กรุงเทพ--16 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมติดตามความคืบหน้าการ พัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (ACD WORKING GROUP"FINANCIAL COOPERATION" ) ครั้งที่ 2 ที่กระทรวงการต่างประเทศ สรุปได้ดังนี้
1. นายกรัฐมนตรีได้ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียหารือกัน เนื่องจากการประชุมระดับรัฐมนตรี ACD ในเดือนมิถุนายน 2546 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจากเดิมมีเพียง 18 ประเทศที่เข้าร่วมการประชุม ได้ขยายเป็น 22 ประเทศ ต่างได้แสดงความเห็นชอบต่อความคิดริเริ่มของนายกรัฐมนตรีไทยเกี่ยวกับการพัฒนาตลาดพันธบัตร เอเชีย ซึ่งกลุ่มธนาคารชาติ 10 ประเทศ ได้ตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชีย (Asia Bond Fund) ขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ อินเดียได้แสดงความพร้อมที่จะลงทุนอีก 1,000 ล้านเหรียญ และยังมีอีกหลายประเทศใน ACD ที่ต้องการจะลงทุนด้วยเช่นกัน ในส่วนของประเทศไทยเองก็พร้อม ในวันนี้จึงได้มีการหารือกันและได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่าจะจัดตั้งเป็น กองทุนอีกกองทุนหนึ่ง เรียกว่า Asia Bond Fund ซึ่งอยู่ในกรอบ ACD (22 ประเทศ) และทิศทางน่าจะเป็นกองทุนที่นำไปสู่การออกพันธบัตรสกุลเอเชียหรือเรียกสั้นๆ ว่า กองทุนพันธบัตรเอเชียที่นำไปสู่สกุลเงินเอเชียไม่ใช่เป็นสกุลดอลล่าห์แต่เพียงอย่างเดียว
2. นอกจากนั้นได้มีการตกลงว่า จะมีการเรียกประชุมคณะทำงานด้านการเงินการคลังของ ADB ซึ่งประเทศไทยเป็นประธานการประชุมประมาณเดือนเมษายน 2547 และติดตามด้วยการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของกลุ่มประเทศ ACD ในเดือนเมษายน 2547 เช่นกัน โดยกระทรวงการต่างประเทศจะร่วมมือกับกระทรวงการคลัง ในการเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้เชี่ยวชาญมาเข้าร่วมการประชุมทั้งในการประชุมคณะทำงานว่าด้วยความร่วมมือทางด้านการเงินการคลังของ ADB และการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของ ACD ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่เป็นการประชุมในระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของ ADB โดยสำหรับประเทศไทยนั้น ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็จะร่วมมือกับตนในการผลักดันเรื่องนี้ ต่อไป
3. หัวข้อจะได้มีการหารือกันต่อไปก่อนที่จะนำไปสู่การประชุมประจำปี ในระดับรัฐมนตรี ACD ในเดือนมิถุนายน 2547 ที่จีนจะเป็นเจ้าภาพ ก็คือ จากวันนี้จนถึงวันนั้นกองทุนพันธบัตรเอเชียที่จะจัดตั้งขี้นใหม่จะมีประเทศใดเข้าร่วมบ้าง ซึ่งจะเน้นสกุลเงินเอเชีย ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญ ประการที่สองก็คือ การบริหารกองทุนนี้จะให้ใครมาบริหาร หรืออาจจะไม่ต้องใช้ BIS (Bank for International Settlement) เหมือนเช่นกองทุนแรก หรืออาจจะเริ่มต้นที่พันธบัตรของรัฐบาล ซึ่งจะได้ไม่ต้องมีปัญหามากนักในเรื่องของการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยให้ผู้บริหารกองทุนคนใหม่พิจารณาเองว่าโครงการ แต่ละโครงการที่แต่ละประเทศของ ACD ต้องการจะออกพันธบัตรมากู้เงินนั้นเป็น โครงการที่น่าจะลงทุนหรือไม่ ซึ่งจะเป็นหัวข้อที่คณะทำงานและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของ ACD จะประชุมหารือกัน ซึ่งการหารือกันในวันนี้ก็ได้บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานเรียบร้อยแล้วดังที่กล่าวมา รวมทั้งจะมีการเชิญเอกอัครราชทูตของประเทศ ACD มาที่กระทรวงการต่างประเทศ และให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเช่น นายวิจิตร สุขพินิจ และนายโอฬาร ชัยประวัติ ร่วมกับอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สรุปให้เอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิก ACD ทั้ง 22 ประเทศ ได้ทราบทิศทางการทำงานร่วมกันในเรื่องของ การพัฒนาพันธบัตรเอเชียว่าเป็นเช่นไร
