กรุงเทพ--31 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ) สุนทรพจน์โดย ฯพณฯ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในพิธีเปิดการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือในภูมิภาคเกี่ยวกับ การจัดการเพื่อเตือนภัยล่วงหน้าจากคลื่นยักษ์ วันที่ 28 มกราคม 2548 ณ จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย
เมื่อ 1 เดือนกับ 2 วันที่ผ่านมา ภัยพิบัติทางธรรมชาติร้ายแรงที่สุดที่เคยเกิดขึ้นได้เกิดขึ้นที่ พื้นที่นี้ และภูมิภาคนี้ วันนี้โลกได้มาประชุมกันเป็นครั้งแรกที่สถานที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ เพื่อประเมินสถานการณ์ และหาทางก้าวไปข้างหน้าณ จังหวัดภูเก็ตแห่งนี้ มีผู้เสียชีวิตกว่า 5,000 คน ผู้สูญหายกว่า 3,000 คน และผู้ไร้ที่อยู่อาศัย อีกนับพัน ความสูญเสียอันยิ่งใหญ่โดยคลื่นยักษ์ไม่ได้เลือกสัญชาติ เชื้อชาติ ศาสนา อายุ และเพศ สิ่งที่เกิดขึ้นที่นี่และจังหวัดข้างเคียงได้นำประชาชนชาวไทยและประชาคมโลกเข้ามาใกล้ชิดกัน ไม่ห่างจากที่นี่ คณะเจ้าหน้าที่ด้านนิติเวชวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านส่งแวดล้อม ซึ่งเป็นตัวแทนของน้ำใจและความเห็นอกเห็นใจจากประชาคมระหว่างประเทศ ได้ร่วมกันในความพยายามที่จะเยียวยาบาดแผล ที่เกิดจากการสูญเสียครั้งนี้ ความพยายามที่จะช่วยเหลือในทำนองเดียวกันนี้จากทุกมุมโลกก็กำลังเกิดขึ้นในประเทศที่ประสบภัยอื่น ๆ
วันนี้ พวกเรา ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายได้มารวมกัน เพื่อแสดงความรู้สึกร่วมกันต่อความสูญเสีย และเข้ามามีบทบาทสนับสนุนกระบวนการเยียวยานี้ เราขอแสดงความเสียใจและความเห็นอกเห็นใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิตกว่า 5,000 รายในประเทศไทย และผู้เสียชีวิตกว่า 280,000 ราย ในประเทศและพื้นที่อื่น ๆ เราจะขอจดจำเหตุการณ์นี้ตลอดไป
เราจะแสดงความอาลัยและการจดจำต่อเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยการสร้างอนุสรณ์สถานแก่ผู้ที่เสียชีวิต ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสม แต่สิ่งที่อาจสำคัญกว่า คือการให้เกียรติต่อการรำลึกถึงผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ด้วยการกระทำ ดังนั้นโศกนาฏกรรมครั้งนี้ จำเป็นที่เราจะต้องใช้ความพยายามมากยิ่งขึ้นเพื่อ คุ้มครองประชาชนของเราจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ชายฝั่งของเราต้องได้รับการปกป้อง และติดตั้งอุปกรณ์เป็นอย่างดีเพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่ชุมชนและประชาชนที่พำนักอาศัยหรือเดินทางมาเยือนภูมิภาคนี้ เราไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับภัยพิบัติที่ร้ายแรงขนาดนี้มาก่อน แต่เราได้แสดงความมุ่งมั่น ที่จะรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดอย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะช่วยเหลือผู้ที่ประสบเคราะห์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้และดำเนินการบรรเทาทุกข์นับตั้งแต่วันนั้น ข้าพเจ้าและคณะรัฐมนตรีได้เดินทางไปยังจังหวัดภูเก็ตและพื้นที่ใกล้เคียงโดยไม่หยุดหย่อน เพื่อแก้ไขสถานการณ์จากโศกนาฏกรรมครั้งนี้ แม้แต่เมื่อวานนี้ ข้าพเจ้าก็ได้นำคณะรัฐมนตรีไปยังจังหวัดภูเก็ตเพื่อรับฟังปัญหา และให้ดำเนินการตาม ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูและบูรณะความเสียหาย รวมทั้งฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
ความพยายามในการบรรเทาทุกข์ต่าง ๆ ไม่สามารถมาได้ไกลขนาดนี้ หากปราศจากน้ำใจจากประชาชนชาวไทยและความเห็นอกเห็นใจอย่างไม่ปรากฏมาก่อนจากประชาคมระหว่างประเทศ อาสาสมัครชาวไทยและผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กันเพื่อหาผู้สูญหาย และดูแลผู้รอดชีวิตโดยไม่เลือกประติบัติ ความพยายามอันน่าชื่นชมนี้มีแรงบันดาลใจจากเหตุผลด้านมนุษยธรรมเป็นหลัก
สำหรับผู้ที่ได้ยื่นมือเข้าช่วยเหลือพวกเรา ไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็ตาม ข้าพเจ้าและประชาชน ขอแสดงความรู้สึกขอบคุณอย่างซาบซึ้ง ด้วยความช่วยเหลือของพวกท่าน ข้าพเจ้าเชื่อว่าส่วนที่เลวร้ายที่สุดของภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทยได้ผ่านพ้นไปแล้ว
ข้าพเจ้าเชื่อว่าเราได้แก้ไขปัญหาส่วนใหญ่แล้ว ขณะนี้เราได้ทำงานทั้งวันเพื่อที่จะตรวจพิสูจน์ศพทั้งหมดด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดเท่าที่มีอยู่ รวมทั้งด้วยความร่วมมือจากตำรวจสากลและเชี่ยวชาญด้านนิติเวชวิทยาชาวต่างชาติ ศพเหล่านั้นได้รับการเก็บไว้ในห้องเย็นและฝังไมโครชิปเพื่อช่วยในการตรวจพิสูจน์ศพ แต่เพื่อให้มีความมั่นใจในความถูกต้องแม่นยำ เราต้องการเวลาเพื่อที่จะตรวจสอบซ้ำอย่างระมัดระวังเกี่ยวกับข้อมูลก่อนและหลังการเสียชีวิตของศพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะสามารถส่งศพเหล่านั้นให้แก่ครอบครัวและบุคคลอันเป็นที่รัก ทั้งนี้ ความทุกข์ของบุคคลเหล่านั้นนับว่าเกินที่จะพรรณนาได้ ดังนั้น เราจึงไม่อาจให้เกิดความผิดพลาดได้อีก ส่วนไทยนั้นเราจะอำนวยความสะดวกทุกวิถีทาง เพื่อทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพในการเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคสำหรับการจัดส่งความช่วยเหลือของสหประชาชาติ รวมทั้งปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมของมิตรประเทศเช่นสหรัฐอเมริกา เรายินดีต่อแผนการของสำนักงานประสานความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรม (OCHA) ที่จะจัดตั้งสำนักงานระดับภูมิภาคขึ้นที่ประเทศไทย และหวังว่าสำนักงานฯ จะมีบทบาทในการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ในภูมิภาคทั้งในปัจจุบันและอนาคต ประเทศไทยต้องการที่จะแสวงหาหนทางการพัฒนาสำนักงานฯ ดังกล่าวในการดำเนินการบรรเทาทุกข์ด้านมนุษยธรรม โดยร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับผู้ที่มีส่วนร่วมต่าง ๆ
