การค้าบริการกับผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

ข่าวเศรษฐกิจ Friday August 13, 2004 16:40 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

ภาคบริการกับบทบาทในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวม หากเปรียบเทียบกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจสาขาอื่นๆ ภาคบริการนับเป็นสาขาที่มีการปลี่ยนแปลงมากที่สุด และภาคบริการก็เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจด้วย โดยจะเห็นได้ว่า ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1985-ค.ศ. 1999 การส่งออกด้านการบริการของโลกเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 9 ต่อปี ในขณะที่การค้าสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 ต่อปี สำหรับประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่นั้น ภาคบริการนับเป็นองค์ประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP) และการจ้างงาน ขณะเดียวกัน นอกเหนือจากบทบาททางเศรษฐกิจแล้ว การบริการหลายสาขายังมีส่วนในการพัฒนาประเทศในด้านสังคมและวัฒนธรรมอีกด้วย ทั้งนี้เนื่องจาก การพัฒนาอย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นมิได้หากระบบบริการด้าน สาธารณสุข การศึกษา การพลังงาน ฯลฯ ไม่ได้รับการพัฒนาไปด้วย นอกจากนี้ภาคบริการยังสามารถเป็น cushion ให้แก่ประเทศในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้อีกด้วย (เมื่อภาคอุตสาหกรรมต่างประสบปัญหา) สำหรับภาคบริการนี้ แม้ว่าระดับการพัฒนาจะยังคงมีความแตกต่างกันมากทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค โดยส่วนใหญ่ประเทศกำลังพัฒนามักจะมีภาคบริการที่อ่อนแอและขาดดุลการค้าบริการ อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศกำลังพัฒนาประมาณ 79 ประเทศ การท่องเที่ยวเป็นแหล่งนำเงินตรา / รายได้เข้าประเทศที่มีความสำคัญสูงในลำดับ 1 ใน 5 และสำหรับ LDCS หลายประเทศ มีเพียงการท่องเที่ยวรายการเดียวในภาคบริการที่ประเทศมีความได้เปรียบ ในส่วนของการท่องเที่ยวนี้ หากดำเนินการอย่างเหมาะสมและมีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างเพียงพอ ก็จะมีบทบาทสำคัญในการนำรายได้เข้าสู่ประเทศและสามารถเป็นพลังขับเคลื่อนในการพัฒนาเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี อนึ่ง หากพิจารณาจากตามความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services — GATS ) ใน Mode 4 ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายทรัพยากรบุคคลเป็นการชั่วคราว ( temporary movement of natural person ) นั้น เป็น mode of supply ที่มีความสำคัญที่สุดในการให้บริการของประเทศกำลังพัฒนาและเป็น mode ที่มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ บรรเทาภาวะความยากจนของประเทศ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเทศเหล่านั้นอยู่ในภาวะที่ขาดแคลนเงินทุน) ทั้งนี้โดย การให้บริการในลักษณะ labour-intensive sectors อาทิ การท่องเที่ยว การก่อสร้าง professional and business services audiovisual services และการบริการที่ใช้ unskilled workers ในส่วนของการส่งเงินกลับประเทศนั้น เมื่อปี ค.ศ. 2001 ประเทศกำลังพัฒนาได้รับเงินส่วนนี้รวมกว่า 50 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ยังเป็นที่วิตกกังวลว่าอาจเกิดภาวะ brain drain ขึ้นกับประเทศกำลังพัฒนาได้ หากมีการเคลื่อนย้าย skilled professionals ออกจากประเทศเหล่านั้นเป็นจำนวนมาก ในส่วนของ Mode 1 ซึ่งเกี่ยวกับ E-commerce ที่แม้ว่าจะเริ่มมีบทบาททางเศรษฐกิจมากขึ้น แต่ประเทศที่จะได้รับประโยชน์จากการค้าบริการในสาขานี้ต้องเป็นประเทศมีการพัฒนาในระดับสูงและมีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ การบริการใน Mode 1 จึงมีความสำคัญต่อประเทศกำลังพัฒนาน้อยกว่าการบริการใน Mode 4 