4. ประการสุดท้าย เราได้ตกลงกันในที่ประชุมที่จะมีการจัดตั้งสำนักเลขาธิการเพื่อการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย เพื่อเป็นสำนักเลขาธิการ (Secretariat) สำหรับ Asia Bond Market ขึ้นที่ประเทศไทย โดยจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการ ประสานงานในการรวบรวมข้อคิดเห็น ในการผลักดันการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย ทั้งหมด จะเป็นหน่วยงานที่ประสานงานกับหน่วยงานภายในประเทศทั้งหมด รวมทั้งธนาคารชาติ กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ และสถาบันการเงินอื่นๆ ตลาดหลักทรัพย์ กลต. จะประสานงานกับหน่วยงานเหล่านี้ในประเทศต่างๆ ที่สนใจตลาดพันธบัตรเอเชียด้วย ซึ่งเรื่องนี้ตนจะได้นำความเรียนนายกรัฐมนตรีต่อไป ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการที่จะตั้งขึ้นในประเทศไทยนี้จะเป็นสำนักงานอิสระอยู่ในกระทรวงการคลังในทำนองเดียวกับสำนักงานบริหารกองทุนวายุภักษ์ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำกับดูแล และกระทรวงการต่างประเทศก็จะเข้าไปร่วมในสำนักเลขาธิการนี้ ในการประสานงานเกี่ยวกับพันธบัตรเอเชียในทุกๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับประเทศสมาชิก ACD ทั้ง 22 ประเทศ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมติดตามความคืบหน้าการ พัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (ACD WORKING GROUP"FINANCIAL COOPERATION" ) ครั้งที่ 2 ที่กระทรวงการต่างประเทศ สรุปได้ดังนี้
1. นายกรัฐมนตรีได้ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียหารือกัน เนื่องจากการประชุมระดับรัฐมนตรี ACD ในเดือนมิถุนายน 2546 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจากเดิมมีเพียง 18 ประเทศที่เข้าร่วมการประชุม ได้ขยายเป็น 22 ประเทศ ต่างได้แสดงความเห็นชอบต่อความคิดริเริ่มของนายกรัฐมนตรีไทยเกี่ยวกับการพัฒนาตลาดพันธบัตร เอเชีย ซึ่งกลุ่มธนาคารชาติ 10 ประเทศ ได้ตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชีย (Asia Bond Fund) ขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ อินเดียได้แสดงความพร้อมที่จะลงทุนอีก 1,000 ล้านเหรียญ และยังมีอีกหลายประเทศใน ACD ที่ต้องการจะลงทุนด้วยเช่นกัน ในส่วนของประเทศไทยเองก็พร้อม ในวันนี้จึงได้มีการหารือกันและได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่าจะจัดตั้งเป็น กองทุนอีกกองทุนหนึ่ง เรียกว่า Asia Bond Fund ซึ่งอยู่ในกรอบ ACD (22 ประเทศ) และทิศทางน่าจะเป็นกองทุนที่นำไปสู่การออกพันธบัตรสกุลเอเชียหรือเรียกสั้นๆ ว่า กองทุนพันธบัตรเอเชียที่นำไปสู่สกุลเงินเอเชียไม่ใช่เป็นสกุลดอลล่าห์แต่เพียงอย่างเดียว
