ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยแม้จะอยู่ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงแต่เป็นระดับที่ดูแลได้ นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในการบรรยายพิเศษภาพรวมเศรษฐกิจให้กับเครือเนชั่นเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.47 ว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอยู่
ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงที่มีมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน และปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นคงมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจแต่อยู่ในระดับที่ดูแลได้ คือ โดยปัจจัยเสี่ยง
ด้านต่างประเทศ ได้แก่ ราคาน้ำมันและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงเศรษฐกิจจีนที่อาจจะชะลอตัวลง ส่วนปัจจัยเสี่ยงภายใน
ประเทศ คือ การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกที่มีผลกระทบต่อการผลิตภาคเกษตรและการส่งออก โดยเฉพาะไตรมาสแรกของปี อย่างไรก็ตาม
ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจมีความเข้มแข็งพอที่จะทำให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยปัจจัยที่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ คือ
การส่งออกที่ขยายตัวดี ความต้องการใช้จ่ายภายในประเทศที่ขยายตัวทั้งด้านการบริโภค การลงทุนภาคเอกชน และอัตราการใช้กำลังการผลิต
สำหรับสิ่งที่ต้องระวังและติดตามอย่างใกล้ชิด คือ แรงกดดันต่อเสถียรภาพทางด้านเศรษฐกิจ ทั้งเงินเฟ้อ ดุลบัญชีเดินสะพัด ความเชื่อมั่นของ
ภาคเอกชนเกี่ยวกับเศรษฐกิจ รวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลก (กรุงเทพธุรกิจ)
2. ฐานะการเงินของ ธ.ไทยธนาคารแข็งแกร่งเพียงพอโดยไม่จำเป็นต้องควบรวมกิจการ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่มีการปรับปรุงประสิทธิภาพและเร่งการแก้ไขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) รวมถึงการตัดหนี้สูญของ
ธ.ไทยธนาคารแล้ว ในขณะนี้ฐานะของ ธ.ไทยธนาคารปรับตัวดีขึ้นมาก และสามารถดำเนินกิจการได้ด้วยตนเอง ทำให้กองทุนฟื้นฟูฯ ในฐานะ
ผู้ถือหุ้นใหญ่วางใจได้ และเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำไปควบรวมกิจการกับธนาคารใด (ข่าวสด)
3. ธปท.จัดโครงการตอบปัญหาเศรษฐกิจการเงินสำหรับเยาวชน ผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยเกี่ยวกับโครงการ “ตอบปัญหาเศรษฐกิจการเงินกับ ธปท.” ประจำปี 47 ว่า เป็นโครงการที่ ธปท.จัดขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อส่งเสริม
และสนับสนุนเยาวชนไทยให้มีความสนใจและเพิ่มพูนความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจการเงิน และความรู้เกี่ยวกับ ธปท. โดยจัดให้มีการ
แข่งขันตอบปัญหาสำหรับนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีรางวัลสนับสนุน
ทั้งสิ้น 6 รางวัล ซึ่งขณะนี้มีโรงเรียนที่ตอบรับเข้าร่วมโครงการแล้วทั้งสิ้น 115 โรงเรียน (กรุงเทพธุรกิจ)
4. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมไทยในเดือน พ.ค.47 ปรับตัวเพิ่มขึ้น นายสันติ วิลาสศักดานนท์ รองประธานสภาอุตสาห
กรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment
Index : TISI) ในเดือน พ.ค.47 ซึ่งสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 420 ตัวอย่าง ครอบคลุม 30 กลุ่มอุตสาหกรรม พบว่า ค่าดัชนีความ
เชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 101.8 จากระดับ 98.2 ในเดือนก่อน เนื่องมาจากค่าดัชนี 2 ใน 5 ตัวที่นำมาใช้
คำนวณปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก คือ ดัชนีความเชื่อมั่นต่อยอดคำสั่งซื้อและปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 120.4 และ 108.4 เป็น 123.3 และ
120.8 ตามลำดับ ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่น 3 ตัวที่เหลือปรับตัวลดลงดังนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นยอดขาย ต้นทุนการประกอบการ และกำไรสุทธิ ลดลง
จาก 132.1, 51.5 และ 119.0 ในเดือน เม.ย. เป็น 125.8, 50.2 และ 106.7 ในเดือน พ.ค. ตามลำดับ ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ทำ
