แนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำบางปะกง เพื่อการผลิตน้ำประปา

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 23, 2004 14:28 —สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ความเห็นและข้อเสนอแนะ
เกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำบางปะกง
เพื่อการผลิตน้ำประปา
1. ความเป็นมา
จากการที่แหล่งชุมชน เขตเมือง เขตประกอบกิจกรรมอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่
จะตั้งอยู่บริเวณริมสองฝั่งของแม่น้ำที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่น้ำสายหลักที่ไหลลงสู่อ่าวไทย ได้แก่
แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง ซึ่งบริเวณลุ่มน้ำตอนกลางและตอน
ล่างของแม่น้ำดังกล่าวยังเป็นที่ที่เหมาะสมต่อการเกษตร ทั้งการเพาะปลูก และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
จึงทำให้บริเวณดังกล่าวมีความต้องการใช้น้ำมากในหลายกิจกรรมด้วยกัน รวมถึงการปล่อยน้ำเพื่อ
ผลักดันหรือควบคุมน้ำเค็ม และผลักดันน้ำเสียให้ออกสู่ทะเลโดยเร็ว นอกจากนั้นจากการขยายตัวของ
ชุมชน เขตเมือง และการประกอบการอุตสาหกรรม ทำให้มีความต้องการใช้น้ำเพื่อผลิตน้ำประปา
มากยิ่งขึ้นตามลำดับ ซึ่งแต่เดิมนั้นการนำน้ำมาใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคและอุตสาหกรรม บางส่วน
สามารถใช้น้ำจากแหล่งน้ำบาดาลได้ ปัจจุบันนโยบายของรัฐ จำเป็นต้องมีการชะลอการใช้น้ำบาดาล
และจะพัฒนาการผลิตประปาจากแหล่งน้ำผิวดินไปใช้แทน จึงทำให้มีความต้องการใช้น้ำดิบจากแหล่งน้ำ
ผิวดินมากขึ้นทั้งการประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค นลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้มีกิจกรรม
การใช้น้ำมากยิ่งขึ้น ทั้งด้านการชลประทาน อุปโภคบริโภคและอุตสาหกรรม จนถึงขั้นที่จะใช้น้ำดิบ
จากแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับการประปาในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลไม่พอเพียง จึงได้เริ่ม
มีการผันน้ำจากแม่น้ำแม่กลองจากบริเวณเหนือเขื่อนแม่กลองมาใช้เพื่อผลิตประปาของกรุงเทพฝั่ง
ตะวันตก และต่อไปคาดว่าจะต้องมีการผันน้ำมาช่วยเสริมการประปาของลุ่มน้ำท่าจีนด้วย สำหรับ
แม่น้ำบางปะกงปัจจุบันในช่วงฤดูแล้งมีปริมาณน้ำค่อนข้างจำกัด ในอนาคตคาดว่าจะมีปัญหาเรื่อง
การนำน้ำไปใช้เพื่อกิจกรรมประปา ทั้งในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และอาจรวมถึงบางส่วนของ
พื้นที่โดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ ดังนั้นการผันน้ำไปใช้ในลุ่มน้ำอื่นอาจจะส่งผลกระทบไม่มากก็น้อย
ต่อการใช้น้ำในลุ่มน้ำเดิม จึงสมควรที่จะต้องศึกษา ติดตาม อย่างใกล้ชิด เพื่อหาแนวทางที่แก้ไข
ผลกระทบก่อนที่จะสายเกินไป
การนำน้ำดิบจากแม่น้ำหลักทั้ง 4 สาย จำเป็นต้องคำนึงถึงด้านคุณภาพน้ำด้วย ซึ่งในปัจจุบัน
แม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง มีสภาวะคุณภาพน้ำที่เสื่อมโทรมลงตามลำดับ หากไม่รีบดำเนิน
การแก้ไข คาดว่าจะมีผลกระทบต่อการนำน้ำไปผลิตประปาได้ในอนาคต
2. การดำเนินงานของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยคณะทำงานศึกษาและอนุรักษ์แม่น้ำเจ้าพระยา
แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง ได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการนำน้ำดิบจาก
แม่น้ำที่สำคัญทั้ง 4 สาย มาใช้ในการผลิตน้ำประปา ทั้งกรณีปริมาณน้ำ คุณภาพน้ำ และการจัดสรรน้ำใน
อนาคต จึงได้จัดให้มีการเสวนาเรื่องการใช้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และ
