(ต่อ1) แนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำบางปะกง เพื่อการผลิตน้ำประปา

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 23, 2004 14:28 —สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          บริษัท เอกคอมธารา จำกัด ผลิตน้ำประปาให้กับการประปาส่วนภูมิภาค โดยใช้น้ำจาก
แม่น้ำแม่กลอง กำลังผลิตสูงสุด 4,000 ลบ.ม./วัน
5.3 การใช้น้ำจากทางน้ำชลประทานที่จะต้องจ่ายค่าชลประทาน
กรมชลประทานได้อนุญาตให้ผู้ขอใช้น้ำจากทางน้ำชลประทานที่จะต้องจ่าย
ค่าชลประทานสำหรับน้ำชลประทานและอ่างเก็บน้ำที่อยู่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง และ
บางปะกง โดยแยกเป็นรายสำนักชลประทานได้ดังนี้
แสดงปริมาณน้ำที่ขออนุญาตใช้น้ำจากทางน้ำชลประทานที่จะต้องจ่ายค่าชลประทาน
สำนักชลประทาน จำนวนผู้ขออนุญาตใช้น้ำ(ราย) ปริมาณน้ำที่ขอใช้(ลบ.ม./เดือน)
1. สำนักชลประทานที่ 10 33 4,415,337
2. สำนักชลประทานที่ 11 9 137,600
3. สำนักชลประทานที่ 12 20 557,100
รวม 62 5,110,037
6. สภาพปัญหาการใช้น้ำดิบจาก 4 แม่น้ำหลัก มาผลิตน้ำประปา และการดำเนินงานด้านประปา
6.1 ปัญหาการใช้น้ำดิบของการประปานครหลวง
1) จากปัญหาการขาดแคลนน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณน้ำ
ที่จะนำไปใช้ในการผลิตน้ำประปาสำหรับประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบด้วย
กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ซึ่งมีแผนการที่จะต้องใช้น้ำดิบเพื่อผลิตประปา ใน
ปี พ.ศ. 2546 2550 2560เท่ากับ 60 69 และ75 ลบ.ม./วินาที ตามลำดับ ซึ่งกรมชลประทานสามารถ
จัดสรรน้ำให้การประปานครหลวงเพิ่มจากปัจจุบันได้ไม่เกิน 60 ลบ.ม./วินาที จึงมีความจำเป็นต้องหา
แหล่งน้ำเพิ่มเติม ซึ่งจากการศึกษาการพัฒนาและการจัดสรรน้ำของลุ่มน้ำแล้วพบว่า สามารถใช้น้ำจาก
ลุ่มน้ำแม่กลองซึ่งมีศักยภาพสูงเป็นแหล่งน้ำดิบเพิ่มเติมได้ โดยสามารถผันน้ำได้สูงสุด 45 ลบ.ม./วินาที
ทำให้แหล่งน้ำดิบของการประปานครหลวงทั้งจากแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำแม่กลองรวมกัน 105 ลบ.ม./วินาที
อย่างไรก็ดีจากแผนการใช้น้ำดิบของการประปานครหลวง จะมีความต้องการใช้น้ำจากแม่กลองตั้งแต่
8 ลบ.ม./วินาที ในปี พ.ศ. 2546 จนถึง 18 ลบ.ม./วินาที ในปี 2560 ดังนั้นจึงคาดว่าการ
ประปานครหลวงสามารถจ่ายน้ำประปาที่มีปริมาณเพียงพอจนถึงปี พ.ศ. 2580 ซึ่งมีความต้องการใช้
น้ำดิบประมาณ 90 ลบ.ม./วินาที โดยเป็นปริมาณน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา 60 ลบ.ม./วินาทีและ
จากแม่น้ำแม่กลอง 30 ลบ.ม./วินาที
2) จากผลการศึกษาที่ผ่านมา การผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลอง 45 ลบ.ม./วินาที โดย
การประปานครหลวงมาใช้ที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล คาดว่าจะไม่มีปัญหาในปัจจุบันและในอนาคต