ให้ยอดคำสั่งซื้อของภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากปัญหาความไม่แน่นอนของสถานการณ์ภาคใต้ได้คลี่คลายในทิศทางที่ดีขึ้น ทำให้ธุรกิจ
การท่องเที่ยวและกำลังซื้อเริ่มฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังมีความกังวลในเรื่องสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีความกังวลใจต่อสภาวะการค้าการลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า เนื่องจากแนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อาจปรับตัว
เพิ่มสูงขึ้นจนทำให้รัฐไม่สามารถตรึงราคาน้ำมันดีเซลต่อไปได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้า (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลางอียูคาดเศรษฐกิจในเขตยูโรจะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง รายงานจากแฟรงเฟิร์ต ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.47
Jean-Claude Trichet ประธาน ธ.กลางสหภาพยุโรป กล่าวว่า ตัวเลขทางเศรษฐกิจแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจของประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร
กำลังฟื้นตัวและเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่รัฐบาลของแต่ละประเทศก็ต้องเร่งปฏิรูปภาคการผลิตและตลาดแรงงาน ตลอดจนกำหนดนโยบายการเงิน
ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เศรษฐกิจมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีทั้งในปัจจุบันและระยะยาว นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบการค้า
เสรีของเศรษฐกิจยุโรปที่เพิ่งฟื้นตัวจากภาวะซบเซาในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จะช่วยทำให้นโยบายการเงินของ ธ.กลางมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วน
อัตราเงินเฟ้อในเขตยูโรที่พุ่งขึ้นสูงเกินระดับร้อยละ 2.0 ตามเป้าหมายที่ ธ.กลางอียูกำหนดไว้อันเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นเพียง
ชั่วคราว และปัจจุบันก็ได้ลดลงต่ำกว่าระดับร้อยละ 2.0 แล้ว อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้ออาจจะพุ่งขึ้นอยู่ในระดับสูงถาวรถ้าค่าจ้างแรงงานอยู่
ในระดับสูง และผลักดันให้ ธ.กลางต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขณะที่สัญญาณการฟื้นตัวครั้งแรกในเขตยูโรกำลังเริ่มขึ้น (รอยเตอร์)
2. อัตราเงินเฟ้อเดือน มิ.ย.47 ของเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 รายงานจากเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.47
สำนักงานสถิติกลางของเยอรมนี เปิดเผยตัวเลขเบื้องต้นว่าอัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน มิ.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ลดลงจากที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.2 ในเดือน พ.ค.47 หรืออยู่ที่ระดับร้อยละ 1.8 เทียบปีต่อปี จากร้อยละ 2.0 ในเดือน พ.ค.47 ซึ่งเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้
และเป็นไปในทิศทางเดียวกันเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในสหภาพยุโรปที่อัตราเงินเฟ้อเดือน มิ.ย.47 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.9
เทียบปีต่อปี หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน พ.ค.47 อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.1 เทียบปีต่อปี ทั้งนี้ การคำนวณตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเบื้องต้น
ของ สนง.สถิติกลางคิดจากข้อมูลพื้นฐานของเมืองที่มีประชากรหนาแน่น 6 เมืองใหญ่ของเยอรมนี โดยตัวเลขอย่างเป็นทางการสำหรับเดือน
มิ.ย.47 จะประกาศประมาณกลางเดือน ก.ค.47 (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของญี่ปุ่นในเดือนพ.ค. บ่งชี้ว่าภาวะเงินฝืดยังไม่สิ้นสุด รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 47
รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่าในเดือนพ.ค. ดัชนีราคาผู้บริโภค — CPI ของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว มากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์