2. นอกจากนั้นได้มีการตกลงว่า จะมีการเรียกประชุมคณะทำงานด้านการเงินการคลังของ ADB ซึ่งประเทศไทยเป็นประธานการประชุมประมาณเดือนเมษายน 2547 และติดตามด้วยการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของกลุ่มประเทศ ACD ในเดือนเมษายน 2547 เช่นกัน โดยกระทรวงการต่างประเทศจะร่วมมือกับกระทรวงการคลัง ในการเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้เชี่ยวชาญมาเข้าร่วมการประชุมทั้งในการประชุมคณะทำงานว่าด้วยความร่วมมือทางด้านการเงินการคลังของ ADB และการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของ ACD ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่เป็นการประชุมในระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของ ADB โดยสำหรับประเทศไทยนั้น ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็จะร่วมมือกับตนในการผลักดันเรื่องนี้ ต่อไป
3. หัวข้อจะได้มีการหารือกันต่อไปก่อนที่จะนำไปสู่การประชุมประจำปี ในระดับรัฐมนตรี ACD ในเดือนมิถุนายน 2547 ที่จีนจะเป็นเจ้าภาพ ก็คือ จากวันนี้จนถึงวันนั้นกองทุนพันธบัตรเอเชียที่จะจัดตั้งขี้นใหม่จะมีประเทศใดเข้าร่วมบ้าง ซึ่งจะเน้นสกุลเงินเอเชีย ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญ ประการที่สองก็คือ การบริหารกองทุนนี้จะให้ใครมาบริหาร หรืออาจจะไม่ต้องใช้ BIS (Bank for International Settlement) เหมือนเช่นกองทุนแรก หรืออาจจะเริ่มต้นที่พันธบัตรของรัฐบาล ซึ่งจะได้ไม่ต้องมีปัญหามากนักในเรื่องของการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยให้ผู้บริหารกองทุนคนใหม่พิจารณาเองว่าโครงการ แต่ละโครงการที่แต่ละประเทศของ ACD ต้องการจะออกพันธบัตรมากู้เงินนั้นเป็น โครงการที่น่าจะลงทุนหรือไม่ ซึ่งจะเป็นหัวข้อที่คณะทำงานและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของ ACD จะประชุมหารือกัน ซึ่งการหารือกันในวันนี้ก็ได้บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานเรียบร้อยแล้วดังที่กล่าวมา รวมทั้งจะมีการเชิญเอกอัครราชทูตของประเทศ ACD มาที่กระทรวงการต่างประเทศ และให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเช่น นายวิจิตร สุขพินิจ และนายโอฬาร ชัยประวัติ ร่วมกับอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สรุปให้เอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิก ACD ทั้ง 22 ประเทศ ได้ทราบทิศทางการทำงานร่วมกันในเรื่องของ การพัฒนาพันธบัตรเอเชียว่าเป็นเช่นไร
4. ประการสุดท้าย เราได้ตกลงกันในที่ประชุมที่จะมีการจัดตั้งสำนักเลขาธิการเพื่อการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย เพื่อเป็นสำนักเลขาธิการ (Secretariat) สำหรับ Asia Bond Market ขึ้นที่ประเทศไทย โดยจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการ ประสานงานในการรวบรวมข้อคิดเห็น ในการผลักดันการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย ทั้งหมด จะเป็นหน่วยงานที่ประสานงานกับหน่วยงานภายในประเทศทั้งหมด รวมทั้งธนาคารชาติ กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ และสถาบันการเงินอื่นๆ ตลาดหลักทรัพย์ กลต. จะประสานงานกับหน่วยงานเหล่านี้ในประเทศต่างๆ ที่สนใจตลาดพันธบัตรเอเชียด้วย ซึ่งเรื่องนี้ตนจะได้นำความเรียนนายกรัฐมนตรีต่อไป ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการที่จะตั้งขึ้นในประเทศไทยนี้จะเป็นสำนักงานอิสระอยู่ในกระทรวงการคลังในทำนองเดียวกับสำนักงานบริหารกองทุนวายุภักษ์ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำกับดูแล และกระทรวงการต่างประเทศก็จะเข้าไปร่วมในสำนักเลขาธิการนี้ ในการประสานงานเกี่ยวกับพันธบัตรเอเชียในทุกๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับประเทศสมาชิก ACD ทั้ง 22 ประเทศ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-