แม่น้ำบางปะกง เพื่อผลิตน้ำประปา เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2547 และจากผลการเสวนาดังกล่าว ได้จัด
ให้มีกิจกรรมต่อเนื่อง เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขในหัวข้อเรื่องดังกล่าว โดยจัดให้มี
การประชุมกลุ่มย่อยเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2547 จากผลการประชุมเสวนา และการประชุมกลุ่มย่อย
ดังกล่าว จึงได้จัดทำเป็นความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการใช้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา
แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง เพื่อการผลิตน้ำประปา
3. ลักษณะภูมิศาสตร์และสถานภาพปัจจุบันของแม่น้ำสายหลัก
3.1 สภาพอุทกวิทยาและแหล่งน้ำ
1) ลุ่มน้ำเจ้าพระยา (สายหลัก)
ลุ่มน้ำเจ้าพระยา (สายหลัก) มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 20,125 ตร.กม. (ไม่รวม
ลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง ป่าสัก และท่าจีน) พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขต 11 จังหวัดในภาคกลาง
ได้แก่ นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง อยุธยา สระบุรี ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ
และกรุงเทพมหานคร มีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติเฉลี่ยรายปีที่เกิดจากลุ่มน้ำ 1,731.80 ล้าน ลบ.ม.
และปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติเฉลี่ยรายปีที่รวมลุ่มน้ำสาขาตอนบนคือลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง
ด้วยแล้วประมาณ 29,020.38 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันเนื่องจากการใช้น้ำในลุ่มน้ำสาขาตอนบน
ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายปีของแม่น้ำเจ้าพระยา (ไม่รวมลุ่มน้ำท่าจีนและแม่น้ำป่าสัก) ประมาณ
22,106 ล้าน ลบ.ม.
สำหรับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำประเภทเขื่อนเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ในลุ่มน้ำสาขาของ
แม่น้ำเจ้าพระยาที่สำคัญได้แก่ เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีความจุที่ระดับเก็บกักและความจุใช้การดังนี้
เขื่อนเก็บกักน้ำ ความจุที่ระดับเก็บกัก ความจุใช้การ ปีก่อสร้างแล้วเสร็จ
(ล้าน ลบ.ม.) (ล้าน ลบ.ม.)
เขื่อนภูมิพล 13,462 9,662 2507
เขื่อนสิริกิติ์ 9,510 6,660 2514
รวม 22,972 16,322 -
สำหรับเขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่มีอยู่ 2 แห่ง คือ เขื่อนทดน้ำเจ้าพระยา และ
เขื่อนทดน้ำนเรศวร ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2500 และ 2522 ตามลำดับ
2) ลุ่มน้ำท่าจีน
ลุ่มน้ำท่าจีน มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 13,681 ตร.กม. พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขต 8 จังหวัด ได้แก่
อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร อ่างทอง อยุธยา และนนทบุรี ลุ่มน้ำท่าจีนมีแม่น้ำสำคัญ
เพียงสายเดียว คือ แม่น้ำท่าจีน (ตอนต้นน้ำเรียกว่าแม่น้ำสุพรรณบุรี) โดยมีพื้นที่ลุ่มน้ำ เริ่มต้นที่จังหวัด
นครสวรรค์ แยกออกจากแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งขวาเหนือเขื่อนทดน้ำเจ้าพระยา ที่ตำบลมะขามเฒ่า
อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ไหลผ่านเขตจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม และออกสู่อ่าวไทยบริเวณ
จังหวัดสมุทรสาคร มีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายปีที่เกิดจากพื้นที่ลุ่มน้ำ 1,364.4 ล้าน ลบ.ม. โดยจาก
