กรุงเทพ--6 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
การบรรยายสรุปแก่คณะผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตและองค์กรระหว่างประเทศ ประจำประเทศไทยเกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้
เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2547 เวลา 14.30 น. กระทรวงการต่างประเทศได้เชิญเอกอัครราชทูตและผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตของประเทศต่างๆ 54 ประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ ที่ประจำอยู่ในประเทศไทยมารับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ของไทย โดยมีนายกฤษณ์ กาญจนกุญชร ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และพลเอกวินัย ภัททิยะกุล เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติร่วมกันบรรยายสรุป และภายหลังการบรรยายสรุปเสร็จสิ้นลง นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน สรุปได้ดังนี้
1. เหตุผลที่เชิญเอกอัครราชทูตหรือผู้แทนและผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศมารับฟังการบรรยายสรุปนั้นเนื่องจากทางรัฐบาลตระหนักว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547 ได้รับความสนใจจากต่างประเทศ และมีหลายประเด็นที่ต่างประเทศอาจมีความห่วงใยและกังวลใจ และเป็นเหตุการณ์ที่สื่อมวลชนต่างประเทศได้ให้ความสนใจรายงานข่าวอย่างกว้างขวาง ซึ่งบางส่วนอาจรายงานคลาดเคลื่อนและบางส่วนอาจไม่ครบถ้วนในด้านข้อมูล กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับสภาความมั่นคงแห่งชาติจึงได้ร่วมกันชี้แจงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
2. ผู้บรรยายสรุปได้ชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547 แก่ผู้แทน สถานเอกอัครราชทูตและองค์กรระหว่างประเทศว่า ผู้ก่อการได้เข้าจู่โจมสถานที่ต่างๆ 10 จุด ใน 3 จังหวัดคือ ยะลา ปัตตานี สงขลา และนำไปสู่การปะทะกันระหว่างกำลังของผู้ก่อการกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของรัฐบาล ก่อให้เกิดการสูญเสีย โดยผู้ก่อการเสียชีวิต 107 คน และถูกจับกุม 17 คน เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของรัฐบาลเสียชีวิต 5 คน และได้รับบาดเจ็บ 22 คน กลุ่มผู้ก่อการประกอบด้วย กลุ่มวัยรุ่นอายุระหว่าง 19 ปี - 23 ปี แต่ละกลุ่มจะมีหัวหน้าอายุระหว่าง 30 ปี - 50 ปี ในจำนวนนี้มีไม่น้อยที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี กลุ่มผู้ก่อการมีความตั้งใจที่จะยึดอาวุธของรัฐบาล และสร้างสถานการณ์ความไม่มั่นคงให้เกิดขึ้นเพื่อเป็นการขยายผลต่อเนื่องจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2547 เป็นต้นมา นอกจากนี้เมื่อพิจารณาจากความรุนแรงของการปฏิบัติการเชื่อว่ากลุ่มผู้ก่อการอาจได้รับการชักจูงให้ใช้ความรุนแรงด้วยเหตุผลที่อาจจะมาจากความคลั่งทางลัทธิศาสนาหรือาจจะมาจากยาเสพติด รวมทั้งอาจจะมีการว่าจ้างด้วย และจากข้อมูลที่มีอยู่เชื่อว่ากลุ่มนี้มีความเชื่อมโยงกลับกลุ่มที่ปฏิบัติการปล้นอาวุธของทางราชการเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 และกลุ่มที่ปฏิบัติการเผาสถานที่ต่างๆ ที่ จ.นราธิวาสเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2547
