ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ฐานะกองทุนฟื้นฟูฯ ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า จากการติดตามผลการดำเนินงานของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินพบว่า หนี้เสียเดิมและการขายสินทรัพย์เดิมของ
กองทุนฟื้นฟูฯ ปรับตัวดีขึ้น โดยอัตราการได้รับเงินคืนของกองทุนฟื้นฟูฯ เพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
จึงส่งผลให้ความเสียหายที่แท้จริงของกองทุนฟื้นฟูฯ ลดลงจากอัตราที่ได้ประเมินไว้ในช่วงก่อน 1.4 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ การขายลูกหนี้ทั้ง
56 ไฟแนนซ์ ได้ราคาที่ดีขึ้นมาก หากเทียบกับช่วงก่อนการขยายลูกหนี้ 56 ไฟแนนซ์ที่ออกไปได้เงินคืนมาเพียงร้อยละ 20 ของมูลหนี้เท่านั้น
แต่ในขณะนี้ราคาปรับตัวดีขึ้น โดยล่าสุดที่ขายลูกหนี้ 56 ไฟแนนซ์ออกไปได้เงินคืนมาถึงร้อยละ 50 ของมูลหนี้ เพราะราคาสินทรัพย์ปรับตัวดีขึ้น
ด้วยตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ อีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ฐานะกองทุนฟื้นฟูฯ ปรับตัวดีขึ้น คือ กองทุนฟื้นฟูฯ ได้มีการปรับปรุงการติดตาม
หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่อยู่ในการดูแลของกองทุนฟื้นฟูฯ เนื่องจากตามการประเมินความเสียหายเดิม กองทุนฟื้นฟูฯ จะต้องได้
เงินคืนจากการติดตามหนี้เสียทั้งสิ้น 400,000 ล้านบาท ซึ่งความเสียหายจะลดลงมากน้อยเพียงใดขึ้นกับราคาสินทรัพย์ที่จะได้คืน รวมทั้งราคา
หุ้นของสถาบันการเงินที่กองทุนฟื้นฟูฯ จะขายได้ด้วย อย่างไรก็ตาม หลังจากออกพันธบัตรเพื่อชดเชยความเสียหายของกองทุนฟื้นฟูฯในปี 47
จำนวน 200,000 ล้านบาทแล้ว คาดว่าในปีหน้าจากเป้าหมายเดิมที่จะต้องออกพันธบัตรชดเชยฯ อีก 280,000 ล้านบาท อาจจะลดจำนวนลง
ตามความเสียหายจริงของกองทุนฟื้นฟูฯ ที่ลดลง (ผู้จัดการรายวัน, ข่าวสด)
2. ธปท. ดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยที่เป็นอิสระ ดร.บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
ในการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. มีอิสระ โดยให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นหลักว่า ต้องการอัตราดอกเบี้ยระดับเท่าไร
ซึ่งจะอยู่ภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ โดยในการดำเนินนโยบายการเงินในระยะต่อไป ธปท.ต้องพิจารณา 5 ประเด็น คือ 1) แรงกดดันทาง
ด้านเสถียรภาพที่มีมากขึ้นทั้งต่อเงินเฟ้อและดุลบัญชีเดินสะพัด ทำให้ต้องดำเนินนโยบายการเงินอย่างระมัดระวัง และไม่ประมาท 2) การปรับ
เปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย ถ้าอัตราดอกเบี้ยขึ้นจากระดับต่ำมาก ผลต่อเศรษฐกิจจะน้อยกว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากระดับสูง 3) ต้องพิจารณาความ
พร้อมของเศรษฐกิจว่ามีระดับใดต่ออัตราดอกเบี้ยที่จะสูงขึ้นทั้งภาคเอกชนและครัวเรือน 4) ขนาดและเงื่อนเวลาที่เหมาะสมในการเปลี่ยนแปลง
ดอกเบี้ย และ 5) ต้องมีการให้สัญญาณเพื่อให้เศรษฐกิจมีการปรับตัวไปก่อนล่วงหน้า (กรุงเทพธุรกิจ)
3. คณะทำงานร่างกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนารัฐวิสาหกิจเตรียมเสนอร่างมาสเตอร์แพลน 5 ปีแก่ รมว.คลัง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ
สำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ เมษินทรีย์) เปิดเผยว่า คณะทำงานร่างกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนารัฐวิสาหกิจ 5 ปี พ.ศ.2548-2552
(มาสเตอร์แพลน) เตรียมเสนอร่างต่อ รมว.คลังในสัปดาห์นี้ หลังจากนั้นจะนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ (กนท.) ภายใน
เดือน ก.ค.47 ก่อนที่จะขอความเห็นชอบจาก ครม.ต่อไป โดยกรอบยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะสอดคล้องกับกรอบความยั่งยืนทางการคลังปี 2548-2552
ในส่วนของการจัดหารายได้นอกงบประมาณของรัฐวิสาหกิจ นอกเหนือรายได้หลักที่มาจากการจัดเก็บภาษี ซึ่งจะกำหนดว่ารัฐวิสาหกิจจะต้องปรับปรุง
ประสิทธิภาพเพื่อนำไปสู่การเพิ่มรายได้ใน 5 ปีข้างหน้า ดังนั้น รัฐวิสาหกิจในอีก 5 ปีข้างหน้าต้องเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดย
เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้มากขึ้น อีกทั้งจะต้องสร้างความเข้มแข็งทางการเงิน เพิ่มศักยภาพให้รัฐวิสาหกิจสามารถระดมทุนได้ด้วย
ตัวเองทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์ เพื่อนำรายได้เข้ารัฐบาล (ข่าวสด, สยามรัฐ)
4. รัฐบาลเตรียมปรับราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มเพิ่มขึ้นประมาณ 76 สตางค์ต่อกิโลกรัม ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เปิดเผยว่า
จากมติคณะคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ที่จะให้มีการลดการชดเชยราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ลง และในเดือน ก.ค.47 จะจำกัด
อัตราเงินชดเชยไม่เกิน 2 บาทต่อกิโลกรัมนั้น จะต้องทำให้ราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มปรับเพิ่มขึ้นอีก ส่วนจะปรับขึ้นจำนวนเท่าใด คงจะต้องดูราคา
ตลาดโลกอีกครั้งหนึ่ง แต่ ณ ขณะนี้รัฐบาลชดเชยอยู่ที่ระดับ 2.76 บาทต่อกิโลกรัม จึงเท่ากับจะต้องปรับเพิ่มขึ้น 76 สตางค์ต่อกิโลกรัม อย่างไรก็
ตาม การปรับโครงสร้างราคาดังกล่าว ทำให้ประชาชนรับภาระ 76 สตางค์ต่อกิโลกรัม รัฐบาลรับภาระ 2 บาทต่อกิโลกรัม หรือคิดเป็นถังขนาด
15 กิโลกรัม รัฐบาลต้องจ่ายชดเชย 30 บาทต่อถัง ส่วนราคาก๊าซหุงต้ม ที่บวกราคาเพิ่มอีก 76 สตางค์นั้น ทำให้ราคาปรับเพิ่มขึ้นจาก 16.81
บาทต่อกิโลกรัม เป็น 17.57 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้ครัวเรือนที่ใช้ก๊าซขนาด 15 กิโลกรัม จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเดือนละ 5 บาท หรือวันละ
17 สตางค์ และผลต่อราคาอาหารสำเร็จรูป มีอัตราเพิ่มขึ้นจานละ 3 สตางค์ ส่วนผลต่อรถแท๊กซี่ที่ใช้ก๊าซมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 15 บาทต่อกะ 12
ชั่วโมง เป็นต้น (ผู้จัดการรายวัน, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นของคนอเมริกันเพิ่มขึ้นในเดือน มิ.ย.47 รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ 25 มิ.ย.47 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของคนอเมริกัน
สำหรับเดือน มิ.ย.47 ซึ่งสำรวจโดย ม.มิชิแกน อยู่ที่ระดับ 95.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 90.2 และสอดคล้องกับการคาดการณ์จาก
