หัตถกรรมพื้นบ้านที่ได้นำมาศึกษานี้ มีความหมายถึง งานหัตถกรรมที่ผลิตโดยชาวบ้านหรือช่างพื้นบ้านในท้องถิ่นชนบท ที่มีรูปลักษณะเอกลักษณ์เป็นไปตามถิ่นกำหนดของแต่ละท้องถิ่นนั้น โดยยึดหลักในการใช้วัสดุในท้องถิ่นของตนเองเป็นส่วนใหญ่ งานหัตถกรรมพื้นบ้านแบ่งออกได้เป็น 16 ประเภท ได้แก่ ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่และหวาย ผลิตภัณฑ์เครื่องรัก ผลิตภัณฑ์เส้นใยพืช ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา เครื่องโลหะ เครื่องไม้ เครื่องหนัง อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์กระดาษ ดอกไม้ประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว ผลิตภัณฑ์เปลือกหอย ผลิตภัณฑ์เขาสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากกระดูกสัตว์ ผลิตภัณฑ์หิน ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีการผลิตจำหน่ายอยู่ทุกภาคของประเทศ ตามความเหมาะสมทั้งทางด้านภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมท้องถิ่นและแหล่งวัตถุดิบ เช่น ภาคเหนือนิยมผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย ผลิตภัณฑ์ไม้ กระดาษสา เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเขิน เครื่องเงิน ฯลฯ ภาคใต้นิยมผลิตภัณฑ์เส้นใยพืช ผลิตภัณฑ์จากเปลือกหอย ผลิตภัณฑ์เครื่องถม ผลิตภัณฑ์หนังตะลุง ผลิตภัณฑ์ไม้ยางพารา ฯลฯ ภาคกลางนิยมผลิต ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ — หวาย เครื่องปั้นดินเผา ดอกไม้ประดิษฐ์ อัญมณีและเครื่องประดับ ฯลฯ งานหัตถกรรมพื้นบ้านเป็นงานที่ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง ใช้เครื่องมือ เครื่องทุ่นแรงในการผลิตแบบง่ายๆ และใช้วัตถุดิบที่สามารถหาได้ในแหล่งผลิตหรือในท้องถิ่นเป็นหลัก โดยทักษะในการผลิตนั้น เป็นความรู้ความสามารถที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ หรือได้รับการอบรมแนะนำจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องที่ให้การส่งเสริม มีการผลิตในหลายลักษณะตั้งแต่ผลิตคนเดียวแบบอิสระที่ผลิตและจำหน่ายเอง รับจ้างผลิตให้กับนายทุนหรือคนกลาง และผลิตในลักษณะของการรวมกลุ่มแบบธุรกิจชุมชนที่ได้รับการช่วยเหลือส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรพัฒนาชุมชน ซึ่งการผลิตในลักษณะอิสระจะไม่มีระบบการบริหารการจัดการเหมือนกับการผลิตในลักษณะกลุ่ม
ในด้านการตลาดของหัตถกรรมพื้นบ้าน ลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์มี 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มลูกค้าทั่วไป ได้แก่ เพื่อนบ้านในท้องถิ่นหรือท้องถิ่นใกล้เคียง ข้าราชการ นักท่องเที่ยวคนไทย บุคคลทั่วไปที่สนใจงานหัตถกรรม มีวัตถุประสงค์ในการซื้อเพื่อนำไปใช้ประโยชน์หรือเป็นของฝากที่ระลึก 2. กลุ่มลูกค้าที่เป็นคนกลางหรือตัวแทนจำหน่าย ได้แก่ คนกลางประเภทต่างๆ บริษัทตัวแทนจำหน่ายหรือผู้ค้าส่งในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ๆ มีวัตถุประสงค์ในการซื้อหรือสั่งผลิตเพื่อนำไปจำหน่ายต่ออีกทอดหนึ่ง 3. กลุ่มลูกค้าต่างประเทศ ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่ซื้อไปเพื่อเป็นของฝากของที่ระลึกและผู้นำเข้าหรือผู้ส่งสินค้าจากต่างประเทศที่สั่งซื้อสินค้าไปเพื่อจำหน่ายในประเทศของตนเองในรูปของการค้าส่ง สำหรับช่องทางการ จำหน่ายผลิตภัณฑ์มีตั้งแต่ การจำหน่ายที่บ้าน การเปิดร้านขายปลีกของตนเอง การส่งไปยังร้านจำหน่ายสินค้าหรือส่งให้ตัวแทนจัดจำหน่าย และการออกร้านจำหน่ายตามงานต่างๆ โดยผู้ผลิตจะเป็นดำเนินการหาตลาดโดยวิธีเหล่านี้ด้วยตนเอง หรือมีหน่วยงานที่ให้การส่งเสริมทั้งภาครัฐและเอกชน ช่วยหาตลาดให้ งานหัตถกรรมพื้นบ้านเป็นงานที่มีทั้งจุดอ่อน จุดแข็งและมีโอกาสที่จะพัฒนาต่อไปได้ในอนาคต จากการศึกษาวิเคราะห์ทราบว่างานหัตถกรรมพื้นบ้านมีจุดอ่อน จุดแข็ง และโอกาสดังนี้
จุดแข็ง คือ เป็นงานที่มีคุณค่าทางวัฒธรรมและมีเอกลักษณ์เดิมเฉพาะตัวที่สืบทอดกันมา มีวิธีการผลิตที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน สามารถหาวัตถุดิบในการผลิตได้ในท้องถิ่นที่ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใช้เงินลงทุน ไม่มากสามารถที่จะพัฒนาขึ้นมาเป็นอาชีพส่งเสริมให้กับชาวชนบท ซึ่งจะช่วยลดการเคลื่อนย้ายแรงงานไปสู่ภูมิภาคเมืองได้
จุดอ่อน คือ กระบวนการผลิตใช้เวลามากไม่ประหยัดแรงงาน ไม่เหมาะสมกับการแข่งขันเชิงธุรกิจ ผู้ผลิตไม่ไให้ความสำคัญกับการควบคุมคุณภาพ ขาดแรงจูงใจ ขาดข้อมูลความรู้และความคิดสร้างสรรค์ในการที่จะพัฒนาทางด้านการผลิต และการดำเนินธุรกิจ
โอกาส คือ ความโดดเด่นทางด้านเอกลักษณ์ กระแสความนิยมใช้ของไทย การรักษาสิ่งแวดล้อม การผลิตเรียบง่ายและลงทุนต่ำ และหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสนใจส่งเสริมกันเป็นจำนวนมาก เหล่านี้ทำให้งานหัตถกรรมพื้นบ้านยังมีโอกาสที่จะพัฒนาให้ก้าวหน้าต่อไป
อย่างไรก็ตามในขณะนี้ถึงแม้ว่าจะมีหน่วยงานต่างๆ ให้การช่วยเหลือส่งเสริมบ้างแล้ว แต่ก็ยังเกิดปัญหาข้อจำกัดต่างๆ เช่น ในด้านการผลิต มีปัญหากาเริ่มขาดแคลนแหล่งวัตถุดิบหรือวัตถุดิบที่มีด้อยคุณภาพ เครื่องมืออุปกรณ์และกรรมวิธีการผลิตยังล้าสมัยทำให้ผลิตได้ช้า ขาดแคลนช่างฝีมือ ขาดความรู้ในการที่จะผลิตผลิตภัณฑ์ให้เกิดรูปแบบใหม่ๆ และมีคุณภาพได้มาตรฐาน ในด้านการตลาดประสบปัญหาการเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง ตลาดยังอยู่ในวงแคบเฉพาะกลุ่ม ผู้ผลิตขาดความรู้ด้านการตลาดและการจัดการ ขาดแคลนเงินทุนในการขยายการผลิต และในส่วนของหน่วยงานที่ให้การส่งเสริมก็ยังขาดความรู้และประสบการณ์ด้วย จากปัญหาอุปสรรคดังกล่าว รายงานการศึกษานี้ได้เสนอแนะกลยุทธ์ที่เหมาะสม 3 ประการคือ กลยุทธ์การตลาด กลยุทธ์การจัดการ และกลยุทธ์การพัฒนาเทคโนโลยี และวัตถุดิบให้มีคุณภาพ เช่น ผลิตภัณฑ์กระดาษสา ผลิตภัณฑ์ผักตบชวา เสื่อกกและผลิตภัณฑ์ฝ้ายย้อมสีจากธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาแบบพื้นบ้าน ได้ข้อสรุปว่า ปัญหาที่สำคัญของการพัฒนาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะต้องพัฒนาตั้งแต่ วัตถุดิบ คุณภาพ รูปแบบ เทคนิคกรรมวิธีการผลิตการรวมกลุ่ม การประชาสัมพันธ์ ตลอดจนพัฒนาจิตสำนึกของผู้ผลิต จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ทดแทนในแหล่งผลิตอื่นๆทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
อุตสาหกรรมหัตถกรรมพื้นบ้านเป็นแหล่งอาชีพเสริมที่สำคัญของชาวชนบทที่สามควรจะได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างจริงจัง เนื่องจากยังประสบปัญหาหลายประการ หากมีการส่งเสริมอย่างถูกทิศทางด้วยแผนงานทีชัดเจน ต่อเนื่อง และครบวงจรภายใต้ความร่วมมืออย่างจริงจังจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องย่อมช่วยให้งานหัตถกรรมพื้นบ้านไทยขยายตัวอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะเป็นหนทางสำคัญที่จะช่วยฟื้นฟุเศรษฐกิจของประเทศและรักษาเอกลัษณ์ไทย ลดการอพยพแรงงาน กระจายรายได้สู่ภูมิภาค อันเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศให้เติบโตยั่งยืน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
ในด้านการตลาดของหัตถกรรมพื้นบ้าน ลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์มี 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มลูกค้าทั่วไป ได้แก่ เพื่อนบ้านในท้องถิ่นหรือท้องถิ่นใกล้เคียง ข้าราชการ นักท่องเที่ยวคนไทย บุคคลทั่วไปที่สนใจงานหัตถกรรม มีวัตถุประสงค์ในการซื้อเพื่อนำไปใช้ประโยชน์หรือเป็นของฝากที่ระลึก 2. กลุ่มลูกค้าที่เป็นคนกลางหรือตัวแทนจำหน่าย ได้แก่ คนกลางประเภทต่างๆ บริษัทตัวแทนจำหน่ายหรือผู้ค้าส่งในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ๆ มีวัตถุประสงค์ในการซื้อหรือสั่งผลิตเพื่อนำไปจำหน่ายต่ออีกทอดหนึ่ง 3. กลุ่มลูกค้าต่างประเทศ ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่ซื้อไปเพื่อเป็นของฝากของที่ระลึกและผู้นำเข้าหรือผู้ส่งสินค้าจากต่างประเทศที่สั่งซื้อสินค้าไปเพื่อจำหน่ายในประเทศของตนเองในรูปของการค้าส่ง สำหรับช่องทางการ จำหน่ายผลิตภัณฑ์มีตั้งแต่ การจำหน่ายที่บ้าน การเปิดร้านขายปลีกของตนเอง การส่งไปยังร้านจำหน่ายสินค้าหรือส่งให้ตัวแทนจัดจำหน่าย และการออกร้านจำหน่ายตามงานต่างๆ โดยผู้ผลิตจะเป็นดำเนินการหาตลาดโดยวิธีเหล่านี้ด้วยตนเอง หรือมีหน่วยงานที่ให้การส่งเสริมทั้งภาครัฐและเอกชน ช่วยหาตลาดให้ งานหัตถกรรมพื้นบ้านเป็นงานที่มีทั้งจุดอ่อน จุดแข็งและมีโอกาสที่จะพัฒนาต่อไปได้ในอนาคต จากการศึกษาวิเคราะห์ทราบว่างานหัตถกรรมพื้นบ้านมีจุดอ่อน จุดแข็ง และโอกาสดังนี้
จุดแข็ง คือ เป็นงานที่มีคุณค่าทางวัฒธรรมและมีเอกลักษณ์เดิมเฉพาะตัวที่สืบทอดกันมา มีวิธีการผลิตที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน สามารถหาวัตถุดิบในการผลิตได้ในท้องถิ่นที่ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใช้เงินลงทุน ไม่มากสามารถที่จะพัฒนาขึ้นมาเป็นอาชีพส่งเสริมให้กับชาวชนบท ซึ่งจะช่วยลดการเคลื่อนย้ายแรงงานไปสู่ภูมิภาคเมืองได้