3. รัฐบาลไทยมีความเสียใจกับการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนึงถึงความรุนแรงและความฉับพลันของการปฏิบัติการของผู้ก่อการซึ่งมีการประสานการโจมตี ถึง 10 จุดด้วยกัน จึงมีความจำเป็นที่ฝ่ายความมั่นคงของรัฐบาลต้องดำเนินการที่เฉียบขาดเพื่อมิให้ สถานการณ์นั้นส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและความปลอดภัยของประชาชนและสาธารณชนทั่วไป นอกจากนี้การตัดสินใจของรัฐบาลที่จำเป็นต้องดำเนินการในลักษณะตอบโต้อย่างเด็ดขาดนั้น คงต้องพิจารณาในภาพรวมของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดก่อนหน้านี้ด้วยว่า มีแนวโน้มจะรุนแรงยิ่งขึ้น โดยได้ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ของรัฐและพลเรือนทั่วไปเป็นจำนวนกว่า 100 คน ซึ่งมี ทั้งชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม ดังนั้น รัฐบาลจึงมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินการตอบโต้ในลักษณะ เด็ดขาดเพื่อควบคุมสถานการณ์และนำความสงบมาสู่ 3 จังหวัดภาคใต้
4. สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่มัสยิดกรือเซะ จังหวัดปัตตานี ซึ่งมีผู้ก่อการเสียชีวิต 32 คน นั้น รัฐบาลได้พยายามยับยั้งชั่งใจเพื่อคลี่คลายสถานการณ์โดยสันติวิธีเป็นเวลาหลายชั่วโมง แต่ในเมื่อมีการยิงออกมาและรัฐบาลพิจารณาแล้วเห็นว่า สถานการณ์ได้ส่อเค้าว่าจะมีความรุนแรง ยิ่งขึ้นและจะส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของสาธารณชนทั่วไป รัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องเข้าไปดำเนินการเพื่อมิให้เกิดความรุนแรงที่จะนำความสูญเสียมากยิ่งขึ้นกว่านี้
5. ประเด็นที่มีการชี้แจงย้ำเป็นพิเศษแก่ผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตและองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งก่อนๆ นั้น มิได้มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับขบวนการก่อการร้ายระหว่างประเทศและไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความขัดแย้งในเรื่องของลัทธิศาสนาในประเทศไทย แม้ว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์มีความประสงค์ที่จะบั่นทอนความกลมเกลียวทางด้านสังคมและศาสนาในภาคใต้ของประเทศไทยก็ตาม และรัฐบาลเชื่อว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำของกลุ่มต่างๆ ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันในการสร้างสถานการณ์ให้เกิดความไม่มั่นคง และท้าทายอำนาจของรัฐบาล เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองและผลประโยชน์อื่นๆ ของกลุ่มของตน
6. รัฐบาลตระหนักดีว่า การแก้ไขปัญหาทางภาคใต้ของไทยนั้นจะต้องมุ่งไปที่ปัญหาต่างๆ ที่เป็นต้นตอของสถานการณ์ขณะนี้ด้วย รวมทั้งจะต้องมีการดำเนินมาตรการทั้งระยะสั้นและ ระยะยาว โดยระยะสั้นคือการนำความสงบสุขและสันติให้กลับสู่ 3 จังหวัดภาคใต้ของไทยโดยการเพิ่มมาตรการความมั่นคง มาตรการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ประชาชนในพื้นที่และการสร้างความเข้าใจและการประสานความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างข้าราชการกับชุมชนและผู้นำชุมชนใน พื้นที่ ส่วนมาตรการระยะยาวรัฐบาลมีแผนการที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของ 3 จังหวัดภาคใต้ โดยตั้ง งบประมาณเป็นจำนวนเงิน 1,200 ล้านบาท ในการพัฒนาเพื่อขจัดความยากจน เพิ่มการศึกษา ขยายตัวทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการเชื่อมโยงทางด้านการคมนาคม รวมทั้งพัฒนาทางด้านทรัพยากรมนุษย์
7. การบรรยายสรุปให้แก่เอกอัครราชทูตและผู้แทนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ต่างประเทศเห็นว่า รัฐบาลพร้อมที่จะนำข้อมูลข่าวสารต่างๆ ให้ประชาคมโลกและมิตรประเทศได้รับทราบเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นและเพื่อให้เกิดความมั่นใจในแนวทางของรัฐบาลไทยในการแก้ไขสถานการณ์ภาคใต้ขณะนี้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-สส-
