กรุงเทพ--21 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2547 นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เรื่องประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระหว่างประเทศเรื่องโรคเอดส์ สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
1. ในวันที่ 11 -16 กรกฎาคม 2547 ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องโรคเอดส์ที่สำคัญ 3 กรอบการประชุมด้วยกัน ได้แก่
- การประชุมนานาชาติเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 15 (The XV International AIDS Conference)
- การประชุมระดับรัฐมนตรีภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยโรคเอดส์ ครั้งที่ 2 (The Second Asia-Pacific Ministerial Meeting) และ
- การประชุมโต๊ะกลมระดับผู้นำว่าด้วยโรคเอดส์ (The Bangkok Summit 2004: Leaderships on HIV/AIDS) การประชุมทั้ง 3 กรอบ มีความแตกต่างกันที่ลักษณะของผู้ที่เข้าร่วมประชุมและหัวข้อในการประชุม แต่มีเป้าหมายสูงสุดร่วมกันคือการแก้ปัญหาโรคเอดส์อย่างรอบด้าน โดยเฉพาะความทั่วถึงและเท่าเทียม ในด้านต่างๆ
2. การประชุมนานาชาติเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 15 จะจัดขึ้นที่ อิมแพค อารีนา เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 11 -16 กรกฎาคม 2547 มีหัวข้อการประชุมว่า "ทั่วถึงและเท่าเทียม" (Access for All) การประชุมครั้งนี้จะเป็นเวทีสำหรับกลุ่มผู้เข้าร่วมประชุมจากทุกวงการ ตั้งแต่ผู้นำรัฐบาล ผู้ทำงานระดับชุมชน นักวิทยาศาสตร์ ตัวแทนจากองค์กรพัฒนาเอกชนทั้งในและต่างประเทศ เข้าแลกเปลี่ยนทัศนคติเพื่อหาแนวทางส่งเสริมความทั่วถึงและความเท่าเทียมกัน ในเรื่องการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อ HIV การป้องกันการติดเชื้อ HIV และการเข้ารับการรักษาสำหรับผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อ
3. การประชุมระดับรัฐมนตรีภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยโรคเอดส์ ครั้งที่ 2 (APMM 2) กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข จะร่วมกับรัฐบาลออสเตรเลีย และโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) จัดขึ้นในวันที่ 11 กรกฎาคม 2547 ณ กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีหัวข้อการประชุมว่า "การจัดให้ทุกคนเข้าถึงยาและการรักษา - ความรับผิดชอบทางการเมือง" (Access for All: Political Accountability) โดยจะมีประเด็นการหารือที่สำคัญ เช่น การระดมทรัพยากร การเตรียมพร้อมทางด้านนโยบายและกรอบกฎหมาย และการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งการเข้าถึงยาเพื่อป้องกันและรักษาโรคเอดส์ และในโอกาสนี้ที่ประชุมจะพิจารณารับรองเอกสารถ้อยแถลงร่วมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Joint Statement) ที่จะระบุถึงประเด็นหลักของการหารือ และจุดเน้นในการทำงานร่วมกันในอนาคต
การประชุม APMM 2 จะเป็นโอกาสสำคัญที่บรรดารัฐมนตรีในภูมิภาคจะได้หารือเกี่ยวกับความคืบหน้า รวมทั้งปัญหาและอุปสรรค เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายเรื่องโรคเอดส์ ภายหลังจากการประชุม APMM ครั้งที่ 1 ณ นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี 2544 นอกจากนี้ APMM 2 ยังเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใหม่ๆ และหารือถึงโอกาสในการเพิ่มความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ ซึ่งทั้งหมดจะเป็นการย้ำบทบาทสำคัญของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในการต่อสู้กับโรคเอดส์