ข้อจำกัดด้านสถิติ เมื่อข้อมูลทางสถิติมีไม่เพียงพอจึงยากต่อการประเมินโครงสร้างและการเปลี่ยนแปลงของภาคบริการ รวมทั้งเป็นอุปสรรคต่อการกำหนดยุทธวิธีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาภาคบริการที่ประเทศกำลังพัฒนามีศักยภาพ ประเด็นเรื่องข้อมูลทางสถิติมีไม่เพียงพอนี้ เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงแรกของการเจรจาด้านการค้าบริการ แต่ก็ยังมิได้มีการดำเนินการใดๆอย่างเพียงพอ จึงสร้างปัญหาทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ โดยในระดับประเทศนั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นอุปสรรคสำหรับประเทศกำลังพัฒนาในเวทีเจรจาด้านการค้าบริการ เนื่องจากประเทศกำลังพัฒนาจะไม่สามารถมองเห็นผลประโยชน์ในปัจจุบันของตน รวมถึงการกำหนดท่าที่การเจรจา GATS รอบใหม่ได้ นอกจากนี้ปัญหาเรื่องข้อมูลทางสถิติยังเป็นอุปสรรคสำหรับการเจรจาเรื่องมาตรการ Safeguard และSubsidies อีกด้วย นอกจากนี้ ข้อมูลทางสถิติยังมีความสำคัญสำหรับการประเมินผลกระทบของการเปิดเสรี(ด้านบริการ) ต่อสังคมและการพัฒนาประเทศ รวมทั้ง การเคลื่อนย้ายทรัพยากรบุคคล commercial presence ฯลฯ รวมถึงการวัด trade flows ด้วย ดังนั้น การสร้างฐานข้อมูลเพื่อวัดผลกระทบจากการค้าบริการจึงเป็นเสมือนเครื่องมือสำคัญสำหรับประเทศกำลังพัฒนา ผลประโยชน์และความเสี่ยงจากการเปิดเสรี การเปิดเสรีด้านการค้าบริการย่อมจะส่งผลดีต่อประเทศกำลังพัฒนาเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับประเทศต่างๆมาแล้ว แต่ทั้งนี้จะต้องอาศัยการสนับสนุนจากทั้งภายในและนอกประเทศ ในกรณีของประเทศกำลังพัฒนานั้น ยังมีข้อจำกัดอยู่หลายประการ อาทิ การขาดแคลนเทคโนโลยีใหม่ๆ การขาดแคลนเงินทุน SMES ยังอ่อนแอ ขาดนโยบายจากภาครัฐ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ได้มีข้อตกลงระหว่างประเทศในเรื่องนี้ว่า จะต้องให้ความสำคัญกับขั้นตอน ลำดับความสำคัญ และเนื้อหา ของการเปิดเสรีภาคบริการให้เหมาะสมกับระดับการพัฒนาของแต่ละประเทศ รัฐบาลของแต่ละประเทศจะมีบทบาทสำคัญทั้งในช่วงระหว่างและภายหลังการเปิดเสรีและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของกฎ/ระเบียบที่ทันสมัย สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ข้อมูลที่น่าสนใจประการหนึ่งคือ การค้าบริการที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ร้อยละ 56.3 เป็นบริการใน Mode 3 ( foreign commercial presence ) ซึ่งเป็นบริการสาขาที่ก่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี และเพิ่มการจ้างงานในประเทศ โดยส่วนใหญ่จะเป็นสาขา สุขภาพ การศึกษา การขนส่ง พลังงาน บทบาทของประเทศกำลังพัฒนาในภาคการค้าบริการระหว่างประเทศ สำหรับประเทศกำลังพัฒนานั้น การเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ตลาดภายใน ประเทศเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะจะนำไปสู่ความสามารถในการให้บริการในระดับภูมิภาคและระดับโลกได้ ประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศได้กำหนดให้การบริการเป็นหัวใจสำคัญของกลยุทธ์ การพัฒนาประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิรูปโดยรวม ที่มุ่งแก้ไขปัญหา “ bottlenecks ” ของภาคบริการในส่วนที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาเพื่อส่งออกบริการ อาทิ ค่าบริการด้านโทรคมนาคมสูง จะเป็นอุปสรรคสำหรับการพัฒนา information technology เป็นต้น การกำหนดแผนหลักและมาตรการโดยรวมสำหรับภาคบริการ อาทิ นโยบายด้านสินค้า ภาษี กลไกสนับสนุนผู้ประกอบการในประเทศ ฯลฯ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่มุ่งจะเข้าสู่ตลาดการค้าบริการของโลก ผลสำเร็จจากการบริการสาขาหนึ่ง อาจส่งผลดีต่อการปฏิรูปการบริการสาขาอื่นๆ ในประเทศได้ต่อไป และเมื่อใดที่สามารถพัฒนาการให้บริการสู่ระดับโลก (ปรับตัวให้สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในตลาดโลก) รวมทั้งให้บริการในสาขาที่มี value added สูงขึ้นได้ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดระหว่างประเทศ เมื่อสถานการณ์ต่างๆ อยู่ในระดับที่น่าพอใจ แล้ว การเปิดเสรีก็จะสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศได้ เนื่องจากการแข่งขันเสรีจะกระตุ้นให้เกิดการจ้างงาน แต่รัฐบาลจำเป็นจะต้องกำหนดมาตรการเพื่อรักษาเสถียรภาพและสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนด้วย การค้าบริการระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันเริ่มทวีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นโดยที่การส่งออกไปยังประเทศกำลังพัฒนาอีกประเทศหนึ่ง หมายถึงการพัฒนาทักษะของประเทศผู้ส่งออก และเมื่อใดที่ประสบความสำเร็จในตลาดประเทศเพื่อนบ้านและในภูมิภาคแล้ว ผู้ให้บริการก็สามารถขยายการส่งออกไปยังตลาดอื่นๆได้ต่อไป แม้ว่าในภาคบริการ ธุรกิจส่วนใหญ่จะเป็น SMES แต่ในบางสาขา อาทิ ธนาคาร ส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่ เพื่อให้เกิด economies of scale และลดความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม การให้บริการในสาขานี้มิใช่เป้าหมายการให้บริการของประเทศกำลังพัฒนา ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน : การเข้าถึงข้อมูลและระบบเครือข่ายกับบทบาทของ SMES การเข้าถึงตลาด (market access) ภาคบริการหลายสาขาอาจเป็นไปได้ยากเนื่องจากบทบาทของบริษัทข้ามชาติ (transnational corporation) ขนาดใหญ่ และanti-competitiveness behavior ของธุรกิจดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ผู้ประกอบการรายใหม่จะเข้าถึงข้อมูลและเครือข่าย อาทิ ภาคบริการในสาขาท่องเที่ยว โทรคมนาคม สุขภาพ พลังงาน ฯลฯ ดังนั้น จึงควรมีกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม anti-competitive ทั้งในระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้ประกอบการรายใหม่ให้สามารถเข้ามาแข่งขันได้ (ซึ่ง SMES ในประเทศกำลังพัฒนาได้รับผลกระทบมาก) ผลจากการเจรจา ในเรื่อง basic telecommunications ของ WTO ได้มีการรับรอง Reference Paper ที่จัดทำขึ้นเพื่อให้เกิด interconnection และ fair access แก่ประเทศต่างๆ ซึ่งวิธีการนี้น่าจะเป็นแนวทางให้แก่สาขาอื่นๆต่อไปได้ ในส่วนของ SMES นี้ เป็นเรื่องของ common interest และ concern ของประเทศสมาชิกWTO เนื่องจาก suppliers ในภาคบริการส่วนใหญ่มักเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก แม้ว่าขณะนี้ ประเทศสมาชิก WTO จะยังไม่สามารถเห็นพ้องต้องกันเกี่ยวกับ definition ของ SMES แต่ก็ได้มีการกล่าวถึง เรื่องอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์กับ SMES บ้าง อาทิ วิธีการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการบริหาร ( administrative burden ) , provide access to information , finance and production networks และ ensure transparency of market information สำหรับ SMES ข้อจำกัดในการพัฒนาประสิทธิภาพของภาคบริการ ปัจจัยสำคัญสำหรับการพัฒนาศักยภาพการให้บริการประกอบด้วย ความรู้ ความชำนาญ และคุณภาพของบริการ (knowledge , skills and quality) แต่สำหรับ suppliers จากประเทศกำลังพัฒนาแล้ว ยังต้องเผชิญกับข้อจำกัดอีกหลายประการที่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการ ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ที่สำคัญ ได้แก่ ทรัพยากรบุคคล เทคโนโลยี weak institution และกฎระเบียบที่ขาดประสิทธิภาพ สำหรับข้อจำกัดด้านทรัพยากรบุคคลและเทคโนโลยีนั้นมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของประเทศกำลังพัฒนาในการวิเคราะห์ requests ที่ได้รับในระหว่างการเจรจา GATS ใน WTO รวมทั้งการจัดทำรายการ requests และ offers ของตนด้วย weak institution และกฎระเบียบที่ขาดประสิทธิภาพ นั้น เกี่ยวข้องกับข้อจำกัดสำหรับ inter-agency cooperation ในระดับชาติ รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและเอกชนมีไม่เพียงพออีกด้วย ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายยังไม่สามารถพัฒนานโยบายในด้านบริการของตน รวมทั้งกฎระเบียบ ตลอดจนยุทธวิธีเพื่อการส่งออก การเจรจาพหุภาคีด้านการค้าบริการ ได้มีการอ้างอิงรายงานการศึกษาหลายฉบับที่ระบุถึงประโยน์ที่จะได้รับจากการเปิดเสรีการค้าบริการ ในอันที่จะให้ประโยชน์มากกว่าการเปิดเสรีการค้าสินค้า ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการส่งออกด้านบริการ และตระหนักดีว่าตนจะได้รับประโยชน์จากการเจรจาพหุภาคีด้านการค้าบริการ จึงได้ใช้ยุทธวิธีใหม่ๆในการเจรจา อาทิ proactive attitude และเข้าร่วมการเจรจาอย่าง active เป็นต้น โดยวิธีนี้ นับเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการจะสามารถรักษาผลประโยชน์ของชาติและนำไปสู่เป้าหมายในการพัฒนาได้ อย่างไรก็ตาม ในการเจรจาพหุภาคีด้านการค้าบริการ ประเทศกำลังพัฒนายังประสบอุปสรรคอีกหลายประการ อาทิ การระบุถึงผลประโยชน์ของชาติจากภาคบริการ ( identification of national interest in the services sector) และการขาดอำนาจต่อรองในการเจรจา เป็นต้น การเจรจาในลักษณะ proactive นี้ ประเทศกำลังพัฒนาจะต้องเจรจาด้วยความระมัดระวัง (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อจะต้องมีภาระผูกพัน) ตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง ทั้งนี้จะต้องตระหนักว่าการเจรจาจะต้องมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาประเทศ การเจรจาในลักษณะ horizontal เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในการเจรจาด้านการบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับกฎระเบียบภายในประเทศที่เป็นอุปสรรค รวมทั้งการให้การอุดหนุนที่บิดเบือนการค้า เป็นต้น ประเทศกำลังพัฒนาขาดความสามารถทางด้านการเงินที่จะให้การอุดหนุนการส่งออกได้ (ซึ่งแตกต่างจากประเทศพัฒนาแล้ว) ดังนั้น ประเทศกำลังพัฒนาจะได้รับประโยชน์อย่างมากหากมีการเจรจาเพื่อกำหนดระเบียบเกี่ยวกับการให้การอุดหนุนด้วย ผลของการบังคับใช้มาตรา IV ของ GATS และการค้าบริการระหว่างประเทศใน MODE 4 การเพิ่มบทบาทของประเทศกำลังพัฒนาในด้านการค้าบริการระหว่างประเทศ นั้นขึ้นอยู่กับการบังคับใช้ มาตรา IV และ XIX.2 ของ GATS โดยความสำคัญอยู่ที่ ประเทศกำลังพัฒนาจะมี flexibility ในการตัดสินใจว่าจะเปิดเสรีสาขาใดและจะมีเงื่อนไขใดบ้างสำหรับการเปิดเสรี เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่กำหนดไว้ ประเด็นของการเจรจามุ่งเน้นการเปิดเสรีการค้าบริการใน MODE 3 ในขณะที่ MODE 4 ก็เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากประเทศกำลังพัฒนามากด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน และประเด็นนี้ได้กลายเป็น negotiating requests ของประเทศกำลังพัฒนาด้วย แม้ว่า การเคลื่อนย้าย skilled natural persons จะเป็นการเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ brain drain แต่ในอีกด้านหนึ่งนั้น การเคลื่อนย้าย skilled natural persons สามารถ enhancement of human capital และ know-how ให้แก่ประเทศได้ การเปิดเสรีใน MODE 4 สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ แต่ทั้งนี้ประเทศที่เกี่ยวข้องจะต้องมีกฎระเบียบที่โปร่งใสเพื่อให้การเคลื่อนย้ายทรัพยากรบุคคลดำเนินได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ การออก visa การให้ work permit เป็นต้น การเปิดเสรีแบบอัตโนมัติ ( Autonomous Liberalization ) การให้ความสำคัญกับการเปิดเสรีแบบอัตโนมัติ เป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับประเทศกำลังพัฒนา ทั้งในแง่การเมืองและการสนับสนุนความพยายามในการเปิดเสรีเพิ่มมากขึ้นในขั้นต่อไป อย่างไรก็ตาม