การบรรยายสรุปแก่คณะผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตและองค์กรระหว่างประเทศ ประจำประเทศไทยเกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้
เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2547 เวลา 14.30 น. กระทรวงการต่างประเทศได้เชิญเอกอัครราชทูตและผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตของประเทศต่างๆ 54 ประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ ที่ประจำอยู่ในประเทศไทยมารับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ของไทย โดยมีนายกฤษณ์ กาญจนกุญชร ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และพลเอกวินัย ภัททิยะกุล เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติร่วมกันบรรยายสรุป และภายหลังการบรรยายสรุปเสร็จสิ้นลง นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน สรุปได้ดังนี้
1. เหตุผลที่เชิญเอกอัครราชทูตหรือผู้แทนและผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศมารับฟังการบรรยายสรุปนั้นเนื่องจากทางรัฐบาลตระหนักว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547 ได้รับความสนใจจากต่างประเทศ และมีหลายประเด็นที่ต่างประเทศอาจมีความห่วงใยและกังวลใจ และเป็นเหตุการณ์ที่สื่อมวลชนต่างประเทศได้ให้ความสนใจรายงานข่าวอย่างกว้างขวาง ซึ่งบางส่วนอาจรายงานคลาดเคลื่อนและบางส่วนอาจไม่ครบถ้วนในด้านข้อมูล กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับสภาความมั่นคงแห่งชาติจึงได้ร่วมกันชี้แจงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
2. ผู้บรรยายสรุปได้ชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547 แก่ผู้แทน สถานเอกอัครราชทูตและองค์กรระหว่างประเทศว่า ผู้ก่อการได้เข้าจู่โจมสถานที่ต่างๆ 10 จุด ใน 3 จังหวัดคือ ยะลา ปัตตานี สงขลา และนำไปสู่การปะทะกันระหว่างกำลังของผู้ก่อการกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของรัฐบาล ก่อให้เกิดการสูญเสีย โดยผู้ก่อการเสียชีวิต 107 คน และถูกจับกุม 17 คน เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของรัฐบาลเสียชีวิต 5 คน และได้รับบาดเจ็บ 22 คน กลุ่มผู้ก่อการประกอบด้วย กลุ่มวัยรุ่นอายุระหว่าง 19 ปี - 23 ปี แต่ละกลุ่มจะมีหัวหน้าอายุระหว่าง 30 ปี - 50 ปี ในจำนวนนี้มีไม่น้อยที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี กลุ่มผู้ก่อการมีความตั้งใจที่จะยึดอาวุธของรัฐบาล และสร้างสถานการณ์ความไม่มั่นคงให้เกิดขึ้นเพื่อเป็นการขยายผลต่อเนื่องจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2547 เป็นต้นมา นอกจากนี้เมื่อพิจารณาจากความรุนแรงของการปฏิบัติการเชื่อว่ากลุ่มผู้ก่อการอาจได้รับการชักจูงให้ใช้ความรุนแรงด้วยเหตุผลที่อาจจะมาจากความคลั่งทางลัทธิศาสนาหรือาจจะมาจากยาเสพติด รวมทั้งอาจจะมีการว่าจ้างด้วย และจากข้อมูลที่มีอยู่เชื่อว่ากลุ่มนี้มีความเชื่อมโยงกลับกลุ่มที่ปฏิบัติการปล้นอาวุธของทางราชการเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 และกลุ่มที่ปฏิบัติการเผาสถานที่ต่างๆ ที่ จ.นราธิวาสเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2547
3. รัฐบาลไทยมีความเสียใจกับการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนึงถึงความรุนแรงและความฉับพลันของการปฏิบัติการของผู้ก่อการซึ่งมีการประสานการโจมตี ถึง 10 จุดด้วยกัน จึงมีความจำเป็นที่ฝ่ายความมั่นคงของรัฐบาลต้องดำเนินการที่เฉียบขาดเพื่อมิให้ สถานการณ์นั้นส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและความปลอดภัยของประชาชนและสาธารณชนทั่วไป นอกจากนี้การตัดสินใจของรัฐบาลที่จำเป็นต้องดำเนินการในลักษณะตอบโต้อย่างเด็ดขาดนั้น คงต้องพิจารณาในภาพรวมของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดก่อนหน้านี้ด้วยว่า มีแนวโน้มจะรุนแรงยิ่งขึ้น โดยได้ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ของรัฐและพลเรือนทั่วไปเป็นจำนวนกว่า 100 คน ซึ่งมี ทั้งชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม ดังนั้น รัฐบาลจึงมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินการตอบโต้ในลักษณะ เด็ดขาดเพื่อควบคุมสถานการณ์และนำความสงบมาสู่ 3 จังหวัดภาคใต้
4. สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่มัสยิดกรือเซะ จังหวัดปัตตานี ซึ่งมีผู้ก่อการเสียชีวิต 32 คน นั้น รัฐบาลได้พยายามยับยั้งชั่งใจเพื่อคลี่คลายสถานการณ์โดยสันติวิธีเป็นเวลาหลายชั่วโมง แต่ในเมื่อมีการยิงออกมาและรัฐบาลพิจารณาแล้วเห็นว่า สถานการณ์ได้ส่อเค้าว่าจะมีความรุนแรง ยิ่งขึ้นและจะส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของสาธารณชนทั่วไป รัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องเข้าไปดำเนินการเพื่อมิให้เกิดความรุนแรงที่จะนำความสูญเสียมากยิ่งขึ้นกว่านี้
5. ประเด็นที่มีการชี้แจงย้ำเป็นพิเศษแก่ผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตและองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งก่อนๆ นั้น มิได้มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับขบวนการก่อการร้ายระหว่างประเทศและไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความขัดแย้งในเรื่องของลัทธิศาสนาในประเทศไทย แม้ว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์มีความประสงค์ที่จะบั่นทอนความกลมเกลียวทางด้านสังคมและศาสนาในภาคใต้ของประเทศไทยก็ตาม และรัฐบาลเชื่อว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำของกลุ่มต่างๆ ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันในการสร้างสถานการณ์ให้เกิดความไม่มั่นคง และท้าทายอำนาจของรัฐบาล เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองและผลประโยชน์อื่นๆ ของกลุ่มของตน
6. รัฐบาลตระหนักดีว่า การแก้ไขปัญหาทางภาคใต้ของไทยนั้นจะต้องมุ่งไปที่ปัญหาต่างๆ ที่เป็นต้นตอของสถานการณ์ขณะนี้ด้วย รวมทั้งจะต้องมีการดำเนินมาตรการทั้งระยะสั้นและ ระยะยาว โดยระยะสั้นคือการนำความสงบสุขและสันติให้กลับสู่ 3 จังหวัดภาคใต้ของไทยโดยการเพิ่มมาตรการความมั่นคง มาตรการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ประชาชนในพื้นที่และการสร้างความเข้าใจและการประสานความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างข้าราชการกับชุมชนและผู้นำชุมชนใน พื้นที่ ส่วนมาตรการระยะยาวรัฐบาลมีแผนการที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของ 3 จังหวัดภาคใต้ โดยตั้ง งบประมาณเป็นจำนวนเงิน 1,200 ล้านบาท ในการพัฒนาเพื่อขจัดความยากจน เพิ่มการศึกษา ขยายตัวทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการเชื่อมโยงทางด้านการคมนาคม รวมทั้งพัฒนาทางด้านทรัพยากรมนุษย์
7. การบรรยายสรุปให้แก่เอกอัครราชทูตและผู้แทนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ต่างประเทศเห็นว่า รัฐบาลพร้อมที่จะนำข้อมูลข่าวสารต่างๆ ให้ประชาคมโลกและมิตรประเทศได้รับทราบเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นและเพื่อให้เกิดความมั่นใจในแนวทางของรัฐบาลไทยในการแก้ไขสถานการณ์ภาคใต้ขณะนี้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-สส-