กรุงเทพ--25 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (24 มีนาคม 2547) ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับต่างประเทศ ที่วิเทศ
สโมสร กระทรวงการต่างประเทศ ภายหลังการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์
สื่อมาลชน สรุปได้ดังนี้
1. ที่ประชุมได้ทบทวนเรื่องการดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจและวิชาการกับ
ประเทศต่างๆ สำหรับปี 2548 และได้เห็นชอบในยุทธศาสตร์การให้ความช่วยเหลือแก่ 4 ประเทศ คือ พม่า
ลาว กัมพูชา และ เวียดนาม โดยประการแรก ไทยจะให้ความสำคัญระดับพิเศษแก่โครงการ ที่อยู่ในประเทศ
กลุ่มยุทธศาสตร์ความร่วมมือเศรษฐกิจ ECS ก่อน ซึ่งขณะนี้รวมเวียดนามด้วย จากนั้นไทยก็จะให้ความช่วย
เหลือตามกรอบของสหประชาชาติที่มีเป้าหมายเกี่ยวกับการพัฒนา ซึ่งจะรวมไปถึงเรื่องของการสาธารณสุข น้ำ
สะอาด และเรื่องอาหารกลางวัน หลังจากนั้นไทยก็จะให้ความช่วยเหลือกับ 4 ประเทศดังกล่าวภายใต้กรอบที่
ตกลงกันของประเทศอาเซียน เพราะฉะนั้นการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและวิชาการที่กรมวิเทศสหการ
กระทรวงการต่างประเทศ ดูแลอยู่ จะมี 3 เรื่องด้วยกัน คือ กรอบ ECS เป็นหลัก ต่อด้วยกรอบสหประชาชาติ
และกรอบอาเซียนที่ไทยมีข้อผูกพันอยู่ตามลำดับ
2. ที่ประชุมได้หารือถึงแนวทางที่ไทยจะขยายความร่วมมือกับประเทศในกลุ่มต่างๆ เพิ่มขึ้น เช่น
ประเทศในแอฟริกา เพื่อที่ไทยจะเรียนรู้กับประเทศเหล่านี้มากขึ้น เพราะหลายประเทศมีความสัมพันธ์ทางการ
ค้ากับไทย และหลายประเทศก็มีการติดต่อกันน้อย ซึ่งควรจะใกล้ชิดกันมากขึ้น จึงจะจัดให้มีการประชุมร่วมกัน
ซึ่งก็ได้ให้ทุกหน่วยงานทำการศึกษา และเตรียมการในปีนี้ เพราะเป็นปีที่ นายกรัฐมนตรีไปเยือนแอฟริกา ซึ่งก็
จะเป็นนายกรัฐมนตรีท่านแรกในรอบหลายสิบปีที่จะไปเยือน แอฟริกา นอกจากนี้ยังมีแนวคิดที่จะจัดประชุม
รัฐมนตรีของประเทศ ACD 22 ประเทศ กับรัฐมนตรีของประเทศในกลุ่มหุ้นส่วนใหม่เพื่อการพัฒนาแอฟริกา หรือ
NEPAD อีก 50 กว่าประเทศในปลายปีนี้ เพื่อเชื่อมโยงระหว่างเอเชียกับแอฟริกาให้เข้าใจกันเพิ่มมากขึ้น
3. ในเรื่องโครงการบัวแก้วสัมพันธ์ ซึ่งคือการที่ไทยเชิญผู้ที่มีศักยภาพจากประเทศเพื่อนบ้านมาไทย
เพื่อมาดูงานและฝึกอบรมเพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีนั้น ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่าโครงการบัวแก้วสัมพันธ์
ควรจะขยายมากขึ้นกว่านี้ เหมือนกับสมัยก่อนที่ประเทศต่างๆ ได้เชิญเยาวชนไทยหรือคนที่มีศักยภาพที่จะมี
บทบาทสำคัญในวงราชการหรือธุรกิจไปเยือน เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เป็นต้น ขณะนี้ไทยจึงประสงค์จะเชิญคน
ที่มีศักยภาพทางด้านธุรกิจ ราชการ การเมือง และอื่นๆ ของประเทศต่างๆ มาเยือนไทยเพื่อทำความคุ้นเคย
