กรุงเทพ--25 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2547 ฯพณฯ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การ
ต่างประเทศ และ ฯพณฯ นายสมสะหวาด เล่งสวัด รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีต่างประเทศ สาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้ร่วมการแถลงข่าว ผลการประชุมร่วมอย่างไม่เป็นทางการ กลุ่มย่อย โดยนาย
สมสะหวาดฯ ได้แถลงผลการประชุมก่อน และดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ได้กล่าวเพิ่มเติม ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่าย
ได้กล่าวย้ำถึงบรรยากาศการประชุมหารือที่เป็นมิตร สร้างสรรค์ และไว้เนื้อเชื่อใจกัน เพื่อมุ่งขยายความ
สัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งสองซึ่งจะเห็นได้จาก การลงนามระหว่าง รัฐบาลทั้งสอง เช่น
การลงนามในสนธิสัญญาระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาวว่าด้วยการโอน
ตัวผู้ต้องคำพิพากษาและความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญา โดยทั้งสองฝ่ายเห็นชอบ
ให้ผู้ถูกพิพากษาลงโทษในดินแดนของภาคีฝ่ายหนึ่งอาจได้รับการโอนตัวไปยังดินแดนของภาคีอีกฝายหนึ่งได้ เพื่อ
ให้บุคคลผู้นั้นรับโทษที่ตนได้ถูกพิพากษาในดินแดนที่ตนถือสัญชาติ ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความร่วมมือที่ลึกซึ้ง
และไว้วางใจกัน รวมทั้งการลงนามกรอบความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย — ลาว ซึ่งเป็นกรอบความ
ร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-ลาวให้ ดำเนินไปในแนวทางที่สอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละฝ่ายและเกื้อกูลซึ่งกัน
และกันโดยจะได้นำโครงการความร่วมมือทวิภาคีไทย — ลาวจำนวน 50 โครงการภายใต้กรอบความร่วมมือ
ACMECS มาดำเนินการ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง ทั้งนี้ ผลการหารือสรุปได้ ดังนี้
1. กลุ่มความมั่นคง
1.1 เรื่อง นปข. ฝ่ายลาวได้ขอหารือในหลายประเด็นในเรื่องภารกิจของ นปข. และ
ฝ่ายไทยได้รับพิจารณาที่จะให้มีการปรับภารกิจของ นปข. ซึ่งจะมุ่งเน้นภารกิจในการปราบปรามยาเสพติดเป็น
หลัก และการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติเป็นภารกิจรองและอาจให้มีการปรับเปลี่ยนชื่อหน่วยให้เหมาะสม
โดยถือว่าเป็นศักราชใหม่ของความร่วมมือไม่ใช่การปราบปรามซึ่งกันและกัน
1.2 เรื่องการยกเลิกการตรวจลงตราหนังสือเดินทางบุคคลธรรมดา ฝ่ายไทยเห็นด้วยกับ
ข้อเสนอของฝ่าลาวที่ให้ยกเลิกการตรวจลงตราหนังสือเดินทางประเภทบุคคลธรรมดาโดยให้เริ่มในปี 2548
หรืออาจเริ่มดำเนินการได้เร็วกว่าที่กำหนดหากทั้งสองฝ่ายมีความพร้อม
1.3 การเจรจาปักปันเขตแดน ทั้งสองฝ่ายจะเร่งดำเนินสำรวจและจัดทำหลักเขตทางบก
ให้สำเร็จในปี 2547 และทางน้ำให้สำเร็จในปี 2548
1.4 การยกระดับด่านชายแดน ทั้งสองฝ่ายเห็นด้วยกับการเพิ่มช่องทางผ่านแดนระหว่าง
กันเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและการไปมาหาสู่กันโดยตกลงที่จะ ยกระดับ
ด่านปากซัน แขวงบอลิไซ ตรงข้ามอำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคายขึ้นเป็นด่านสากลในช่วงก่อนสงกรานต์ในปี
2547 และยกระดับด่านคอนผึ้ง เมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุรี ตรงข้ามด่านปากห้วย อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย
ขึ้นเป็นด่านสากลก่อนโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย — ลาว จะแล้วเสร็จเพื่อรองรับการเปิด
ใช้สะพาน
