กรุงเทพ--6 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ผลการหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย
วันนี้ (4 พฤษภาคม 2547) ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังการพบหารือกับ Datuk Seri Syed Hamid bin Syed Jarfar Albar รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย ที่กระทรวงการต่างประเทศ เกี่ยวกับผลการเยือนประเทศไทยของคณะผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย ได้เดินทางมาประเทศไทยกับคณะผู้แทนพิเศษที่นำโดย Dato Sri Mohd. Najib bin tun Haji Abdul Razak รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมาเลเซีย โดยก่อนหน้านี้ได้เข้าเยี่ยมคารวะ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมาเลเซีย ที่ทำเนียบรัฐบาล หลังจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียได้เดินทางมายังกระทรวงการต่างประเทศเพื่อหารือกันต่อในระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยผลการหารือสรุปได้ ดังนี้
1. มาเลเซียเข้าใจเหตุการณ์และสถานการณ์ทั้งหมดด้วยดี จากการที่ได้มีการสนทนาแลกเปลี่ยนกันอย่างละเอียดทำให้สามารถที่จะร่วมมือกันอย่างตรงจุดมากขึ้น กลไกต่างๆ ที่มีอยู่นั้นดีอยู่แล้วและก็กำลังทำงานด้วยดี จากความร่วมมือที่ผ่านมาทำให้ทั้งสองฝ่ายสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น และก็จะมีความร่วมมือกันเช่นนี้ต่อไป ไทยได้ขอบคุณนายกรัฐมนตรี Badawi ของมาเลเซียที่ได้ส่งคณะผู้แทนพิเศษคณะนี้มาประเทศไทย และในโอกาสต่อไป รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของมาเลเซียก็จะพบหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของไทย ตามลำดับต่อไป ซึ่งในคณะของมาเลเซียมี ผู้รับผิดชอบระดับสูงจากหน่วยงานสันติบาล ผู้บัญชาการทหารและตำรวจมาด้วย เพื่อที่ได้มีการหารือกันในทุกระดับทั้งในระดับพื้นที่และระดับนโยบาย
2. ไทยได้แจ้งให้มาเลเซียทราบด้วยว่านายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรีได้จัดตั้งคณะกรรมการสืบหาข้อเท็จจริงขึ้นมาซึ่งเป็นกรรมการอิสระเพื่อไต่สวนข้อเท็จจริงในกรณีเหตุการณ์ที่มัสยิดกรือเซะ เพื่อแสดงให้เห็นว่าไทยต้องการให้เกิดความโปร่งใส โดยคณะกรรมการอิสระชุดนี้ไม่มีบุคคลที่ดำรงตำแหน่งข้าราชการในปัจจุบันเข้าร่วมอยู่เลย เพราะต้องการบุคคลที่เข้าอกเข้าใจและสามารถไต่สวนหาข้อเท็จจริงได้อย่างอิสระ และขอให้ประชาชนที่มีข้อมูลหรือมีข้อวิเคราะห์ใดๆ ก็สามารถส่งไปให้คณะกรรมการชุดนี้ได้ คณะกรรมการชุดนี้จะได้พิสูจน์ความจริงออกมาให้ปรากฏอย่างโปร่งใสว่าเรื่องต่างๆ เป็นอย่างไร ซึ่งมาเลเซียเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก และก็ยินดีที่จะสนับสนุนต่อไป