ท่านผู้มีเกียรติ
สุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ:
โศกนาฏกรรมครั้งนี้ทำให้เราได้เห็นโลกจากแง่มุมที่แตกต่างจากเดิม เราได้มีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่เผชิญหน้าอยู่ในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นไปตามรูปแบบดั้งเดิมและรูปแบบใหม่ ๆ ทั้งในด้านการทหารและมิใช่การทหาร แต่ในขณะที่เรากำหนดมาตรการเตรียมพร้อมเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติต่อความขัดแย้งทางทหาร และในขณะที่เราทำทุกวิถีทางที่จะป้องกันประเทศ ประเทศของเราในภูมิภาคนี้ไม่มีแผนการอะไรที่จะจัดการกับการคุกคามต่อความมั่นคงของมนุษย์ที่เกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น คลื่นยักษ์ ชุมชนของเราในภูมิภาคไม่มีความพร้อมแต่อย่างใดเลยที่จะป้องกันตนเอง
ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ในวันที่ 19 มกราคม นายโคฟี่ อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้เรียกร้อง ให้สหประชาชาติมีมติเกี่ยวกับแผนการเตรียมความพร้อม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานฉุกเฉินของสหประชาชาติในการบรรเทาภัยพิบัติ ให้สามารถปฏิบัติได้ทันทีจากการร้องขอหรือเมื่อมีมติของคณะมนตรีความมั่นคง การดำเนินแผนงานดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนจากศูนย์กลางระดับภูมิภาค ที่จะทำหน้าที่เสมือนตัวเชื่อมต่อการปฏิบัติการบรรเทาทุกข์และศูนย์สำรองวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ล่วงหน้าเพื่อให้มีความพร้อม ประเทศไทยพร้อมที่จะเสนอตัวเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางระดับภูมิภาคเพื่อสนับสนุนแผนการดังกล่าวของสหประชาชาติ
การบรรเทาภัยพิบัติเป็นภารกิจสำคัญที่สหประชาชาติสามารถแสดงบทบาทได้อย่างชัดเจน แต่ยังไม่เพียงแค่นั้น การประชุมผู้นำอาเซียนรอบพิเศษเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาที่กรุงจาร์กาตา รวมทั้งการประชุม ที่โกเบ (Kobe Conference) เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ได้สะท้อนความห่วงกังวลเช่นเดียวกันและความเห็นเป็นเอกฉันท์ในเรื่องดังกล่าว การประชุมในกรอบสหประชาชาติเกี่ยวกับประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก (Small Island Developing States) ที่หมู่เกาะมอริเชียสเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา รวมทั้งการประชุมเชิงปฏิบัติการอาเซียน-จีนเรื่องระบบป้องกันภัยพิบัติในเอเชียเมื่อสองวันที่ผ่านมานั้น แสดงถึงความรู้สึกร่วมกันในเรื่องนี้ ทุกฝ่ายตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องสร้างความมั่นใจแก่สาธารณชนในการป้องกันภัยพิบัติครั้งใหญ่ในมหาสมุทรอินเดียและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทุกฝ่ายตระหนักถึงความเร่งด่วนเรื่องการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าในภูมิภาคที่มีความเชื่อมโยงของกลไกระดับชาติกับระดับอนุภูมิภาคและภูมิภาค ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับระบบในระดับโลกโดยมีสหประชาชาติเป็นแกนนำ
การลงทุนเพื่อป้องกันคุ้มค่ากว่าใช้เงินจำนวนมากในการเยียวยา จะมีอีกกี่ชีวิตที่จะรอดพ้นจากภัยพิบัติหากเรามีมาตรการการป้องกันที่มีประสิทธิภาพในภูมิภาคของเรา และอีกกี่คืนกี่วันที่ประชาชนจะต้องอยู่กับความหวาดกลัวจนกว่าจะมีความมั่นใจได้ว่ามาตรการการป้องกันและการเตรียมการที่พวกเขาสามารถมั่นใจได้รับการติดตั้งแล้ว สำหรับข้าพเจ้า ไม่ควรมีชีวิตใดที่จะสูญเสียอีกแล้ว และไม่ควรมีแม้แต่วันหนึ่งที่จะผ่านไปโดยเสียเปล่า เราไม่สามารถล่าช้าได้อีกแล้ว ประชาชนของเราต้องได้รับความมั่นใจว่า ชายฝั่งทะเลจะปลอดภัยสำหรับการดำรงชีวิตของพวกเขาและปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว สำหรับข้าพเจ้า พรุ่งนี้ก็เกือบจะสายไปแล้วสำหรับการที่จะเริ่มสร้างระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่มีประสิทธิภาพ แต่อย่างที่คนพูดกันสายเกินไปก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย เนื่องจากภัยพิบัติทางธรรมชาติไม่อาจคาดเดาได้ พวกเราไม่สามารถที่จะเสียเวลาได้อีกต่อไป
