ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ชี้ประเทศในแถบเอเชียต้องดูแลเงินทุนเคลื่อนย้ายให้เหมาะสม ดร.บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยในงานสัมมนาเรื่อง “ความท้าทายของเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก” ที่ประเทศมาเลเซียว่า ขณะนี้เศรษฐกิจของประเทศในกลุ่ม
เอเชียตะวันออกได้กลับมาขยายตัวในอัตราที่สูงที่สุดของโลกอีกครั้ง หลังจากฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงปี 40 ซึ่งเป็นการฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาด
การณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกจะต้องดูแลเพื่อที่จะทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจยั่งยืนต่อไปได้ คือ การดูแลเงินทุน
เคลื่อนย้ายให้เหมาะสม รวมทั้งกลุ่มประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียจะต้องรวมตัวกัน เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการต่อรองในตลาดการเงินของโลก
และควรจะร่วมมือกันในระดับพหุภาคีทางด้านการเงิน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพึ่งพาเงินทุนจากตะวันตกลดลง ทั้งนี้ กองทุนพันธบัตรเอเชียเป็นสิ่งที่น่า
สนับสนุน เนื่องจากเป็นความร่วมมือทางการเงินที่จะนำไปสู่การเพิ่มระดับเงินออมในภูมิภาค รวมทั้งช่วยดูแลสภาพคล่องในภูมิภาคให้เพียงพอ ซึ่ง
จะทำให้เกิดความเข้มแข็งมากขึ้นในระบบการเงินของภูมิภาคเอเชีย (กรุงเทพธุรกิจ)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไทยในเดือน พ.ค.47 ลดลงอยู่ที่ระดับ 99.9 รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะ
โฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจการคลังในเดือน พ.ค.47 ว่า เศรษฐกิจไทยยังคงมีแนวโน้มที่ขยายตัวในเกณฑ์ดี
เห็นได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.8 จากร้อยละ 20 ในเดือนก่อน อย่างไร
ก็ตาม ความต้องการสินค้าคงทนชะลอตัวลงเล็กน้อย ส่งผลให้ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากสินค้าคงทนในเดือน พ.ค.47 ขยายตัวลดลงร้อยละ 18.4
เทียบกับร้อยละ 26.8 ในเดือนก่อน ซึ่งมีทิศทางเดียวกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 99.9 จุด จาก 101.6 จุด
โดยมีปัจจัยลบจากปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ และราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.3 เนื่องจากผลของ
การเบิกจ่ายเงินเดือนในอัตราใหม่ในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนในเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวในอัตราเร่ง เพื่อทดแทนกำลังการ
ผลิตเดิมและขยายกำลังการผลิต โดยมูลค่าและปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเดือน เม.ย.47 ขยายตัวถึงร้อยละ 29.1 และร้อยละ 14.9 ด้านดัชนี
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย.47 ขยายตัวร้อยละ 7.7 แต่อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนเดียวกันชะลอตัวลงที่ร้อยละ 69.8 ลดลง
จากร้อยละ 77.7 ในเดือนก่อน เนื่องจากมีวันหยุดต่อเนื่องติดต่อกันหลายวัน (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. กรมสรรพสามิตคาดว่าจะสามารถจัดเก็บน้ำมันในเดือน มิ.ย.47 ได้ลดลงร้อยละ 0.88 และ 0.18 เมื่อเทียบต่อปีและต่อเดือน
ตามลำดับ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า รายได้จัดเก็บน้ำมันเบื้องต้นจากการประมาณการล่วงหน้าในเดือน มิ.ย.47 คาดว่าจะสามารถจัด
เก็บได้ 6,611 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งจัดเก็บได้ 6,669 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.88 และลดลงจากเดือน
พ.ค.47 ร้อยละ 0.18 ซึ่งนับว่าลดลงเพียงเล็กน้อย และเป็นการลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญ ขณะที่ในช่วง 8 เดือน ปีงบประมาณ 47
(ต.ค.46-พ.ค.47) กรมสรรพสามิตสามารถจัดเก็บภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันได้ 51,246 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเก็บได้
48,193 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 6.34 และสูงกว่าประมาณการ 227 ล้านบาท ทำให้มั่นใจได้ว่ากรมสามารถจัดเก็บภาษีได้ตามเป้าหมาย
หรืออาจเกินกว่าเป้าหมายเล็กน้อยอย่างแน่นอน (ผู้จัดการรายวัน)
4. ก.การท่องเที่ยวเสนอยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวปี 47-51 ต่อ ครม. โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.