1.5 การปราบปรามยาเสพติด ทั้งสองฝ่ายมีเจตนารมณย์ชัดเจนที่จะร่วมมือกันปราบปราม
ยาเสพติดให้หมดสิ้นไป โดยให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเชิงลึก เพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาของ ยาเสพติด
และการแลกเปลี่ยนการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่
2. กลุ่มเศรษฐกิจ
2.1 ด้านพลังงาน ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้มีความร่วมมือด้านพลังงานอย่างต่อเนื่อง โดย
ฝ่ายไทย จะยังคงใช้หลักการจัดทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement - PPA) เป็นพื้น
ฐานในการ รับซื้อไฟฟ้าจากลาว และให้กลุ่มผู้ลงทุนเริ่มเจรจากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในเรื่อง
PPA ได้สำหรับโครงการน้ำงึม 2 โครงการน้ำงึม 3 โครงการหงสาลิกไนต์ โครงการน้ำเทิน-หินปูน-น้ำเทิน
3 และโครงการน้ำเงี๊ยบ โดยเร็ว และเห็นชอบให้มีการจัดทำแผนพัฒนาพลังงานระยะยาวร่วมกัน
2.2 ด้านภาษีศุลกากร เพื่อให้การค้าเป็นปัจจัยส่งเสริมการผลิตในลาว ฝ่ายไทยนอก
จากจะ ตกลงให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรในกรอบของอาเซียนให้แก่ลาวจำนวน 179 รายการ และยังได้
ยกเว้นอากรขาเข้าในลักษณะยกเว้นให้ฝ่ายเดียวแก่ลาว (One Way Free Trade) ในสินค้าเกษตร 9
รายการโดยได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว รวมทั้งยังได้รับพิจารณาคำขอของฝ่ายลาวให้ยกเว้น
อากรขาเข้าในลักษณะยกเว้นให้ฝ่ายเดียวแก่สินค้าเกษตรที่ฝ่ายลาวมีความสามารถส่งออกได้จริงอีก 16
รายการ
นอกจากนี้ ยังมีโครงการอื่น ๆ ที่ นายกรัฐมนตรีของไทยได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบในการกล่าวเปิดประชุมอาทิ
การเปิดเสรีผู้ประกอบการขนส่งทางถนนไทย-ลาวซึ่งเพิ่มจาก 5 รายเป็น 44 รายและเปิดเสรีให้ผู้สนใจมา
ขออนุญาตเพิ่มได้อีก เป็นต้น
3. กลุ่มสังคมและการพัฒนา
3.1 ด้านการท่องเที่ยว ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันในการส่งเสริมการท่องเที่ยว
ระหว่างกัน โดยให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวผ่านเครือข่าย internet โดยฝ่ายไทยจะให้ความ
ช่วยเหลือด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แก่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยวของลาวที่เมืองปากเซโดยจะจัดพิธีส่ง
มอบในโอกาสการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมฯ ครั้งนี้
3.2 ด้านการศึกษา ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะให้มีการขยายความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อ
พัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง โดยจะได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ ด้านการ
ศึกษาระหว่างไทย — ลาวด้วย
3.3 ด้านแรงงาน ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะให้มีการแก้ไขปัญหาแรงงานให้ถูกต้องตาม
กฎหมายของแต่ละประเทศ นอกจากนี้ ฝ่ายไทยยังพร้อมที่จะสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรง
งานที่ปากเซ 1 แห่งเพื่อส่งเสริมฝีมือแรงงานและรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต
3.4 ด้านสาธารณสุข ทั้งสองฝ่ายจะสนับสนุนการปฏิบัติตามโครงการความร่วมมือสาขา
สาธารณสุขที่ได้ตกลงกันแล้วเช่นโครงการด้านอาหารและยา นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้มีความร่วมมือกันอย่าง
ใกล้ชิดในการสกัดกั้นและระงับโรคระบาดต่าง ๆ อย่างทันท่วงที
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร.
