ ๒ การจำหน่ายหนี้สูญให้กระทาได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๓ หรือข้อ ๔ ถ้าปรากฏว่าได้มีหลักฐานการติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณีแล้ว แต่ไม่ได้รับชำระหนี้ และหากจะฟองลูกหนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้รับชำระ"

ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ ๗ ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๘๕) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจำหน่ายหนี้สูญ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณส่วนของหนี้สูญ เพื่อนามาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา ๘๒/๑๑ แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"ข้อ ๗ เมื่อดำเนินการครบถ้วนตาม ข้อ ๓ ข้อ ๔ ข้อ ๕ หรือข้อ ๖ แล้วในเดือนภาษีใด ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๒/๓ แห่งประมวลรัษฎากร นาภาษีขายที่คำนวณจากส่วนของหนี้สูญดังกล่าวมาหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ได้มีการจำหน่ายหนี้สูญ เว้นแต่กรณีตามข้อ ๔ (๒) (๓) และข้อ ๖ วรรคหนึ่ง ให้นาภาษีขายที่คำนวณจากส่วนของหนี้สูญดังกล่าวมาหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ศาลได้มีคำสั่งรับคาฟอง คาขอเฉลี่ยหนี้ หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาล แล้วแต่กรณี ได้มีคำสั่งรับคาขอรับชำระหนี้ หรือศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบแผนฟืนฟูกิจการของลูกหนี้"

ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสาหรับการดำเนินการที่เริ่มในหรือหลังวันที่ ๑ ของเดือนภาษีถัดจากวันที่ประกาศในประกาศนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔

เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ (นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)

อธิบดีกรมสรรพากร

ที่มา: http://www.rd.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