พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๗๗๕) พ.ศ. ๒๕๖๖

ข่าวทั่วไป Sunday August 13, 2023 12:56 —ข้อบังคับและประกาศภาษีสรรพากร

พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๗๗๕) พ.ศ. ๒๕๖๖ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ

พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖

เป็นปีที่ ๘ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้ ในบางกรณี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๔๙๖ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๗๗๕) พ.ศ. ๒๕๖๖"

มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

มาตรา ๓ ในพระราชกฤษฎีกานี้ "เงินเทียบเท่าเงินปันผล" หมายความว่า เงินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์จ่ายให้แก่ผู้ถือตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศจากเงินปันผลหรือเงินได้ ที่มีลักษณะทานองเดียวกันกับเงินปันผล หรือเงินได้จากการขายหุ้นปันผลที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลนั้นได้รับมาอันเนื่องมาจากการถือหลักทรัพย์ต่างประเทศเพื่อการออกตราสารแสดงสิทธิ ในหลักทรัพย์ต่างประเทศดังกล่าว

มาตรา ๔ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน ๓ หมวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สาหรับเงินได้ซึ่งเป็นผลตอบแทนที่ได้รับจาก การถือหลักทรัพย์ต่างประเทศไว้เพื่อการออกตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ได้จ่าย ให้แก่ผู้ถือตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ต้องไม่นาเงินได้ดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคานวณกาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

มาตรา ๕ ให้ลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และคงจัดเก็บในอัตราร้อยละสิบของเงินได้ สาหรับเงินได้พึงประเมินที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้ถือตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้รับจากบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา ๔ ซึ่งเมื่อคานวณภาษีตามมาตรา ๕๐ (๒) แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่าร้อยละสิบของเงินได้ ทั้งนี้ สาหรับเงินได้พึงประเมินในกรณีดังต่อไปนี้

(๑) เงินได้ที่เป็นเงินเทียบเท่าเงินปันผลที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ตามมาตรา ๔ จ่ายให้แก่ผู้ถือตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ

(๒) เงินได้ที่เป็นตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา ๔ เป็นผู้ออกให้เพิ่ม เนื่องจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ได้รับเงินปันผลหรือเงินได้ที่มีลักษณะทานองเดียวกันกับเงินปันผลหรือหุ้นปันผลจากการถือหลักทรัพย์ ต่างประเทศเพื่อการออกตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ

ในกรณีที่เงินได้พึงประเมินตามวรรคหนึ่ง เมื่อคานวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา ๕๐ (๒) แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายไม่เกินร้อยละสิบของเงินได้ ให้ผู้มีเงินได้มีสิทธิได้รับยกเว้นไม่ต้องนาเงินได้ดังกล่าวมารวมคานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ เมื่อผู้มีเงินได้ ยอมให้ผู้จ่ายเงินได้หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา ๕๐ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละสิบ ของเงินได้นั้น

ให้ผู้มีเงินได้ซึ่งถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้แล้วในอัตราร้อยละสิบของเงินได้ตามวรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง เมื่อถึงกำหนดยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนาเงินได้ พึงประเมินนั้นมารวมคานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืน หรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับสิทธิตามมาตรานี้ จะต้องไม่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล ที่มิใช่นิติบุคคล

มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นายกรัฐมนตรี

ที่มา: http://www.rd.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