คาดไว้ว่า CPI จะชะลอลงเฉลี่ยร้อยละ 0.2 แม้ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งและเชื่อว่าภาวะเงินฝืดใกล้จะสิ้นสุดแล้วก็ตาม
นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่า CPI มิได้แสดงว่าภาวะเงินฝืดจะสิ้นสุดลง เนื่องจากเห็นว่าราคาจะไม่สูงขึ้นโดยง่าย หลังจากผลกระทบจากการจัด
เก็บภาษียาสูบเมื่อก.ค. ปีก่อน และการสูงขึ้นของราคาน้ำมันก็มิได้ส่งผลกระทบต่อราคาโดยรวม ทั้งนี้ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน - Core CPI
ในเขตโตเกียวในเดือนมิ.ย. ลดลงร้อยละ 0.1 จากเดือนพ.ค. (ตัวเลขที่ปรับฤดูกาลแล้ว) ลดลงน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าอาจจะไม่
เปลี่ยนแปลงเป็นครั้งแรกในรอบ 57 เดือนเนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น โดยตัวเลข CPI ของเขตโตเกียวจะประกาศก่อนตัวเลขของทั้งประเทศ
เนื่องจากสามารถชี้แนวโน้มราคาได้ จึงเป็นเครื่องชี้วัดที่ธ.กลางติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อใช้ประกอบการดำเนินนโยบายการเงิน และคาดว่าใน
การประชุมนโยบายการเงินในวันศุกร์ ธ.กลางญี่ปุ่นจะยังไม่สิ้นสุดการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนปรนต่อไปเนื่องจากแรงกดดันด้านเงินฝืดจะ
กระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 25/6/47 24/6/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.921 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.7449/41.0398 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250-1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 637.03/16.95 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,600/7,700 7,550/7,650 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 33.12 32.59 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 18.79*/14.59 18.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 18 มิ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยแม้จะอยู่ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงแต่เป็นระดับที่ดูแลได้ นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในการบรรยายพิเศษภาพรวมเศรษฐกิจให้กับเครือเนชั่นเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.47 ว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอยู่
ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงที่มีมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน และปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นคงมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจแต่อยู่ในระดับที่ดูแลได้ คือ โดยปัจจัยเสี่ยง
ด้านต่างประเทศ ได้แก่ ราคาน้ำมันและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงเศรษฐกิจจีนที่อาจจะชะลอตัวลง ส่วนปัจจัยเสี่ยงภายใน
ประเทศ คือ การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกที่มีผลกระทบต่อการผลิตภาคเกษตรและการส่งออก โดยเฉพาะไตรมาสแรกของปี อย่างไรก็ตาม
ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจมีความเข้มแข็งพอที่จะทำให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยปัจจัยที่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ คือ
การส่งออกที่ขยายตัวดี ความต้องการใช้จ่ายภายในประเทศที่ขยายตัวทั้งด้านการบริโภค การลงทุนภาคเอกชน และอัตราการใช้กำลังการผลิต
สำหรับสิ่งที่ต้องระวังและติดตามอย่างใกล้ชิด คือ แรงกดดันต่อเสถียรภาพทางด้านเศรษฐกิจ ทั้งเงินเฟ้อ ดุลบัญชีเดินสะพัด ความเชื่อมั่นของ
ภาคเอกชนเกี่ยวกับเศรษฐกิจ รวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลก (กรุงเทพธุรกิจ)
2. ฐานะการเงินของ ธ.ไทยธนาคารแข็งแกร่งเพียงพอโดยไม่จำเป็นต้องควบรวมกิจการ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่มีการปรับปรุงประสิทธิภาพและเร่งการแก้ไขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) รวมถึงการตัดหนี้สูญของ