แม่น้ำกระเสียวประมาณ 318 ล้าน ลบ.ม. อย่างไรก็ดีปริมาณน้ำท่าของแม่น้ำท่าจีนขึ้นอยู่กับการ
ผันน้ำมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงฤดูแล้ง
เขื่อนเก็บกักน้ำที่สำคัญในลุ่มน้ำท่าจีน ได้แก่ เขื่อนกระเสียว มีความจุอ่าง
ที่ระดับเก็บกัก 240 ล้าน ลบ.ม. ความจุใช้การ 200 ล้าน ลบ.ม. ก่อสร้างที่อำเภอด่านช้าง
จังหวัดสุพรรณบุรี แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2524
3) ลุ่มน้ำแม่กลอง
ลุ่มน้ำแม่กลองมีพื้นที่ลุ่มน้ำ 30,836 ตร.กม. ครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่
กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม บางส่วนของจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร อุทัยธานี และ ตาก
ปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ย 15,130 ล้าน ลบ.ม. ลุ่มน้ำแม่กลองมีลำน้ำสาขาที่สำคัญตอนบนได้แก่ แม่น้ำ
แควใหญ่ และแม่น้ำแควน้อย ไหลมาบรรจบกันที่บ้านปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
รวมเป็นแม่น้ำแม่กลอง ไหลผ่านจังหวัดราชบุรี และออกสู่อ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรสงคราม
เขื่อนเก็บกักน้ำที่สำคัญในลุ่มน้ำแม่กลอง ได้แก่ เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อน
วิชราลงกรณ์ (เขื่อนเขาแหลม) และมีเขื่อนทดน้ำแม่กลองตั้งอยู่ที่อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
เขื่อนเก็บกักน้ำ ความจุที่ระดับเก็บกัก ความจุใช้การ ปีก่อสร้างแล้วเสร็จ
(ล้าน ลบ.ม.) (ล้าน ลบ.ม.)
1. เขื่อนศรีนครินทร์ 17,745 7,470 2521
2. เขื่อนวชิราลงกรณ์ 8,860 5,848 2528
รวม 26,605 13,318 -
4) ลุ่มน้ำบางปะกง
ลุ่มน้ำบางปะกง มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 7,978 ตารางกิโลเมตร (ไม่รวมลุ่มน้ำปราจีนบุรี)
ครอบคลุมจังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ชลบุรี และนครนายก มีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายปี 3,344 ล้านลบ.ม.
และเมื่อรวมปริมาณน้ำท่าจากลุ่มน้ำปราจีนบุรีด้วยประมาณ 8,508 ล้าน ลบ.ม. สามารถแบ่งออกเป็น
4 ลุ่มน้ำย่อย ได้แก่ แม่น้ำนครนายก คลองท่าลาด คลองหลวง และแม่น้ำบางปะกงสายหลัก
3.2 สภาพการใช้น้ำในเขตลุ่มน้ำที่ศึกษา
1) การใช้น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา
ในปัจจุบัน ปัญหาเกี่ยวกับการขาดแคลนน้ำของโครงการชลประทานเจ้าพระยา
ใหญ่และโครงการชลประทานพิษณุโลกมีเพิ่มมากขึ้น น้ำใช้เพื่อการเพาะปลูก ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค
ตลอดจนน้ำใช้ในกิจการอุตสาหกรรม และอื่นๆ ในท้องที่ต่างๆ ทั่วเขตโครงการมีความต้องการมากกว่าเดิม
ขณะที่ปริมาณน้ำต้นทุนซึ่งเขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ที่ระบายลงมาให้กำลังมีสภาพลดลง
เป็นที่น่าวิตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้ง จึงเป็นเหตุให้หลายท้องที่ต้องประสบกับความเดือดร้อน
เนื่องจากขาดแคลนน้ำเป็นประจำ ซึ่งนับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี สภาพการใช้น้ำของกิจกรรม
ต่างๆ ในเขตโครงการชลประทานเจ้าพระยาใหญ่และโครงการพิษณุโลก สรุปได้ดังนี้
(1) ปริมาณน้ำเพื่อการผลักดันน้ำเค็ม
- บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา 50 ลบ.ม./วินาที ประมาณปีละ 1,580 ล้าน ลบ.ม.
- บริเวณปากแม่น้ำท่าจีน 30 ลบ.ม./วินาที ประมาณปีละ 946 ล้าน ลบ.ม.
(2) เพื่อการผลิตน้ำประปาของการประปานครหลวงในเขตกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล ประมาณ 60 ลบ.ม./วินาที ประมาณปีละ 1,892 ล้าน ลบ.ม.