ได้รับทราบกรอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวปี 47-51 ตามที่ ก.การท่องเที่ยวและการกีฬาเสนอมา โดยตั้งเป้าหมายพัฒนาไทยเป็น
ศูนย์กลางการท่องเที่ยวแห่งเอเชียภายในปี 51 รวมทั้งตั้งเป้าหมายเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศให้เป็น 20 ล้านคน หรือมีรายได้จาก
การท่องเที่ยวไม่น้อยกว่า 700,000 ล้านบาท สำหรับยุทธศาสตร์ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ 1) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการ
ท่องเที่ยว 2) การพัฒนาสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว เน้นการกระจายรายได้ และสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน และ 3) การพัฒนา
ระบบบริหารจัดการแบบบูรณาการ ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรภาครัฐและเอกชน (ข่าวสด, เดลินิวส์)
5. ตลท.มั่นใจมาตรการวางหลักทรัพย์ค้ำประกันร้อยละ 10 จะไม่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนในระยะยาว กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า เกณฑ์การวางหลักทรัพย์ค้ำประกันร้อยละ 10 สำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์บัญชีเงินสดที่
จะเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 2 ก.ค.47 นี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าการซื้อขายและภาพการลงทุนในตลาดหุ้นระยะยาว แต่ในช่วงแรกที่เริ่มใช้มาตรการ
นักลงทุนอาจไม่มั่นใจในระบบที่จะมารองรับการทำงาน อาจกระทบทางด้านจิตวิทยาการลงทุน ทำให้มูลค่าการซื้อขายลดลงบ้างในระยะแรก หลัง
จากนั้นจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติอย่างแน่นอน (เดลินิวส์, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.เพิ่มขึ้น สาเหตุจากตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้น รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 29 มิ.ย.47 The
Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน มิ.ย.47 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 101.9 จากระดับ 93.1 ในเดือน
ก่อน สูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 95 และเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.45 สาเหตุจากผู้บริโภคมี
มุมมองต่อตลาดแรงงานดีขึ้นเนื่องจากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในระดับสูงในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ แม้ว่าผู้วิเคราะห์จะมองว่า ตัวเลขความเชื่อมั่นของ
ผู้บริโภคจะสามารถบ่งชี้ถึงแนวโน้มการใช้จ่ายในอนาคตของผู้บริโภคได้ แต่นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งเห็นว่า ผลจากการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
มีส่วนสัมพันธ์กันเพียงเล็กน้อยระหว่างข้อมูลที่ผู้บริโภคตอบแบบสอบถามกับพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินที่แท้จริงของผู้บริโภค เห็นได้จากการประมาณ
การยอดขายที่ลดลงในเดือน มิ.ย.47 ของร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ของ สรอ. (Wal-Mart and Target) ซึ่งทำให้เห็นแนวโน้มว่าการใช้จ่ายของ
ผู้บริโภคที่แข็งแกร่งอาจชะลอตัวลง อนึ่ง ดัชนีความเชื่อมั่นฯ จากการสำรวจของ The Conference Board ที่เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการสำรวจ
โดย ABC News/Money Magazine ซึ่งเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 27 มิ.ย.47 เพิ่มขึ้นที่ระดับ |11 จากระดับ |15
ในสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สอง โดยมีสาเหตุจากราคาพลังงานที่ลดลง และการปรับตัวดีขึ้นของตลาดแรงงานซึ่ง
นักวิเคราะห์คาดว่าจะมีการจ้างงานใหม่นอกภาคเกษตรเป็นจำนวน 250,000 คนในเดือน มิ.ย.47 (รอยเตอร์)
2. คาดว่าอัตราดอกเบี้ยสรอ. อาจจะปรับขึ้นร้อยละ 0.25 ในสัปดาห์นี้ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 47 กลุ่มตลาด
พันธบัตรคาดว่าในสัปดาห์นี้คณะกรรมการนโยบายการเงินธ.กลางสรอ.จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.25 และจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น
3 เท่าในราวเดือนมิ.ย. ปีหน้า ทั้งนี้สมาคมตลาดพันธบัตรซึ่งมีประกอบด้วยสมาชิก 31 บริษัทเห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าวของธ.กลางสรอ.และ
