ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่าในวันนี้ (17 สิงหาคม 2547) ธปท. และธนาคารแห่ง สปป. ลาว ได้ร่วมลงนามความตกลงทางการเงิน 2 ฉบับ คือความตกลงว่าด้วยการแลกเปลี่ยน (Swap) เงินกีบและเงินบาท และความตกลงว่าด้วยการสนับสนุนสภาพคล่องเงินบาท ทั้งนี้ ความตกลงแลกเปลี่ยน (Swap) เงินกีบและเงินบาท มีสาระสำคัญคือ ธปท. จะนำเงินบาทจำนวน 500 ล้านบาท แลกเงินกีบมูลค่าเทียบเท่ากันกับธนาคารแห่ง สปป. ลาว โดย ธปท. จะส่งมอบเงินบาทจำนวน 500 ล้านบาท เข้าบัญชีเงินบาทของธนาคารแห่ง สปป. ลาว ที่เปิดไว้กับ ธปท. และธนาคารแห่ง สปป. ลาว จะส่งมอบเงินกีบมูลค่าเทียบเท่า 500 ล้านบาท เข้าบัญชีเงินกีบของ ธปท. ที่เปิดไว้กับธนาคารแห่ง สปป. ลาว เงินบาทและเงินกีบดังกล่าวสามารถนำไปใช้ได้เมื่อมีความจำเป็น
ส่วนความตกลงฉบับที่ 2 เป็นการตกลงที่ ธปท. จะสนับสนุนสภาพคล่องเงินบาทแก่ธนาคารแห่ง สปป. ลาว โดยการขายหรือแลกเปลี่ยน (Swap) เงินดอลลาร์ สรอ. กับเงินบาท กับ ธปท.
ความตกลงทั้ง 2 ฉบับ ดังกล่าวเป็นความร่วมมือของธนาคารกลางทั้งสองประเทศที่จะเสริมสร้าง ความเชื่อมั่น และสนับสนุนการใช้เงินกีบและเงินบาทเป็นสื่อกลางการชำระค่าสินค้าและการลงทุนระหว่างประเทศไทย และ สปป. ลาว ซึ่งเป็นผลจากความมุ่งมั่นของความร่วมมือระหว่าง ธปท. และธนาคารแห่ง สปป. ลาว เป็นก้าวเริ่มที่สำคัญที่จะนำไปสู่ความร่วมมือในลักษณะเดียวกันกับประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ ซึ่งจะเอื้อให้เศรษฐกิจการเงินของประเทศในภูมิภาคขยายตัว และพึ่งพาตนเองได้มากขึ้นในอนาคต
นอกจากความตกลงทั้ง 2 ฉบับที่ลงนามในวันนี้แล้ว ธปท. และธนาคารแห่ง สปป. ลาว ยังมีความมุ่งมั่นร่วมกันที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศไทย และ สปป. ลาว ในอนาคต โดยสนับสนุนการค้าชายแดนของทั้งสองประเทศให้ชำระเงินด้วยสกุลเงินกีบและเงินบาทระหว่างกัน ซึ่งจะเอื้อให้การค้าชายแดนขยายตัวมากขึ้น ทั้งนี้ ธปท. และธนาคารแห่ง สปป. ลาว ได้ร่วมกันสำรวจการค้าและการชำระเงินชายแดนบริเวณช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานีของไทย และบริเวณวังเต่า เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก ของ สปป. ลาว ไปแล้ว และอยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขระเบียบและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อให้การชำระเงินด้วยสกุลเงินกีบและเงินบาทมีความคล่องตัวมากขึ้น
นอกจากนี้ ธปท. และธนาคารแห่ง สปป. ลาว ยังกำหนดให้จัดสัมมนาร่วมกันระหว่างผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินไทย และสถาบันการเงิน สปป. ลาว ระหว่างวันที่ 23-25 กันยายน 2547 ณ แขวงหลวงพระบาง เพื่อให้ผู้บริหารสถาบันการเงินทั้งสองประเทศได้พบปะหารือ และแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการให้บริการทางการเงินระหว่างกัน ซึ่งจะทำให้เกิดความร่วมมือกันทางด้านการเงินการธนาคารทั้งในระดับภาครัฐ และเอกชน เพื่อรองรับปริมาณการค้าและการลงทุนของทั้งสองประเทศ ที่จะขยายตัวอย่างรวดเร็วในอนาคต
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ส่วนความตกลงฉบับที่ 2 เป็นการตกลงที่ ธปท. จะสนับสนุนสภาพคล่องเงินบาทแก่ธนาคารแห่ง สปป. ลาว โดยการขายหรือแลกเปลี่ยน (Swap) เงินดอลลาร์ สรอ. กับเงินบาท กับ ธปท.
ความตกลงทั้ง 2 ฉบับ ดังกล่าวเป็นความร่วมมือของธนาคารกลางทั้งสองประเทศที่จะเสริมสร้าง ความเชื่อมั่น และสนับสนุนการใช้เงินกีบและเงินบาทเป็นสื่อกลางการชำระค่าสินค้าและการลงทุนระหว่างประเทศไทย และ สปป. ลาว ซึ่งเป็นผลจากความมุ่งมั่นของความร่วมมือระหว่าง ธปท. และธนาคารแห่ง สปป. ลาว เป็นก้าวเริ่มที่สำคัญที่จะนำไปสู่ความร่วมมือในลักษณะเดียวกันกับประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ ซึ่งจะเอื้อให้เศรษฐกิจการเงินของประเทศในภูมิภาคขยายตัว และพึ่งพาตนเองได้มากขึ้นในอนาคต
นอกจากความตกลงทั้ง 2 ฉบับที่ลงนามในวันนี้แล้ว ธปท. และธนาคารแห่ง สปป. ลาว ยังมีความมุ่งมั่นร่วมกันที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศไทย และ สปป. ลาว ในอนาคต โดยสนับสนุนการค้าชายแดนของทั้งสองประเทศให้ชำระเงินด้วยสกุลเงินกีบและเงินบาทระหว่างกัน ซึ่งจะเอื้อให้การค้าชายแดนขยายตัวมากขึ้น ทั้งนี้ ธปท. และธนาคารแห่ง สปป. ลาว ได้ร่วมกันสำรวจการค้าและการชำระเงินชายแดนบริเวณช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานีของไทย และบริเวณวังเต่า เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก ของ สปป. ลาว ไปแล้ว และอยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขระเบียบและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อให้การชำระเงินด้วยสกุลเงินกีบและเงินบาทมีความคล่องตัวมากขึ้น
นอกจากนี้ ธปท. และธนาคารแห่ง สปป. ลาว ยังกำหนดให้จัดสัมมนาร่วมกันระหว่างผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินไทย และสถาบันการเงิน สปป. ลาว ระหว่างวันที่ 23-25 กันยายน 2547 ณ แขวงหลวงพระบาง เพื่อให้ผู้บริหารสถาบันการเงินทั้งสองประเทศได้พบปะหารือ และแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการให้บริการทางการเงินระหว่างกัน ซึ่งจะทำให้เกิดความร่วมมือกันทางด้านการเงินการธนาคารทั้งในระดับภาครัฐ และเอกชน เพื่อรองรับปริมาณการค้าและการลงทุนของทั้งสองประเทศ ที่จะขยายตัวอย่างรวดเร็วในอนาคต
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-