ธ.ไทยธนาคารแล้ว ในขณะนี้ฐานะของ ธ.ไทยธนาคารปรับตัวดีขึ้นมาก และสามารถดำเนินกิจการได้ด้วยตนเอง ทำให้กองทุนฟื้นฟูฯ ในฐานะ
ผู้ถือหุ้นใหญ่วางใจได้ และเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำไปควบรวมกิจการกับธนาคารใด (ข่าวสด)
3. ธปท.จัดโครงการตอบปัญหาเศรษฐกิจการเงินสำหรับเยาวชน ผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยเกี่ยวกับโครงการ “ตอบปัญหาเศรษฐกิจการเงินกับ ธปท.” ประจำปี 47 ว่า เป็นโครงการที่ ธปท.จัดขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อส่งเสริม
และสนับสนุนเยาวชนไทยให้มีความสนใจและเพิ่มพูนความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจการเงิน และความรู้เกี่ยวกับ ธปท. โดยจัดให้มีการ
แข่งขันตอบปัญหาสำหรับนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีรางวัลสนับสนุน
ทั้งสิ้น 6 รางวัล ซึ่งขณะนี้มีโรงเรียนที่ตอบรับเข้าร่วมโครงการแล้วทั้งสิ้น 115 โรงเรียน (กรุงเทพธุรกิจ)
4. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมไทยในเดือน พ.ค.47 ปรับตัวเพิ่มขึ้น นายสันติ วิลาสศักดานนท์ รองประธานสภาอุตสาห
กรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment
Index : TISI) ในเดือน พ.ค.47 ซึ่งสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 420 ตัวอย่าง ครอบคลุม 30 กลุ่มอุตสาหกรรม พบว่า ค่าดัชนีความ
เชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 101.8 จากระดับ 98.2 ในเดือนก่อน เนื่องมาจากค่าดัชนี 2 ใน 5 ตัวที่นำมาใช้
คำนวณปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก คือ ดัชนีความเชื่อมั่นต่อยอดคำสั่งซื้อและปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 120.4 และ 108.4 เป็น 123.3 และ
120.8 ตามลำดับ ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่น 3 ตัวที่เหลือปรับตัวลดลงดังนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นยอดขาย ต้นทุนการประกอบการ และกำไรสุทธิ ลดลง
จาก 132.1, 51.5 และ 119.0 ในเดือน เม.ย. เป็น 125.8, 50.2 และ 106.7 ในเดือน พ.ค. ตามลำดับ ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ทำ
ให้ยอดคำสั่งซื้อของภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากปัญหาความไม่แน่นอนของสถานการณ์ภาคใต้ได้คลี่คลายในทิศทางที่ดีขึ้น ทำให้ธุรกิจ
การท่องเที่ยวและกำลังซื้อเริ่มฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังมีความกังวลในเรื่องสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีความกังวลใจต่อสภาวะการค้าการลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า เนื่องจากแนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อาจปรับตัว
เพิ่มสูงขึ้นจนทำให้รัฐไม่สามารถตรึงราคาน้ำมันดีเซลต่อไปได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้า (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลางอียูคาดเศรษฐกิจในเขตยูโรจะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง รายงานจากแฟรงเฟิร์ต ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.47
Jean-Claude Trichet ประธาน ธ.กลางสหภาพยุโรป กล่าวว่า ตัวเลขทางเศรษฐกิจแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจของประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร
กำลังฟื้นตัวและเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่รัฐบาลของแต่ละประเทศก็ต้องเร่งปฏิรูปภาคการผลิตและตลาดแรงงาน ตลอดจนกำหนดนโยบายการเงิน
ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เศรษฐกิจมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีทั้งในปัจจุบันและระยะยาว นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบการค้า
เสรีของเศรษฐกิจยุโรปที่เพิ่งฟื้นตัวจากภาวะซบเซาในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จะช่วยทำให้นโยบายการเงินของ ธ.กลางมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วน
อัตราเงินเฟ้อในเขตยูโรที่พุ่งขึ้นสูงเกินระดับร้อยละ 2.0 ตามเป้าหมายที่ ธ.กลางอียูกำหนดไว้อันเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นเพียง
