บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๕ (สมัยสามัญทั่วไป)

ข่าวการเมือง Monday February 24, 2003 14:37 —รัฐสภา

                                บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร  ชุดที่  ๒๑  ปีที่  ๓
ครั้งที่ ๕ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๖
ณ ตึกรัฐสภา
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๕๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม
จากนั้น ได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันศุกร์ที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ ได้ลงมติให้
ขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ออกไปเป็นกรณีพิเศษอีก ๓๐ วัน นับตั้งแต่วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖
ตามมาตรา ๑๗๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑) ร่างพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. ....
๒) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวง ศึกษาธิการ พ.ศ. ....
๒. เรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน ไว้พิจารณาให้คำรับรองจำนวน ๑ ฉบับ คือ
ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. .... ซึ่ง นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก และ
นายพงษ์พิช รุ่งเป้า เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระเรื่องที่เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน
ตามมติของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๓ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖
คือ ร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. .... ซึ่งคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่าง
พระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๓ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. .... ซึ่ง
นายสุทัศน์ เงินหมื่น กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๙)
๒. ร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. .... ซึ่ง
พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๐)
๓. ร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. .... ซึ่ง
นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ และนายเทวัญ ลิปตพัลลภ เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) และผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผลตามลำดับ
โดยมีสมาชิกฯ อภิปราย ต่อมา รองประธานสภา ผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน รองนายกรัฐมนตรี
(นายวิษณุ เครืองาม) ตอบ ชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการ
แห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๔ ฉบับ พร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน
เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ๒. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
๓. รองศาสตราจารย์ธงทอง จันทรางศุ ๔. นายธาริต เพ็งดิษฐ์
๕. นายวรรณชัย บุญบำรุง ๖. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ
๗. นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ ๘. ศาสตราจารย์ลิขิต ธีรเวคิน
๙. พันเอก อภิวันท์ วิริยะชัย ๑๐. พลตรี ศรชัย มนตริวัต
๑๑. นายอิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ ๑๒. นายไพศาล จันทรภักดี
๑๓. นายสามารถ แก้วมีชัย ๑๔. นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์
๑๕. นายสานิต ว่องสัธนพงษ์ ๑๖. นายสุทธิชัย จันทร์อารักษ์
๑๗. นายเอกภาพ พลซื่อ ๑๘. นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ
๑๙. พันตำรวจโท สมชาย เพศประเสริฐ ๒๐. นายบูราฮานูดิน อุเซ็ง
๒๑. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ๒๒. นายอรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์
๒๓. นายเจริญ จรรย์โกมล ๒๔. นายสุทัศน์ เงินหมื่น
๒๕. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ๒๖. นายนิพนธ์ บุญญามณี
๒๗. นายถาวร เสนเนียม ๒๘. นายวิทยา แก้วภราดัย
๒๙. นายสุวโรช พะลัง ๓๐. พลตำรวจโท วรรณรัตน์ คชรักษ์
๓๑. พลตำรวจเอก ไกรสุข สินศุข ๓๒. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
๓๓. นายเกษม สรศักดิ์เกษม ๓๔. นายประวิช รัตนเพียร
๓๕. นายธนกร นันที .
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ได้ขึ้นมาปฏิบัติ หน้าที่แทน
และได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องที่คณะ กรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
คือ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง
คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้
วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ
เพื่อแจ้งไปยังคณะ รัฐมนตรีด้วย และในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ รองประธาน
สภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ดำเนินการประชุมแทน
จากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม โดยขอนำ
ระเบียบวาระที่ ๔.๔ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
กำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๔)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง
คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้
วุฒิสภาพิจารณาต่อไป ตามรัฐธรรมนูญฯ
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๕๐ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รักษาราชการแทน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
กลุ่มงานรายงานการประชุม
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๒๒๘ , ๓๒๓๐ - ๓๑
โทรสาร ๐ ๒๓๕๗ ๓๒๑๑
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. .... (คณะรัฐมนตรี และสมาชิกฯ เสนอรวม ๔ ฉบับ)
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๒. ร่างพระราชบัญญัติกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
****************************

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