ดังนั้นเราไม่สามารถรอได้อีกต่อไป เราจะต้องจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่มีประสิทธิภาพและ พร้อมใช้งานได้ทันทีในบริเวณมหาสมุทรอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เร็วที่สุดที่สามารถทำได้ ในวันที่ 30 มกราคม 2548 เมื่อการประชุมนี้เสร็จสิ้นลง การสร้างระบบเตือนภัยล่วงหน้าดังกล่าวควรจะเริ่มต้น การจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้านั้นไม่สามารถพึ่งพาเฉพาะอุปกรณ์และเทคโนโลยีเท่านั้น เราต้องใช้การดำเนินการในภาพรวม ซึ่งต้องรวมถึงการสร้างความตื่นตัวและให้ความรู้ ตลอดจนการฝึกอบรมของผู้เชี่ยวชาญและประชาชนทั่วไปโดยเป็นส่วนหนึ่งของระบบนี้ด้วย
แต่การพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้าจากคลื่นยักษ์ต้องเริ่มต้นจากแต่ละประเทศก่อน ระบบเตือนภัยล่วงหน้าของทุกประเทศจะเป็นส่วนบันไดขั้นสำคัญของระบบเตือนภัยระดับภูมิภาคและระดับโลก
ในขณะนี้ประเทศไทยได้เริ่มดำเนินขั้นตอนต่างๆ แล้ว จุดตรวจวัดคลื่นยักษ์แห่งแรกตั้งขึ้นที่หมู่เกาะสิมิลันโดยกองทัพเรือ จุดตรวจนี้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดคลื่นและระดับน้ำทะเลรวมทั้งเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม และเชื่อมโยงไปยังศูนย์ตรวจสอบแผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงใหม่ในภาคเหนือและที่ต่างๆ การ ตั้งจุดตรวจวัดดังกล่าวเป็นขั้นตอนแรกของหลาย ๆ ระดับในการพัฒนาระบบเตือนภัยคลื่นยักษ์ระดับชาติ ที่สมบูรณ์ หอติดตามและเตือนภัยตามแนวชายฝั่งจะได้รับการก่อสร้างขึ้นในอีก 6-12 เดือนข้างหน้า ช่องทางและระบบการสื่อสารที่มีอยู่ในหลายระดับจะต้องได้รับการสร้างขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่าการเตือนภัยสามารถทำได้ทั่วประเทศเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติขึ้นในอนาคต ในระยะยาว เราจะปลูกฝังวัฒนธรรมในการ ป้องกัน โดยการนำความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติและความรู้เกี่ยวกับการรับมือต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพเป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรของโรงเรียนและการฝึกอบรมข้าราชการ สุดท้ายแล้วปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือตัวบุคคลนั่นเอง
เพื่อให้การดำเนินการต่างๆ บรรลุความสำเร็จ ข้าพเจ้าได้จัดตั้งคณะกรรมการแห่งชาติชุดใหม่ที่มีประสบการณ์ขึ้นเพื่อดูแลเรื่องนี้ รวมทั้งศึกษาและพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่สมบูรณ์ ทุกๆ อย่างจะได้รับการปรับปรุงใหม่ ไม่ว่าจะต้องใช้งบประมาณหรือและความพยายามมากแค่ไหน
ในสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญได้มารวมตัวกันตั้งแต่โกเบถึงปักกิ่ง เพื่อแสดงความคิดเห็นต่างๆ ที่ดีที่สุดในการพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้าในภูมิภาค ข้าพเจ้าขอชื่นชมผู้แทนที่ได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวที่ได้มีข้อริเริ่ม และข้อเสนอแนะในที่ประชุม ซึ่งสะท้อนถึงการตระหนักถึงความเร่งด่วนและความรับผิดชอบร่วมกันในการหาแนวทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อปกป้องประชาชนที่อาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลของมหาสมุทรอินเดีย
การจัดการเพื่อเตือนภัยล่วงหน้าในภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพต้องมีพื้นฐานมาจากระบบภายใน ประเทศทั้งหลายที่เข้มแข็ง และนำไปสู่ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยน รวบรวมข้อมูลและเทคโนโลยีระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ที่สำคัญไม่น้อยกว่ากันคือจะต้องมีศูนย์กลางที่เข้มแข็งคอยรวบรวมและประสานข้อมูลและเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เพื่อให้ความมั่นใจว่าการจัดการในภูมิภาคต่อภัยคลื่นยักษ์ในอนาคตจะมีประสิทธิภาพและทันท่วงที ดังนั้น ข้าพเจ้าขอเสนอว่าการจัดการเพื่อเตือนภัยล่วงหน้ากรณีคลื่นยักษ์ในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ควรประกอบด้วย
หนึ่ง เครือข่ายศูนย์เตือนภัยภายในประเทศที่มีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงกัน
สอง ศูนย์เตือนภัยอนุภูมิภาคจำนวนหนึ่ง ที่สามารถติดต่อประสานงานและเกื้อหนุนระหว่าง เขตต่างๆ ในภูมิภาคได้อย่างทั่วถึง
สาม ศูนย์เตือนภัยภูมิภาค ที่สามารถรวบรวมข้อมูลและกิจกรรมการดำเนินงานของระบบ ภายในประเทศและศูนย์เตือนภัยอนุภูมิภาคที่เข้าร่วม รวมทั้งดูแลทั้งภูมิภาคโดยรวม และ
สี่ การสร้างหุ้นส่วนและประสานงานการจัดการเพื่อเตือนภัยล่วงหน้าโดยศูนย์ในภูมิภาคอื่น และองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ
ศูนย์เตือนภัยภูมิภาคต้องเป็นแกนหลักในการช่วยเหลือศูนย์เตือนภัยภายในประเทศในการติดตั้งระบบเทคนิค ส่งเสริมสนับสนุนการฝึกอบรมและเสริมสร้างสมรรถภาพของบุคคลากร รวมทั้งรองรับระบบติดตามและระบบสำรองเพื่อการกระจายข้อมูลและการเตือนภัยอย่างมีประสิทธิภาพ