(3) เพื่อการเกษตรในเขตโครงการชลประทานพิษณุโลก และโครงการ
เจ้าพระยาใหญ่ ซึ่งรวมทั้งน้ำอุปโภคบริโภคในพื้นที่โครงการด้วย
- ฤดูนาปี ปีละประมาณ 4,000 ล้าน ลบ.ม.
- ฤดูนาปรัง ปีละประมาณ 4,000 — 6,000 ล้าน ลบ.ม.
2) การใช้น้ำจากแม่น้ำท่าจีน
สภาพน้ำท่าของแม่น้ำท่าจีนในฤดูแล้งจะมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ระบายมาจาก
อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์เป็นส่วนใหญ่ ส่วนในฤดูฝนจะมีน้ำท่าส่วนหนึ่งจากพื้นที่ทิศตะวันตกของ
ลุ่มน้ำไหลลงแม่น้ำท่าจีนรวมกับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ดังนั้นปริมาณน้ำต้นทุนของแม่น้ำท่าจีนโดยเฉพาะ
ในฤดูแล้งจึงเป็นน้ำต้นทุนเดียวกันกับของแม่น้ำเจ้าพระยา ในการนำน้ำจากแม่น้ำท่าจีนมาใช้
จึงไม่ได้เป็นการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน ยกเว้นในฤดูฝนที่มีน้ำท่าจากพื้นที่ฝั่งตะวันตกของลุ่มน้ำท่าจีนเอง
3) การใช้น้ำจากแม่น้ำแม่กลอง
(1) ปริมาณน้ำเพื่อการชลประทาน พื้นที่เพาะปลูกฤดูฝน และพื้นที่เพาะปลูก
ฤดูแล้ง ในปัจจุบัน มีรายละเอียดดังนี้
ช่วงฤดู พื้นที่เพาะปลูก (ไร่)
ข้าว อ้อย พืชไร่ - พืชผัก ไม้ผล
ฤดูฝน 1,200,000 700,000 200,000 300,000
ฤดูแล้ง 600,000 700,000 200,000 300,000
หมายเหตุ : ปี พ.ศ. 2541 เพาะปลูกข้าวนาปรังสูงถึง 650,000 ไร่
(2) ปริมาณน้ำระบายท้ายเขื่อนแม่กลองเพื่อผลักดันน้ำเค็มประมาณ
40 ลบ.ม. ต่อวินาที
(3) การผันน้ำจากแม่น้ำแม่กลองเหนือเขื่อนแม่กลองไปใช้ในเขตโครงการ
ชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกตอนล่าง และผลักดันน้ำเค็มที่ปากแม่น้ำท่าจีน ซึ่งประกอบด้วย
- คลองท่าสาร — บางปลา (รับน้ำจากคลอง 1 ซ้าย) ประมาณ 30 ลบ.ม. ต่อวินาที
- คลองจรเข้สามพัน (รับน้ำจากหน้าเขื่อนแม่กลอง) ประมาณ 50 ลบ.ม. ต่อวินาที
นอกจากนี้ยังมีการนำน้ำจากคลองจรเข้สามพันไปใช้เพื่อการเพาะปลูกนอกเขตโครงการชลประทานแม่กลอง
โดยการสูบน้ำอีกด้วย
(4) ศักยภาพการผันน้ำจากแม่น้ำแม่กลองบริเวณเหนือเขื่อนแม่กลอง เพื่อการ
ประปานครหลวงในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตะวันตก ประมาณ 45 ลบ.ม./วินาที
4. คุณภาพน้ำ
จากข้อมูลการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายต่าง ๆ ของกรมควบคุมมลพิษ
ในช่วงปี 2544 — 2545 พอสรุปสถานการณ์คุณภาพน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง
และแม่น้ำบางปะกง โดยการกำหนดเป็นประเภทคุณภาพของแหล่งน้ำได้ดังนี้
แม่น้ำ เขตควบคุมมาตรฐานคุณภาพน้ำ ประเภทคุณภาพของแหล่งน้ำ
(กิโลเมตร จากปากแม่น้ำ) (ตามมาตรฐานคุณภาพในแหล่งน้ำผิวดิน)
แม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงที่ 1 จากองค์พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ 4