คาดว่าจะผลักดันให้มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสรอ.เป็นร้อยละ 1.25 เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ นอกจากนั้นยังคาด
ว่าจะมีการปรับเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อยร้อยละ 0.25 ประมาณเดือนก.ย. และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.00 ประมาณปลายปีนี้ สำหรับคาดการณ์แนวโน้ม
ในปี 48 คาดว่าในเดือนมี.ค. 48 อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของธ.กลางสรอ.จะเพิ่มขึ้นถึงระดับร้อยละ 2.5 และประมาณร้อยละ 3.00 ในเดือน
มิ.ย. 48 เพื่อควบคุมการสูงขึ้นของราคาสินค้า อย่างไรก็ตามนักเศรษฐศาสตร์ให้ความเห็นว่าการที่ธ.กลางสรอ. มีมาตรการเพื่อป้องกันภาวะ
เงินเฟ้อแต่สมาคมตลาดพันธบัตรเห็นว่าควรอยู่บนพื้นฐานของความยืดหยุ่นมากกว่าการมุ่งปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอย่างจริงจังเพราะอาจส่งผลกระทบ
ต่อการลงทุน (รอยเตอร์)
3. อัตราดอกเบี้ยของอังกฤษจะไม่ปรับขึ้นเร็วเหมือนประเทศอื่น รายงานจากลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.47
Mervyn King ผู้ว่าการ ธ.กลางอังกฤษ กล่าวว่า อังกฤษจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วเหมือนประเทศอื่น และถ้าจะมีการปรับขึ้นก็คงจะ
น้อยกว่าประเทศอื่น เนื่องจากอังกฤษได้ทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้วตั้งแต่เดือน พ.ย.47 รวม 4 ครั้ง ๆ ละร้อยละ 0.25 ทำให้อัตรา
ดอกเบี้ยของอังกฤษในปัจจุบันอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.50 ในขณะที่ประเทศอื่นอยู่ในระดับต่ำมาก เช่น สรอ. ร้อยละ 1.0 และประเทศที่ใช้เงิน
สกุลยูโรร้อยละ 2.0 ทำให้ประเทศเหล่านั้นสามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีกมาก ซึ่งสาเหตุที่อัตราดอกเบี้ยของอังกฤษอยู่ในระดับสูงกว่า
เนื่องจากเศรษฐกิจของอังกฤษมีอัตราการเติบโตที่ดีกว่า ทางด้านโอกาสในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเริ่มชัดเจนขึ้นมากนับตั้งแต่เริ่มมีสัญญาณ
การฟื้นตัวเมื่อต้นปี 47 ในขณะที่เศรษฐกิจของเยอรมนียังคงฟื้นตัวไม่ดีเท่าที่ควร ส่วนเขตยูโรเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้นบ้างแล้ว (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค.47 ขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อน รายงานจากโตเกียว เมื่อ
29 มิ.ย.47 ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค.47 ขยายตัวร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนต่ำกว่าที่คาดไว้จากผลสำรวจก่อนหน้านี้ว่าจะ
ขยายตัวร้อยละ 2.5 และต่ำกว่าเดือนก่อนซึ่งขยายตัวร้อยละ 3.5 ทำให้เกรงกันว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะไม่สามารถรักษาระดับการขยายตัวในช่วง
หลายเดือนที่ผ่านมา โดยเศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวถึงร้อยละ 6.1 ในไตรมาสแรกปีนี้เมื่อเทียบกับปีก่อน สูงกว่า สรอ.ซึ่งขยายตัวร้อยละ 3.9 ใน
ช่วงเวลาเดียวกัน อันเป็นผลจากความต้องการสินค้าของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นในตลาดโลก ในขณะที่ตัวเลขการจ้างงานในเดือนเดียวกันดีขึ้นโดยอัตราการ
ว่างงานลดลงเหลือร้อยละ 4.6 จากร้อยละ 4.7 ในเดือนก่อน และเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค.43 โดยอัตราการว่างงานลดลงอย่าง
ต่อเนื่องหลังจากอยู่ในระดับสูงสุดร้อยละ 5.5 ในเดือน ม.ค.46 โดยมีสัดส่วนตำแหน่งงานว่างต่อจำนวนคนหางานทำเพิ่มขึ้นเป็น 0.80 ใน
เดือน พ.ค.47 ซึ่งหมายความว่ามีตำแหน่งงานว่าง 80 ตำแหน่งสำหรับทุก 100 คนที่กำลังหางานทำ เพิ่มขึ้นจากระดับ 0.77 ในเดือน
เม.ย.47 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 30/6/47 29/6/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.889 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.7046/40.9986 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250-1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 649.62/23.79 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,500/7,600 7,600/7,700 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 31.54 31.37 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 18.79*/14.59 18.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 18 มิ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.ชี้ประเทศในแถบเอเชียต้องดูแลเงินทุนเคลื่อนย้ายให้เหมาะสม ดร.บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยในงานสัมมนาเรื่อง “ความท้าทายของเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก” ที่ประเทศมาเลเซียว่า ขณะนี้เศรษฐกิจของประเทศในกลุ่ม
