คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ไอทีวี)

ข่าวการเมือง Thursday January 17, 2008 18:00 —ข้อมูลหน่วยงานราชการ

          คำสั่งทุเลาการบังคับตามกฎ 
หรือคำสั่งทางปกครองหรือ
ยกคำขอ
คดีหมายเลขดำที่ 70/2551
คดีหมายเลขแดงที่ /25
ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
ศาลปกครองกลาง
วันที่ 17 เดือน มกราคม พุทธศักราช 2551
นายพีระวัฒน์ โชติธรรมโม ที่ 1
นายจตุรงค์ สุขเอียด ที่ 2
นายอลงกรณ์ เหมือนดาว ที่ 3
นายฉัตรชัย ตะวันธรงค์ ที่ 4
นางสาวดวงพร อัศววิไล ที่ 5
นายพรชัย อินทุภูติ ที่ 6
นายตรีภพ หวังวรรณะกิจ ที่ 7
นายพิสุทธิ์ ชื่นอารมย์ ที่ 8
นายวสุพล พุ่มยี่สุ่น ที่ 9
นายขจรศักดิ์ ปาวรณะ ที่ 10
นายเชิงชาย หว่างอุ่น ที่ 11
นางสาววันดี วรรณเมธางกูร ที่ 12
นางสาวญาณี ไหว้ครู ที่ 13
นางสาวนิสรา เจริญศักดิ์ ที่ 14
นายสมศักดิ์ นาชัยนาค ที่ 15
นางสาวประภาพร เชาวนาศิริ ที่ 16
นายธวัชชัย สมพรกิจกุล ที่ 17
นายมนตรี อุดมพงษ์ ที่ 18
นายจิรศักดิ์ สิทธิชัย ที่ 19
นายธนทัต กลางประพันธ์ ที่ 20
นายกิตติพงษ์ วงษ์สถิตย์ ที่ 21
นายถาวร ลิขสิทธิพันธุ์ ที่ 22
นายวิชธวัช ไชยามาตย์ ที่ 23
นายสุเมธ มีนรัตนทรัพย์ ที่ 24
นายวินัย ทองทิพย์ ที่ 25
นายสรายุทธ์ หฤทัย ที่ 26
นายสุรศักดิ์ อายุโย ที่ 27
นายโสภณ เข็มมาลา ที่ 28
นางสาวธีติมา ปิยะศิริศิลป์ ที่ 29
นายศิริพงษ์ ศิริรักษ์ ที่ 30
นายชยธร พรสวัสดิ์ ที่ 31
นายอนุรักษ์ อิสรียานนท์ ที่ 32
นายสุทิน โพธิวงศ์ ที่ 33
นายกิตติศักดิ์ รู้ระวังภัย ที่ 34
นายณัฐพล เนียมนาค ที่ 35
นายนเรศ ทิอามาตย์ ที่ 36
นายดิษฐพงษ์ ทองชิว ที่ 37
นายไพรัช สายะโคตร ที่ 38
นายวรชัย ยศปัญญา ที่ 39
นายขจรวุฒิ ศรีทองกุล ที่ 40
นายคงเดช วิบูลย์จันทร์ ที่ 41
นายเชษฐาพร เวทประสิทธิ์ ที่ 42
นายฉลองชัย อินเที่ยง ที่ 43
นายผดุง ปานประสงค์ ที่ 44
นายโชติพงษ์ วงศ์พนารักษ์ ที่ 45
นายนาวิน วงศ์สุริยา ที่ 46
นายอุทัย วินทะชัย ที่ 47
นายสุนทร แพรสี ที่ 48
นายจตุรงค์ ฉายศรี ที่ 49
นายสุริยัน น้อยทรงค์ ที่ 50
นายวิโรจน์ นิรคม ที่ 51
นายวิโรจน์ สุขศรี ที่ 52
นายวิทยา อุดมสันต์ ที่ 53
นายอภิรักษ์ พรมชื่น ที่ 54
นายเขมินท์ อิ่มทั่ว ที่ 55
นายจารุวัฒน์ ราชโลหะ ที่ 56
นายสิริพงษ์ ทองชาวนา ที่ 57
นายนพดล เกรียงไกรวณิช ที่ 58
นายพรเลิศ ยนตร์ศักดิ์สกุล ที่ 59
นายสมคิด ยะมะเลิศ ที่ 60
นายเบญจรงค์ สามสี ที่ 61
นายวุฒิชัย จิตรชื่น ที่ 62
นายพงศ์พันธุ์ ชูทอง ที่ 63
นายต่อเติมพงศ์ วิเศษสมบัติ ที่ 64
นายพิทักษ์ จุลาภา ที่ 65
นายวิรัตน์ จันทะวงษา ที่ 66
นายสุทิน โพธิงศ์ ที่ 67
นายวิทิตย์ ชอบขุนทด ที่ 68
นายสุพิน หมื่นหาวงษ์ ที่ 69
นางสาวเสาวนีย์ ชินะกุล ที่ 70
นางสาวปราถนา ทองพุ่ม ที่ 71
นางสาวไอลดา ยงพิศาลภพ ที่ 72
นายอิทธิเดช บุญฑิตตานนท์ ที่ 73
นายศิลปชัย ภูษณะพงษ์ ที่ 74
นางสาวศศิพินท์ แล้วผลึก ที่ 75
นายเอกรินทร์ คนึงเพียร ที่ 76
นายเดชณรงค์ ภุมเรศน์ ที่ 77
นางสาวกมลวรรณ ตรีพงศ์ ที่ 78
นายศุภชัย แดงอาจ ที่ 79
นางสาวสุวรรณี กรรณสูตร ที่ 80
นางสาวขวัญฤดี ห้วยทราย ที่ 81
นายฉัตรชัย ตะวันธรงค์ ที่ 82
นายอัชฌา สุวรรณปากแพรก ที่ 83
นายนุกูล กาญจนรัตน์ ที่ 84
นางสาวอรัญญา อุ่นแสง ที่ 85
นางสาวนภา ศรประสิทธิ์ ที่ 86
นายพลภฤต เรืองจรัส ที่ 87
ส.ต.ปัญญา นานกระโทก ที่ 88
นางณภัค ยงเขตร์กิจ ที่ 89
นางสาววราภรณ์ ช่วยนุกิจ ที่ 90
นางอารยา ต่อตระกูล ที่ 91
นางสาวธนวรรณ เตโชดำรง ที่ 92
นายสมพงษ์ เพชรนิล ที่ 93
นายอำไพ โพธิ์ชัยรัตน์ ที่ 94
นายเสรี ศรีม่วงกลาง ที่ 95
นายพิศักดิ์ พึ่งบุญ ณ อยุธย ที่ 96
นางสาวชุลีวันท์ มายะการ ที่ 97
นางสาวนันท์นภัส นิคมรัตน์ ที่ 98
นางสาวสุภานี กิตติพนังกุล ที่ 99
นางสาวสิรินทิพย์ ครีบเขียว ที่ 100
นางสาวปิยะวรรณ พนมหอม ที่ 101
นางวิราภรณ์ สุขสมมล ที่ 102
นายวิทยา สัลเลขวิทย์ ที่ 103
นายเหวง โตจิราการ ที่ 104
นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ ที่ 105
ระหว่าง
อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ที่ 1
ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 2
เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คดีนี้ผู้ฟ้องคดีทั้งหนึ่งร้อยห้าฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีที่ 1 ถึงที่ 103 เป็นพนักงานปฏิบัติหน้าที่ในสถานีโทรทัศน์ ทีไอทีวี ผู้ฟ้องคดีที่ 104 และที่ 105 เป็นประชาชนทั่วไป ที่รับชมข่าวสารและรายการต่างๆ ของสถานีโทรทัศน์ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้มีคำสั่งที่ 25/2551 ลงวันที่ 14 มกราคม 2551 เรื่อง ให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ ระบบ ยู เอช เอฟ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 โดยสั่งให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ(ทีไอทีวี) ยุติการแพร่ภาพออกอากาศตั้งแต่เวลา 24.00 นาฬิกา ของวันที่ 14 มกราคม 2551 โดยอ้างว่าไม่ต้องการให้มีการโฆษณาเพราะเป็นการผิดกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีทั้งหนึ่งร้อยห้าเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและทำให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะ และยังเป็นคำสั่งที่ละเมิดอำนาจศาลปกครองกลางตามคดีหมายเลขดำที่ 431/2550 และคดีหมายเลขดำที่ 437/2550 ซึ่งศาลมีคำสั่งเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2550 กำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา โดยให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่เป็นผู้มีหน้าที่โดยตรงในการจัดให้มีการบริการสาธารณะด้านกิจการวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ ดำเนินการให้บริการสาธารณะดังกล่าวดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยจะดำเนินการหรือมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทนตนและในนามของตนก็ได้ตามแต่จะเห็นสมควร ทั้งนี้ จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น การที่ผู้ถูกฟ้องร้องคดีทั้งสองอ้างว่าได้ดึงสัญญาณสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 มาออกอากาศแทนสัญญาณภาพจากสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ(ทีไอทีวี) เท่ากับได้ดำเนินการแพร่ภาพอย่างต่อเนื่องนั้น เป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ของการคุ้มครองการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ(ทีไอทีวี) ตามคำสั่งของศาลปกครองกลาง เนื่องจากศาลปกครองกลางคุ้มครองการออกอากาศสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีโดยคำนึงถึงเนื้อหาที่ผลิตและแพร่ภาพโดยพนักงานของสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ(ทีไอทีวี) การดึงสัญญาณภาพจากสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 จึงไม่ใช่เนื้อหาที่ศาลให้ความคุ้มครอง นอกจากนั้น คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ยังเป็นการละเมิดอำนาจของคณะกรรมการนโยบายชั่วคราวที่คณะรัฐมนตรีจะแต่งตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 ด้วย เพราะผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ไม่มีอำนาจในการสั่งยุติการออกอากาศ คำสั่งดังกล่าวสร้างความเสียหายให้กับประโยชน์สาธารณะและทำให้ประชาชนขาดทางเลือกในการบริโภคข่าวสาร ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรง หน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 คือ ให้โอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สินงบประมาณ หนี้ สิทธิ คลื่นความถี่ และภาระผูกพันของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เกี่ยวกับการดำเนินการงานของสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ(ทีไอทีวี) ให้กับองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย แต่ไม่ได้ให้อำนาจในการสั่งให้ยุติการออกอากาศ การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการแทรกแซงการทำงานของฝ่ายข่าวสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ(ทีไอทีวี) ซึ่งขัดต่อมาตรา 56 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และขัดต่อมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 ที่ห้ามมิให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการทั้งในทางตรงหรือทางอ้อมในลักษณะเป็นการขัดขวางหรือแทรกแซงการเสนอข่าวขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยด้วย
ขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่ 25/2551 ลงวันที่ 14 มกราคม 2551
ผู้ฟ้องคดีทั้งหนึ่งร้อยห้า มีคำขอให้ศาลกำหนดมาตรการหรือวิชาการเพื่อบรรเทาทุกข์ก่อนการพิพากษา โดยสั่งให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ(ทีไอทีวี) ออกอากาศตามผังรายการเดิมเพื่อให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ(ทีไอทีวี) สามารถดำเนินการแพร่ภาพได้ต่อไปอันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และให้โอนสัญญาจ้างพนักงานสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีไปยังองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย จึงถือว่าผู้ฟ้องคดีทั้งหนึ่งร้อยห้าประสงค์ที่จะให้ศาลมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่ 25/2551 ลงวันที่ 14 มกราคม 2551
ศาลได้พิพากษาคำฟ้องและคำขอของผู้ฟ้องคดีทั้งหนึ่งร้อยห้า ลงวันที่ 15 มกราคม 2551 และบันทึกการให้ถ้อยคำของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายและพยานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2551 รับฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจาของตุลาการผู้แถลงคดี กับได้ตรวจพิจารณาบทกฎหมายต่างๆ แล้ว
คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อปี พ.ศ.2535 ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าของดำเนินการสื่อวิทยุโทรทัศน์ ระบบ ยู เอช เอฟ โดยให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้คัดเลือกบริษัท สยาม อินโฟร์เทนเมนท์ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ไอทีวี จำกัด(มหาชน) เป็นผู้ดำเนินกจิการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ โดยใช้ชื่อว่าสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ต่อมาเมื่อเกิดข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาเข้าร่วมการงานและดำเนินกิจการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ ระหว่างสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กับบริษัทดังกล่าว ซึ่งสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีอ้างว่าบริษัทไม่ชำระค่าสัมปทาน ไม่ส่งมอบทรัพย์สิน ดอกเบี้ยค้างจ่ายและค่าปรับ จึงบอกเลิกสัญญาตามหนังสือลงวันที่ 7 มีนาคม 2550 และหลังจากนั้นได้มอบหมายให้กรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้ดำเนินกิจการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ แทนสำนักปลัดนายกรัฐมนตรีอย่างต่อเนื่องต่อไป ซึ่งกรมประชาสัมพันธ์ได้ออกกฎกระทรวง พ.ศ.2550 ฉบับที่ 2 เพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของกรมประชาสัมพันธ์ให้มีอำนาจดำเนินกิจการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ และได้จัดเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษเป็นส่วนราชการในสังกัดประชาสัมพัฯธ์ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารในรูปแบบพิเศษ พ.ศ.2548 โดยใช้ชื่อใหม่ว่าสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ต่อมาพระราชบัญญัติองค์กรการกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ แห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2551 ซึ่งมีผลบังคับตั่งแต่วันที่ 15 มกราคม 2551 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จึงได้มีการทำหนังสือลงวันที่ 14 มกราคม 2551 แจ้งให้กรมประชาสัมพันธ์ในฐานะทำหน้าที่กำกับดูแลการแพร่ภาพออกอากาศของสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 โดยเฉพาะการไม่มีโฆษณาในรายการต่างๆ สำหรับการจ้างพนักงานที่จะดำเนินการในองค์กรใหม่นี้เป็นเรื่องในความรับผิดชอบของคณะกรรมการนโยบายชั่วคราวจะเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาในเรื่องดังกล่าวต่อไป จึงเห็นควรไห้ข้าราชการของกรมประชาสัมพันธ์เตรียมการเพื่อให้การสนับสนุนในช่วงเปลี่ยนผ่านให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยเรียบร้อย ทั้งนี้การแพร่ภาพออกอากาศของสถานีวิทยุโทรทัศน์ถือเป็นบริการสาธารณะทางด้านกิจการวิทยุโทรทัศน์ จำต้องให้บริการสาธารณะดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้ออกคำสั่งกรมประชาสัมพันธ์ที่ 25/2551 เรื่อง ให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติองค์การกกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 ลงวันที่ 14 มกราคม 2551 โดยสั่งให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ ยุติการแพร่ภาพออกอากาศตั่งแต่เวลา 24.00 นาฬิกา ของวันที่ 14 มกราคม 2551 เป็นต้นไป หลังจากนั้นข้าราชการของกรมประชาสัมพันธ์ได้ดำเนินการออกอากาศตามรายการของกรมประชาสัมพันธ์โดยตรงซึ่งแตกต่างจากการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ ที่ออกอากาศก่อนที่จะมีคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 นอกจากนี้วิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ ที่ออกอากาศรายการดังกล่าวได้ใช้เครื่องมือเครือข่ายของสถานีวิทยุโทรทัศน์ทีไอทีวีถ่ายทอดไปยังต่างจังหวัด
เมื่อพิจารณาคำฟ้องและข้อเท็จจริงจาการไต่สวนของศาล รับฟังว่าผู้ฟ้องคดีทั้งหนึ่งร้อยห้าฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้มีคำสั่ง 25/2551 ลงวันที่ 14 มกราคม 2551 เรื่อง ให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ ระบบ ยู เอช เอฟ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 โดยสั่งให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ(ทีไอทีวี) ยุติการแพร่ภาพออกอากาศตามผังรายการเดิมตั่งแต่วลา 25.00 นาฬิกา ของวันที่ 14 มกราคม 2551 คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ดังกล่าวมีผลให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ(ทีไอทีวี) ซึ่งเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษที่อยู่ในการกำกับดูแลของกรมประชาสัมพันธ์ ต้องยุติการแพร่ภาพออกอากาศตั้งแต่เวลา 24.00 นาฬิกา ของวันที่ 14 มกราคม 2551 เป็นต้นไป ผู้ฟ้องคดีทั้งหนึ่งร้อยห้าเห็นว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายและทำให้เกิดความเสียหายต่แอประโยชน์สาธารณะรวมทั้งผู้ฟ้องคดีทั้งหนึ่งร้อยห้า กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่ 25/2551 ลงวันที่ 14 มกราคม 2551 หรือไม่เห็นว่า โดยที่ข้อ 72 วรรคสาม ของระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยพิจารณาคดีปกครอง หากศาลเห็นว่าคำสั่งทางปกครองที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีนั่นน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการให้คำสั่งทางปกครองดังกล่าวมีผลใช้บังคับต่อไปจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงที่ยากแก่การเยียวยาแก้ไขภายหลังทั้งการทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองนั้นไม่เป็นอุปสรรคแก่การบริหารงานของรัฐหรือแก่บริการสาธารณะ
เมื่อพิจารณาคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่ 25/2551 ลงวันที่ 15 มกราคม 2551 เรื่อง ให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ ระบบ ยู เอช เอฟ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 ที่สั่งให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ ยุติการแพร่ภาพออกอากาศตั่งแต่เวลา 24.00 นาฬิกา ของวันที่ 14 มกราคม 2551 แล้ว เห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ออกคำสั่งดังกล่าวโดยอาศัยเหตุตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้แจ้งตามหนังสือด่วยที่สุด ที่ นร 0106/227 