ถึง ศาลากลาง จ.นนทบุรีหลังเก่า
(กม.ที่ 7 ถึง 62)
ช่วงที่ 2 จากศาลากลาง จ.นนทบุรีหลังเก่า 3
ถึง ป้อมเพชร จ.พระนครศรีอยุธยา
(กม. ที่ 62 ถึง 142)
ช่วงที่ 3 จากป้อมเพชร จ.พระนครศรีอยุธยา 2
ถึง จุดเริ่มต้นของแม่น้ำเจ้าพระยา
จ.นครสวรรค์ (กม.ที่ 142 ถึง 379)
แม่น้ำท่าจีน ช่วงที่ 1 จากปากแม่น้ำอ.เมือง จ.สมุทรสาคร 4
ถึง ที่ว่าการ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
(กม. ที่ 0 ถึง 82)
ช่วงที่ 2 จากที่ว่าการ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม 3
ถึงประตูระบายน้ำโพธิ์พระยา อ.เมือง
จ.สุพรรณบุรี (กม. ที่ 82 ถึง 202)
ช่วงที่ 3 จากประตูระบายน้ำโพธิ์พระยา จ.นครปฐม 2
ถึงบ้านปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์
จ.ชัยนาท (กม. ที่ 202 ถึง 325)
แม่น้ำแม่กลอง บริเวณปากแม่น้ำ(คลังน้ำมันเชลล์) จ.สมุทรสงคราม 3
(กม. ที่ 0) ถึง บริเวณบ้านปากแพรก อ.เมือง
จ.กาญจนบุรี (กม. ที่ 140)
แม่น้ำบางปะกง ตั้งแต่ปากแม่น้ำ คลังน้ำมันของการไฟฟ้า 3
ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ต.ท่าข้าม อ.บางปะกง
จ.ฉะเชิงเทรา ถึงจุดบรรจบของแม่น้ำนครนายก
และปราจีนบุรี ที่ ต.บางแตน อ.บ้านสร้าง
จ.ปราจีนบุรี รวมระยะทาง 122 กิโลเมตร
5. การดำเนินงานการผลิตน้ำประปา
5.1 การประปานครหลวง (กปน.)
การประปานครหลวงมีแผนบริการ (ฉบับปรังปรุงปี พ.ศ. 2546 ของการประปา
นครหลวง) ถึงปี พ.ศ. 2560 โดยในปี พ.ศ. 2560 จะมีกำลังผลิต 6.32 ล้านลูกบาศก์เมตร/วัน
จ่ายน้ำให้ประชาชนในพื้นที่บริการทั้งหมด 3 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ
ได้ประมาณ 9.20 ล้านคน ถึงแม้ว่าการประปานครหลวงจะมีแผนบริการถึงแค่ปี พ.ศ. 2560 แต่ว่า
ความสามารถขยายกำลังการผลิตของการประปานครหลวงที่ได้เตรียมไว้สูงสุดถึง 7.75 ล้านลูกบาศก์
เมตรต่อวัน จ่ายน้ำให้ประชาชนได้ประมาณ 13 ล้านคน ปริมาณน้ำดิบที่ได้รับจัดสรรแล้ว 105ลูกบาศก์
เมตรต่อวินาที เพียงพอต่อการขยายกำลังการผลิตดังกล่าว ดังนั้นการประปานครหลวงสามารถจ่ายน้ำ
ประปาที่มีคุณภาพดีและปริมาณเพียงพอจนถึงปี พ.ศ. 2580 ดังแสดงในตาราง
แสดงแผนการให้บริการในอนาคตของการประปานครหลวง
พ.ศ. ผู้ใช้น้ำ น้ำผลิต น้ำจำหน่าย น้ำสูญเสีย กำลังการผลิต ปริมาณน้ำดิบ
ล้านคน)(ล้านลบ.ม./วัน)วัน(ล้านลบ.ม./วัน)วัน (ล้านลบ.ม./วัน)วัน(ล้านลบ.ม./วัน)(ลบ.ม./วินาที)
2545 6.70 4.12 2.66 36 4.72 52.50
2550 7.67 4.38 3.07 30 5.52 55.82
2560 9.20 5.24 3.67 30 6.32 66.74
2570 10.49 6.15 4.30 30 7.35 78.30
2580 13.00 7.05 4.93 30 7.75 90.00
ที่มา : แผนการให้บริการ พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2560 ของ กปน.