เอเชียตะวันออกได้กลับมาขยายตัวในอัตราที่สูงที่สุดของโลกอีกครั้ง หลังจากฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงปี 40 ซึ่งเป็นการฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาด
การณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกจะต้องดูแลเพื่อที่จะทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจยั่งยืนต่อไปได้ คือ การดูแลเงินทุน
เคลื่อนย้ายให้เหมาะสม รวมทั้งกลุ่มประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียจะต้องรวมตัวกัน เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการต่อรองในตลาดการเงินของโลก
และควรจะร่วมมือกันในระดับพหุภาคีทางด้านการเงิน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพึ่งพาเงินทุนจากตะวันตกลดลง ทั้งนี้ กองทุนพันธบัตรเอเชียเป็นสิ่งที่น่า
สนับสนุน เนื่องจากเป็นความร่วมมือทางการเงินที่จะนำไปสู่การเพิ่มระดับเงินออมในภูมิภาค รวมทั้งช่วยดูแลสภาพคล่องในภูมิภาคให้เพียงพอ ซึ่ง
จะทำให้เกิดความเข้มแข็งมากขึ้นในระบบการเงินของภูมิภาคเอเชีย (กรุงเทพธุรกิจ)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไทยในเดือน พ.ค.47 ลดลงอยู่ที่ระดับ 99.9 รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะ
โฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจการคลังในเดือน พ.ค.47 ว่า เศรษฐกิจไทยยังคงมีแนวโน้มที่ขยายตัวในเกณฑ์ดี
เห็นได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.8 จากร้อยละ 20 ในเดือนก่อน อย่างไร
ก็ตาม ความต้องการสินค้าคงทนชะลอตัวลงเล็กน้อย ส่งผลให้ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากสินค้าคงทนในเดือน พ.ค.47 ขยายตัวลดลงร้อยละ 18.4
เทียบกับร้อยละ 26.8 ในเดือนก่อน ซึ่งมีทิศทางเดียวกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 99.9 จุด จาก 101.6 จุด
โดยมีปัจจัยลบจากปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ และราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.3 เนื่องจากผลของ
การเบิกจ่ายเงินเดือนในอัตราใหม่ในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนในเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวในอัตราเร่ง เพื่อทดแทนกำลังการ
ผลิตเดิมและขยายกำลังการผลิต โดยมูลค่าและปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเดือน เม.ย.47 ขยายตัวถึงร้อยละ 29.1 และร้อยละ 14.9 ด้านดัชนี
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย.47 ขยายตัวร้อยละ 7.7 แต่อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนเดียวกันชะลอตัวลงที่ร้อยละ 69.8 ลดลง
จากร้อยละ 77.7 ในเดือนก่อน เนื่องจากมีวันหยุดต่อเนื่องติดต่อกันหลายวัน (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. กรมสรรพสามิตคาดว่าจะสามารถจัดเก็บน้ำมันในเดือน มิ.ย.47 ได้ลดลงร้อยละ 0.88 และ 0.18 เมื่อเทียบต่อปีและต่อเดือน
ตามลำดับ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า รายได้จัดเก็บน้ำมันเบื้องต้นจากการประมาณการล่วงหน้าในเดือน มิ.ย.47 คาดว่าจะสามารถจัด
เก็บได้ 6,611 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งจัดเก็บได้ 6,669 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.88 และลดลงจากเดือน
พ.ค.47 ร้อยละ 0.18 ซึ่งนับว่าลดลงเพียงเล็กน้อย และเป็นการลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญ ขณะที่ในช่วง 8 เดือน ปีงบประมาณ 47
(ต.ค.46-พ.ค.47) กรมสรรพสามิตสามารถจัดเก็บภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันได้ 51,246 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเก็บได้
48,193 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 6.34 และสูงกว่าประมาณการ 227 ล้านบาท ทำให้มั่นใจได้ว่ากรมสามารถจัดเก็บภาษีได้ตามเป้าหมาย
หรืออาจเกินกว่าเป้าหมายเล็กน้อยอย่างแน่นอน (ผู้จัดการรายวัน)
4. ก.การท่องเที่ยวเสนอยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวปี 47-51 ต่อ ครม. โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.