นับเป็นโชคดีที่เราไม่ต้องเริ่มจากไม่มีอะไร หลายประเทศได้มีการจัดตั้งศูนย์และระบบเตือนภัย ในประเทศแล้ว สามารถปรับปรุงพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันและรับมือกับภัยคลื่นยักษ์ ในระดับภูมิภาค ได้มีการจัดตั้งศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (The Asian Disaster Preparedness Centre หรือ ADPC) ขึ้นในปี 2529 โดยการริเริ่มและสนับสนุนจาก UNDP และ OCHA ศูนย์ดังกล่าวได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยและการพัฒนาที่ยั่งยืนในชุมชนโดยการลดระดับความรุนแรงของภัยพิบัติ ในปีที่แล้ว คณะกรรมการผู้ดูแลของ ADPC ได้ตัดสินใจที่จะยกระดับศูนย์ให้มีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ เนื่องจากสำนักงาน ADPC ตั้งอยู่ในประเทศไทย คณะรัฐมนตรีไทยจึงได้อนุมัติสถานะดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยที่ขณะนี้ อยู่ในระหว่างรอการลงนามกฎบัตรโดยประเทศ
ผู้ก่อตั้ง คือ บังคลาเทศ กัมพูชา จีน เนปาล ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และประเทศไทย การที่ศูนย์ ADPC ตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งมีชายฝั่งตะวันออกหันหน้าสู่ทะเลจีนใต้ ของมหาสมุทรแปซิฟิก และชายฝั่งตะวันตกหันหน้าสู่ทะเลอันดามัน ของมหาสมุทรอินเดีย และการที่ศูนย์ ADPC กำลัง จะได้รับการปรับบทบาทเป็นองค์การระหว่างประเทศ รวมทั้งประสบการณ์กว่า 20 ปี ADPC จึงมีความเหมาะสมที่จะได้รับการคัดเลือกเป็นศูนย์เตือนภัยล่วงหน้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ คาบสมุทรอินเดีย เนื่องจากศูนย์ดังกล่าวจะสามารถเชื่อมโยงกลไกการเตือนภัยล่วงหน้าในประเทศต่างๆ เข้ากับศูนย์เตือนภัยอนุภูมิภาค เช่น ศูนย์เตือนภัยอนุภูมิภาคในอินเดีย ซึ่งดูแลอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดีย ศูนย์เตือนภัยอนุภูมิภาคของ ASEAN ในอินโดนีเซีย และศูนย์เตือนภัยอนุภูมิภาคชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา ศูนย์นี้ยังสามารถติดต่อเชื่อมโยงกับศูนย์เตือนภัยคลื่นยักษ์ล่วงหน้าในมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งมีอยู่แล้ว และเชื่อมโยงประสานงานกับองค์กรและหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติและองค์การระดับภูมิภาคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
เราต้องมุ่งมั่นก่อตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าในระดับประเทศ อนุภูมิภาค และภูมิภาค ให้เชื่อมโยงเป็นระบบที่ครอบคลุมทั่วถึงทั้งโลก โดยที่ ADPC ตั้งอยู่ในประเทศไทยซึ่งอยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก จึงจะสามารถเชื่อมโยงและประสานงานอย่างใกล้ชิดกับศูนย์เตือนภัยคลื่นยักษ์ล่วงหน้าในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งอยู่ที่ฮาวาย โดยร่วมกันเชื่อมต่อองค์ความรู้และเทคโนโลยีเกี่ยวกับคลื่นยักษ์และสร้างเครือข่ายในระดับโลก โดยองค์การสหประชาชาติและองค์กรต่างๆ สามารถเข้ามามีบทบาทร่วมที่สำคัญในการดำเนินงานของศูนย์ ระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่จะจัดตั้งขึ้นควรนำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนข้อมูล ที่ทันท่วงที การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านเทคนิค การระดมความเชี่ยวชาญ และอาจรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เตือนภัยหากสามารถทำได้
ท่านผู้มีเกียรติ
สุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ความคิดริเริ่มต้องได้รับการสนับสนุนจากความมุ่งมั่นทางการเมือง ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่าเรามีความมุ่งมั่นทางการเมือง เพราะนั่นคือเหตุผลที่เรามารวมตัวกันที่ภูเก็ตในวันนี้ นอกจากนี้ความคิดริเริ่มยังต้องการการสนับสนุนทางการเงินและเทคโนโลยี และนั่นคือเหตุผลที่ข้าพเจ้าขอเสนอการจัดตั้งกองทุนเพื่อการจัดการเตือนภัยล่วงหน้าในมหาสมุทรอินเดียและทะเลจีนใต้ โดยการบริจาคตามความสมัครใจ ในโอกาสแรก
เพื่อแสดงออกถึงความมุ่งมั่นทางการเมืองของพวกเราในการจัดการเตือนภัยล่วงหน้าในภูมิภาค ข้าพเจ้าขอเรียนว่าประเทศไทยขอบริจาค 10 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อริเริ่มการจัดตั้งกองทุนนี้ เราหวังว่า UN-ESCAP ซึ่งมีชื่อเสียงและประสบการเป็นที่ยอมรับ และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพฯ จะมีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการกองทุนดังกล่าว ข้าพเจ้าขอใช้โอกาสนี้ เรียกร้องให้นานาประเทศร่วมบริจาค เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งมั่นคงให้กับกองทุนเตือนภัยล่วงหน้าในการร่วมกันช่วยเหลือป้องกันภัยให้กับประชาชนตามแนวชายฝั่งทะเลของภูมิภาคนี้
ท้ายที่สุด ตัวชี้วัดที่สำคัญของความสำเร็จในความพยายามร่วมของพวกเราคือการที่เราสามารถเรียกความเชื่อมั่นและไว้วางใจจากประชาชนตามชายฝั่งทะเลของภูมิภาคนี้และนักท่องเที่ยวนับล้านๆ คนกลับคืนมา ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ดังนั้นเราจึงไม่สามารถที่จะรีรอต่อไป ข้าพเจ้าขอให้พวกเราร่วมมือกันในภารกิจที่สำคัญที่จะก่อตั้งระบบเตือนภัยคลื่นยักษ์ล่วงหน้าที่มีประสิทธิภาพในภูมิภาคนี้ เพื่อฟื้นฟูวิถีการดำรงชีวิต เสริมสร้างความมั่นคงของประชาชนตามแนวชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเสริมสร้างความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวอีกนับล้านคน