ผลสำรวจโดยรอยเตอร์ ซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.5 อันเป็นผลจากภาพการจ้างงานและสภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไปที่ดีขึ้นรวมถึงราคาขายปลีกโดยเฉลี่ย
ของน้ำมันเบนซินที่อ่อนตัวลงร้อยละ 6 ในช่วงปลายเดือน มิ.ย.47 จากระดับสูงสุดที่ 2.054 ดอลลาร์ สรอ.ต่อแกลลอนในวันที่ 26 พ.ค.47
การเพิ่มขึ้นของดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวอเมริกันในเดือนนี้ได้สร้างความประหลาดใจให้นักวิเคราะห์ซึ่งมองว่าคนอเมริกันยังกังวล
เกี่ยวกับความขัดแย้งในอิรักและการส่งมอบอำนาจการปกครองจาก สรอ.ให้รัฐบาลอิรักในวันที่ 30 มิ.ย.47 ที่จะถึงนี้ (รอยเตอร์)
2. การเติบโตของเศรษฐกิจ สรอ.ในช่วงไตรมาสแรกปี 47 ลดลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 25 มิ.ย.47
รายงานของทางการ สรอ. เปิดเผยว่า เศรษฐกิจ สรอ.ในช่วงไตรมาสแรกของปี 47 เติบโตลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ขณะที่
อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น โดย ก.พาณิชย์ สรอ. ได้ปรับลดการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ในประเทศในช่วงไตรมาสแรกของปี 47 ลงเหลือร้อยละ 3.9
จากที่รายงานไว้ในเดือนก่อนที่ระดับร้อยละ 4.4 ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้กับบรรดานักเศรษฐศาสตร์เป็นอันมาก ขณะที่ทางการได้ปรับเพิ่ม
อัตราเงินเฟ้อในการรายงานครั้งนี้ ซึ่งเป็นสิ่งยืนยันว่า ระดับราคาสินค้าได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อันจะเป็นแรงกระตุ้นให้ ธ.กลาง สรอ.ขยับ
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์หน้า หลังจากที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำสุดนับแต่ปี 2501 โดยดัชนีราคาหลัก (ไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน)
ที่ใช้ชี้วัดการใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นสู่ระดับร้อยละ 2 ในช่วงไตรมาสแรกปี 47 จากที่รายงานไว้ก่อนหน้านี้ที่ระดับร้อยละ 1.7 โดยมีสาเหตุ
จากยอดขายบ้านสำเร็จรูปที่เพิ่มขึ้นสูงเกินความคาดหมายร้อยละ 2.6 ในเดือน พ.ค.47 รวมทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ล้วนเป็นปัจจัย
สนับสนุนอัตราเงินเฟ้อให้เพิ่มขึ้นด้วย (รอยเตอร์)
3. ธ.กลางอังกฤษเห็นว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลกอาจจะไม่มีเสถียรภาพหากมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วเกินไป
รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 47 ธ.กลางอังกฤษเตือนว่าปัจจัยต่างๆอาทิเช่นการขยายตัวของอุปสงค์สำหรับกองทุน Hedge funds
และการลดลงของราคาบ้านจะกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินของโลกหากอัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มอย่างรวดเร็ว รองผวก.เสถียรภาพทางการเงิน
ของธ.กลางอังกฤษเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขทางเศรษฐกิจอาจจะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาหรือปัญหาสภาพคล่องในตลาดอย่างมาก
โดยคำเตือนดังกล่าวถูกเปิดเผยใน the BoE’s half yearly Financial Stability Review ล่วงหน้าเป็นเวลา 2 วันก่อนที่ ธ.กลางสรอ.