อันใกล้นี้ แต่เนื่องจากในอนาคต การใช้น้ำในลุ่มน้ำแม่กลองจะมีมากขึ้นตามลำดับ ดังนั้นอาจจะมีปัญหา
ในเรื่องการผันน้ำมายังกรุงเทพมหานครได้
6.2 ปัญหาการใช้น้ำดิบของการประปาส่วนภูมิภาค
1) การประปาส่วนภูมิภาค ต้องการใช้น้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อผลิตประปา
เองประมาณ 208,828 ลบ.ม./วัน และร่วมลงทุนกับบริษัท ปทุมธานี จำกัด เพื่อผลิตน้ำประปา
สำหรับสำนักประปาปทุมธานี และสำนักประปารังสิตมีกำลังผลิตสูงสุด 288,000 ลบ.ม./วัน และ
บริษัท ประปานครสวรรค์ ใช้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำปิง มีกำลังผลิตสูงสุด 4,000 ลบ.ม./วัน
ดังนั้นการประปาส่วนภูมิภาคต้องการใช้น้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยาประมาณ 500,828 ลบ.ม./วัน
หรือประมาณ 5.80 ลบ.ม./วินาที อัตราการเพิ่มของการใช้น้ำทั้งประเด็นประชากรที่เพิ่มขึ้น
และการขยายพื้นที่อยู่อาศัย เป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาในข้อเท็จจริงและแนวโน้ม
2) การประปาส่วนภูมิภาค ต้องการใช้น้ำดิบจากแม่น้ำท่าจีนเพื่อผลิตน้ำประปาเอง
ประมาณ 67,443 ลบ.ม./วัน และได้ให้บริษัทน้ำประปาไทยดำเนินการผลิตน้ำประปาโดยใช้น้ำดิบ
จากแม่น้ำท่าจีนมีขนาดกำลังผลิตสูงสุด 320,000 ลบ.ม./วัน ดังนั้นจึงคาดว่าจะมีการใช้น้ำดิบจาก
แม่น้ำท่าจีนสำหรับประปาส่วนภูมิภาคประมาณ 387,443 ลบ.ม./วัน หรือประมาณ 4.48 ลบ.ม./วินาที
ซึ่งอาจจะมีปัญหาได้ เพราะปริมาณน้ำที่ผันมาจากเขื่อนชัยนาทเข้าสู่แม่น้ำท่าจีนมีจำนวนจำกัด และ
โรงกรองน้ำตั้งอยู่ในแหล่งมลพิษ ต้องเตรียมการที่จะผันน้ำจากเขื่อนแม่กลองที่อำเภอท่าม่วง จังหวัด
กาญจนบุรีมาช่วยในการผลิตน้ำประปาซึ่งการประปานครหลวง ได้ดำเนินการอยู่แล้ว
3) การประปาส่วนภูมิภาค ต้องการใช้น้ำดิบจากแม่น้ำแม่กลองสำหรับผลิตน้ำประปา
ประมาณ 73,800 ลบ.ม./วัน และได้ให้ บริษัท เอกคอมธารา ดำเนินการผลิตน้ำประปา โดยใช้
น้ำดิบจากแม่น้ำแม่กลอง กำลังผลิตสูงสุด 4,000 ลบ.ม./วัน ดังนั้นการประปาส่วนภูมิภาคต้องการใช้
น้ำดิบจากแม่น้ำแม่กลองประมาณ 77,800 ลบ.ม./วัน หรือประมาณ 0.90 ลบ.ม./วินาที แม่น้ำ
แม่กลองมีมลพิษน้อยที่สุดในจำนวน 25 แม่น้ำสำคัญของประเทศ เนื่องจากมีปริมาณน้ำจากเขื่อน
ศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ์ และเขื่อนแม่กลองเป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำแม่กลองอยู่ ดังนั้นจึง
ไม่น่าจะมีปัญหาในการผลิตน้ำประปา
4) การประปาส่วนภูมิภาค มีการประปาที่อยู่ใกล้กับพื้นที่รอบ ๆ สนามบินสุวรรณภูมิ
2 แห่ง ได้แก่ การประปาฉะเชิงเทรา และการประปาบางปะกง โดยการประปาฉะเชิงเทรามีระบบ
ผลิตน้ำประปากำลังผลิต 51,600 ลบ.ม./วัน ส่วนการประปาบางปะกงมีการปรับปรุงระบบผลิต
น้ำประปาเดิม 19,200 ลบ.ม./วัน เป็น 36,000 ลบ.ม./วัน กำลังดำเนินการก่อสร้างคาดว่า
จะแล้วเสร็จปี พ.ศ. 2547 การประปาทั้งสองแห่ง บริษัท ยูนิเวอร์แซล ยูทิลิตี จำกัด ผลิตน้ำ