ชั่วคราว และปัจจุบันก็ได้ลดลงต่ำกว่าระดับร้อยละ 2.0 แล้ว อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้ออาจจะพุ่งขึ้นอยู่ในระดับสูงถาวรถ้าค่าจ้างแรงงานอยู่
ในระดับสูง และผลักดันให้ ธ.กลางต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขณะที่สัญญาณการฟื้นตัวครั้งแรกในเขตยูโรกำลังเริ่มขึ้น (รอยเตอร์)
2. อัตราเงินเฟ้อเดือน มิ.ย.47 ของเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 รายงานจากเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.47
สำนักงานสถิติกลางของเยอรมนี เปิดเผยตัวเลขเบื้องต้นว่าอัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน มิ.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ลดลงจากที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.2 ในเดือน พ.ค.47 หรืออยู่ที่ระดับร้อยละ 1.8 เทียบปีต่อปี จากร้อยละ 2.0 ในเดือน พ.ค.47 ซึ่งเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้
และเป็นไปในทิศทางเดียวกันเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในสหภาพยุโรปที่อัตราเงินเฟ้อเดือน มิ.ย.47 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.9
เทียบปีต่อปี หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน พ.ค.47 อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.1 เทียบปีต่อปี ทั้งนี้ การคำนวณตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเบื้องต้น
ของ สนง.สถิติกลางคิดจากข้อมูลพื้นฐานของเมืองที่มีประชากรหนาแน่น 6 เมืองใหญ่ของเยอรมนี โดยตัวเลขอย่างเป็นทางการสำหรับเดือน
มิ.ย.47 จะประกาศประมาณกลางเดือน ก.ค.47 (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของญี่ปุ่นในเดือนพ.ค. บ่งชี้ว่าภาวะเงินฝืดยังไม่สิ้นสุด รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 47
รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่าในเดือนพ.ค. ดัชนีราคาผู้บริโภค — CPI ของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว มากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์
คาดไว้ว่า CPI จะชะลอลงเฉลี่ยร้อยละ 0.2 แม้ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งและเชื่อว่าภาวะเงินฝืดใกล้จะสิ้นสุดแล้วก็ตาม
นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่า CPI มิได้แสดงว่าภาวะเงินฝืดจะสิ้นสุดลง เนื่องจากเห็นว่าราคาจะไม่สูงขึ้นโดยง่าย หลังจากผลกระทบจากการจัด
เก็บภาษียาสูบเมื่อก.ค. ปีก่อน และการสูงขึ้นของราคาน้ำมันก็มิได้ส่งผลกระทบต่อราคาโดยรวม ทั้งนี้ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน - Core CPI
ในเขตโตเกียวในเดือนมิ.ย. ลดลงร้อยละ 0.1 จากเดือนพ.ค. (ตัวเลขที่ปรับฤดูกาลแล้ว) ลดลงน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าอาจจะไม่
เปลี่ยนแปลงเป็นครั้งแรกในรอบ 57 เดือนเนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น โดยตัวเลข CPI ของเขตโตเกียวจะประกาศก่อนตัวเลขของทั้งประเทศ
เนื่องจากสามารถชี้แนวโน้มราคาได้ จึงเป็นเครื่องชี้วัดที่ธ.กลางติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อใช้ประกอบการดำเนินนโยบายการเงิน และคาดว่าใน
การประชุมนโยบายการเงินในวันศุกร์ ธ.กลางญี่ปุ่นจะยังไม่สิ้นสุดการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนปรนต่อไปเนื่องจากแรงกดดันด้านเงินฝืดจะ
กระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 25/6/47 24/6/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.921 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.7449/41.0398 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250-1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 637.03/16.95 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,600/7,700 7,550/7,650 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 33.12 32.59 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 18.79*/14.59 18.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 18 มิ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-