ก้าวแรกเป็นก้าวที่สำคัญที่สุดเสมอ ข้าพเจ้าขอให้ทุกท่านประสบผลสำเร็จในความพยายามครั้งนี้ ขอบคุณ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ) สุนทรพจน์โดย ฯพณฯ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในพิธีเปิดการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือในภูมิภาคเกี่ยวกับ การจัดการเพื่อเตือนภัยล่วงหน้าจากคลื่นยักษ์ วันที่ 28 มกราคม 2548 ณ จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย
เมื่อ 1 เดือนกับ 2 วันที่ผ่านมา ภัยพิบัติทางธรรมชาติร้ายแรงที่สุดที่เคยเกิดขึ้นได้เกิดขึ้นที่ พื้นที่นี้ และภูมิภาคนี้ วันนี้โลกได้มาประชุมกันเป็นครั้งแรกที่สถานที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ เพื่อประเมินสถานการณ์ และหาทางก้าวไปข้างหน้าณ จังหวัดภูเก็ตแห่งนี้ มีผู้เสียชีวิตกว่า 5,000 คน ผู้สูญหายกว่า 3,000 คน และผู้ไร้ที่อยู่อาศัย อีกนับพัน ความสูญเสียอันยิ่งใหญ่โดยคลื่นยักษ์ไม่ได้เลือกสัญชาติ เชื้อชาติ ศาสนา อายุ และเพศ สิ่งที่เกิดขึ้นที่นี่และจังหวัดข้างเคียงได้นำประชาชนชาวไทยและประชาคมโลกเข้ามาใกล้ชิดกัน ไม่ห่างจากที่นี่ คณะเจ้าหน้าที่ด้านนิติเวชวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านส่งแวดล้อม ซึ่งเป็นตัวแทนของน้ำใจและความเห็นอกเห็นใจจากประชาคมระหว่างประเทศ ได้ร่วมกันในความพยายามที่จะเยียวยาบาดแผล ที่เกิดจากการสูญเสียครั้งนี้ ความพยายามที่จะช่วยเหลือในทำนองเดียวกันนี้จากทุกมุมโลกก็กำลังเกิดขึ้นในประเทศที่ประสบภัยอื่น ๆ
วันนี้ พวกเรา ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายได้มารวมกัน เพื่อแสดงความรู้สึกร่วมกันต่อความสูญเสีย และเข้ามามีบทบาทสนับสนุนกระบวนการเยียวยานี้ เราขอแสดงความเสียใจและความเห็นอกเห็นใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิตกว่า 5,000 รายในประเทศไทย และผู้เสียชีวิตกว่า 280,000 ราย ในประเทศและพื้นที่อื่น ๆ เราจะขอจดจำเหตุการณ์นี้ตลอดไป
เราจะแสดงความอาลัยและการจดจำต่อเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยการสร้างอนุสรณ์สถานแก่ผู้ที่เสียชีวิต ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสม แต่สิ่งที่อาจสำคัญกว่า คือการให้เกียรติต่อการรำลึกถึงผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ด้วยการกระทำ ดังนั้นโศกนาฏกรรมครั้งนี้ จำเป็นที่เราจะต้องใช้ความพยายามมากยิ่งขึ้นเพื่อ คุ้มครองประชาชนของเราจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ชายฝั่งของเราต้องได้รับการปกป้อง และติดตั้งอุปกรณ์เป็นอย่างดีเพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่ชุมชนและประชาชนที่พำนักอาศัยหรือเดินทางมาเยือนภูมิภาคนี้ เราไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับภัยพิบัติที่ร้ายแรงขนาดนี้มาก่อน แต่เราได้แสดงความมุ่งมั่น ที่จะรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดอย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะช่วยเหลือผู้ที่ประสบเคราะห์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้และดำเนินการบรรเทาทุกข์นับตั้งแต่วันนั้น ข้าพเจ้าและคณะรัฐมนตรีได้เดินทางไปยังจังหวัดภูเก็ตและพื้นที่ใกล้เคียงโดยไม่หยุดหย่อน เพื่อแก้ไขสถานการณ์จากโศกนาฏกรรมครั้งนี้ แม้แต่เมื่อวานนี้ ข้าพเจ้าก็ได้นำคณะรัฐมนตรีไปยังจังหวัดภูเก็ตเพื่อรับฟังปัญหา และให้ดำเนินการตาม ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูและบูรณะความเสียหาย รวมทั้งฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
ความพยายามในการบรรเทาทุกข์ต่าง ๆ ไม่สามารถมาได้ไกลขนาดนี้ หากปราศจากน้ำใจจากประชาชนชาวไทยและความเห็นอกเห็นใจอย่างไม่ปรากฏมาก่อนจากประชาคมระหว่างประเทศ อาสาสมัครชาวไทยและผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กันเพื่อหาผู้สูญหาย และดูแลผู้รอดชีวิตโดยไม่เลือกประติบัติ ความพยายามอันน่าชื่นชมนี้มีแรงบันดาลใจจากเหตุผลด้านมนุษยธรรมเป็นหลัก
สำหรับผู้ที่ได้ยื่นมือเข้าช่วยเหลือพวกเรา ไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็ตาม ข้าพเจ้าและประชาชน ขอแสดงความรู้สึกขอบคุณอย่างซาบซึ้ง ด้วยความช่วยเหลือของพวกท่าน ข้าพเจ้าเชื่อว่าส่วนที่เลวร้ายที่สุดของภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทยได้ผ่านพ้นไปแล้ว
ข้าพเจ้าเชื่อว่าเราได้แก้ไขปัญหาส่วนใหญ่แล้ว ขณะนี้เราได้ทำงานทั้งวันเพื่อที่จะตรวจพิสูจน์ศพทั้งหมดด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดเท่าที่มีอยู่ รวมทั้งด้วยความร่วมมือจากตำรวจสากลและเชี่ยวชาญด้านนิติเวชวิทยาชาวต่างชาติ ศพเหล่านั้นได้รับการเก็บไว้ในห้องเย็นและฝังไมโครชิปเพื่อช่วยในการตรวจพิสูจน์ศพ แต่เพื่อให้มีความมั่นใจในความถูกต้องแม่นยำ เราต้องการเวลาเพื่อที่จะตรวจสอบซ้ำอย่างระมัดระวังเกี่ยวกับข้อมูลก่อนและหลังการเสียชีวิตของศพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะสามารถส่งศพเหล่านั้นให้แก่ครอบครัวและบุคคลอันเป็นที่รัก ทั้งนี้ ความทุกข์ของบุคคลเหล่านั้นนับว่าเกินที่จะพรรณนาได้ ดังนั้น เราจึงไม่อาจให้เกิดความผิดพลาดได้อีก ส่วนไทยนั้นเราจะอำนวยความสะดวกทุกวิถีทาง เพื่อทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพในการเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคสำหรับการจัดส่งความช่วยเหลือของสหประชาชาติ รวมทั้งปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมของมิตรประเทศเช่นสหรัฐอเมริกา เรายินดีต่อแผนการของสำนักงานประสานความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรม (OCHA) ที่จะจัดตั้งสำนักงานระดับภูมิภาคขึ้นที่ประเทศไทย และหวังว่าสำนักงานฯ จะมีบทบาทในการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ในภูมิภาคทั้งในปัจจุบันและอนาคต ประเทศไทยต้องการที่จะแสวงหาหนทางการพัฒนาสำนักงานฯ ดังกล่าวในการดำเนินการบรรเทาทุกข์ด้านมนุษยธรรม โดยร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับผู้ที่มีส่วนร่วมต่าง ๆ