จุดอ่อน คือ กระบวนการผลิตใช้เวลามากไม่ประหยัดแรงงาน ไม่เหมาะสมกับการแข่งขันเชิงธุรกิจ ผู้ผลิตไม่ไให้ความสำคัญกับการควบคุมคุณภาพ ขาดแรงจูงใจ ขาดข้อมูลความรู้และความคิดสร้างสรรค์ในการที่จะพัฒนาทางด้านการผลิต และการดำเนินธุรกิจ
โอกาส คือ ความโดดเด่นทางด้านเอกลักษณ์ กระแสความนิยมใช้ของไทย การรักษาสิ่งแวดล้อม การผลิตเรียบง่ายและลงทุนต่ำ และหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสนใจส่งเสริมกันเป็นจำนวนมาก เหล่านี้ทำให้งานหัตถกรรมพื้นบ้านยังมีโอกาสที่จะพัฒนาให้ก้าวหน้าต่อไป
อย่างไรก็ตามในขณะนี้ถึงแม้ว่าจะมีหน่วยงานต่างๆ ให้การช่วยเหลือส่งเสริมบ้างแล้ว แต่ก็ยังเกิดปัญหาข้อจำกัดต่างๆ เช่น ในด้านการผลิต มีปัญหากาเริ่มขาดแคลนแหล่งวัตถุดิบหรือวัตถุดิบที่มีด้อยคุณภาพ เครื่องมืออุปกรณ์และกรรมวิธีการผลิตยังล้าสมัยทำให้ผลิตได้ช้า ขาดแคลนช่างฝีมือ ขาดความรู้ในการที่จะผลิตผลิตภัณฑ์ให้เกิดรูปแบบใหม่ๆ และมีคุณภาพได้มาตรฐาน ในด้านการตลาดประสบปัญหาการเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง ตลาดยังอยู่ในวงแคบเฉพาะกลุ่ม ผู้ผลิตขาดความรู้ด้านการตลาดและการจัดการ ขาดแคลนเงินทุนในการขยายการผลิต และในส่วนของหน่วยงานที่ให้การส่งเสริมก็ยังขาดความรู้และประสบการณ์ด้วย จากปัญหาอุปสรรคดังกล่าว รายงานการศึกษานี้ได้เสนอแนะกลยุทธ์ที่เหมาะสม 3 ประการคือ กลยุทธ์การตลาด กลยุทธ์การจัดการ และกลยุทธ์การพัฒนาเทคโนโลยี และวัตถุดิบให้มีคุณภาพ เช่น ผลิตภัณฑ์กระดาษสา ผลิตภัณฑ์ผักตบชวา เสื่อกกและผลิตภัณฑ์ฝ้ายย้อมสีจากธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาแบบพื้นบ้าน ได้ข้อสรุปว่า ปัญหาที่สำคัญของการพัฒนาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะต้องพัฒนาตั้งแต่ วัตถุดิบ คุณภาพ รูปแบบ เทคนิคกรรมวิธีการผลิตการรวมกลุ่ม การประชาสัมพันธ์ ตลอดจนพัฒนาจิตสำนึกของผู้ผลิต จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ทดแทนในแหล่งผลิตอื่นๆทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
อุตสาหกรรมหัตถกรรมพื้นบ้านเป็นแหล่งอาชีพเสริมที่สำคัญของชาวชนบทที่สามควรจะได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างจริงจัง เนื่องจากยังประสบปัญหาหลายประการ หากมีการส่งเสริมอย่างถูกทิศทางด้วยแผนงานทีชัดเจน ต่อเนื่อง และครบวงจรภายใต้ความร่วมมืออย่างจริงจังจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องย่อมช่วยให้งานหัตถกรรมพื้นบ้านไทยขยายตัวอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะเป็นหนทางสำคัญที่จะช่วยฟื้นฟุเศรษฐกิจของประเทศและรักษาเอกลัษณ์ไทย ลดการอพยพแรงงาน กระจายรายได้สู่ภูมิภาค อันเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศให้เติบโตยั่งยืน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-