สรุปประเด็นสำคัญ
ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนมิถุนายน 2548
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม = 144.54 ทรงตัวโดยลดลงเล็กน้อยจากเดือนพฤษภาคม 2548 (144.58) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (138.33)
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2548 ได้แก่ การผลิตมอลต์ลิเคอและมอลต์ การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน การจัดเตรียมและการปั่นทอเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม การผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์และปูนปลาสเตอร์
- อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย = 67.85 ทรงตัวโดยลดลงเล็กน้อยจากเดือนพฤษภาคม 2548 (67.91) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (63.80)
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2548
- ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนจากปัญหาภัยแล้งทำให้ขาดแคลนวัตถุดิบ สำหรับแนวโน้มการส่งออกยังขยายตัวได้ เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นและค่าเงินบาทอ่อนตัวลงและการที่เงินหยวนแข็งค่าขึ้น
- อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิตเส้นใยสิ่งทอลดลง แต่การผลิตและการจำหน่ายเครื่องนุ่งห่มโดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังไปได้ดี และยังมีช่องทางการเติบโตต่อเนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้นและนำเข้าลดลง และในครึ่งปีหลังคาดว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มยังคงส่งออกได้ดี เนื่อง จากการส่งออกในช่วง ก.ย. — ธ.ค. สูงขึ้นเป็นประจำทุกปี เพราะ ต่างประเทศจะมีการนำเข้าสินค้าก่อนเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่
- สถานการณ์เหล็กในเดือนนี้ราคาเหล็กในตลาดโลกยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องประกอบกับตลาดในประเทศที่ยังคงซบเซาอยู่ จึงทำให้ผู้ผลิตลดการผลิตและเร่งระบายสินค้าในสต๊อกแทน
- อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกรกฎาคม 2548 ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากเริ่มเข้าฤดูฝน ซึ่งมิใช่ฤดูกาลจำหน่ายของอุตสาหกรรมรถยนต์ (Low season) อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตรายใหญ่บางรายมีการส่งออกเพิ่มขึ้นตามคำสั่งซื้อ
- อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ เดือนกรกฎาคม และเดือนสิงหาคม คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายในประเทศมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนทำให้เป็นอุปสรรคในการก่อสร้าง สำหรับการส่งออกขึ้นอยู่กับอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
- อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าจะทรงตัวต่อเนื่องเพราะยังมีปัจจัยลบทางด้านกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลงซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดในประเทศ ขณะที่ตลาดส่งออกอาจจะขยายตัวได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากมีการย้ายฐานการผลิตจากญี่ปุ่นมาไทยมากขึ้น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าการผลิตจะมีการปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากปกติเมื่อเริ่มไตรมาสที่ 3 จะเป็นช่วงที่ผู้ผลิตจะเพิ่มการผลิตสินค้าซึ่งเป็นชิ้นส่วนป้อนตลาดส่งออก
สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
พ.ค. 48 = 144.58
มิ.ย. 48 = 144.54
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนี ลดลง ได้แก่
- การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์
- การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน
- การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ
- อัตราการใช้กำลังการผลิต
พ.ค. 48 = 67.91
มิ.ย. 48 = 67.85
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่
- การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ
- การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์
- การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน
1.อุตสาหกรรมอาหาร
“ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนจากปัญหาภัยแล้งทำให้ขาดแคลนวัตถุดิบ สำหรับแนวโน้มการส่งออกยังขยายตัวได้ เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นและค่าเงินบาทอ่อนตัวลงและการที่เงินหยวนแข็งค่าขึ้น "
1. การผลิต
ภาวะการผลิตโดยรวมปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.1 และเมื่อเทียบกับปีก่อนลดลงร้อยละ 6.6 เป็นผลจากปริมาณการผลิตสินค้าอาหารเพื่อส่งออกลดลงในสินค้าไก่แช่เย็นแช่แข็ง ลดลงร้อยละ 6.9
เนื่องจากยังไม่สามารถส่งออกได้มากนัก สับปะรดกระป๋องร้อยละ 28.3 และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังร้อยละ 23.7 จากปัญหาภัยแล้งต่อเนื่อง ทำให้ขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต ประกอบกับการผลิตน้ำมันพืชและอาหารสัตว์ภายในก็มีการผลิตลดลงเช่นเดียวกัน ส่วนน้ำตาลทรายได้ปิดฤดูหีบแล้ว อย่างไรก็ตามยังมีสินค้าสำคัญที่สามารถขยายการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ 68.7 และปลาทูน่ากระป๋อง ร้อยละ 33.6
2. การตลาด
1) ตลาดในประเทศ สินค้าอาหารและเกษตร มีมูลค่าจำหน่ายลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.5 จากราคาจำหน่ายที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนเป็นผลจากการปรับราคาค่าขนส่งที่สูงขึ้นตามราคาน้ำมัน และการคาดการณ์ระดับราคาสินค้า ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคให้ชะลอตัวลง
2) ตลาดต่างประเทศ
ภาวะการส่งออกโดยรวม มีปริมาณลดลงร้อยละ 47.9 เทียบกับปีก่อน ในขณะที่มูลค่ากลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ประกอบกับมีคำสั่งซื้อสินค้ากุ้ง เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 87.3 และ 39.2 นอกจากนี้ ยังสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์สำคัญได้เพิ่มขึ้น เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง ร้อยละ 30.6 ไก่แปรรูป ร้อยละ 30.2 บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและอาหารสำเร็จรูป ร้อยละ 25.6 ผลิตภัณฑ์ข้าว ร้อยละ 16.1 ข้าวโพดฝักอ่อนกระป๋อง ร้อยละ 47.2 และสับปะรดกระป๋อง ร้อยละ 1.6
3. แนวโน้ม
คาดว่าการผลิตและการส่งออกจะยังขยายตัวได้ เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่ลูกค้าต่างประเทศเริ่มมีคำสั่งซื้อสินค้าเข้ามา โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มอาหารทะเลแปรรูป เช่น กุ้ง ปลา กลุ่มปศุสัตว์ เช่น ไก่แปรรูป และผลิตภัณฑ์อาหารกึ่งสำเร็จรูป ตามค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ประกอบกับการประกาศเปลี่ยนนโยบายการเงินหยวนของจีน ทำให้ค่าเงินหยวนเพิ่มขึ้น ราคาส่งออกของจีนจะเพิ่มขึ้นในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต และการส่งออกในภาพรวมได้ เช่น ต้นทุนค่าขนส่งจากปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการที่ต้องวางพันธบัตรสำหรับการส่งออกสินค้ากุ้งไปสหรัฐ
2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
“การผลิตเส้นใยสิ่งทอลดลง แต่การผลิตและการจำหน่ายเครื่องนุ่งห่ม โดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังไปได้ดี และยังมีช่องทางการเติบโตต่อเนื่อง”
1. การผลิตและการจำหน่าย
การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ เดือนมิถุนายน ลดลงร้อยละ 15.5 จากเดือนก่อน ขณะที่เสื้อผ้าสำเร็จรูปผลิตจากผ้าถักมีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นตามความต้องการบริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายเส้นใยสิ่งทอฯเดือนมิถุนายน 2548 ลดลงร้อยละ 4.4 แต่เสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าถัก เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 และเสื้อผ้าสำเร็จรูปผลิตจากผ้าทอเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนซึ่งสอดคล้องกับภาคการผลิตที่เพิ่มขึ้น
2. การส่งออกและตลาดส่งออก
มูลค่าการส่งออกสิ่งทอโดยรวมเดือนมิถุนายน 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา (+5.6%) จีน (+7.1%) ขณะที่ส่งออกไปญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 11.2 สหราชอาณาจักร (- 17.6%) และเยอรมัน(-1.4%)
มูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป เดือนมิถุนายน 2548 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเพียงเล็กน้อยร้อยละ 0.8 โดยส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา(+3.5%) ฝรั่งเศส(+12.7%) แต่ลดลงในตลาดสหราชอาณาจักร(-30.9%) ญี่ปุ่น (-4.3%) และเยอรมนี(-2.0%) เป็นต้น
3. การนำเข้า
มูลค่าการนำเข้าด้ายและเส้นใยโดยรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ
16.9 เป็นการนำเข้าด้ายทอผ้าฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ตลาดนำเข้าหลักคือจากจีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน และนำเข้าเส้นใยฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน ตลาดนำเข้าหลักคือสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และปากีสถาน
ผ้าผืน นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 ตลาดนำเข้าหลักคือจีน ไต้หวัน และญี่ปุ่น
เสื้อผ้าสำเร็จรูป นำเข้าลดลงร้อยละ 4.8 ตลาดนำเข้าหลักคือจีน อิตาลี ฮ่องกงและญี่ปุ่น
4. แนวโน้ม
การผลิตเส้นใยสิ่งทอลดลง แต่การผลิตและการจำหน่าย เครื่องนุ่งห่มโดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังไปได้ดี และยังมีช่องทางการ เติบโตต่อเนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้นและนำเข้าลดลง และในครึ่งปีหลังคาดว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มยังคงส่งออกได้ดีเนื่อง จากการส่งออกในช่วง ก.ย. — ธ.ค. สูงขึ้นเป็นประจำทุกปี เพราะต่าง ประเทศจะมีการนำเข้าสินค้าก่อนเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่
3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
“ สถานการณ์เหล็กในเดือนนี้ราคาเหล็กในตลาดโลกยังคง ลดลงอย่างต่อเนื่องประกอบกับตลาดในประเทศที่ยังคงซบเซาอยู่ จึงทำให้ผู้ผลิตลดการผลิตและเร่งระบายสินค้าในสต๊อกแทน ”
1.การผลิต
ภาวะการผลิตเหล็กในช่วงเดือน มิ.ย. 48 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 141.89 ลดลง ร้อยละ 12.70 โดยเป็นผลจากการลดลงของเหล็กทรงยาว เช่น เหล็กเส้นกลม ลดลง ร้อยละ 61.50 เหล็กเส้นข้ออ้อย ลดลง ร้อยละ 33.73 และเหล็กลวด ลดลง ร้อยละ 32.7 เนื่องจากผู้ผลิตเหล็กยังคงมีปริมาณสินค้าคงคลังอยู่เป็นจำนวนมาก ประกอบกับสถานการณ์การค้าในประเทศยังคงซบเซาอันเป็นผลมาจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวลง จึงทำให้ผู้ผลิตใน อุตสาหกรรมเหล็กทรงยาวลดปริมาณการผลิตลงและเร่งระบายสินค้าในสต๊อกแทน ขณะที่เหล็กทรงแบนการผลิตก็ลดลงเช่นกัน โดย เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 14.84 และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ลดลงร้อยละ 6.28 เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนลดลงร้อยละ 2.22 อันเป็นผลมาจากราคาเหล็กในตลาดโลกที่ลดลงอย่างต่อเนื่องและสถานการณ์การค้าในประเทศที่ ซบเซา จึงทำให้ปริมาณสินค้าคงคลังมาก ผู้ผลิตจึงต้องลดปริมาณการผลิตลง ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการผลิตมีการขยายตัวขึ้น ร้อยละ 7.47 โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 64.84 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 45.89 ลวดเหล็กแรงดึงสูง เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.69
2.ราคาเหล็ก
สำหรับการเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2548 เทียบกับช่วงเดือนก่อน ผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญแทบทุกตัวยังคงมีราคาลดลง ยกเว้น เศษเหล็ก ที่เพิ่มขึ้นจาก 181 เป็น 225 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 24.31 ขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่มีราคาลดลง ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงจาก 586 เป็น 490 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 16.38 เหล็กแท่งแบน ลดลงจาก 388 เป็น 330 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 14.95 เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลงจาก 445 เป็น 405 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 8.99 เหล็กเส้น ลดลงจาก 389 เป็น 365 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 6.17 และเหล็กแท่งเล็ก ลดลงจาก 315 เป็น 300 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 4.76
3. แนวโน้ม
สถานการณ์เหล็กในเดือน ก.ค. 2548 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่ในส่วนของการผลิตน่าจะขยายตัวขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากปริมาณสต๊อกสินค้าเหล็กที่มีอยู่ได้เริ่มลดลง อย่างไรก็ตามการที่ราคาเศษเหล็กในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ถือเป็นสัญญาณอย่างหนึ่งของการปรับตัวขึ้นของราคาเหล็กทั้งในส่วนของเหล็กกึ่งสำเร็จรูปและเหล็กสำเร็จรูปในตลาดโลก ซึ่งมีผลทำให้ราคาเหล็กในประเทศเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
4. อุตสาหกรรมยานยนต์
รถยนต์ (ก.ค. 48)
อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกรกฎาคม 2548 ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากเริ่มเข้าฤดูฝน ซึ่งมิใช่ฤดูกาลจำหน่ายของ อุตสาหกรรมรถยนต์ (Low season) อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตรายใหญ่บางรายมีการส่งออกเพิ่มขึ้นตามคำสั่งซื้อ โดยมีข้อมูลประมาณการในเดือนกรกฎาคม ดังนี้
- การผลิตรถยนต์ จำนวน 96,000 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2547 ร้อยละ 29.31 แต่ ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2548 ซึ่งมีการผลิต 99,166 คัน ร้อยละ 3.19
- การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 56,000 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2547 ร้อยละ 23.28 แต่ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2548 ซึ่งมีการจำหน่าย 63,421 คัน ร้อยละ 11.70
- การส่งออกรถยนต์ มีจำนวน 40,000 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2547 ร้อยละ 24.24 และเพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2548 ซึ่งมีการ ส่งออก 37,035 คัน ร้อยละ 8.00
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนสิงหาคม 2548 คาดว่าจะชะลอตัวจากเดือนกรกฎาคม เนื่องจาก เป็นช่วงฤดูฝน และปัญหาราคาน้ำมันยังคงมีราคาสูง
รถจักรยานยนต์ (ก.ค. 48)
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ประกอบกับปัจจัยลบด้านราคาน้ำมันที่ยังคงสูง ซึ่งกระทบต่อรายได้สุทธิของผู้บริโภค โดยมีข้อมูลประมาณการในเดือนกรกฎาคม ดังนี้
- การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 187,000 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2548 ซึ่งมีการผลิต 215,542 คัน ร้อยละ 13.24
- การจำหน่าย จำนวน 174,000 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2547 ร้อยละ 7.92 แต่ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2548 ซึ่งมีการจำหน่าย 182,440 คัน ร้อยละ 4.63
- การส่งออกรถจักรยานยนต์ มีจำนวน 13,000 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2548 ซึ่งมีการ ส่งออก 12,150 คัน ร้อยละ 6.99
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนสิงหาคม 2548 คาดว่าจะชะลอตัวจากเดือนกรกฎาคม เนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งมิใช่ ฤดูกาลขายของรถจักรยานยนต์
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
“ การผลิต การจำหน่ายในประเทศลดลงเนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝนแต่การส่งออกเพิ่มขึ้นตาม อุปสงค์ต่างประเทศ “
1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ
การผลิตปูนซีเมนต์ในเดือนมิถุนายน 2548 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนลดลงร้อยละ 5.32 เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนการก่อสร้างชะลอตัวทำให้ปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์ลดลง แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.96 เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นตามภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัว จากการขยายการลงทุนในภาคเอกชนและการลงทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของภาครัฐ
2.การส่งออก
มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนมิถุนายนเมื่อเทียบกับ เดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.40 และ 35.52 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้น สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ เวียดนาม สหรัฐอเมริกา บังคลาเทศ และกัมพูชา
3.แนวโน้ม
เดือนกรกฎาคม และเดือนสิงหาคม คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายในประเทศมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนทำให้เป็นอุปสรรคในการก่อสร้าง สำหรับการส่งออกขึ้นอยู่กับอุปสงค์ของประเทศ คู่ค้าที่สำคัญ
6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
“ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าจะทรงตัวต่อเนื่องเพราะยังมีปัจจัยลบทางด้านกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลงซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดในประเทศ ขณะที่ตลาดส่งออกอาจจะขยายตัวได้เพิ่มขึ้น เล็กน้อยเนื่องจากมีการย้ายฐานการผลิตจากญี่ปุ่นมาไทยมากขึ้น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าการผลิตจะมีการปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากปกติเมื่อเริ่มไตรมาสที่ 3 จะเป็นช่วงที่ผู้ผลิตจะเพิ่มการผลิตสินค้าซึ่งเป็นชิ้นส่วนป้อนตลาดส่งออก”
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