3. ในส่วนเรื่องที่มีข่าวว่าทางมาเลเซียได้จัดที่พักพิงชั่วคราวแก่ผู้อพยพจากประเทศไทยจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ไม่มีมูลความจริงอย่างแน่นอน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศของมาเลเซียได้ออกมาปฏิเสธเรื่องนี้ตั้งแต่ต้น ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เคยให้สัมภาษณ์ไปแล้วว่า นายกรัฐมนตรี Badawi ไม่ได้พูดหมายความอย่างที่เป็นข่าวแต่อย่างใด มาเลเซียจะไม่มีการตั้งค่ายผู้พยพ ไม่มีการถือว่าคนไทยที่หลบหนีไปเป็นผู้อพยพ สิ่งที่ฝ่าย มาเลเซียได้กล่าวไว้ก็คือ ประการแรก หากเป็นผู้ก่อการร้ายทางมาเลเซียจะไม่ให้อพยพข้ามพรมแดนไปอย่างเด็ดขาด เพื่อให้ฝ่ายไทยได้ติดตามจับกุมมาดำเนินการตามกฎหมายได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรีของประเทศทั้งสองได้ตกลงกันไว้แล้ว ประการที่ 2 ถ้าเป็นกรณีคนไทยที่สุจริตที่จะเดินทางข้ามไปข้ามมาเป็นปกติรวมทั้งประชาชนชาวมุสลิมทางภาคใต้ของไทยด้วยนั้นทางฝ่ายมาเลเซียยินดีให้ข้ามไปข้ามมาโดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ซึ่งเรื่องนี้ฝ่ายมาเลเซียก็ได้ออกมาให้สัมภาษณ์เพื่อให้เกิดความกระจ่างตั้งแต่สองวันที่แล้ว และในวันนี้ฝ่ายมาเลเซียก็ได้มาย้ำท่าทีดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นอีกครั้งหนึ่ง
4. เกี่ยวกับความร่วมมือแก้ไขปัญหาบุคคลสองสัญชาติ สองฝ่ายก็มีความร่วมมือกันอยู่แล้ว โดยขอเวลาในการดำเนินการอีกสักระยะหนึ่ง ซึ่งในครั้งนี้ไม่ได้มีการหารือกันในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ เนื่องจากได้มีการหารือกันอย่างละเอียดแล้วเมื่อครั้งที่นายกรัฐมนตรีเยือนมาเลเซีย โดยฝ่ายมาเลเซียได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานด้านความมั่นคงภายในของมาเลเซียเป็นผู้ดำเนินการในเรื่องนี้ โดยได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและทำงานร่วมกันไปแล้วตั้งแต่ครั้งนั้น กล่าวคือ ในด้านนโยบายเป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายประสานงานกัน และหากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศจะรายงานให้นายกรัฐมนตรีของแต่ละฝ่าย เพื่อให้นายกรัฐมนตรีของทั้งสองฝ่ายมีบัญชาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มาหารือกัน ซึ่งได้แก่ สภาความมั่นคงแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย รวมทั้งหน่วยงานด้านความมั่นคงภายใน เป็นต้น เมื่อได้ข้อสรุปเช่นใดก็จะให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นศูนย์กลางในการติดต่อกันระหว่างสองฝ่าย และในส่วนของระดับ พื้นที่ก็ให้หน่วยงานสันติบาลเป็นศูนย์กลางที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลและทำงานร่วมกัน
5. ทั้งสองฝ่ายได้มีการหารือกันเกี่ยวกับการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมที่เรียกว่า คณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมระหว่างสองประเทศ (Joint Development Strategy Committee) ซึ่งได้เคยมีการตกลงกันในช่วงที่นายกรัฐมนตรี Badawi มาเยือนประเทศไทย โดยคณะกรรมการนี้มี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน และมีผู้แทนของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ในคณะกรรมการชุดนี้ ขณะนี้ได้ร่าง TOR ในเรื่องนี้เสร็จแล้ว โดยปลัดกระทรวงการต่างประเทศของ มาเลเซียได้เดินทางมาประชุมร่วมกับปลัดกระทรวงการต่างประเทศของไทยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คาดว่าจะสามารถตกลงกันได้ โดยต้องรอนำเข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นก็จะนัดประชุมกันต่อไป สำหรับการหารือในครั้งนี้ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงในหลักการใหญ่ว่า ทั้งสองฝ่ายอาจจะยังไม่จำเป็นต้องดำเนินโครงการขนาดใหญ่ โดยจะพิจารณาโครงการที่ทำได้ทันที โดยแบ่งเป็นโครงการที่อาจจะเป็นโครงการใหม่เลย หรือประการที่สองอาจเป็นโครงการที่ทั้งสองประเทศมีอยู่แล้ว และอีกฝ่ายเข้ามาเสริมให้สำเร็จหรือครบถ้วนยิ่งขึ้น หรืออาจเป็นโครงการเก่าที่ยังคั่งค้างกันอยู่และก็จะทำให้สำเร็จ ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันที่จะประชุมคณะกรรการชุดนี้ให้ได้โดยเร็ว โดยอาจเริ่มต้นจากโครงการที่ทำได้ไม่ยากและเห็นผลเร็ว เช่น การฝึกทักษะให้แก่ประชาชนในสาขาอาชีพต่างๆ เพื่อเป็นการสร้างงาน เป็นต้น
6. ในการมาเยือนไทยครั้งนี้ ฝ่ายมาเลเซียได้ย้ำหลายครั้งทั้งจากรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย ว่า มาเลเซียถือเรื่องสถานการณ์ภาคใต้เป็นกิจการภายในของประเทศไทย การมาเยือนไทยครั้งนี้ก็ไม่ได้ถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องระหว่างประเทศแต่อย่างใด แต่ที่มาก็เพราะจิตใจของความเป็นเพื่อนบ้านที่เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นก็ต้องมารับฟังกัน และเพื่อขอทราบว่าไทยต้องการให้มาเลเซียร่วมมืออย่างไร ทั้งนี้ ก็เพื่ออุดช่องว่างต่างๆ ให้ได้ หลังจากที่ฝ่ายไทยได้อธิบายเรื่องราวต่างๆ ทั้งหมดแล้ว มาเลเซียก็ยิ่งเข้าใจดีมากขึ้นว่าเป็นเรื่องภายในของประเทศไทย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-สส-
ผลการหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย
วันนี้ (4 พฤษภาคม 2547) ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังการพบหารือกับ Datuk Seri Syed Hamid bin Syed Jarfar Albar รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย ที่กระทรวงการต่างประเทศ เกี่ยวกับผลการเยือนประเทศไทยของคณะผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย ได้เดินทางมาประเทศไทยกับคณะผู้แทนพิเศษที่นำโดย Dato Sri Mohd. Najib bin tun Haji Abdul Razak รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมาเลเซีย โดยก่อนหน้านี้ได้เข้าเยี่ยมคารวะ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมาเลเซีย ที่ทำเนียบรัฐบาล หลังจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียได้เดินทางมายังกระทรวงการต่างประเทศเพื่อหารือกันต่อในระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยผลการหารือสรุปได้ ดังนี้
1. มาเลเซียเข้าใจเหตุการณ์และสถานการณ์ทั้งหมดด้วยดี จากการที่ได้มีการสนทนาแลกเปลี่ยนกันอย่างละเอียดทำให้สามารถที่จะร่วมมือกันอย่างตรงจุดมากขึ้น กลไกต่างๆ ที่มีอยู่นั้นดีอยู่แล้วและก็กำลังทำงานด้วยดี จากความร่วมมือที่ผ่านมาทำให้ทั้งสองฝ่ายสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น และก็จะมีความร่วมมือกันเช่นนี้ต่อไป ไทยได้ขอบคุณนายกรัฐมนตรี Badawi ของมาเลเซียที่ได้ส่งคณะผู้แทนพิเศษคณะนี้มาประเทศไทย และในโอกาสต่อไป รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของมาเลเซียก็จะพบหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของไทย ตามลำดับต่อไป ซึ่งในคณะของมาเลเซียมี ผู้รับผิดชอบระดับสูงจากหน่วยงานสันติบาล ผู้บัญชาการทหารและตำรวจมาด้วย เพื่อที่ได้มีการหารือกันในทุกระดับทั้งในระดับพื้นที่และระดับนโยบาย
