กรุงเทพ--4 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2547 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนก่อนเข้าร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรีในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1. การประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนของไทยและมาเลเซีย (Joint Development Strategy) ซึ่งเกิดขึ้นจากความเห็นชอบร่วมกันระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย และ Datuk Seri Abdullah Ahmad Badawi นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้มีการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของแต่ละฝ่าย รวมทั้งได้มีการประชุมร่วมกันในระดับเจ้าหน้าที่โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยกับมาเลเซียมาหลายครั้งแล้ว และได้มีการกำหนดความร่วมมือด้านต่างๆ ที่ไทยจะทำร่วมกับฝ่ายมาเลเซีย
ทั้งนี้ แนวทางในการพัฒนาภาคใต้มี 2 แนวทางคือ แนวทางแรก ไทยจะพัฒนา ในส่วนของไทยเอง และอีกแนวทางหนึ่งจะพัฒนาร่วมกับฝ่ายมาเลเซีย โดยในการพัฒนาร่วมจะ มีการหารือกันเพื่อให้มีการพัฒนาที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ซึ่งบางพื้นที่ในฝั่งไทยที่มี การพัฒนาน้อยกว่าฝั่งมาเลเซียก็จะต้องจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อให้มีระดับการพัฒนาที่ใกล้เคียงกัน เช่น บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำโกลกบางส่วน อันจะทำให้พื้นที่ที่ติดชายแดนไทย — มาเลเซียมีโอกาสที่จะพัฒนาเจริญเท่าเทียมกันทั้งทางด้านการค้า การท่องเที่ยว
นอกจากนี้จะมีการสร้างถนนในลักษณะเป็น Land bridge จากอ่าวไทยไปยังทะเลอันดามันด้านเมืองปีนังซึ่งกำลังศึกษาความเป็นไปได้อยู่ ทั้งนี้ บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่สามารถดำเนินการได้ทันที แต่บางเรื่องก็จะต้องนำไปศึกษาต่อ
นอกจากนี้ ก็มีบางเรื่องที่จะช่วยเหลือกัน เช่น ฝ่ายมาเลเซียประสงค์ที่จะให้ไทยให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่อง OTOP ขณะเดียวกันก็มีบางอย่างที่ฝ่ายไทยประสงค์จะให้มาเลเซียให้คำแนะนำเกี่ยวกับการฝึกอาชีพให้กับประชาชนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวมุสลิม
นอกจากนี้ ฝ่ายมาเลเซียก็พร้อมที่จะจัดให้ฝ่ายไทยไปดูงานเกี่ยวกับการจัดระเบียบ และจัดหลักสูตรการสอนของโรงเรียนปอเนาะในแนวทางที่ผสมผสานการเรียนของโรงเรียนศาสนา เข้ากับการศึกษาวิชาชีพต่างๆ ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทั้งทางด้านการศึกษา และด้านสังคมในภาคใต้ของไทย และในวันที่ 5 สิงหาคม 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียจะ เดินทางมาเป็นประธานการประชุมร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย เพื่อให้ความเห็นชอบกับแผนการพัฒนาต่างๆ ที่แต่ละฝ่ายได้มีการประชุมหารือกัน ซึ่งจะกำหนดเป็นแผน แม่บท (Master Plan) ในยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างไทย-มาเลเซีย ทั้งนี้ หากสามารถตกลง กันได้ ฝ่ายไทยจะเสนอให้มีโครงการนำร่องที่สามารถดำเนินการได้ทันที 2 — 3 โครงการเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าไทยและมาเลเซียสามารถร่วมมือกันได้ทันที
อย่างไรก็ดี แผนการดำเนินงานดังกล่าวต่างจากการแก้ปัญหาความไม่สงบภาคใต้ หรือแผนเสริมสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ พล อ. ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยเรื่องนี้จะมีทั้งแผนงานที่ฝ่ายไทยทำเองซึ่งเน้นการพัฒนา ไม่ใช่ความมั่นคง กับการทำแผนงานที่ทำร่วมกับฝ่ายมาเลเซียซึ่งจะเน้นการพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐาน การพัฒนาอาชีพ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แต่ในการพัฒนาร่วมกันระหว่างสองประเทศจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างให้เกิดสันติสุข เพราะจะทำให้พื้นที่ชายแดนต่างๆ ทั้งฝั่งไทย-มาเลเซียพัฒนาทัดเทียมกันจะสามารถทำให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ระหว่างกัน โครงการที่จะพัฒนาร่วมกันจะเป็นเรื่องที่ไม่มีปัญหาอะไร และรัฐบาลเชื่อว่าหากไทยสามารถพัฒนาร่วมกับมาเลเซียทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการศึกษา ก็จะมีส่วนที่จะช่วยลดปัญหาต่างๆ บางส่วนในภาคใต้ลงไปได้ทั้งในระยะกลางและระยะยาว