1.การผลิต
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวมของเดือนมิถุนายน 2548 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ดัชนีผลผลิตมีการขยาย ตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 12.0 สำหรับสินค้าในกลุ่มไฟฟ้าปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนโดยลดลงเพียงร้อยละ 0.04 ทั้งนี้เป็นเพราะสินค้าในกลุ่มนี้มีทั้งที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นและลดลง
2. การส่งออก
มูลค่าการส่งออกสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนมิถุนายนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกสินค้าทำให้สินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนนี้มีการขยายตัวร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และขยายตัวร้อยละ 10.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่วนสินค้าเครื่องใช้ ไฟฟ้าค่อนข้างทรงตัวโดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
3. แนวโน้ม
ผลกระทบการลอยตัวค่าเงินหยวนต่ออุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์นั้น ในส่วนผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทย ในระยะสั้นนี้อาจจะยังไม่เห็นผลต่างแต่ในระยะยาวคาดว่าน่าจะเป็นผลบวก เนื่องจากราคาเครื่องใช้ ไฟฟ้านำเข้าจากจีนหลังการลอยตัวค่าเงินน่าจะมีราคาสูงขึ้น ซึ่งหากจีนปล่อยให้เงินลอยตัวเพิ่มกว่านี้ตามค่าจริงซึ่งควรจะสูงกว่านี้จะเป็นผลให้ราคาของเครื่องใช้ ไฟฟ้านำเข้าจากจีนไม่ต่างจากราคา เครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยมากนัก สำหรับในส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทย ในระยะสั้นนี้ไม่น่าได้รับผลกระทบเนื่องจากลักษณะของอุตสาหกรรมนี้บริษัทแม่เป็นผู้กำหนดฐานการผลิตและตลาดส่งออกอยู่แล้ว
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าจะทรงตัวต่อเนื่องเพราะยังมีปัจจัยลบ ทางด้านกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลงซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดในประเทศ ขณะที่ตลาดส่งออกอาจจะขยายตัวได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากมีการย้ายฐาน การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดจากญี่ปุ่นมาไทยมากขึ้นประกอบกับตลาดส่งออกหลักยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าการผลิตจะมีการปรับตัวสูงขึ้น เล็กน้อยเนื่องจากปกติเมื่อเริ่มไตรมาสที่ 3 จะเป็นช่วงที่ผู้ผลิตจะเพิ่มการผลิตสินค้าซึ่งเป็นชิ้นส่วนป้อนตลาดส่งออก เพื่อเตรียมผลิตสินค้าสำเร็จรูปในช่วง สิ้นปี อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจะอยู่ในภาวะ ชะลอตัวตามภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของโลก
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2548 มีค่า 144.54 ทรงตัวโดยลดลงเล็กน้อยจากเดือนเมษายน 2548 (144.58) ร้อยละ 0.03 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (138.33) ร้อยละ 4.5
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2548 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ เป็นต้น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนมิถุนายน 2548 มีค่า 67.85 ทรงตัวโดยลดลงเล็กน้อยจากเดือนเมษายน 2548 (67.91) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (63.80)
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2548 ได้แก่ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและ ผลิตภัณฑ์เหล็กกล้า อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอม สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ เป็นต้น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนมิถุนายน 2548 ของโรงงานขนาดเล็กมีค่า 42.9 โรงงานขนาดกลางมีค่า 53.1 และโรงงานขนาดใหญ่มีค่า 71.2
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2548
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2548 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 471 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2548 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 470 รายหรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 0.2 ในส่วนของจำนวนเงินลงทุน มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 11,394 ล้านบาท และก่อให้เกิดการจ้างงานรวม 10,550 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2548 ซึ่งมีการลงทุนเพิ่ม 7,067 ล้านบาทและจำนวนการจ้างงาน 9,874 คน ร้อยละ 61.2 และ 6.8 ตามลำดับ