ท่านผู้มีเกียรติ
สุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ:
โศกนาฏกรรมครั้งนี้ทำให้เราได้เห็นโลกจากแง่มุมที่แตกต่างจากเดิม เราได้มีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่เผชิญหน้าอยู่ในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นไปตามรูปแบบดั้งเดิมและรูปแบบใหม่ ๆ ทั้งในด้านการทหารและมิใช่การทหาร แต่ในขณะที่เรากำหนดมาตรการเตรียมพร้อมเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติต่อความขัดแย้งทางทหาร และในขณะที่เราทำทุกวิถีทางที่จะป้องกันประเทศ ประเทศของเราในภูมิภาคนี้ไม่มีแผนการอะไรที่จะจัดการกับการคุกคามต่อความมั่นคงของมนุษย์ที่เกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น คลื่นยักษ์ ชุมชนของเราในภูมิภาคไม่มีความพร้อมแต่อย่างใดเลยที่จะป้องกันตนเอง
ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ในวันที่ 19 มกราคม นายโคฟี่ อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้เรียกร้อง ให้สหประชาชาติมีมติเกี่ยวกับแผนการเตรียมความพร้อม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานฉุกเฉินของสหประชาชาติในการบรรเทาภัยพิบัติ ให้สามารถปฏิบัติได้ทันทีจากการร้องขอหรือเมื่อมีมติของคณะมนตรีความมั่นคง การดำเนินแผนงานดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนจากศูนย์กลางระดับภูมิภาค ที่จะทำหน้าที่เสมือนตัวเชื่อมต่อการปฏิบัติการบรรเทาทุกข์และศูนย์สำรองวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ล่วงหน้าเพื่อให้มีความพร้อม ประเทศไทยพร้อมที่จะเสนอตัวเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางระดับภูมิภาคเพื่อสนับสนุนแผนการดังกล่าวของสหประชาชาติ
การบรรเทาภัยพิบัติเป็นภารกิจสำคัญที่สหประชาชาติสามารถแสดงบทบาทได้อย่างชัดเจน แต่ยังไม่เพียงแค่นั้น การประชุมผู้นำอาเซียนรอบพิเศษเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาที่กรุงจาร์กาตา รวมทั้งการประชุม ที่โกเบ (Kobe Conference) เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ได้สะท้อนความห่วงกังวลเช่นเดียวกันและความเห็นเป็นเอกฉันท์ในเรื่องดังกล่าว การประชุมในกรอบสหประชาชาติเกี่ยวกับประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก (Small Island Developing States) ที่หมู่เกาะมอริเชียสเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา รวมทั้งการประชุมเชิงปฏิบัติการอาเซียน-จีนเรื่องระบบป้องกันภัยพิบัติในเอเชียเมื่อสองวันที่ผ่านมานั้น แสดงถึงความรู้สึกร่วมกันในเรื่องนี้ ทุกฝ่ายตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องสร้างความมั่นใจแก่สาธารณชนในการป้องกันภัยพิบัติครั้งใหญ่ในมหาสมุทรอินเดียและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทุกฝ่ายตระหนักถึงความเร่งด่วนเรื่องการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าในภูมิภาคที่มีความเชื่อมโยงของกลไกระดับชาติกับระดับอนุภูมิภาคและภูมิภาค ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับระบบในระดับโลกโดยมีสหประชาชาติเป็นแกนนำ
การลงทุนเพื่อป้องกันคุ้มค่ากว่าใช้เงินจำนวนมากในการเยียวยา จะมีอีกกี่ชีวิตที่จะรอดพ้นจากภัยพิบัติหากเรามีมาตรการการป้องกันที่มีประสิทธิภาพในภูมิภาคของเรา และอีกกี่คืนกี่วันที่ประชาชนจะต้องอยู่กับความหวาดกลัวจนกว่าจะมีความมั่นใจได้ว่ามาตรการการป้องกันและการเตรียมการที่พวกเขาสามารถมั่นใจได้รับการติดตั้งแล้ว สำหรับข้าพเจ้า ไม่ควรมีชีวิตใดที่จะสูญเสียอีกแล้ว และไม่ควรมีแม้แต่วันหนึ่งที่จะผ่านไปโดยเสียเปล่า เราไม่สามารถล่าช้าได้อีกแล้ว ประชาชนของเราต้องได้รับความมั่นใจว่า ชายฝั่งทะเลจะปลอดภัยสำหรับการดำรงชีวิตของพวกเขาและปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว สำหรับข้าพเจ้า พรุ่งนี้ก็เกือบจะสายไปแล้วสำหรับการที่จะเริ่มสร้างระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่มีประสิทธิภาพ แต่อย่างที่คนพูดกันสายเกินไปก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย เนื่องจากภัยพิบัติทางธรรมชาติไม่อาจคาดเดาได้ พวกเราไม่สามารถที่จะเสียเวลาได้อีกต่อไป