ลงวันที่ 14 มกราคม 2551 ที่ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 พิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 การที่ฟ้องคดีทั้งหนึ่งร้อยห้าอ้างว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นเนื้อหาของคดีที่ศาลจะต้องพิจารณาต่อไป ในชั้นนี้ยังไม่ปรากฏพยานหลักฐานอย่างชัดแจ้งที่จะรับฟังได้ว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนี้เมื่อพิจารณาบทบัญญัติในมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 แล้ว เห็นว่ากฎหมายได้บัญญัติให้โอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ คลื่นความถี่ และภาระผูกพัน ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ และของสำนักงานบริหารกิจการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ เฉพาะกิจ(หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ) ที่อยู่ในความดูแลของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและกรมประชาสัมพันธ์ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับไปเป็นขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย บทบัญญัติ ดังกล่าวย่อมมีผลให้บรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิคลื่นความถี่ และภาระผูกพันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกอากาศรายการต่างๆ ตามที่กำหนดไว้เดิมทั้งรายการที่สถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ(ทีไอทีวี) ดำเนินการเองหรือรายการที่มีสัญญาผูกพันกับบุคคลภายนอก หรือหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับสถานภาพของพนักงานที่ได้ยื่นความประสงค์จะต่อสัญญาไว้ตามประกาศกรมประชาสัมพันธ์ ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2550 โอนไปเป็นขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย โดยผลของกฎหมายทันที การบริหารกิจการขององค์การดังกล่าวย่อมเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการนโยบายเป็นการชั่วคราว โดยมีสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานธุรการตามมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการนโยบายเป็นการชั่วคราว ที่จะหยิบยกภาระผูกพันในการออกอากาศรายการที่ล่วงเลยกำหนดเวลาออกอากาศมาพิจารณาว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร โดยคำนึงถึงบทบัญญัติในพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 ส่วนภาระผูกพันที่เกี่ยวกับสถานภาพของพนักงานที่ได้ยื่นความประสงค์ขอต่อสัญญาจ้างไว้นั้นก็เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการนโยบายเป็นการชั่วคราวที่จะหยิบยกขึ้นมาพิจารณาดำเนินการต่อไปหรือไม่เช่นกัน อีกทั้งกรรมการในคณะกรรมการที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการนโยบายเป็นการชั่วคราว (นายณรงค์ ใจหาญ) ให้ถ้อยคำต่อศาลว่า คณะกรรมการนโยบายชั่วคราวสามารถออกผังรายการของสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 และผังรายการจะเสร็จสมบูรณ์ภายในสามเดือน จึงเห็นได้ว่าคณะกรรมการที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการนโยบายชั่วคราว ย่อมมีอำนาจในการดำเนินกิจการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ ขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ซึ่งรวมทั้งการจัดทำผังรายการ และดำเนินการออกอากาศอย่างต่อเนื่องต่อไป ตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 ดังนั้นจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่25/2551 ลงวันที่ 14 มกราคม 2551
อาศัยเหตุดังที่วินิจฉัยข้างต้น จึงมีคำสั่งยกคำขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองของผู้ฟ้องคดีทั้งหนึ่งร้อยห้า
นายชาชิวัฒน์ ศรีแก้ว ตุลาการเจ้าของสำนวน
ตุลาการศาลปกครองกลาง
นายประวิตร บุญเทียม
ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง
นายณัฐ รัฐอมฤต
ตุลาการศาลปกครองกลาง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