ได้รับทราบกรอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวปี 47-51 ตามที่ ก.การท่องเที่ยวและการกีฬาเสนอมา โดยตั้งเป้าหมายพัฒนาไทยเป็น
ศูนย์กลางการท่องเที่ยวแห่งเอเชียภายในปี 51 รวมทั้งตั้งเป้าหมายเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศให้เป็น 20 ล้านคน หรือมีรายได้จาก
การท่องเที่ยวไม่น้อยกว่า 700,000 ล้านบาท สำหรับยุทธศาสตร์ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ 1) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการ
ท่องเที่ยว 2) การพัฒนาสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว เน้นการกระจายรายได้ และสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน และ 3) การพัฒนา
ระบบบริหารจัดการแบบบูรณาการ ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรภาครัฐและเอกชน (ข่าวสด, เดลินิวส์)
5. ตลท.มั่นใจมาตรการวางหลักทรัพย์ค้ำประกันร้อยละ 10 จะไม่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนในระยะยาว กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า เกณฑ์การวางหลักทรัพย์ค้ำประกันร้อยละ 10 สำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์บัญชีเงินสดที่
จะเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 2 ก.ค.47 นี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าการซื้อขายและภาพการลงทุนในตลาดหุ้นระยะยาว แต่ในช่วงแรกที่เริ่มใช้มาตรการ
นักลงทุนอาจไม่มั่นใจในระบบที่จะมารองรับการทำงาน อาจกระทบทางด้านจิตวิทยาการลงทุน ทำให้มูลค่าการซื้อขายลดลงบ้างในระยะแรก หลัง
จากนั้นจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติอย่างแน่นอน (เดลินิวส์, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.เพิ่มขึ้น สาเหตุจากตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้น รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 29 มิ.ย.47 The
Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน มิ.ย.47 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 101.9 จากระดับ 93.1 ในเดือน
ก่อน สูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 95 และเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.45 สาเหตุจากผู้บริโภคมี
มุมมองต่อตลาดแรงงานดีขึ้นเนื่องจากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในระดับสูงในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ แม้ว่าผู้วิเคราะห์จะมองว่า ตัวเลขความเชื่อมั่นของ
ผู้บริโภคจะสามารถบ่งชี้ถึงแนวโน้มการใช้จ่ายในอนาคตของผู้บริโภคได้ แต่นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งเห็นว่า ผลจากการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
มีส่วนสัมพันธ์กันเพียงเล็กน้อยระหว่างข้อมูลที่ผู้บริโภคตอบแบบสอบถามกับพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินที่แท้จริงของผู้บริโภค เห็นได้จากการประมาณ
การยอดขายที่ลดลงในเดือน มิ.ย.47 ของร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ของ สรอ. (Wal-Mart and Target) ซึ่งทำให้เห็นแนวโน้มว่าการใช้จ่ายของ
ผู้บริโภคที่แข็งแกร่งอาจชะลอตัวลง อนึ่ง ดัชนีความเชื่อมั่นฯ จากการสำรวจของ The Conference Board ที่เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการสำรวจ
โดย ABC News/Money Magazine ซึ่งเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 27 มิ.ย.47 เพิ่มขึ้นที่ระดับ |11 จากระดับ |15
ในสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สอง โดยมีสาเหตุจากราคาพลังงานที่ลดลง และการปรับตัวดีขึ้นของตลาดแรงงานซึ่ง
นักวิเคราะห์คาดว่าจะมีการจ้างงานใหม่นอกภาคเกษตรเป็นจำนวน 250,000 คนในเดือน มิ.ย.47 (รอยเตอร์)
2. คาดว่าอัตราดอกเบี้ยสรอ. อาจจะปรับขึ้นร้อยละ 0.25 ในสัปดาห์นี้ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 47 กลุ่มตลาด
พันธบัตรคาดว่าในสัปดาห์นี้คณะกรรมการนโยบายการเงินธ.กลางสรอ.จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.25 และจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น
3 เท่าในราวเดือนมิ.ย. ปีหน้า ทั้งนี้สมาคมตลาดพันธบัตรซึ่งมีประกอบด้วยสมาชิก 31 บริษัทเห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าวของธ.กลางสรอ.และ