2. หนังสือเดินทางอิเลคโทรนิคส์ (E — Passport) เป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรีได้หารือกับผู้นำหลายประเทศ และเป็นกติกาสากลที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศกำลังร่างกฎระเบียบอยู่ โดยรัฐบาลไทยได้กำหนดนโยบายดังกล่าวตั้งแต่ปี 2545 เพื่อจะให้มีการจัดทำหนังสือเดินทางรุ่นใหม่ที่มีการบรรจุ microchip ที่เก็บข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ ของผู้ถือหนังสือเดินทาง เพื่อความสะดวกในการเดินทางให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของประเทศต่างๆ ที่กำหนดขึ้นตาม องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หากประเทศไทยไม่มีการจัดทำหนังสือเดินทางระบบนี้ก็จะเสียเปรียบ และจะเกิดอุปสรรคในการเดินทางทั้งนักท่องเที่ยว และนักธุรกิจ ขณะเดียวกัน ในส่วนของประเทศไทยเองนอกจากจะดำเนินการเพื่อให้สอดคล้อง กับการดำเนินการตามกฎระเบียบขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศแล้ว ยังจะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลบุคคลจากหน่วยราชการต่างๆ นำมาบรรจุใน microchip ซึ่งจะสามารถดูแลด้าน ความปลอดภัยและความมั่นคงได้ดีอีกด้วย ทั้งนี้ จะจ้างเอกชนดำเนินการโดยจะมีการกำหนด หลักเกณฑ์และเทคโนโลยีในการจัดทำที่ชัดเจน และจะให้มีการแข่งขันกันในการนำเสนอทางด้านเทคโนโลยีซึ่งมีความสำคัญ ทั้งในส่วนของ microchip และวัสดุในการจัดทำหนังสือดินทางซึ่งจะเป็น Polymer รวมทั้งราคาในการจัดพิมพ์เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดของประเทศ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2547 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนก่อนเข้าร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรีในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1. การประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนของไทยและมาเลเซีย (Joint Development Strategy) ซึ่งเกิดขึ้นจากความเห็นชอบร่วมกันระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย และ Datuk Seri Abdullah Ahmad Badawi นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้มีการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของแต่ละฝ่าย รวมทั้งได้มีการประชุมร่วมกันในระดับเจ้าหน้าที่โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยกับมาเลเซียมาหลายครั้งแล้ว และได้มีการกำหนดความร่วมมือด้านต่างๆ ที่ไทยจะทำร่วมกับฝ่ายมาเลเซีย
ทั้งนี้ แนวทางในการพัฒนาภาคใต้มี 2 แนวทางคือ แนวทางแรก ไทยจะพัฒนา ในส่วนของไทยเอง และอีกแนวทางหนึ่งจะพัฒนาร่วมกับฝ่ายมาเลเซีย โดยในการพัฒนาร่วมจะ มีการหารือกันเพื่อให้มีการพัฒนาที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ซึ่งบางพื้นที่ในฝั่งไทยที่มี การพัฒนาน้อยกว่าฝั่งมาเลเซียก็จะต้องจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อให้มีระดับการพัฒนาที่ใกล้เคียงกัน เช่น บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำโกลกบางส่วน อันจะทำให้พื้นที่ที่ติดชายแดนไทย — มาเลเซียมีโอกาสที่จะพัฒนาเจริญเท่าเทียมกันทั้งทางด้านการค้า การท่องเที่ยว
นอกจากนี้จะมีการสร้างถนนในลักษณะเป็น Land bridge จากอ่าวไทยไปยังทะเลอันดามันด้านเมืองปีนังซึ่งกำลังศึกษาความเป็นไปได้อยู่ ทั้งนี้ บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่สามารถดำเนินการได้ทันที แต่บางเรื่องก็จะต้องนำไปศึกษาต่อ