ประปาแล้วจำหน่ายให้การประปาส่วนภูมิภาค โดยรับน้ำดิบจากท่อส่งน้ำดิบของบริษัท East Water
(น้ำดิบจากด้านเหนือเขื่อนทดน้ำบางปะกง) และจากการศึกษาของบริษัท East Water พบว่า
สามารถจ่ายน้ำดิบให้กับกลุ่มเป้าหมายทั้งผู้ใช้น้ำปัจจุบันและผู้ใช้น้ำในอนาคต รวม 6.12 ล้าน ลบ.ม./ปี
ในปี พ.ศ. 2547 และเพิ่มเป็น 42.59 ล้าน ลบ.ม./ปี ในปี พ.ศ. 2556 อย่างไรก็ดีในปัจจุบัน
ปริมาณน้ำบริเวณด้านเหนือเขื่อนทดน้ำบางปะกงมีจำนวนจำกัดมากในช่วงฤดูแล้ง จึงจำเป็นต้องนำน้ำ
จากเขื่อนคลองสียัดมาช่วยเสริมได้บ้าง แต่ก็จะเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น เนื่องจากน้ำจาก
เขื่อนคลองสียัดจากวัตถุประสงค์เดิมจะนำไปใช้ในการพัฒนาพื้นที่ชลประทานเปิดใหม่ในลุ่มน้ำคลองท่าลาด
ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดปัญหาการแย่งน้ำกันได้ในอนาคตหากไม่มีการแก้ไข รวมทั้งยังมีปัจจัยต่างๆที่ต้องคำนึง
ถึงอีกหลายประการได้แก่ น้ำทะเลขึ้นสูง เขื่อนบางปะกงไม่มีการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และ
เป้าหมาย อัตราการใช้น้ำเพิ่มสูงขึ้น และการสร้างเขื่อนเก็บน้ำไม่เป็นไปตามแผนงานของกรมชลประทาน
6.3 ปัญหาด้านคุณภาพน้ำสำหรับการผลิตน้ำประปา
1) แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างและตอนกลาง จะเป็นแหล่งน้ำดิบหลักของการประปา
นครหลวง เนื่องจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของประชากร เขตประกอบการอุตสาหกรรม การขาด
การวางแผนการใช้ที่ดินและการจัดการน้ำเสียที่เหมาะสม ทำให้แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างมีการปนเปื้อน
สูงขึ้นจากการได้รับน้ำเสียจากชุมชนและกิจกรรมอุตสาหกรรมของประเภทต่าง ๆ ดังนั้นหากไม่มีการควบคุม
น้ำเสียจากชุมชนและน้ำเสียจากกิจกรรมอุตสาหกรรมอย่างเข้มงวดแล้ว แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างและ
ตอนกลางจะประสบกับภาวะเน่าเสียจนถึงขั้นมีผลกระทบต่อการผลิตน้ำประปาได้
2) แม่น้ำท่าจีนตอนล่างและตอนกลาง ปัจจุบันคุณภาพน้ำค่อนข้างวิกฤต โดยมีสาเหตุ
สำคัญมาจากการระบายน้ำเสียของแหล่งชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม และฟาร์มสุกรที่มีอยู่หนาแน่นใน
บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ดังนั้นคุณภาพน้ำในแม่น้ำท่าจีนจะมีผลต่อการผลิตน้ำประปาหากไม่มี
มาตรการแก้ไขอย่างมีประสิทธิผล
3) สำหรับแม่น้ำแม่กลอง คุณภาพน้ำไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก และมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์
ค่อนข้างดี เหมาะสมที่จะเป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับผลิตประปา อย่างไรก็ดีจำเป็นต้องมีการควบคุมการ
ระบายน้ำเสียและน้ำทิ้งจากแหล่งชุมชนที่มีอยู่หนาแน่นบริเวณริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง เนื่องจากจะทำให้
ปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นได้ในอนาคต
4) สำหรับแม่น้ำบางปะกง คุณภาพน้ำอยู่ในสภาวะที่จะต้องมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
โดยเฉพาะหากมีการปิดบานระบายของเขื่อนทดน้ำบางปะกงเพื่อป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มขึ้นไปทางด้าน
เหนือน้ำ รวมทั้งการเร่งสร้างแหล่งเก็บน้ำจืด บริเวณเหนือเขื่อนทดน้ำบางปะกงตามแผนของกรมชลประทาน
6.4 ปัญหาด้านอัตราการใช้น้ำและความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้น
1) จากการที่ประชากรของประเทศเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้น
ทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท
2) เมื่อเขตชุมชนเติบโตและยกระดับสูงขึ้น เป็นเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง
เทศบาลนคร และเมืองที่มีการปกครองพิเศษ เช่น ภูเก็ต พัทยา อัตราการใช้น้ำต่อวันต่อคนจะเพิ่มมากขึ้น
ตามไปด้วย ทำให้มีความต้องการใช้น้ำเพิ่มทวีขึ้น
6.5 ปัญหาด้านแหล่งน้ำดิบ
1) ในอดีตแหล่งน้ำสำคัญที่ใช้ผลิตน้ำประปาในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
และเมืองต่างๆ ในบริเวณภาคกลางตอนล่าง ได้แก่ น้ำใต้ดิน ในปัจจุบันได้เกิดปัญหาแผ่นดินทรุด และมีน้ำเค็ม
รุกล้ำเข้ามาบริเวณชั้นน้ำบาดาล เนื่องจากการสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้เกินขีดสมดุลตามธรรมชาติ ทำให้รัฐบาล
มีนโยบายให้ชะลอการสูบน้ำบาดาล และจะยกเลิกการสูบน้ำบาดาลเมื่อมีประปาผิวดินเข้าถึง ดั้งนั้นในหลาย
พื้นที่จะมีการขาดแคลนแหล่งน้ำผิวดินสำหรับการผลิตประปา และในอนาคตคาดว่าจะมีการขาดแคลนแหล่ง
น้ำดิบมากขึ้น จนถึงขั้นต้องมีการผันน้ำข้ามลุ่มมาใช้กัน
2) เกิดปัญหาในการจัดการ ควบคุม และบริหารแหล่งน้ำดิบ ระหว่างภาครัฐ
และภาคเอกชน
6.6 ปัญหาด้านการลงทุนในการผลิตและการจำหน่าย
1) มีขั้นตอน กระบวนการ และเงื่อนไขต่างๆ ที่ซับซ้อน ในการที่จะร่วมลงทุนในการ
ผลิตและการจำหน่าย คือ ด้วยตัวกฎหมาย พรบ. กปน. กปภ. และ ปว.58 ระบุว่า เมื่อเอกชนร่วมลงทุนกับ
กปภ. จะต้องขอสัมปทานตาม ปว.58 ด้วย
2) ด้วยข้อจำกัดของการลงทุนที่ต้องแสวงหากำไร ซึ่งเป็นแนวทางที่ไม่ถูกต้อง และ
ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค
6.7 ปัญหาด้านการบริหารจัดการ
1) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเป็นอำนาจของรัฐ โดยที่ภาคเอกชนและประชาชน
ไม่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเท่าที่ควร ทำให้เกิดความไม่สอดคล้องสัมพันธ์ ไม่สามารถตอบสนองต่อ
ความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง
2) การบริหารจัดการประปาไม่เป็นระบบ โดยมีทั้งประปาส่วนภูมิภาค ประปานครหลวง
ประปาท้องถิ่น ประปาหมู่บ้านจัดสรรซึ่งเป็นของเอกชน ซึ่งต่างคนต่างทำ ไม่มีการวางแผนเชิงนโยบายที่
สอดคล้องกัน
3) กฎหมายในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับการประปายังมีความทับซ้อนกัน ขาดความชัดเจน
4) ขาดองค์กรวางแผนในระดับชาติ และขาดบุคลากรในการทำหน้าที่กำกับดูแล ซึ่งถึง
แม้ว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลกิจการประปาแห่งชาติแล้วก็ตาม สามารถ
ดำเนินการได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากไม่มีกฎหมายรองรับในการปฏิบัติงาน
5) ขาดการบริหารจัดการแบบบูรณาการ ขาดการวางแผนในเชิงนโยบาย ขาดการมอง
ภาพรวม และขาดการประสานงานกันในด้านต่างๆ
6.8 ปัญหาด้านความเป็นธรรมกับผู้ด้อยโอกาสในอันที่จะใช้น้ำ
น้ำประปาเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานซึ่งรัฐต้องจัดให้กับประชากรของประเทศอย่าง
ทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ด้อยโอกาสของประเทศ
1) ในการบริหารจัดการยังไม่ได้มองในเรื่องประชากรที่ยังไม่มีโอกาสได้รับบริการ
และโอกาสในการใช้น้ำ
2) ประชาชนไม่มีเงินจ่ายค่าธรรมเนียมต่างๆในการขอใช้น้ำประปา ทำให้เสียโอกาส
ในการใช้น้ำประปา
3) เรื่องน้ำประปายังเป็นบริการขั้นพื้นฐาน ที่ไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประปาหมู่บ้าน
ในชนบทที่ยังก่อสร้างไม่ทั่วถึง และยังไม่มีเจ้าภาพดำเนินการหรือรับผิดชอบที่แท้จริง เมื่อเทียบกับการ
ประปาส่วนภูมิภาค และการประปานครหลวงที่ให้บริการแก่ประชาชนในเขตเมือง
6.9 ปัญหาด้านความเป็นธรรมในเรื่องค่าน้ำ
1) นโยบายเรื่องค่าน้ำยังขาดความชัดเจนและไม่เป็นธรรมเท่าที่ควร
2) แนวทางการกำหนดค่าน้ำแต่ละ Sector ยังเหลื่อมล้ำ และขาดมาตรฐานและ
เกณฑ์กำหนด
6.10 ปัญหาด้านน้ำต้นทุนและต้นทุนของน้ำ
1) จากการพัฒนาในด้านต่างๆ ทำให้มีความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้มี
การใช้น้ำมากกว่าปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่
2) จากการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ทำให้ค่าใช้จ่ายในส่วนต้นทุนของน้ำเพิ่มมากขึ้น
3) ประชาชนยังขาดความเข้าใจในเรื่องน้ำต้นทุนและต้นทุนของน้ำ ทำให้เกิดปัญหา
ความขัดแย้งในเรื่องการแย่งชิงน้ำ
6.11 ปัญหาด้านผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะ
1) จากการที่มีกฎหมายกระจายอำนาจ ทำให้การทำผังเมืองเฉพาะต้องกระจายให้
ท้องถิ่น ซึ่งในทางปฏิบัติยังใช้ไม่ได้ผล บุคลากรในท้องถิ่นยังมีศักยภาพไม่เพียงพอ
2) จาการที่มีผังเมือง ถ้าทำตามที่ผังเมืองกำหนดจะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้
แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ ประชาชนไม่เข้าใจเรื่องผังเมือง
3) แนวคิดที่จะใช้ผังเมืองเพื่ออนุรักษ์แหล่งน้ำเป็นแนวคิดที่ถูกต้อง แต่ในทางปฏิบัติทำได้ยาก
6.12 ปัญหาด้านคณะกรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลกิจการประปาแห่งชาติ
1) บทบาท อำนาจ หน้าที่ ของคณะกรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลกิจการ
ประปาแห่งชาติ ยังไม่ชัดเจน ไม่เป็นรูปธรรม และส่วนใหญ่จะเน้นบทบาทที่เกี่ยวข้องกับประปาส่วนภูมิภาค
และประปานครหลวงเท่านั้น
2) ขาดการประสานกันระหว่างคณะกรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลกิจการประปา
แห่งชาติ และคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติหรือคณะกรรมการลุ่มน้ำอย่างใกล้ชิด
6.13 ปัญหาด้านรูปแบบการบริหารจัดการน้ำดิบ
1) ขาดรูปแบบการบริหารจัดการน้ำดิบระหว่างภาครัฐและเอกชน
2) ปัญหาการดำเนินการในเรื่องแหล่งน้ำดิบของ East Water
7. แนวทางในการแก้ไขปัญหา
7.1 มาตรการด้านบริหารจัดการ
1) จัดทำแผนแม่บทแบบบูรณาการทรัพยากรน้ำทั้งในและนอกลุ่มน้ำทั้งหมด และมองการ
จัดการแบบภาพรวม เพื่อความเป็นระบบและครอบคลุมในด้านการพัฒนา จัดหาน้ำต้นทุน การจัดสรรน้ำ
รวมทั้งการมีส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำให้มากขึ้น เป็นแผนระยะยาวควบคู่กับการวางแผนการใช้ที่ดินและการ
ขยายตัวของสังคมและเศรษฐกิจในทุกๆ ด้าน
2) ผลักดันให้มีการจัดหาน้ำต้นทุนเพิ่มขึ้นให้เต็มศักยภาพ ให้มีความเหมาะสมกับระบบ
นิเวศวิทยา และการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งในด้านการจัดหาแหล่งน้ำดิบ และการผันน้ำเพื่อผลิตน้ำประปา
รวมทั้งการพิจารณาเพิ่มปริมาณน้ำจืดโดยการสร้างเขื่อน และอ่างเก็บน้ำเพิ่มจากที่มีอยู่เดิมภายใต้การ
คำนึงถึงหลักการ เหตุผลและความจำเป็น
3) รณรงค์และเร่งรัดในเรื่องการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียสำหรับเมืองและเขตที่มี
ชุมชนหนาแน่น และส่งเสริมให้มีการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียในแม่น้ำและลำน้ำธรรมชาติต่างๆ
4) ควรปฏิรูปองค์กรเกี่ยวกับการวางแผนการบริหารจัดการประปา ตั้งแต่ระดับชาติ
จนถึงระดับท้องถิ่น เพื่อให้การพัฒนามีความต่อเนื่อง และตอบสนองความต้องการใช้น้ำได้อย่างทั่วถึงและ
เพียงพอ
5) ควรมีการกระจายอำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบ รวมทั้งเสริมสร้างสมรรถนะ
แก่เจ้าหน้าที่ องค์กรปกครองท้องถิ่น
6) ควรผลักดันให้มีการประกาศใช้ผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะในทุกพื้นที่ สนับสนุน
แนวคิดที่จะใช้ผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะเพื่อการอนุรักษ์แหล่งน้ำ และรณรงค์ให้ประชาชนได้เข้าใจ
ในแนวคิดนี้
7) ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้และสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนทั้งในเรื่องแหล่งน้ำ
ที่มีอยู่ และการใช้น้ำของลุ่มน้ำของตนเอง และต้องตกลงกับชุมชนในลุ่มน้ำอื่น ถ้าหากต้องดึงน้ำจากลุ่มน้ำ
อื่นมาใช้ โดยมีการชดใช้ตามข้อตกลงที่คณะกรรมการลุ่มน้ำเห็นชอบ
8) ปรับปรุงอำนาจ หน้าที่ ของคณะกรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลกิจการ
ประปาแห่งชาติให้มีความชัดเจนในแง่การปฏิบัติและให้มีการประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ เพิ่มขึ้น และ
ให้ครอบคลุมถึงการประปาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน
9) ควรมีนโยบายในเรื่องการให้ความเป็นธรรมกับผู้ด้อยโอกาสในอันที่จะใช้น้ำ และ
ให้ความเป็นธรรมในเรื่องค่าน้ำโดยคำนึงถึงรายได้ของผู้ใช้น้ำด้วย
7.2 มาตรการด้านการลงทุน
1) จัดให้มีระบบประปาอย่างทั่วถึง โดยให้เป็นการบริการขั้นพื้นฐาน ไม่ใช่เพื่อแสวงหากำไร
2) สนับสนุนการลงทุนของราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจและเอกชน ในการจัดหาแหล่ง
น้ำดิบและการก่อสร้างระบบประปา
3) ศึกษาในเรื่องการผันน้ำเพื่อการผลิตน้ำประปา ทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพ และ
ค่าใช้จ่ายโดยไม่มีผลกระทบต่อการใช้น้ำของลุ่มน้ำที่จะผันน้ำ
7.3 มาตรการด้านกฎหมาย
1) ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการประปาให้มีความชัดเจนและไม่ทับซ้อนกันในทางปฏิบัติ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระราชบัญญัติประปานครหลวง พระราชบัญญัติประปาส่วนภูมิภาค และประกาศคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ 58 ฯ
2) กระจายความรับผิดชอบการจัดการเรื่องน้ำประปาสู่ราชการส่วนท้องถิ่น
3) ออกกฎหมายบังคับให้อาคารต่างๆที่สร้างใหม่ใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำ เช่นก๊อกน้ำ
ฝักบัว เครื่องซักผ้า เครื่องล้างจาน เป็นต้น
7.4 มาตรการด้านการส่งเสริม
1) ร่วมมือกับเอกชนและองค์กรต่างๆ รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนมีความรู้
ความเข้าใจ และมีส่วนรับผิดชอบในการจัดการระบบประปา
2) สนับสนุนการวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบประปา เพื่อส่งเสริมพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย
3) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของน้ำ และคุณภาพของน้ำ
ซึ่งเป็นแหล่งน้ำต้นทุนในการผลิตน้ำประปา
4) ส่งเสริม และรณรงค์เผยแพร่ให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัด และรู้คุณค่าของน้ำโดยพิมพ์
เป็นคู่มือแจกจ่าย
5) ส่งเสริมและสนับสนุนให้โรงงานอุตสาหกรรมนำน้ำที่ใช้แล้วกลับนำมาใช้ใหม่โดยให้
สิ่งจูงใจในการลดภาษีบางประเภทเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำประปา โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
ในเขตนิคมอุตสาหกรรม หรือเขตอุตสาหกรรมต่างๆที่มีการใช้น้ำในขบวนการผลิตปริมาณมาก ควรมีมาตรการ
สนับสนุนให้มีโครงการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อใช้ในระบบสาธารณูปโภคอย่างจริงจัง
ที่มา: สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
www.nesac.or.th, โทร.02-612-9222 ต่อ 118, 119 โทรสาร.02-612-6918-9

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