ดังนั้นเราไม่สามารถรอได้อีกต่อไป เราจะต้องจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่มีประสิทธิภาพและ พร้อมใช้งานได้ทันทีในบริเวณมหาสมุทรอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เร็วที่สุดที่สามารถทำได้ ในวันที่ 30 มกราคม 2548 เมื่อการประชุมนี้เสร็จสิ้นลง การสร้างระบบเตือนภัยล่วงหน้าดังกล่าวควรจะเริ่มต้น การจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้านั้นไม่สามารถพึ่งพาเฉพาะอุปกรณ์และเทคโนโลยีเท่านั้น เราต้องใช้การดำเนินการในภาพรวม ซึ่งต้องรวมถึงการสร้างความตื่นตัวและให้ความรู้ ตลอดจนการฝึกอบรมของผู้เชี่ยวชาญและประชาชนทั่วไปโดยเป็นส่วนหนึ่งของระบบนี้ด้วย
แต่การพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้าจากคลื่นยักษ์ต้องเริ่มต้นจากแต่ละประเทศก่อน ระบบเตือนภัยล่วงหน้าของทุกประเทศจะเป็นส่วนบันไดขั้นสำคัญของระบบเตือนภัยระดับภูมิภาคและระดับโลก
ในขณะนี้ประเทศไทยได้เริ่มดำเนินขั้นตอนต่างๆ แล้ว จุดตรวจวัดคลื่นยักษ์แห่งแรกตั้งขึ้นที่หมู่เกาะสิมิลันโดยกองทัพเรือ จุดตรวจนี้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดคลื่นและระดับน้ำทะเลรวมทั้งเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม และเชื่อมโยงไปยังศูนย์ตรวจสอบแผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงใหม่ในภาคเหนือและที่ต่างๆ การ ตั้งจุดตรวจวัดดังกล่าวเป็นขั้นตอนแรกของหลาย ๆ ระดับในการพัฒนาระบบเตือนภัยคลื่นยักษ์ระดับชาติ ที่สมบูรณ์ หอติดตามและเตือนภัยตามแนวชายฝั่งจะได้รับการก่อสร้างขึ้นในอีก 6-12 เดือนข้างหน้า ช่องทางและระบบการสื่อสารที่มีอยู่ในหลายระดับจะต้องได้รับการสร้างขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่าการเตือนภัยสามารถทำได้ทั่วประเทศเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติขึ้นในอนาคต ในระยะยาว เราจะปลูกฝังวัฒนธรรมในการ ป้องกัน โดยการนำความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติและความรู้เกี่ยวกับการรับมือต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพเป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรของโรงเรียนและการฝึกอบรมข้าราชการ สุดท้ายแล้วปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือตัวบุคคลนั่นเอง
เพื่อให้การดำเนินการต่างๆ บรรลุความสำเร็จ ข้าพเจ้าได้จัดตั้งคณะกรรมการแห่งชาติชุดใหม่ที่มีประสบการณ์ขึ้นเพื่อดูแลเรื่องนี้ รวมทั้งศึกษาและพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่สมบูรณ์ ทุกๆ อย่างจะได้รับการปรับปรุงใหม่ ไม่ว่าจะต้องใช้งบประมาณหรือและความพยายามมากแค่ไหน
ในสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญได้มารวมตัวกันตั้งแต่โกเบถึงปักกิ่ง เพื่อแสดงความคิดเห็นต่างๆ ที่ดีที่สุดในการพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้าในภูมิภาค ข้าพเจ้าขอชื่นชมผู้แทนที่ได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวที่ได้มีข้อริเริ่ม และข้อเสนอแนะในที่ประชุม ซึ่งสะท้อนถึงการตระหนักถึงความเร่งด่วนและความรับผิดชอบร่วมกันในการหาแนวทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อปกป้องประชาชนที่อาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลของมหาสมุทรอินเดีย
การจัดการเพื่อเตือนภัยล่วงหน้าในภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพต้องมีพื้นฐานมาจากระบบภายใน ประเทศทั้งหลายที่เข้มแข็ง และนำไปสู่ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยน รวบรวมข้อมูลและเทคโนโลยีระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ที่สำคัญไม่น้อยกว่ากันคือจะต้องมีศูนย์กลางที่เข้มแข็งคอยรวบรวมและประสานข้อมูลและเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เพื่อให้ความมั่นใจว่าการจัดการในภูมิภาคต่อภัยคลื่นยักษ์ในอนาคตจะมีประสิทธิภาพและทันท่วงที ดังนั้น ข้าพเจ้าขอเสนอว่าการจัดการเพื่อเตือนภัยล่วงหน้ากรณีคลื่นยักษ์ในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ควรประกอบด้วย
หนึ่ง เครือข่ายศูนย์เตือนภัยภายในประเทศที่มีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงกัน
สอง ศูนย์เตือนภัยอนุภูมิภาคจำนวนหนึ่ง ที่สามารถติดต่อประสานงานและเกื้อหนุนระหว่าง เขตต่างๆ ในภูมิภาคได้อย่างทั่วถึง
สาม ศูนย์เตือนภัยภูมิภาค ที่สามารถรวบรวมข้อมูลและกิจกรรมการดำเนินงานของระบบ ภายในประเทศและศูนย์เตือนภัยอนุภูมิภาคที่เข้าร่วม รวมทั้งดูแลทั้งภูมิภาคโดยรวม และ
สี่ การสร้างหุ้นส่วนและประสานงานการจัดการเพื่อเตือนภัยล่วงหน้าโดยศูนย์ในภูมิภาคอื่น และองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ
ศูนย์เตือนภัยภูมิภาคต้องเป็นแกนหลักในการช่วยเหลือศูนย์เตือนภัยภายในประเทศในการติดตั้งระบบเทคนิค ส่งเสริมสนับสนุนการฝึกอบรมและเสริมสร้างสมรรถภาพของบุคคลากร รวมทั้งรองรับระบบติดตามและระบบสำรองเพื่อการกระจายข้อมูลและการเตือนภัยอย่างมีประสิทธิภาพ