643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-สส-
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2547 ฯพณฯ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การ
ต่างประเทศ และ ฯพณฯ นายสมสะหวาด เล่งสวัด รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีต่างประเทศ สาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้ร่วมการแถลงข่าว ผลการประชุมร่วมอย่างไม่เป็นทางการ กลุ่มย่อย โดยนาย
สมสะหวาดฯ ได้แถลงผลการประชุมก่อน และดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ได้กล่าวเพิ่มเติม ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่าย
ได้กล่าวย้ำถึงบรรยากาศการประชุมหารือที่เป็นมิตร สร้างสรรค์ และไว้เนื้อเชื่อใจกัน เพื่อมุ่งขยายความ
สัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งสองซึ่งจะเห็นได้จาก การลงนามระหว่าง รัฐบาลทั้งสอง เช่น
การลงนามในสนธิสัญญาระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาวว่าด้วยการโอน
ตัวผู้ต้องคำพิพากษาและความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญา โดยทั้งสองฝ่ายเห็นชอบ
ให้ผู้ถูกพิพากษาลงโทษในดินแดนของภาคีฝ่ายหนึ่งอาจได้รับการโอนตัวไปยังดินแดนของภาคีอีกฝายหนึ่งได้ เพื่อ
ให้บุคคลผู้นั้นรับโทษที่ตนได้ถูกพิพากษาในดินแดนที่ตนถือสัญชาติ ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความร่วมมือที่ลึกซึ้ง
และไว้วางใจกัน รวมทั้งการลงนามกรอบความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย — ลาว ซึ่งเป็นกรอบความ
ร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-ลาวให้ ดำเนินไปในแนวทางที่สอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละฝ่ายและเกื้อกูลซึ่งกัน
และกันโดยจะได้นำโครงการความร่วมมือทวิภาคีไทย — ลาวจำนวน 50 โครงการภายใต้กรอบความร่วมมือ
ACMECS มาดำเนินการ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง ทั้งนี้ ผลการหารือสรุปได้ ดังนี้
1. กลุ่มความมั่นคง
1.1 เรื่อง นปข. ฝ่ายลาวได้ขอหารือในหลายประเด็นในเรื่องภารกิจของ นปข. และ
ฝ่ายไทยได้รับพิจารณาที่จะให้มีการปรับภารกิจของ นปข. ซึ่งจะมุ่งเน้นภารกิจในการปราบปรามยาเสพติดเป็น
หลัก และการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติเป็นภารกิจรองและอาจให้มีการปรับเปลี่ยนชื่อหน่วยให้เหมาะสม
โดยถือว่าเป็นศักราชใหม่ของความร่วมมือไม่ใช่การปราบปรามซึ่งกันและกัน
1.2 เรื่องการยกเลิกการตรวจลงตราหนังสือเดินทางบุคคลธรรมดา ฝ่ายไทยเห็นด้วยกับ
ข้อเสนอของฝ่าลาวที่ให้ยกเลิกการตรวจลงตราหนังสือเดินทางประเภทบุคคลธรรมดาโดยให้เริ่มในปี 2548
หรืออาจเริ่มดำเนินการได้เร็วกว่าที่กำหนดหากทั้งสองฝ่ายมีความพร้อม
1.3 การเจรจาปักปันเขตแดน ทั้งสองฝ่ายจะเร่งดำเนินสำรวจและจัดทำหลักเขตทางบก
ให้สำเร็จในปี 2547 และทางน้ำให้สำเร็จในปี 2548
1.4 การยกระดับด่านชายแดน ทั้งสองฝ่ายเห็นด้วยกับการเพิ่มช่องทางผ่านแดนระหว่าง
กันเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและการไปมาหาสู่กันโดยตกลงที่จะ ยกระดับ
ด่านปากซัน แขวงบอลิไซ ตรงข้ามอำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคายขึ้นเป็นด่านสากลในช่วงก่อนสงกรานต์ในปี
2547 และยกระดับด่านคอนผึ้ง เมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุรี ตรงข้ามด่านปากห้วย อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย
ขึ้นเป็นด่านสากลก่อนโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย — ลาว จะแล้วเสร็จเพื่อรองรับการเปิด
ใช้สะพาน