ซึ่งเป็นธ.กลางที่มีอิทธิพลที่สุดในโลกได้กำหนดที่จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี ในขณะที่ ธ.กลางอังกฤษนั้นได้มีการ
ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาแล้ว 4 ครั้งนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 46 รวมปรับเพิ่มแล้วประมาณร้อยละ 1 ทั้งนี้กองทุน Hedge funds เป็นกองทุนที่
ต้องการผลตอบแทนสูงและมักจะมีการเก็งกำไรในตลาดพันธบัตร และหากมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเร็วเกินไปจะส่งผลต่อการลงทุนในตลาดพันธบัตร
โดยกองทุน Hedge funds ซึ่งครั้งหนึ่งเป็นกองทุนยอดนิยมเฉพาะนักลงทุนที่ร่ำรวย ปัจจุบันได้เป็นที่นิยมสำหรับนักลงทุนโดยทั่วไปสาเหตุจากที่กองทุน
รวมที่ลงทุนในหุ้นไม่สามารถให้ผลตอบแทนรายปีได้เป็นตัวเลข 2 หลักมาตั้งแต่ปลายปี 33 (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจของมาเลเซียไม่มีแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ รายงานจากเมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.47
นาง Zeti Akhtar Aziz ผู้ว่าการ ธ.กลางมาเลเซีย กล่าวว่า เศรษฐกิจของมาเลเซียไม่มีแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ และไม่มีสัญญาณใด ๆ
ที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อราคาสินค้าจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจของมาเลเซียในปี 47 จะเติบโตตามเป้าหมายที่วางไว้
ประมาณร้อยละ 6.0 — 6.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.2 ในปี 46 ทั้งนี้ เศรษฐกิจของมาเลเซียเติบโตร้อยละ 7.6 ในช่วงไตรมาสแรกของปี 46
และปี 47 นับเป็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงสุดในรอบ 4 ปี มาเลเซียเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากอินโดนีเซียใน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงไม่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 21 ปี ในขณะที่ราคาน้ำมันได้สร้างแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ
กับประเทศที่พึ่งพาน้ำมันในการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วเอเชีย ทั้งนี้ มาเลเซียมีการส่งออกน้ำมันเพียงเล็กน้อยจึงทำให้มีน้ำมันเพียงพอต่อการบริโภค
ส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐเป็นไปด้วยดีและฐานะการเงินของรัฐบาลก็มีความแข็งแกร่งเช่นกัน โดยมาเลเซียซึ่งระบบเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการผลิต
เพื่อการส่งออกได้เริ่มใช้วิธีการจัดทำ งปม. แบบขาดดุลมาตั้งแต่ปี 41 หลังจากสิ้นสุดวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย อย่างไรก็ตาม มาเลเซีย
ต้องการลดการขาดดุล งปม. ปี 47ให้อยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5 ของจีดีพี และลดลงสู่ระดับร้อยละ 3.5 — 4.0 ในปี 48 จากร้อยละ 5.3 ในปี 46
ทางด้านอัตราดอกเบี้ยของมาเลเซียจะขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในประเทศ ซึ่งคาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับ
ต่ำที่ร้อยละ 1.0 โดยอัตราดอกเบี้ยข้ามคืนอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.7 ส่วนเรื่องทุนสำรองเงินตราต่างประเทศนั้น มาเลเซียได้ปรับสัดส่วนเพิ่ม
ความหลากหลายของเงินสกุลต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และจะคงสัดส่วนเช่นนี้ต่อไปในระยะกลางถึงระยะยาว ทั้งนี้