และเรียนรู้เรื่องต่างๆกับคนไทยในประเทศไทย
4. สำหรับโครงการอาสาสมัครเพื่อนไทย โดยการที่ไทยส่งอาสาสมัครเข้าไปช่วยทำงานเพื่อการ
พัฒนาในประเทศเพื่อนบ้านนั้น ที่ประชุมเห็นตรงกันว่าเรื่องนี้ควรมีการส่งเสริมให้มีมากขึ้น
5. ในเรื่องสถาบันแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นสถาบันที่ไทยจะฝึกอบรมคนจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่ประชุมให้
ข้อสังเกตว่า สถาบันแม่น้ำโขงที่ตั้งอยู่ที่ขอนแก่นขณะนี้ยังไม่สามารถบริหารได้อย่างเข้มแข็ง ทั้งที่ได้ยกเป็น
สถาบันระดับภูมิภาคแล้ว เพราะฉะนั้นจะมีการระดมสมองกันว่าทำอย่างไรที่จะทำให้สถาบันแม่น้ำโขงมีโครง
สร้างการบริหารที่เข้มแข็ง มีเงินทุน มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เนื่องจากขณะนี้นโยบายนายกรัฐมนตรีใน
เรื่องที่ไทยเป็นหุ้นส่วนกับประเทศต่างๆ และองค์กรระหว่างประเทศเพื่อร่วมมือกันพัฒนาประเทศเพื่อนบ้านเดิน
หน้าไปเร็วมาก มีองค์กรระหว่างประเทศต่างๆหลายองค์กร และประเทศต่างๆ หลายประเทศ มาลงนามกับ
ไทย เพื่อขอเป็นหุ้นส่วนกับไทยเพื่อพัฒนาประเทศเพื่อนบ้าน เพราะฉะนั้นหากสถาบันแม่น้ำโขงยังไม่เข้มแข็ง
การที่ไทยจะใช้สถาบันแม่น้ำโขงเป็นกลไกสำคัญในการฝึกอบรมโดยร่วมมือกับประเทศต่างๆ จะทำได้ไม่คล่องตัว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร.
643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-สส-
วันนี้ (24 มีนาคม 2547) ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับต่างประเทศ ที่วิเทศ
สโมสร กระทรวงการต่างประเทศ ภายหลังการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์
สื่อมาลชน สรุปได้ดังนี้
1. ที่ประชุมได้ทบทวนเรื่องการดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจและวิชาการกับ
ประเทศต่างๆ สำหรับปี 2548 และได้เห็นชอบในยุทธศาสตร์การให้ความช่วยเหลือแก่ 4 ประเทศ คือ พม่า
ลาว กัมพูชา และ เวียดนาม โดยประการแรก ไทยจะให้ความสำคัญระดับพิเศษแก่โครงการ ที่อยู่ในประเทศ
กลุ่มยุทธศาสตร์ความร่วมมือเศรษฐกิจ ECS ก่อน ซึ่งขณะนี้รวมเวียดนามด้วย จากนั้นไทยก็จะให้ความช่วย
เหลือตามกรอบของสหประชาชาติที่มีเป้าหมายเกี่ยวกับการพัฒนา ซึ่งจะรวมไปถึงเรื่องของการสาธารณสุข น้ำ
สะอาด และเรื่องอาหารกลางวัน หลังจากนั้นไทยก็จะให้ความช่วยเหลือกับ 4 ประเทศดังกล่าวภายใต้กรอบที่
ตกลงกันของประเทศอาเซียน เพราะฉะนั้นการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและวิชาการที่กรมวิเทศสหการ
กระทรวงการต่างประเทศ ดูแลอยู่ จะมี 3 เรื่องด้วยกัน คือ กรอบ ECS เป็นหลัก ต่อด้วยกรอบสหประชาชาติ
และกรอบอาเซียนที่ไทยมีข้อผูกพันอยู่ตามลำดับ
2. ที่ประชุมได้หารือถึงแนวทางที่ไทยจะขยายความร่วมมือกับประเทศในกลุ่มต่างๆ เพิ่มขึ้น เช่น