1.5 การปราบปรามยาเสพติด ทั้งสองฝ่ายมีเจตนารมณย์ชัดเจนที่จะร่วมมือกันปราบปราม
ยาเสพติดให้หมดสิ้นไป โดยให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเชิงลึก เพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาของ ยาเสพติด
และการแลกเปลี่ยนการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่
2. กลุ่มเศรษฐกิจ
2.1 ด้านพลังงาน ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้มีความร่วมมือด้านพลังงานอย่างต่อเนื่อง โดย
ฝ่ายไทย จะยังคงใช้หลักการจัดทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement - PPA) เป็นพื้น
ฐานในการ รับซื้อไฟฟ้าจากลาว และให้กลุ่มผู้ลงทุนเริ่มเจรจากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในเรื่อง
PPA ได้สำหรับโครงการน้ำงึม 2 โครงการน้ำงึม 3 โครงการหงสาลิกไนต์ โครงการน้ำเทิน-หินปูน-น้ำเทิน
3 และโครงการน้ำเงี๊ยบ โดยเร็ว และเห็นชอบให้มีการจัดทำแผนพัฒนาพลังงานระยะยาวร่วมกัน
2.2 ด้านภาษีศุลกากร เพื่อให้การค้าเป็นปัจจัยส่งเสริมการผลิตในลาว ฝ่ายไทยนอก
จากจะ ตกลงให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรในกรอบของอาเซียนให้แก่ลาวจำนวน 179 รายการ และยังได้
ยกเว้นอากรขาเข้าในลักษณะยกเว้นให้ฝ่ายเดียวแก่ลาว (One Way Free Trade) ในสินค้าเกษตร 9
รายการโดยได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว รวมทั้งยังได้รับพิจารณาคำขอของฝ่ายลาวให้ยกเว้น
อากรขาเข้าในลักษณะยกเว้นให้ฝ่ายเดียวแก่สินค้าเกษตรที่ฝ่ายลาวมีความสามารถส่งออกได้จริงอีก 16
รายการ
นอกจากนี้ ยังมีโครงการอื่น ๆ ที่ นายกรัฐมนตรีของไทยได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบในการกล่าวเปิดประชุมอาทิ
การเปิดเสรีผู้ประกอบการขนส่งทางถนนไทย-ลาวซึ่งเพิ่มจาก 5 รายเป็น 44 รายและเปิดเสรีให้ผู้สนใจมา
ขออนุญาตเพิ่มได้อีก เป็นต้น
3. กลุ่มสังคมและการพัฒนา
3.1 ด้านการท่องเที่ยว ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันในการส่งเสริมการท่องเที่ยว
ระหว่างกัน โดยให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวผ่านเครือข่าย internet โดยฝ่ายไทยจะให้ความ
ช่วยเหลือด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แก่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยวของลาวที่เมืองปากเซโดยจะจัดพิธีส่ง
มอบในโอกาสการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมฯ ครั้งนี้
3.2 ด้านการศึกษา ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะให้มีการขยายความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อ
พัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง โดยจะได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ ด้านการ
ศึกษาระหว่างไทย — ลาวด้วย
3.3 ด้านแรงงาน ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะให้มีการแก้ไขปัญหาแรงงานให้ถูกต้องตาม
กฎหมายของแต่ละประเทศ นอกจากนี้ ฝ่ายไทยยังพร้อมที่จะสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรง
งานที่ปากเซ 1 แห่งเพื่อส่งเสริมฝีมือแรงงานและรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต
3.4 ด้านสาธารณสุข ทั้งสองฝ่ายจะสนับสนุนการปฏิบัติตามโครงการความร่วมมือสาขา
สาธารณสุขที่ได้ตกลงกันแล้วเช่นโครงการด้านอาหารและยา นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้มีความร่วมมือกันอย่าง
ใกล้ชิดในการสกัดกั้นและระงับโรคระบาดต่าง ๆ อย่างทันท่วงที
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร.
643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-สส-