นอกจากนี้ ก็มีบางเรื่องที่จะช่วยเหลือกัน เช่น ฝ่ายมาเลเซียประสงค์ที่จะให้ไทยให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่อง OTOP ขณะเดียวกันก็มีบางอย่างที่ฝ่ายไทยประสงค์จะให้มาเลเซียให้คำแนะนำเกี่ยวกับการฝึกอาชีพให้กับประชาชนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวมุสลิม
นอกจากนี้ ฝ่ายมาเลเซียก็พร้อมที่จะจัดให้ฝ่ายไทยไปดูงานเกี่ยวกับการจัดระเบียบ และจัดหลักสูตรการสอนของโรงเรียนปอเนาะในแนวทางที่ผสมผสานการเรียนของโรงเรียนศาสนา เข้ากับการศึกษาวิชาชีพต่างๆ ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทั้งทางด้านการศึกษา และด้านสังคมในภาคใต้ของไทย และในวันที่ 5 สิงหาคม 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียจะ เดินทางมาเป็นประธานการประชุมร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย เพื่อให้ความเห็นชอบกับแผนการพัฒนาต่างๆ ที่แต่ละฝ่ายได้มีการประชุมหารือกัน ซึ่งจะกำหนดเป็นแผน แม่บท (Master Plan) ในยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างไทย-มาเลเซีย ทั้งนี้ หากสามารถตกลง กันได้ ฝ่ายไทยจะเสนอให้มีโครงการนำร่องที่สามารถดำเนินการได้ทันที 2 — 3 โครงการเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าไทยและมาเลเซียสามารถร่วมมือกันได้ทันที
อย่างไรก็ดี แผนการดำเนินงานดังกล่าวต่างจากการแก้ปัญหาความไม่สงบภาคใต้ หรือแผนเสริมสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ พล อ. ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยเรื่องนี้จะมีทั้งแผนงานที่ฝ่ายไทยทำเองซึ่งเน้นการพัฒนา ไม่ใช่ความมั่นคง กับการทำแผนงานที่ทำร่วมกับฝ่ายมาเลเซียซึ่งจะเน้นการพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐาน การพัฒนาอาชีพ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แต่ในการพัฒนาร่วมกันระหว่างสองประเทศจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างให้เกิดสันติสุข เพราะจะทำให้พื้นที่ชายแดนต่างๆ ทั้งฝั่งไทย-มาเลเซียพัฒนาทัดเทียมกันจะสามารถทำให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ระหว่างกัน โครงการที่จะพัฒนาร่วมกันจะเป็นเรื่องที่ไม่มีปัญหาอะไร และรัฐบาลเชื่อว่าหากไทยสามารถพัฒนาร่วมกับมาเลเซียทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการศึกษา ก็จะมีส่วนที่จะช่วยลดปัญหาต่างๆ บางส่วนในภาคใต้ลงไปได้ทั้งในระยะกลางและระยะยาว
2. หนังสือเดินทางอิเลคโทรนิคส์ (E — Passport) เป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรีได้หารือกับผู้นำหลายประเทศ และเป็นกติกาสากลที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศกำลังร่างกฎระเบียบอยู่ โดยรัฐบาลไทยได้กำหนดนโยบายดังกล่าวตั้งแต่ปี 2545 เพื่อจะให้มีการจัดทำหนังสือเดินทางรุ่นใหม่ที่มีการบรรจุ microchip ที่เก็บข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ ของผู้ถือหนังสือเดินทาง เพื่อความสะดวกในการเดินทางให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของประเทศต่างๆ ที่กำหนดขึ้นตาม องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หากประเทศไทยไม่มีการจัดทำหนังสือเดินทางระบบนี้ก็จะเสียเปรียบ และจะเกิดอุปสรรคในการเดินทางทั้งนักท่องเที่ยว และนักธุรกิจ ขณะเดียวกัน ในส่วนของประเทศไทยเองนอกจากจะดำเนินการเพื่อให้สอดคล้อง กับการดำเนินการตามกฎระเบียบขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศแล้ว ยังจะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลบุคคลจากหน่วยราชการต่างๆ นำมาบรรจุใน microchip ซึ่งจะสามารถดูแลด้าน ความปลอดภัยและความมั่นคงได้ดีอีกด้วย ทั้งนี้ จะจ้างเอกชนดำเนินการโดยจะมีการกำหนด หลักเกณฑ์และเทคโนโลยีในการจัดทำที่ชัดเจน และจะให้มีการแข่งขันกันในการนำเสนอทางด้านเทคโนโลยีซึ่งมีความสำคัญ ทั้งในส่วนของ microchip และวัสดุในการจัดทำหนังสือดินทางซึ่งจะเป็น Polymer รวมทั้งราคาในการจัดพิมพ์เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดของประเทศ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-