นับเป็นโชคดีที่เราไม่ต้องเริ่มจากไม่มีอะไร หลายประเทศได้มีการจัดตั้งศูนย์และระบบเตือนภัย ในประเทศแล้ว สามารถปรับปรุงพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันและรับมือกับภัยคลื่นยักษ์ ในระดับภูมิภาค ได้มีการจัดตั้งศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (The Asian Disaster Preparedness Centre หรือ ADPC) ขึ้นในปี 2529 โดยการริเริ่มและสนับสนุนจาก UNDP และ OCHA ศูนย์ดังกล่าวได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยและการพัฒนาที่ยั่งยืนในชุมชนโดยการลดระดับความรุนแรงของภัยพิบัติ ในปีที่แล้ว คณะกรรมการผู้ดูแลของ ADPC ได้ตัดสินใจที่จะยกระดับศูนย์ให้มีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ เนื่องจากสำนักงาน ADPC ตั้งอยู่ในประเทศไทย คณะรัฐมนตรีไทยจึงได้อนุมัติสถานะดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยที่ขณะนี้ อยู่ในระหว่างรอการลงนามกฎบัตรโดยประเทศ
ผู้ก่อตั้ง คือ บังคลาเทศ กัมพูชา จีน เนปาล ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และประเทศไทย การที่ศูนย์ ADPC ตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งมีชายฝั่งตะวันออกหันหน้าสู่ทะเลจีนใต้ ของมหาสมุทรแปซิฟิก และชายฝั่งตะวันตกหันหน้าสู่ทะเลอันดามัน ของมหาสมุทรอินเดีย และการที่ศูนย์ ADPC กำลัง จะได้รับการปรับบทบาทเป็นองค์การระหว่างประเทศ รวมทั้งประสบการณ์กว่า 20 ปี ADPC จึงมีความเหมาะสมที่จะได้รับการคัดเลือกเป็นศูนย์เตือนภัยล่วงหน้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ คาบสมุทรอินเดีย เนื่องจากศูนย์ดังกล่าวจะสามารถเชื่อมโยงกลไกการเตือนภัยล่วงหน้าในประเทศต่างๆ เข้ากับศูนย์เตือนภัยอนุภูมิภาค เช่น ศูนย์เตือนภัยอนุภูมิภาคในอินเดีย ซึ่งดูแลอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดีย ศูนย์เตือนภัยอนุภูมิภาคของ ASEAN ในอินโดนีเซีย และศูนย์เตือนภัยอนุภูมิภาคชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา ศูนย์นี้ยังสามารถติดต่อเชื่อมโยงกับศูนย์เตือนภัยคลื่นยักษ์ล่วงหน้าในมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งมีอยู่แล้ว และเชื่อมโยงประสานงานกับองค์กรและหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติและองค์การระดับภูมิภาคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
เราต้องมุ่งมั่นก่อตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าในระดับประเทศ อนุภูมิภาค และภูมิภาค ให้เชื่อมโยงเป็นระบบที่ครอบคลุมทั่วถึงทั้งโลก โดยที่ ADPC ตั้งอยู่ในประเทศไทยซึ่งอยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก จึงจะสามารถเชื่อมโยงและประสานงานอย่างใกล้ชิดกับศูนย์เตือนภัยคลื่นยักษ์ล่วงหน้าในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งอยู่ที่ฮาวาย โดยร่วมกันเชื่อมต่อองค์ความรู้และเทคโนโลยีเกี่ยวกับคลื่นยักษ์และสร้างเครือข่ายในระดับโลก โดยองค์การสหประชาชาติและองค์กรต่างๆ สามารถเข้ามามีบทบาทร่วมที่สำคัญในการดำเนินงานของศูนย์ ระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่จะจัดตั้งขึ้นควรนำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนข้อมูล ที่ทันท่วงที การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านเทคนิค การระดมความเชี่ยวชาญ และอาจรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เตือนภัยหากสามารถทำได้
ท่านผู้มีเกียรติ
สุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ความคิดริเริ่มต้องได้รับการสนับสนุนจากความมุ่งมั่นทางการเมือง ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่าเรามีความมุ่งมั่นทางการเมือง เพราะนั่นคือเหตุผลที่เรามารวมตัวกันที่ภูเก็ตในวันนี้ นอกจากนี้ความคิดริเริ่มยังต้องการการสนับสนุนทางการเงินและเทคโนโลยี และนั่นคือเหตุผลที่ข้าพเจ้าขอเสนอการจัดตั้งกองทุนเพื่อการจัดการเตือนภัยล่วงหน้าในมหาสมุทรอินเดียและทะเลจีนใต้ โดยการบริจาคตามความสมัครใจ ในโอกาสแรก
เพื่อแสดงออกถึงความมุ่งมั่นทางการเมืองของพวกเราในการจัดการเตือนภัยล่วงหน้าในภูมิภาค ข้าพเจ้าขอเรียนว่าประเทศไทยขอบริจาค 10 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อริเริ่มการจัดตั้งกองทุนนี้ เราหวังว่า UN-ESCAP ซึ่งมีชื่อเสียงและประสบการเป็นที่ยอมรับ และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพฯ จะมีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการกองทุนดังกล่าว ข้าพเจ้าขอใช้โอกาสนี้ เรียกร้องให้นานาประเทศร่วมบริจาค เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งมั่นคงให้กับกองทุนเตือนภัยล่วงหน้าในการร่วมกันช่วยเหลือป้องกันภัยให้กับประชาชนตามแนวชายฝั่งทะเลของภูมิภาคนี้
ท้ายที่สุด ตัวชี้วัดที่สำคัญของความสำเร็จในความพยายามร่วมของพวกเราคือการที่เราสามารถเรียกความเชื่อมั่นและไว้วางใจจากประชาชนตามชายฝั่งทะเลของภูมิภาคนี้และนักท่องเที่ยวนับล้านๆ คนกลับคืนมา ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ดังนั้นเราจึงไม่สามารถที่จะรีรอต่อไป ข้าพเจ้าขอให้พวกเราร่วมมือกันในภารกิจที่สำคัญที่จะก่อตั้งระบบเตือนภัยคลื่นยักษ์ล่วงหน้าที่มีประสิทธิภาพในภูมิภาคนี้ เพื่อฟื้นฟูวิถีการดำรงชีวิต เสริมสร้างความมั่นคงของประชาชนตามแนวชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเสริมสร้างความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวอีกนับล้านคน
ก้าวแรกเป็นก้าวที่สำคัญที่สุดเสมอ ข้าพเจ้าขอให้ทุกท่านประสบผลสำเร็จในความพยายามครั้งนี้ ขอบคุณ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-