ณ กลางเดือน มิ.ย.47 มาเลเซียมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ 53.98 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28/6/47 25/6/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.826 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.6310/40.9225 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250-1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 644.00/23.02 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,600/7,700 7,600/7,700 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 32.58 33.12 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 18.79*/14.59 18.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 18 มิ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ฐานะกองทุนฟื้นฟูฯ ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า จากการติดตามผลการดำเนินงานของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินพบว่า หนี้เสียเดิมและการขายสินทรัพย์เดิมของ
กองทุนฟื้นฟูฯ ปรับตัวดีขึ้น โดยอัตราการได้รับเงินคืนของกองทุนฟื้นฟูฯ เพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
จึงส่งผลให้ความเสียหายที่แท้จริงของกองทุนฟื้นฟูฯ ลดลงจากอัตราที่ได้ประเมินไว้ในช่วงก่อน 1.4 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ การขายลูกหนี้ทั้ง
56 ไฟแนนซ์ ได้ราคาที่ดีขึ้นมาก หากเทียบกับช่วงก่อนการขยายลูกหนี้ 56 ไฟแนนซ์ที่ออกไปได้เงินคืนมาเพียงร้อยละ 20 ของมูลหนี้เท่านั้น
แต่ในขณะนี้ราคาปรับตัวดีขึ้น โดยล่าสุดที่ขายลูกหนี้ 56 ไฟแนนซ์ออกไปได้เงินคืนมาถึงร้อยละ 50 ของมูลหนี้ เพราะราคาสินทรัพย์ปรับตัวดีขึ้น
ด้วยตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ อีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ฐานะกองทุนฟื้นฟูฯ ปรับตัวดีขึ้น คือ กองทุนฟื้นฟูฯ ได้มีการปรับปรุงการติดตาม
หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่อยู่ในการดูแลของกองทุนฟื้นฟูฯ เนื่องจากตามการประเมินความเสียหายเดิม กองทุนฟื้นฟูฯ จะต้องได้
เงินคืนจากการติดตามหนี้เสียทั้งสิ้น 400,000 ล้านบาท ซึ่งความเสียหายจะลดลงมากน้อยเพียงใดขึ้นกับราคาสินทรัพย์ที่จะได้คืน รวมทั้งราคา
หุ้นของสถาบันการเงินที่กองทุนฟื้นฟูฯ จะขายได้ด้วย อย่างไรก็ตาม หลังจากออกพันธบัตรเพื่อชดเชยความเสียหายของกองทุนฟื้นฟูฯในปี 47
จำนวน 200,000 ล้านบาทแล้ว คาดว่าในปีหน้าจากเป้าหมายเดิมที่จะต้องออกพันธบัตรชดเชยฯ อีก 280,000 ล้านบาท อาจจะลดจำนวนลง
ตามความเสียหายจริงของกองทุนฟื้นฟูฯ ที่ลดลง (ผู้จัดการรายวัน, ข่าวสด)
2. ธปท. ดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยที่เป็นอิสระ ดร.บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
ในการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. มีอิสระ โดยให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นหลักว่า ต้องการอัตราดอกเบี้ยระดับเท่าไร
ซึ่งจะอยู่ภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ โดยในการดำเนินนโยบายการเงินในระยะต่อไป ธปท.ต้องพิจารณา 5 ประเด็น คือ 1) แรงกดดันทาง
ด้านเสถียรภาพที่มีมากขึ้นทั้งต่อเงินเฟ้อและดุลบัญชีเดินสะพัด ทำให้ต้องดำเนินนโยบายการเงินอย่างระมัดระวัง และไม่ประมาท 2) การปรับ
เปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย ถ้าอัตราดอกเบี้ยขึ้นจากระดับต่ำมาก ผลต่อเศรษฐกิจจะน้อยกว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากระดับสูง 3) ต้องพิจารณาความ