2. ไทยได้แจ้งให้มาเลเซียทราบด้วยว่านายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรีได้จัดตั้งคณะกรรมการสืบหาข้อเท็จจริงขึ้นมาซึ่งเป็นกรรมการอิสระเพื่อไต่สวนข้อเท็จจริงในกรณีเหตุการณ์ที่มัสยิดกรือเซะ เพื่อแสดงให้เห็นว่าไทยต้องการให้เกิดความโปร่งใส โดยคณะกรรมการอิสระชุดนี้ไม่มีบุคคลที่ดำรงตำแหน่งข้าราชการในปัจจุบันเข้าร่วมอยู่เลย เพราะต้องการบุคคลที่เข้าอกเข้าใจและสามารถไต่สวนหาข้อเท็จจริงได้อย่างอิสระ และขอให้ประชาชนที่มีข้อมูลหรือมีข้อวิเคราะห์ใดๆ ก็สามารถส่งไปให้คณะกรรมการชุดนี้ได้ คณะกรรมการชุดนี้จะได้พิสูจน์ความจริงออกมาให้ปรากฏอย่างโปร่งใสว่าเรื่องต่างๆ เป็นอย่างไร ซึ่งมาเลเซียเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก และก็ยินดีที่จะสนับสนุนต่อไป
3. ในส่วนเรื่องที่มีข่าวว่าทางมาเลเซียได้จัดที่พักพิงชั่วคราวแก่ผู้อพยพจากประเทศไทยจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ไม่มีมูลความจริงอย่างแน่นอน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศของมาเลเซียได้ออกมาปฏิเสธเรื่องนี้ตั้งแต่ต้น ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เคยให้สัมภาษณ์ไปแล้วว่า นายกรัฐมนตรี Badawi ไม่ได้พูดหมายความอย่างที่เป็นข่าวแต่อย่างใด มาเลเซียจะไม่มีการตั้งค่ายผู้พยพ ไม่มีการถือว่าคนไทยที่หลบหนีไปเป็นผู้อพยพ สิ่งที่ฝ่าย มาเลเซียได้กล่าวไว้ก็คือ ประการแรก หากเป็นผู้ก่อการร้ายทางมาเลเซียจะไม่ให้อพยพข้ามพรมแดนไปอย่างเด็ดขาด เพื่อให้ฝ่ายไทยได้ติดตามจับกุมมาดำเนินการตามกฎหมายได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรีของประเทศทั้งสองได้ตกลงกันไว้แล้ว ประการที่ 2 ถ้าเป็นกรณีคนไทยที่สุจริตที่จะเดินทางข้ามไปข้ามมาเป็นปกติรวมทั้งประชาชนชาวมุสลิมทางภาคใต้ของไทยด้วยนั้นทางฝ่ายมาเลเซียยินดีให้ข้ามไปข้ามมาโดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ซึ่งเรื่องนี้ฝ่ายมาเลเซียก็ได้ออกมาให้สัมภาษณ์เพื่อให้เกิดความกระจ่างตั้งแต่สองวันที่แล้ว และในวันนี้ฝ่ายมาเลเซียก็ได้มาย้ำท่าทีดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นอีกครั้งหนึ่ง
4. เกี่ยวกับความร่วมมือแก้ไขปัญหาบุคคลสองสัญชาติ สองฝ่ายก็มีความร่วมมือกันอยู่แล้ว โดยขอเวลาในการดำเนินการอีกสักระยะหนึ่ง ซึ่งในครั้งนี้ไม่ได้มีการหารือกันในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ เนื่องจากได้มีการหารือกันอย่างละเอียดแล้วเมื่อครั้งที่นายกรัฐมนตรีเยือนมาเลเซีย โดยฝ่ายมาเลเซียได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานด้านความมั่นคงภายในของมาเลเซียเป็นผู้ดำเนินการในเรื่องนี้ โดยได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและทำงานร่วมกันไปแล้วตั้งแต่ครั้งนั้น กล่าวคือ ในด้านนโยบายเป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายประสานงานกัน และหากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศจะรายงานให้นายกรัฐมนตรีของแต่ละฝ่าย เพื่อให้นายกรัฐมนตรีของทั้งสองฝ่ายมีบัญชาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มาหารือกัน ซึ่งได้แก่ สภาความมั่นคงแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย รวมทั้งหน่วยงานด้านความมั่นคงภายใน เป็นต้น เมื่อได้ข้อสรุปเช่นใดก็จะให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นศูนย์กลางในการติดต่อกันระหว่างสองฝ่าย และในส่วนของระดับ พื้นที่ก็ให้หน่วยงานสันติบาลเป็นศูนย์กลางที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลและทำงานร่วมกัน
5. ทั้งสองฝ่ายได้มีการหารือกันเกี่ยวกับการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมที่เรียกว่า คณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมระหว่างสองประเทศ (Joint Development Strategy Committee) ซึ่งได้เคยมีการตกลงกันในช่วงที่นายกรัฐมนตรี Badawi มาเยือนประเทศไทย โดยคณะกรรมการนี้มี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน และมีผู้แทนของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ในคณะกรรมการชุดนี้ ขณะนี้ได้ร่าง TOR ในเรื่องนี้เสร็จแล้ว โดยปลัดกระทรวงการต่างประเทศของ มาเลเซียได้เดินทางมาประชุมร่วมกับปลัดกระทรวงการต่างประเทศของไทยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คาดว่าจะสามารถตกลงกันได้ โดยต้องรอนำเข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นก็จะนัดประชุมกันต่อไป สำหรับการหารือในครั้งนี้ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงในหลักการใหญ่ว่า ทั้งสองฝ่ายอาจจะยังไม่จำเป็นต้องดำเนินโครงการขนาดใหญ่ โดยจะพิจารณาโครงการที่ทำได้ทันที โดยแบ่งเป็นโครงการที่อาจจะเป็นโครงการใหม่เลย หรือประการที่สองอาจเป็นโครงการที่ทั้งสองประเทศมีอยู่แล้ว และอีกฝ่ายเข้ามาเสริมให้สำเร็จหรือครบถ้วนยิ่งขึ้น หรืออาจเป็นโครงการเก่าที่ยังคั่งค้างกันอยู่และก็จะทำให้สำเร็จ ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันที่จะประชุมคณะกรรการชุดนี้ให้ได้โดยเร็ว โดยอาจเริ่มต้นจากโครงการที่ทำได้ไม่ยากและเห็นผลเร็ว เช่น การฝึกทักษะให้แก่ประชาชนในสาขาอาชีพต่างๆ เพื่อเป็นการสร้างงาน เป็นต้น
6. ในการมาเยือนไทยครั้งนี้ ฝ่ายมาเลเซียได้ย้ำหลายครั้งทั้งจากรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย ว่า มาเลเซียถือเรื่องสถานการณ์ภาคใต้เป็นกิจการภายในของประเทศไทย การมาเยือนไทยครั้งนี้ก็ไม่ได้ถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องระหว่างประเทศแต่อย่างใด แต่ที่มาก็เพราะจิตใจของความเป็นเพื่อนบ้านที่เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นก็ต้องมารับฟังกัน และเพื่อขอทราบว่าไทยต้องการให้มาเลเซียร่วมมืออย่างไร ทั้งนี้ ก็เพื่ออุดช่องว่างต่างๆ ให้ได้ หลังจากที่ฝ่ายไทยได้อธิบายเรื่องราวต่างๆ ทั้งหมดแล้ว มาเลเซียก็ยิ่งเข้าใจดีมากขึ้นว่าเป็นเรื่องภายในของประเทศไทย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-สส-