4. การประชุมโต๊ะกลมระดับผู้นำว่าด้วยโรคเอดส์ ครั้งที่ 1 (The Bangkok Summit 2004: Leaderships on HIV/AIDS) จะจัดขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาล ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2547 โดยมี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และมีผู้นำจากประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งเลขาธิการ สหประชาชาติเข้าร่วมประชุม ที่ประชุมจะหารือกันใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การสร้างคนรุ่นใหม่ที่ปลอดจากเชื้อ HIV (HIV Free Generation) 2) การเอาชนะอุปสรรคด้านการกีดกันผู้ติดเชื้อเอดส์ออกจากสังคม และการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอดส์ (Overcome Stigma and Discrimination) 3) การเข้าถึงการป้องกัน การรักษา และผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ในการรักษาโรคเอดส์ (Access for All to Products, Prevention, and Care) ประเทศไทยได้เชิญผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ เลขาธิการสหประชาชาติ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป รวมทั้งผู้นำจากหลายประเทศ ได้แก่ จีน รัสเซีย แคนาดา บราซิล บอตสวานา ไนจีเรีย รวันดา และ ยูกันดา
5. การประชุมทั้ง 3 กรอบจะเป็นเวทีที่ไทยจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความสำเร็จของไทยในการป้องกันและแก้ปัญหาโรคเอดส์ผ่านโครงการต่างๆ โดยไทยพร้อมที่จะให้ข้อเสนอแนะและความช่วยเหลือแก่ประเทศต่างๆ นอกจากนี้ สิ่งที่ไทยคาดหวังว่าจะได้จากการประชุมคือการเพิ่มความสำคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศในปัญหาเรื่องโรคเอดส์ที่มีลักษณะข้ามพรมแดน เพราะไม่มีประเทศใดที่จะสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ แต่ทุกประเทศจะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังในทุกๆ ด้าน โดยรัฐบาลจะต้องร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศและองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานในระดับรากหญ้า ในการสร้างนโยบายที่มีประสิทธิภาพและแนวทางการดำเนินงานที่ปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งขอความร่วมมือจากสื่อมวลชนทั่วโลก ในการช่วยสร้างความตื่นตัวเรื่องปัญหาโรคเอดส์ต่อสาธารณชนโดยทั่วไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2547 นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เรื่องประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระหว่างประเทศเรื่องโรคเอดส์ สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
1. ในวันที่ 11 -16 กรกฎาคม 2547 ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องโรคเอดส์ที่สำคัญ 3 กรอบการประชุมด้วยกัน ได้แก่
- การประชุมนานาชาติเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 15 (The XV International AIDS Conference)
- การประชุมระดับรัฐมนตรีภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยโรคเอดส์ ครั้งที่ 2 (The Second Asia-Pacific Ministerial Meeting) และ
- การประชุมโต๊ะกลมระดับผู้นำว่าด้วยโรคเอดส์ (The Bangkok Summit 2004: Leaderships on HIV/AIDS) การประชุมทั้ง 3 กรอบ มีความแตกต่างกันที่ลักษณะของผู้ที่เข้าร่วมประชุมและหัวข้อในการประชุม แต่มีเป้าหมายสูงสุดร่วมกันคือการแก้ปัญหาโรคเอดส์อย่างรอบด้าน โดยเฉพาะความทั่วถึงและเท่าเทียม ในด้านต่างๆ
2. การประชุมนานาชาติเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 15 จะจัดขึ้นที่ อิมแพค อารีนา เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 11 -16 กรกฎาคม 2547 มีหัวข้อการประชุมว่า "ทั่วถึงและเท่าเทียม" (Access for All) การประชุมครั้งนี้จะเป็นเวทีสำหรับกลุ่มผู้เข้าร่วมประชุมจากทุกวงการ ตั้งแต่ผู้นำรัฐบาล ผู้ทำงานระดับชุมชน นักวิทยาศาสตร์ ตัวแทนจากองค์กรพัฒนาเอกชนทั้งในและต่างประเทศ เข้าแลกเปลี่ยนทัศนคติเพื่อหาแนวทางส่งเสริมความทั่วถึงและความเท่าเทียมกัน ในเรื่องการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อ HIV การป้องกันการติดเชื้อ HIV และการเข้ารับการรักษาสำหรับผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อ
3. การประชุมระดับรัฐมนตรีภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยโรคเอดส์ ครั้งที่ 2 (APMM 2) กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข จะร่วมกับรัฐบาลออสเตรเลีย และโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) จัดขึ้นในวันที่ 11 กรกฎาคม 2547 ณ กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีหัวข้อการประชุมว่า "การจัดให้ทุกคนเข้าถึงยาและการรักษา - ความรับผิดชอบทางการเมือง" (Access for All: Political Accountability) โดยจะมีประเด็นการหารือที่สำคัญ เช่น การระดมทรัพยากร การเตรียมพร้อมทางด้านนโยบายและกรอบกฎหมาย และการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งการเข้าถึงยาเพื่อป้องกันและรักษาโรคเอดส์ และในโอกาสนี้ที่ประชุมจะพิจารณารับรองเอกสารถ้อยแถลงร่วมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Joint Statement) ที่จะระบุถึงประเด็นหลักของการหารือ และจุดเน้นในการทำงานร่วมกันในอนาคต
การประชุม APMM 2 จะเป็นโอกาสสำคัญที่บรรดารัฐมนตรีในภูมิภาคจะได้หารือเกี่ยวกับความคืบหน้า รวมทั้งปัญหาและอุปสรรค เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายเรื่องโรคเอดส์ ภายหลังจากการประชุม APMM ครั้งที่ 1 ณ นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี 2544 นอกจากนี้ APMM 2 ยังเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใหม่ๆ และหารือถึงโอกาสในการเพิ่มความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ ซึ่งทั้งหมดจะเป็นการย้ำบทบาทสำคัญของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในการต่อสู้กับโรคเอดส์
4. การประชุมโต๊ะกลมระดับผู้นำว่าด้วยโรคเอดส์ ครั้งที่ 1 (The Bangkok Summit 2004: Leaderships on HIV/AIDS) จะจัดขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาล ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2547 โดยมี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และมีผู้นำจากประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งเลขาธิการ สหประชาชาติเข้าร่วมประชุม ที่ประชุมจะหารือกันใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การสร้างคนรุ่นใหม่ที่ปลอดจากเชื้อ HIV (HIV Free Generation) 2) การเอาชนะอุปสรรคด้านการกีดกันผู้ติดเชื้อเอดส์ออกจากสังคม และการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอดส์ (Overcome Stigma and Discrimination) 3) การเข้าถึงการป้องกัน การรักษา และผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ในการรักษาโรคเอดส์ (Access for All to Products, Prevention, and Care) ประเทศไทยได้เชิญผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ เลขาธิการสหประชาชาติ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป รวมทั้งผู้นำจากหลายประเทศ ได้แก่ จีน รัสเซีย แคนาดา บราซิล บอตสวานา ไนจีเรีย รวันดา และ ยูกันดา
5. การประชุมทั้ง 3 กรอบจะเป็นเวทีที่ไทยจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความสำเร็จของไทยในการป้องกันและแก้ปัญหาโรคเอดส์ผ่านโครงการต่างๆ โดยไทยพร้อมที่จะให้ข้อเสนอแนะและความช่วยเหลือแก่ประเทศต่างๆ นอกจากนี้ สิ่งที่ไทยคาดหวังว่าจะได้จากการประชุมคือการเพิ่มความสำคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศในปัญหาเรื่องโรคเอดส์ที่มีลักษณะข้ามพรมแดน เพราะไม่มีประเทศใดที่จะสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ แต่ทุกประเทศจะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังในทุกๆ ด้าน โดยรัฐบาลจะต้องร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศและองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานในระดับรากหญ้า ในการสร้างนโยบายที่มีประสิทธิภาพและแนวทางการดำเนินงานที่ปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งขอความร่วมมือจากสื่อมวลชนทั่วโลก ในการช่วยสร้างความตื่นตัวเรื่องปัญหาโรคเอดส์ต่อสาธารณชนโดยทั่วไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-