แผนการให้บริการ พ.ศ. 2560 — พ.ศ. 2580 ของ TEAM — AEC — MSI — SLC
1) ระบบน้ำดิบ
การประปานครหลวงได้น้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำ
เจ้าพระยาเป็นแหล่งน้ำดิบดั้งเดิมตั้งแต่เริ่มมีกิจการประปาในกรุงเทพมหานคร เมื่อปี2457 ส่วนแม่น้ำ
แม่กลองเป็นแหล่งน้ำดิบใหม่ ซึ่งเริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี 2544 ในปัจจุบันการประปานครหลวงใช้น้ำดิบ
ประมาณ 62 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และปริมาณน้ำดิบสูงสุดที่การประปานครหลวงได้รับจัดสรรเท่ากับ
105 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งเพียงพอต่อการวางแผนผลิตจ่ายน้ำประปาได้จนถึงปี พ.ศ. 2578
ดังแสดงในตาราง
แสดงการใช้น้ำดิบในปัจจุบัน
แหล่งน้ำดิบ ปริมาณน้ำดิบที่ใช้ปัจจุบัน ปริมาณน้ำดิบสูงสุดที่ได้รับจัดสรร
ลบ.ม./วินาที ล้าน ลบ.ม./วัน ลบ.ม./วินาที ล้าน ลบ.ม./วัน
แม่น้ำเจ้าพระยา 52 4.49 60 5.18
แม่น้ำแม่กลอง 8 0.69 45 3.89
รวม 60 5.18 105 9.07
ที่มา : รายงานการศึกษาเรื่องความเสี่ยงด้านปริมาณน้ำดิบของการประปานครหลวง พ.ศ. 2546
แหล่งน้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยา การประปานครหลวงสูบน้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยา
ที่บริเวณสำแล อำเภอเชียงรากน้อย จังหวัดปทุมธานี น้ำดิบจะถูกส่งมา ตามคลองส่งน้ำ (คลองประปา)
คลองในช่วงจากปากคลองที่สำแลถึงโรงผลิตน้ำบางเขน ยาวประมาณ 18 กิโลเมตร คลอง
มีขีดความสามารถส่งน้ำได้ 60 ลูกบาศก์เมตร / วินาที หรือ 5.18 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน
แหล่งน้ำดิบจากแม่น้ำแม่กลอง การประปานครหลวงได้สร้างคลองส่งน้ำมหาสวัสดิ์
เพื่อนำน้ำจากแม่น้ำแม่กลอง บริเวณเขื่อนแม่กลอง มาใช้ในการผลิตน้ำที่โรงผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ คลองส่งน้ำ
มหาสวัสดิ์ มีความยาวรวมทั้งสิ้น 107 กิโลเมตร และมีขีดความสามารถส่งน้ำได้ในอัตรา45 ลูกบาศก์
เมตรต่อวินาที หรือ 3.89 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน
สำหรับรายละเอียดแผนการใช้น้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำแม่กลองของ
การประปานครหลวงตั้งแต่ปี 2546 ถึง 2560 สรุปได้ดังนี้
แผนการใช้น้ำดิบของการประปานครหลวง
พ.ศ. ล้าน ลบ.ม./วัน ล้าน ลบ.ม./ปี ลบ.ม./วินาที
ฝั่งตะวันออก ฝั่งตะวันตก รวม ฝั่งตะวันออก ฝั่งตะวันตก รวม ฝั่งตะวันออก ฝั่งตะวันตก รวม
(เจ้าพระยา)(แม่กลอง) (เจ้าพระยา)(แม่กลอง) (เจ้าพระยา)(แม่กลอง)
2546 4.5 0.66 5.2 1643 241 1884 52 8 60
2549 4.9 0.88 5.8 1789 321 2110 57 10 67
2550 4.9 0.99 5.9 1789 361 2150 57 12 69
2554 4.9 1.32 6.2 1789 482 2271 57 15 72
2555 4.9 1.38 6.3 1789 504 2293 57 16 73
2559 4.9 1.51 6.4 1789 551 2340 57 18 75
2560 4.9 1.54 6.4 1789 562 2351 57 18 75
