สมาคมยาสหรัฐฯใช้ ม.301 บีบไทยขยายเวลาคุ้มครองข้อมูลยาเพิ่ม

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 7, 2005 17:06 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สรุปสถานการณ์          
สมาคมผู้ผลิตยาสหรัฐฯ(PhRMA)และสหพันธ์ทรัพย์สินทางปัญญาสากล International Intellectual Property Alliance (IIPA) กล่าวฟ้องไทยว่าล้มเลวในการให้ความคุ้มครองข้อมูลยา (data exclusivity) ระยะเวลาจดสิทธิบัตรยาล่าช้า แถมมียาละเมิดสิทธิบัตรจากประเทศที่สามเข้ามาในตลาดประเทศไทยพร้อมร้องขอให้ USTR ปรับประเทศไทยจากประเทศที่ถูกจับตามอง (wl) ให้เป็นจับตามองอย่างใกล้ชิด (pwl) โดยได้จัดทำรายงานเสนอต่อคณะผู้แทนการค้าสหรัฐฯ USTR ขอให้ดำเนินการกับประเทศไทยด้วยการอาศัยอำนาจตามมาตรา 301 ของกฎหมายการค้าสหรัฐฯ ด้วยข้อกล่าวหาที่ว่า ตลอดปีที่ผ่านมาภาคอุตสาหกรรมยาสหรัฐฯสูญเสียโอกาสในการขายยาภายในประเทศไทยไปจำนวนมาก เนื่องจากไทยไม่มีการคุ้มครองสิทธิบัตรยาสหรัฐฯ ที่ดีพอ อีกทั้งยังกล่าวหาว่าไทยล้มเลวในการคุ้มครองข้อมูล (data exclusivity) ในกรณีที่บริษัทยาขอจดสิทธิบัตรไว้แล้วแต่ไม่สามารถนำออกจำหน่ายได้เพราะต้องผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย) ของไทยก่อน
ก่อนหน้านี้สหพันธ์ทรัพย์สินทางปัญญาสากล (IIPA) ได้ออกมาเรียกร้องให้ USTR จัดอันดับให้ไทยอยู่ในบัญชี pwl เช่นกัน เนื่องจากไทยมีปัญหาในเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โดยในปี 2547 ได้มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มขึ้น 174.9 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ยังเสนอให้สหรัฐฯใช้มาตรา 301 และตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลการกรที่สหรัฐฯให้กับไทยด้วย
สำหรับมาตร 301 นั้น จัดเป็นกลไกของสหรัฐฯที่ใช้ในการติดตามเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาว่า ประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯมีการปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯอย่างเพียงพอหรือไม่ มีการละเมิดหรือไม่ ซึ่งจะมีการติดตามทุกปี และจะประกาศผลการติดตามในลักษณะของสถานะประเทศคู่ค้า ประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม ซึ่งการประเมินผลนี้ภาคเอกชนสหรัฐฯจะมีการเก็บข้อมูลทั้งปีตามวิธีการของตนเองและจัดทำรายงานประเมินผลความเสียหายออกมาเสนอต่อ USTR
ประเด็นวิเคราะห์
ที่ผ่านมาเจ้าของสิทธิในสหรัฐฯจะเน้นเรื่องเครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์เป็นหลัก แต่ปีนี้เจ้าของสิทธิกลับมาให้ความสำคัญกับเรื่องของสิทธิบัตรยาเป็นพิเศษถึงกับเสนอให้จัดประเทศไทยให้อยู่ในบัญชี pwl จากจำนวนทั้งหมด 20 ประเทศ และอาจจะมีผลต่อการได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรของไทยในตลาดสหรัฐอเมริกา
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