พร้อมของเศรษฐกิจว่ามีระดับใดต่ออัตราดอกเบี้ยที่จะสูงขึ้นทั้งภาคเอกชนและครัวเรือน 4) ขนาดและเงื่อนเวลาที่เหมาะสมในการเปลี่ยนแปลง
ดอกเบี้ย และ 5) ต้องมีการให้สัญญาณเพื่อให้เศรษฐกิจมีการปรับตัวไปก่อนล่วงหน้า (กรุงเทพธุรกิจ)
3. คณะทำงานร่างกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนารัฐวิสาหกิจเตรียมเสนอร่างมาสเตอร์แพลน 5 ปีแก่ รมว.คลัง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ
สำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ เมษินทรีย์) เปิดเผยว่า คณะทำงานร่างกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนารัฐวิสาหกิจ 5 ปี พ.ศ.2548-2552
(มาสเตอร์แพลน) เตรียมเสนอร่างต่อ รมว.คลังในสัปดาห์นี้ หลังจากนั้นจะนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ (กนท.) ภายใน
เดือน ก.ค.47 ก่อนที่จะขอความเห็นชอบจาก ครม.ต่อไป โดยกรอบยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะสอดคล้องกับกรอบความยั่งยืนทางการคลังปี 2548-2552
ในส่วนของการจัดหารายได้นอกงบประมาณของรัฐวิสาหกิจ นอกเหนือรายได้หลักที่มาจากการจัดเก็บภาษี ซึ่งจะกำหนดว่ารัฐวิสาหกิจจะต้องปรับปรุง
ประสิทธิภาพเพื่อนำไปสู่การเพิ่มรายได้ใน 5 ปีข้างหน้า ดังนั้น รัฐวิสาหกิจในอีก 5 ปีข้างหน้าต้องเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดย
เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้มากขึ้น อีกทั้งจะต้องสร้างความเข้มแข็งทางการเงิน เพิ่มศักยภาพให้รัฐวิสาหกิจสามารถระดมทุนได้ด้วย
ตัวเองทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์ เพื่อนำรายได้เข้ารัฐบาล (ข่าวสด, สยามรัฐ)
4. รัฐบาลเตรียมปรับราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มเพิ่มขึ้นประมาณ 76 สตางค์ต่อกิโลกรัม ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เปิดเผยว่า
จากมติคณะคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ที่จะให้มีการลดการชดเชยราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ลง และในเดือน ก.ค.47 จะจำกัด
อัตราเงินชดเชยไม่เกิน 2 บาทต่อกิโลกรัมนั้น จะต้องทำให้ราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มปรับเพิ่มขึ้นอีก ส่วนจะปรับขึ้นจำนวนเท่าใด คงจะต้องดูราคา
ตลาดโลกอีกครั้งหนึ่ง แต่ ณ ขณะนี้รัฐบาลชดเชยอยู่ที่ระดับ 2.76 บาทต่อกิโลกรัม จึงเท่ากับจะต้องปรับเพิ่มขึ้น 76 สตางค์ต่อกิโลกรัม อย่างไรก็
ตาม การปรับโครงสร้างราคาดังกล่าว ทำให้ประชาชนรับภาระ 76 สตางค์ต่อกิโลกรัม รัฐบาลรับภาระ 2 บาทต่อกิโลกรัม หรือคิดเป็นถังขนาด
15 กิโลกรัม รัฐบาลต้องจ่ายชดเชย 30 บาทต่อถัง ส่วนราคาก๊าซหุงต้ม ที่บวกราคาเพิ่มอีก 76 สตางค์นั้น ทำให้ราคาปรับเพิ่มขึ้นจาก 16.81
บาทต่อกิโลกรัม เป็น 17.57 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้ครัวเรือนที่ใช้ก๊าซขนาด 15 กิโลกรัม จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเดือนละ 5 บาท หรือวันละ
17 สตางค์ และผลต่อราคาอาหารสำเร็จรูป มีอัตราเพิ่มขึ้นจานละ 3 สตางค์ ส่วนผลต่อรถแท๊กซี่ที่ใช้ก๊าซมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 15 บาทต่อกะ 12
ชั่วโมง เป็นต้น (ผู้จัดการรายวัน, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นของคนอเมริกันเพิ่มขึ้นในเดือน มิ.ย.47 รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ 25 มิ.ย.47 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของคนอเมริกัน
สำหรับเดือน มิ.ย.47 ซึ่งสำรวจโดย ม.มิชิแกน อยู่ที่ระดับ 95.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 90.2 และสอดคล้องกับการคาดการณ์จาก
ผลสำรวจโดยรอยเตอร์ ซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.5 อันเป็นผลจากภาพการจ้างงานและสภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไปที่ดีขึ้นรวมถึงราคาขายปลีกโดยเฉลี่ย
ของน้ำมันเบนซินที่อ่อนตัวลงร้อยละ 6 ในช่วงปลายเดือน มิ.ย.47 จากระดับสูงสุดที่ 2.054 ดอลลาร์ สรอ.ต่อแกลลอนในวันที่ 26 พ.ค.47
การเพิ่มขึ้นของดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวอเมริกันในเดือนนี้ได้สร้างความประหลาดใจให้นักวิเคราะห์ซึ่งมองว่าคนอเมริกันยังกังวล
เกี่ยวกับความขัดแย้งในอิรักและการส่งมอบอำนาจการปกครองจาก สรอ.ให้รัฐบาลอิรักในวันที่ 30 มิ.ย.47 ที่จะถึงนี้ (รอยเตอร์)
2. การเติบโตของเศรษฐกิจ สรอ.ในช่วงไตรมาสแรกปี 47 ลดลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 25 มิ.ย.47
รายงานของทางการ สรอ. เปิดเผยว่า เศรษฐกิจ สรอ.ในช่วงไตรมาสแรกของปี 47 เติบโตลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ขณะที่
อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น โดย ก.พาณิชย์ สรอ. ได้ปรับลดการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ในประเทศในช่วงไตรมาสแรกของปี 47 ลงเหลือร้อยละ 3.9
จากที่รายงานไว้ในเดือนก่อนที่ระดับร้อยละ 4.4 ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้กับบรรดานักเศรษฐศาสตร์เป็นอันมาก ขณะที่ทางการได้ปรับเพิ่ม
อัตราเงินเฟ้อในการรายงานครั้งนี้ ซึ่งเป็นสิ่งยืนยันว่า ระดับราคาสินค้าได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อันจะเป็นแรงกระตุ้นให้ ธ.กลาง สรอ.ขยับ
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์หน้า หลังจากที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำสุดนับแต่ปี 2501 โดยดัชนีราคาหลัก (ไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน)
ที่ใช้ชี้วัดการใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นสู่ระดับร้อยละ 2 ในช่วงไตรมาสแรกปี 47 จากที่รายงานไว้ก่อนหน้านี้ที่ระดับร้อยละ 1.7 โดยมีสาเหตุ
จากยอดขายบ้านสำเร็จรูปที่เพิ่มขึ้นสูงเกินความคาดหมายร้อยละ 2.6 ในเดือน พ.ค.47 รวมทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ล้วนเป็นปัจจัย
สนับสนุนอัตราเงินเฟ้อให้เพิ่มขึ้นด้วย (รอยเตอร์)
3. ธ.กลางอังกฤษเห็นว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลกอาจจะไม่มีเสถียรภาพหากมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วเกินไป
รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 47 ธ.กลางอังกฤษเตือนว่าปัจจัยต่างๆอาทิเช่นการขยายตัวของอุปสงค์สำหรับกองทุน Hedge funds
และการลดลงของราคาบ้านจะกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินของโลกหากอัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มอย่างรวดเร็ว รองผวก.เสถียรภาพทางการเงิน
ของธ.กลางอังกฤษเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขทางเศรษฐกิจอาจจะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาหรือปัญหาสภาพคล่องในตลาดอย่างมาก
โดยคำเตือนดังกล่าวถูกเปิดเผยใน the BoE’s half yearly Financial Stability Review ล่วงหน้าเป็นเวลา 2 วันก่อนที่ ธ.กลางสรอ.