คาดว่าจะผลักดันให้มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสรอ.เป็นร้อยละ 1.25 เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ นอกจากนั้นยังคาด
ว่าจะมีการปรับเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อยร้อยละ 0.25 ประมาณเดือนก.ย. และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.00 ประมาณปลายปีนี้ สำหรับคาดการณ์แนวโน้ม
ในปี 48 คาดว่าในเดือนมี.ค. 48 อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของธ.กลางสรอ.จะเพิ่มขึ้นถึงระดับร้อยละ 2.5 และประมาณร้อยละ 3.00 ในเดือน
มิ.ย. 48 เพื่อควบคุมการสูงขึ้นของราคาสินค้า อย่างไรก็ตามนักเศรษฐศาสตร์ให้ความเห็นว่าการที่ธ.กลางสรอ. มีมาตรการเพื่อป้องกันภาวะ
เงินเฟ้อแต่สมาคมตลาดพันธบัตรเห็นว่าควรอยู่บนพื้นฐานของความยืดหยุ่นมากกว่าการมุ่งปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอย่างจริงจังเพราะอาจส่งผลกระทบ
ต่อการลงทุน (รอยเตอร์)
3. อัตราดอกเบี้ยของอังกฤษจะไม่ปรับขึ้นเร็วเหมือนประเทศอื่น รายงานจากลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.47
Mervyn King ผู้ว่าการ ธ.กลางอังกฤษ กล่าวว่า อังกฤษจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วเหมือนประเทศอื่น และถ้าจะมีการปรับขึ้นก็คงจะ
น้อยกว่าประเทศอื่น เนื่องจากอังกฤษได้ทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้วตั้งแต่เดือน พ.ย.47 รวม 4 ครั้ง ๆ ละร้อยละ 0.25 ทำให้อัตรา
ดอกเบี้ยของอังกฤษในปัจจุบันอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.50 ในขณะที่ประเทศอื่นอยู่ในระดับต่ำมาก เช่น สรอ. ร้อยละ 1.0 และประเทศที่ใช้เงิน
สกุลยูโรร้อยละ 2.0 ทำให้ประเทศเหล่านั้นสามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีกมาก ซึ่งสาเหตุที่อัตราดอกเบี้ยของอังกฤษอยู่ในระดับสูงกว่า
เนื่องจากเศรษฐกิจของอังกฤษมีอัตราการเติบโตที่ดีกว่า ทางด้านโอกาสในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเริ่มชัดเจนขึ้นมากนับตั้งแต่เริ่มมีสัญญาณ
การฟื้นตัวเมื่อต้นปี 47 ในขณะที่เศรษฐกิจของเยอรมนียังคงฟื้นตัวไม่ดีเท่าที่ควร ส่วนเขตยูโรเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้นบ้างแล้ว (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค.47 ขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อน รายงานจากโตเกียว เมื่อ
29 มิ.ย.47 ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค.47 ขยายตัวร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนต่ำกว่าที่คาดไว้จากผลสำรวจก่อนหน้านี้ว่าจะ
ขยายตัวร้อยละ 2.5 และต่ำกว่าเดือนก่อนซึ่งขยายตัวร้อยละ 3.5 ทำให้เกรงกันว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะไม่สามารถรักษาระดับการขยายตัวในช่วง
หลายเดือนที่ผ่านมา โดยเศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวถึงร้อยละ 6.1 ในไตรมาสแรกปีนี้เมื่อเทียบกับปีก่อน สูงกว่า สรอ.ซึ่งขยายตัวร้อยละ 3.9 ใน
ช่วงเวลาเดียวกัน อันเป็นผลจากความต้องการสินค้าของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นในตลาดโลก ในขณะที่ตัวเลขการจ้างงานในเดือนเดียวกันดีขึ้นโดยอัตราการ
ว่างงานลดลงเหลือร้อยละ 4.6 จากร้อยละ 4.7 ในเดือนก่อน และเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค.43 โดยอัตราการว่างงานลดลงอย่าง
ต่อเนื่องหลังจากอยู่ในระดับสูงสุดร้อยละ 5.5 ในเดือน ม.ค.46 โดยมีสัดส่วนตำแหน่งงานว่างต่อจำนวนคนหางานทำเพิ่มขึ้นเป็น 0.80 ใน
เดือน พ.ค.47 ซึ่งหมายความว่ามีตำแหน่งงานว่าง 80 ตำแหน่งสำหรับทุก 100 คนที่กำลังหางานทำ เพิ่มขึ้นจากระดับ 0.77 ในเดือน
เม.ย.47 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 30/6/47 29/6/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.889 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.7046/40.9986 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250-1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 649.62/23.79 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,500/7,600 7,600/7,700 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 31.54 31.37 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 18.79*/14.59 18.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 18 มิ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-