2) ระบบผลิตน้ำประปา
ระบบผลิตน้ำประปาของการประปานครหลวง ประกอบด้วยโรงงานผลิตน้ำประปา
4 แห่ง สามารถผลิตน้ำได้ 4.72 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวันในปัจจุบัน และสามารถก่อสร้างเพิ่มเป็น
7.75 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ได้ในอนาคต กำลังการผลิตของโรงงานผลิตน้ำประปาแต่ละแห่ง
ดังแสดงในตาราง
แสดงกำลังการผลิตน้ำประปาของการประปานครหลวง
โรงงานผลิตน้ำ กำลังการผลิตปัจจุบัน กำลังการผลิตสูงสุดที่ได้วางแผนไว้
(ล้านลบ.ม./วัน) ในอนาคต (ล้าน ลบ.ม./วัน)
ธนบุรี 0.17 -
สามเสน 0.55 0.55
บางเขน 3.20 4.00
มหาสวัสดิ์ 0.80 3.20
กำลังการผลิตรวม 4.72 7.75
ที่มา : รายงานการจัดทำแผนการลงทุนของการประปานครหลวง พ.ศ. 2546
3) ระบบจำหน่ายและบริการ
ระบบจำหน่ายและบริการของ กปน.แบ่งพื้นที่บริการเป็น 15 พื้นที่ แต่ละพื้นที่มี
สำนักงานประปาสาขารับผิดชอบในการบริการแก่ผู้ใช้น้ำ พื้นที่บริการในภาพรวมและข้อมูลพื้นฐานของ
พื้นที่บริการ ดังแสดงในตาราง
แสดงพื้นที่บริการของการประปานครหลวง
รายการข้อมูล กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ รวม
พื้นที่ทั้งหมด (ตารางกิโลเมตร) 1,568 621 1,003 3,192
จำนวนประชากร (ทะเบียนราษฎร์) คน 5,844,607 924,890 1,045,850 7,815,347
จำนวนครัวเรือน 2,020,019 388,552 392,606 2,801,177
(1) ความหนาแน่นประชากร 3,727 1,489 1,043 6,259
(คน/ตารางกิโลเมตร)
(2) พื้นที่จ่ายน้ำ (ตร.กม.) 1,026.9 264.3 223.9 1,515.1
อัตราร้อยละของพื้นที่จ่ายน้ำ 65.50 42.56 22.32 130.38
(2) จำนวนผู้ใช้น้ำประปา 1,219,688 210,080 110,435 1,540,203
รวมทุกกิจกรรม (ราย)
ที่มา : (1) ข้อมูลจาก กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (ธันวาคม พ.ศ. 2546)
(2) ข้อมูลจากการประปานครหลวง ณ มิถุนายน 2547
5.2 การประปาส่วนภูมิภาค
การประปาส่วนภูมิภาค ได้ดำเนินการผลิตน้ำประปาและบริการจ่ายน้ำในพื้นที่ต่างๆ
โดยแบ่งออกเป็น การประปาส่วนภูมิภาคดำเนินการเอง และการประปาส่วนภูมิภาคให้เอกชนดำเนินการ
หรือร่วมดำเนินการ ซึ่งพอสรุปการใช้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำ
บางปะกงได้ดังนี้
1) การประปาส่วนภูมิภาคดำเนินการเอง
การใช้น้ำดิบของการประปาต่าง ๆ จาก 4 แม่น้ำหลัก พอสรุปได้ดังนี้
แม่น้ำ ปริมาณการใช้น้ำดิบ
ลบ.ม./วัน ล้าน ลบ.ม./ปี
1. แม่น้ำเจ้าพระยา 208,828 76.22
2. แม่น้ำท่าจีน 67,443 24.62
3. แม่น้ำแม่กลอง 73,800 26.94
4. แม่น้ำบางปะกง 15,360 5.61
2) การประปาส่วนภูมิภาคให้เอกชนดำเนินการหรือร่วมดำเนินการ
(1) การประปาส่วนภูมิภาคให้เอกชนร่วมลงทุนดำเนินการในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี
(สำนักงานประปาปทุมธานี และรังสิต) โดย บริษัทปทุมธานี จำกัด ใช้แหล่งน้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยา
และได้เริ่มจ่ายน้ำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540
- ขนาดกำลังผลิตสูงสุด 288,000 ลบ.ม./วัน
- ปริมาณการจ่ายน้ำปัจจุบัน 190,000 ลบ.ม./วัน
- ปริมาณน้ำสามารถจ่ายในทุกพื้นที่ของจังหวัดปทุมธานี
(2) การประปาส่วนภูมิภาคให้เอกชนดำเนินการในพื้นที่จังหวัดนครปฐมและ
สมุทรสาคร (สำนักงานประปาสามพราน อ้อมน้อย และสมุทรสาคร)โดย บริษัทน้ำประปาไทย ใช้แหล่ง
น้ำดิบจากแม่น้ำท่าจีน ซึ่งได้เปิดดำเนินการเมื่อเดือนมกราคม 2547
- ขนาดกำลังผลิตสูงสุด 320,000 ลบ.ม./วัน
- ปริมาณน้ำสามารถจ่ายให้พื้นที่อำเภอสามพราน อำเภอนครชัยศรี กิ่งอำเภอพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร และเทศบาลที่ดำเนินการประปา
เองอยู่ ได้แก่ กระทุ่มแบน และสมุทรสาคร (มหาชัย) ในกรณีที่เทศบาลดังกล่าวขอซื้อน้ำสามารถจ่าย
ให้ได้ทันที
(3) การประปาของการประปาส่วนภูมิภาค ที่อยู่ใกล้กับพื้นที่รอบๆ สนามบิน
สุวรรณภูมิมี 2 แห่ง คือ
1. การประปาฉะเชิงเทรา ระบบผลิตน้ำประปากำลังการผลิตรวม 51,600 ลูกบาศก์
เมตรต่อวัน โดยมีบริษัทประปาฉะเชิงเทรา จำกัด ผลิตน้ำประปาจากแม่น้ำบางปะกงให้กับการประปา
ส่วนภูมิภาค กำลังผลิตสูงสุด 30,600 ลบ.ม./วัน
2. การประปาบางปะกง บริษัท ประปาบางปะกง จำกัด ผลิตน้ำประปาจากแม่น้ำ
บางปะกงให้กับการประปาส่วนภูมิภาค กำลังผลิตสูงสุด 19,200 ลบ.ม./วัน และการประปาส่วนภูมิภาค
ทำการปรับปรุงระบบผลิตน้ำประปาเพิ่มขึ้นเป็น 36,000 ลบ.ม./วัน ซึ่งกำลังดำเนินการก่อสร้าง คาดว่า
จะแล้วเสร็จปี พ.ศ. 2547
การประปาทั้ง 2 แห่ง บริษัท ยูนิเวอร์แซล ยูทิลิตี จำกัด ผลิตน้ำประปาจำหน่ายให้
การประปาส่วนภูมิภาค โดยรับน้ำดิบจากท่อส่งน้ำดิบของ East Water (น้ำดิบจากด้านเหนือเขื่อน
บางปะกง กำลังการผลิต 3,000 ลบ.ม./ชม.)
สำหรับการใช้น้ำดิบของบริษัท East Water ที่ใช้น้ำจากแม่น้ำบางปะกง เพื่อส่งจ่ายให้กับ
การประปาส่วนภูมิภาค และนิคมอุตสาหกรรมทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนผู้ประกอบการรายย่อยในเขต
พื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราและบางปะกง สรุปได้ดังนี้
แสดงความต้องการน้ำดิบ ของบริษัท East Water
ผู้ใช้น้ำ ปริมาณการใช้น้ำจากแม่น้ำบางปะกง (ล้าน ลบ.ม.)
2547 2548 2550 2553 2556
ผู้ใช้น้ำปัจจุบัน
1. การประปาฉะเชิงเทราและบางปะกง 6.120 7.604 8.385 9.707 11.237
2.นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์และอมตะนคร - 2.400 4.800 6.600 8.400
ผู้ใช้น้ำอนาคต
3. นิคมอุตสาหกรรมบางปูและลาดกระบัง - - 20.017 21.430 22.948
รวมทั้งหมด 6.120 10.004 33.202 37.737 42.585
(4) พื้นที่อื่นๆ
บริษัท ประปานครสวรรค์ ผลิตน้ำประปาให้กับการประปาส่วนภูมิภาค โดยใช้น้ำจากแม่น้ำ
เจ้าพระยาและแม่น้ำปิง กำลังผลิตสูงสุด 4,000 ลบ.ม./วัน
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