ซึ่งเป็นธ.กลางที่มีอิทธิพลที่สุดในโลกได้กำหนดที่จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี ในขณะที่ ธ.กลางอังกฤษนั้นได้มีการ
ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาแล้ว 4 ครั้งนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 46 รวมปรับเพิ่มแล้วประมาณร้อยละ 1 ทั้งนี้กองทุน Hedge funds เป็นกองทุนที่
ต้องการผลตอบแทนสูงและมักจะมีการเก็งกำไรในตลาดพันธบัตร และหากมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเร็วเกินไปจะส่งผลต่อการลงทุนในตลาดพันธบัตร
โดยกองทุน Hedge funds ซึ่งครั้งหนึ่งเป็นกองทุนยอดนิยมเฉพาะนักลงทุนที่ร่ำรวย ปัจจุบันได้เป็นที่นิยมสำหรับนักลงทุนโดยทั่วไปสาเหตุจากที่กองทุน
รวมที่ลงทุนในหุ้นไม่สามารถให้ผลตอบแทนรายปีได้เป็นตัวเลข 2 หลักมาตั้งแต่ปลายปี 33 (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจของมาเลเซียไม่มีแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ รายงานจากเมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.47
นาง Zeti Akhtar Aziz ผู้ว่าการ ธ.กลางมาเลเซีย กล่าวว่า เศรษฐกิจของมาเลเซียไม่มีแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ และไม่มีสัญญาณใด ๆ
ที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อราคาสินค้าจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจของมาเลเซียในปี 47 จะเติบโตตามเป้าหมายที่วางไว้
ประมาณร้อยละ 6.0 — 6.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.2 ในปี 46 ทั้งนี้ เศรษฐกิจของมาเลเซียเติบโตร้อยละ 7.6 ในช่วงไตรมาสแรกของปี 46
และปี 47 นับเป็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงสุดในรอบ 4 ปี มาเลเซียเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากอินโดนีเซียใน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงไม่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 21 ปี ในขณะที่ราคาน้ำมันได้สร้างแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ
กับประเทศที่พึ่งพาน้ำมันในการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วเอเชีย ทั้งนี้ มาเลเซียมีการส่งออกน้ำมันเพียงเล็กน้อยจึงทำให้มีน้ำมันเพียงพอต่อการบริโภค
ส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐเป็นไปด้วยดีและฐานะการเงินของรัฐบาลก็มีความแข็งแกร่งเช่นกัน โดยมาเลเซียซึ่งระบบเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการผลิต
เพื่อการส่งออกได้เริ่มใช้วิธีการจัดทำ งปม. แบบขาดดุลมาตั้งแต่ปี 41 หลังจากสิ้นสุดวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย อย่างไรก็ตาม มาเลเซีย
ต้องการลดการขาดดุล งปม. ปี 47ให้อยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5 ของจีดีพี และลดลงสู่ระดับร้อยละ 3.5 — 4.0 ในปี 48 จากร้อยละ 5.3 ในปี 46
ทางด้านอัตราดอกเบี้ยของมาเลเซียจะขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในประเทศ ซึ่งคาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับ
ต่ำที่ร้อยละ 1.0 โดยอัตราดอกเบี้ยข้ามคืนอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.7 ส่วนเรื่องทุนสำรองเงินตราต่างประเทศนั้น มาเลเซียได้ปรับสัดส่วนเพิ่ม
ความหลากหลายของเงินสกุลต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และจะคงสัดส่วนเช่นนี้ต่อไปในระยะกลางถึงระยะยาว ทั้งนี้
ณ กลางเดือน มิ.ย.47 มาเลเซียมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ 53.98 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28/6/47 25/6/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.826 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.6310/40.9225 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250-1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 644.00/23.02 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,600/7,700 7,600/7,700 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 32.58 33.12 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 18.79*/14.59 18.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 18 มิ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-