ประเทศในแอฟริกา เพื่อที่ไทยจะเรียนรู้กับประเทศเหล่านี้มากขึ้น เพราะหลายประเทศมีความสัมพันธ์ทางการ
ค้ากับไทย และหลายประเทศก็มีการติดต่อกันน้อย ซึ่งควรจะใกล้ชิดกันมากขึ้น จึงจะจัดให้มีการประชุมร่วมกัน
ซึ่งก็ได้ให้ทุกหน่วยงานทำการศึกษา และเตรียมการในปีนี้ เพราะเป็นปีที่ นายกรัฐมนตรีไปเยือนแอฟริกา ซึ่งก็
จะเป็นนายกรัฐมนตรีท่านแรกในรอบหลายสิบปีที่จะไปเยือน แอฟริกา นอกจากนี้ยังมีแนวคิดที่จะจัดประชุม
รัฐมนตรีของประเทศ ACD 22 ประเทศ กับรัฐมนตรีของประเทศในกลุ่มหุ้นส่วนใหม่เพื่อการพัฒนาแอฟริกา หรือ
NEPAD อีก 50 กว่าประเทศในปลายปีนี้ เพื่อเชื่อมโยงระหว่างเอเชียกับแอฟริกาให้เข้าใจกันเพิ่มมากขึ้น
3. ในเรื่องโครงการบัวแก้วสัมพันธ์ ซึ่งคือการที่ไทยเชิญผู้ที่มีศักยภาพจากประเทศเพื่อนบ้านมาไทย
เพื่อมาดูงานและฝึกอบรมเพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีนั้น ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่าโครงการบัวแก้วสัมพันธ์
ควรจะขยายมากขึ้นกว่านี้ เหมือนกับสมัยก่อนที่ประเทศต่างๆ ได้เชิญเยาวชนไทยหรือคนที่มีศักยภาพที่จะมี
บทบาทสำคัญในวงราชการหรือธุรกิจไปเยือน เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เป็นต้น ขณะนี้ไทยจึงประสงค์จะเชิญคน
ที่มีศักยภาพทางด้านธุรกิจ ราชการ การเมือง และอื่นๆ ของประเทศต่างๆ มาเยือนไทยเพื่อทำความคุ้นเคย
และเรียนรู้เรื่องต่างๆกับคนไทยในประเทศไทย
4. สำหรับโครงการอาสาสมัครเพื่อนไทย โดยการที่ไทยส่งอาสาสมัครเข้าไปช่วยทำงานเพื่อการ
พัฒนาในประเทศเพื่อนบ้านนั้น ที่ประชุมเห็นตรงกันว่าเรื่องนี้ควรมีการส่งเสริมให้มีมากขึ้น
5. ในเรื่องสถาบันแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นสถาบันที่ไทยจะฝึกอบรมคนจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่ประชุมให้
ข้อสังเกตว่า สถาบันแม่น้ำโขงที่ตั้งอยู่ที่ขอนแก่นขณะนี้ยังไม่สามารถบริหารได้อย่างเข้มแข็ง ทั้งที่ได้ยกเป็น
สถาบันระดับภูมิภาคแล้ว เพราะฉะนั้นจะมีการระดมสมองกันว่าทำอย่างไรที่จะทำให้สถาบันแม่น้ำโขงมีโครง
สร้างการบริหารที่เข้มแข็ง มีเงินทุน มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เนื่องจากขณะนี้นโยบายนายกรัฐมนตรีใน
เรื่องที่ไทยเป็นหุ้นส่วนกับประเทศต่างๆ และองค์กรระหว่างประเทศเพื่อร่วมมือกันพัฒนาประเทศเพื่อนบ้านเดิน
หน้าไปเร็วมาก มีองค์กรระหว่างประเทศต่างๆหลายองค์กร และประเทศต่างๆ หลายประเทศ มาลงนามกับ
ไทย เพื่อขอเป็นหุ้นส่วนกับไทยเพื่อพัฒนาประเทศเพื่อนบ้าน เพราะฉะนั้นหากสถาบันแม่น้ำโขงยังไม่เข้มแข็ง
การที่ไทยจะใช้สถาบันแม่น้ำโขงเป็นกลไกสำคัญในการฝึกอบรมโดยร่วมมือกับประเทศต่างๆ จะทำได้ไม่คล่องตัว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร.
643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-สส-