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนมิถุนายน 2547 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 461 รายหรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 2.2 แต่ในส่วนของจำนวนเงินลงทุน และการจ้างงานรวมลดลงจากเดือนมิถุนายน 2547 ซึ่งมีการลงทุนเพิ่ม 31,561 ล้านบาทและจำนวนการจ้างงาน 11,922 คน ร้อยละ —63.9 และ —11.5
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนมิถุนายน 2548 คือ อุตสาหกรรมขุดหรือลอก กรวด ทรายหรือดิน จำนวน 71 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการดูดทราย จำนวน 29 ราย
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2548 คือ อุตสาหกรรมการสี ฝัด หรือขัดข้าว เงินทุน 1,145 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการตัด พับ ม้วนโลหะ เงินทุน 748 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2548 คือ อุตสาหกรรมการตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์คนงาน 1,753 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับ โทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ คาปาซิเตอร์ คนงาน 639 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2548 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 162 ราย น้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2548 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 282 ราย คิดเป็นร้อยละ —42.6 ในส่วนของเงินทุนมีจำนวน 1,126 ล้านบาทและเลิกจ้างงานจำนวน 4,003 คนโดยน้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2548 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 4,463 ล้านบาทและเลิกจ้างงานจำนวน 13,024 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวนน้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2547 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 327 ราย คิดเป็นร้อยละ —50.5 โดยในส่วนเงินทุนและการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2547 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 5,620 ล้านบาทและเลิกจ้างงานจำนวน 8,702 คน
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนมิถุนายน 2548 คือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์ จำนวน 17 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 15 ราย
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2548 คืออุตสาหกรรมการทำภาชนะบรรจุจากพลาสติก เงินทุน 131 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์จากหิน เงินทุน 116 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2548 คือ อุตสาหกรรมการตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ คนงาน 1,082 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำเครื่องเล่น คนงาน 420 คน
- ภาวะการลงทุนของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ในเดือนมิถุนายน 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2548 มีโรงงานที่เปิดดำเนินกิจการในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ จำนวน 23 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2548 ซึ่งมีโรงงานที่เปิดดำเนินกิจการในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ จำนวน 18 รายหรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 27.8 คิดเป็นเงินลงทุน 3,266 ล้านบาทและมีการจ้างงานรวม 1,837 คนน้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2548 ซึ่งมีการลงทุนเพิ่ม 9,923 ล้านบาทและจำนวนการจ้างงาน 5,903 คน ร้อยละ —71.9 และ -68.9 ตามลำดับ
- ภาวะการลงทุนของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ในเดือนมิถุนายน 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เปิดดำเนินกิจการในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนมิถุนายน 2547 ซึ่งมีโรงงานที่เปิดดำเนินกิจการในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ จำนวน 20 รายหรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 15.0 แต่มีเงินลงทุนน้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2547 ซึ่งมีการลงทุนเพิ่ม 3,884 ล้านบาทร้อยละ —15.9 ส่วนการจ้างงานรวมมากกว่าเดือนมิถุนายน 2547 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 1,531 คน ร้อยละ 20.0
(ยังมีต่อ)