การเปิดเสรีแบบอัตโนมัตินี้ เป็นส่วนหนึ่งของ progressive liberalization โดย modalities ของการเจรจาเพื่อการเปิดเสรีแบบอัตโนมัติ ยังคงต้องมี flexibility ในการเจรจา รวมทั้งส่งเสริม capacity ของประเทศกำลังพัฒนา และมี differentiated treated สำหรับกลุ่มประเทศ LDCS ด้วย ข้อสังเกตประการหนึ่งคือ ประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศได้รับ request ให้เปิดเสรีการค้าบริการบางสาขา ทั้งๆที่ สาขาเหล่านั้นได้มีการเปิดเสรีแบบอัตโนมัติไปแล้ว นอกจากนี้ ยังได้มีการคาดคะเนว่าในการเจรจาเปิดเสรีภาคบริการนี้ ประเทศกำลังพัฒนาจะได้รับแรงกดดันอย่างมากเกี่ยวกับ specific commitments ซึ่งก่อให้เกิดคำถามว่า ประเทศกำลังพัฒนาจะได้รับอะไรตอบแทนจากภาระผูกพันที่จะเกิดขึ้น การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ขณะนี้ ทุกประเทศ (รวมทั้งประเทศกำลังพัฒนา) ต่างกำลังเข้าร่วมการเจรจาด้านการค้าบริการ อันเป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาเพื่อรวมกลุ่มระดับภูมิภาค เนื่องจากปัจจุบัน การรวมกลุ่มระดับภูมิภาคมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น (สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดขึ้นเพราะการเจรจาของ WTO ในบางสาขายังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร) ผู้สนับสนุนและผู้คัดค้านการเจรจาเพื่อรวมกลุ่มระดับภูมิภาคควรศึกษาวิเคราะห์เรื่องนี้โดยละเอียด ทั้งนี้ เนื่องจาก มีความเป็นไปได้ว่า ความตกลงระดับภูมิภาคอาจมีข้อผูกพันเกินกว่ากฎระเบียบในระดับพหุภาคีของ WTO ภาระหน้าที่ของ UNCTAD ในอนาคตเพื่อผลประโยชน์แก่ประเทศกำลังพัฒนา ประเทศกำลังพัฒนายังมีความต้องการข้อเสนอแนะแนวทางสำหรับการเจรจาด้านการค้าบริการ เพื่อลด supply-side constraints และการสนับสนุนความช่วยเหลือทางวิชาการ ในอันที่จะสามารถเพิ่มบทบาทให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการเจรจาด้านการค้าบริการที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ ในเรื่องนี้ UNCTAD ได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญทั้งในด้านการศึกษาวิเคราะห์ supply-side constraints และการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ในด้านการศึกษาวิเคราะห์นั้น ควรจะดำเนินการต่อไป อาทิ ในเรื่อง กฎระเบียบภายในประเทศกับกฎของ GATS การบริการในสาขาที่ประเทศกำลังพัฒนามีศักยภาพส่งออก ฯลฯ ในส่วนของการสนับสนุนการเจรจานั้น UNCTAD ได้ร่วมมือกับสถาบันอื่นๆ เสนอแนะกลไกเพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถส่งออกการบริการใน MODE 4 ขณะเดียวกัน UNCTAD ยังให้ข้อเสนอแนะในการปรับ modalities สำหรับการดำเนินการตามมาตรา IV ของ GATS ด้วย ในอนาคต UNCTAD ควรเน้นบทบาทในการฝึกอบรมและสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนา ให้ประเทศเหล่านั้นได้รับประโยชน์จากโอกาสที่ประเทศอื่น offer ให้ในช่วงที่มี การเจรจาเปิดเสรีภาคบริการ (การพิจารณา request และ offer ของกันและกัน ) สำหรับเรื่อง supply-side constraints นั้น UNCTAD ควรสนับสนุนการประชุมหารือระหว่างประเทศเพื่อจัดทำ “ master plan for the services sector ” ให้เกิดการพัฒนาแก่ภาคบริการโดยรวม ในส่วนของความช่วยเหลือทางวิชาการในระดับภูมิภาคก็ยังมีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสถิติ การรวบรวมข้อมูล รวมทั้งการประเมินผลกระทบด้านสังคมและการพัฒนาจากการเปิดเสรีภาคบริการ นอกจากนี้ นานาประเทศควรสนับสนุนการประสานด้าน structural adjustment programmes ของ World Bank และ International Monetary Fund กับการเจรจาของ WTO เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่า การพัฒนาเป็นเป้าหมายสำคัญ และการค้าจะเป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775-พห-

แท็ก การส่งออก  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