1. สถานการณ์ปัจจุบัน
การผลิต
ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2547 มีประมาณ 2,980,965 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปและท่อเหล็ก ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.72 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน สำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป (semi-finished) ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตขั้นปลายมีการขยายตัวมากที่สุด ร้อยละ 40.96 รองลงมาคือเหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นๆ (other coated steel) และเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 34.76 และ 30.82 ตามลำดับ ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2547 ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวการผลิตเพิ่มมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นรีดร้อน (Hot rolled flat ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 46.85
ตารางที่ 1 : ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2546 และไตรมาสที่ 2 ปี 2547
หน่วย : เมตริกตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส 3/47 ไตรมาส 3 /46 ไตรมาส 2/47 อัตราการเปลี่ยนแปลงไตรมาส 3/47
เทียบกับ
ไตรมาส 3/46 ไตรมาส 2/47
semi-finished 1,170,000 830,000 987,000 40.96 18.54
Long product 1,124,918 859,926 1,138,832 30.82 -1.22
Flat product 1,856,047 1,630,031 1,502,423 13.87 23.54
Hot rolled flat 1,014,900 861,666 691,120 17.78 46.85
Cold rolled flat 581,531 540,070 527,771 7.68 10.19
Coated Steel 259,616 228,295 283,532 13.72 -8.44
HDG 100,439 94,672 113,677 6.09 -11.65
EG
Tin plate 82,531 67,469 90,882 22.32 -9.19
Tin free 35,369 35,525 34,106 -0.44 3.70
Other 41,277 30,629 44,867 34.76 -8.00
รวม1 2,980,965 2,489,957 2,641,255 19.72 12.86
ที่มา : สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ 1 : ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป (semi-finished) เนื่องจากเป็นวัตถุดิบในการผลิตเหล็กขั้นปลาย
การใช้ในประเทศ
ปริมาณการใช้เหล็กและเหล็กกล้าในประเทศที่สำคัญในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ประมาณ 2,823,816 เมตริกตัน โดยมีอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้ในประเทศเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.74 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงยาวมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.71 แต่เหล็กทรงแบนมีอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้ในประเทศลดลงเล็กน้อย คือ ร้อยละ 0.99 ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2547 ปริมาณการใช้ในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.06 เหล็กทรงแบนมีการขยายตัว ร้อยละ 31.34 แต่เหล็กทรงยาวมีปริมาณการใช้ในประเทศลดลง ร้อยละ 4.13 รายละเอียดตามตารางที่ 2
ตารางที่ 2 : ปริมาณการใช้ในประเทศเหล็กและเหล็กกล้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2546 และไตรมาสที่ 2 ปี 2547
หน่วย : เมตริกตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส 3/47 ไตรมาส 3 /46 ไตรมาส 2/47 อัตราการเปลี่ยนแปลงของไตรมาส 3/47
เทียบกับ
ไตรมาส 3/46 ไตรมาส 2/47
Long product 1,156,417 912,618 1,206,242 26.71 -4.13
Flat product 1,667,399 1,684,142 1,269,512 -0.99 31.34
รวม 2,823,816 2,596,760 2,475,754 8.74 14.06
ที่มา : สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
การนำเข้า
มูลค่าและปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2547 มีจำนวนประมาณ 49,525 ล้านบาท และ 2,339,712 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.01 และ 3.65 ตามลำดับ ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นและรัสเซีย ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้ามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เหล็กแท่งแบน (Slab) เหล็กแผ่นรีดร้อน (HR sheet) และ เหล็กแท่งเล็ก (Billet) โดยมีมูลค่า 9,692 7,787 และ 6,973 ล้านบาท ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าการนำเข้าในช่วงไตรมาสนี้เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวเพิ่มมากที่สุด ได้แก่ เหล็กกึ่งสำเร็จรูปชนิดอื่นๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 446.19 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดแผ่นหนา (HR plate) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 145.77
การส่งออก
มูลค่าและปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2547 มีจำนวนประมาณ 14,706 ล้านบาท และ 564,995 ตัน โดยมีอัตราการเปลี่ยนแปลงมูลค่าและปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 97.71 และ 58.18 ตามลำดับ ซึ่งตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยในช่วงไตรมาสนี้คือ อเมริกาและออสเตรเลีย ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออก 3 อันดับแรกในช่วงนี้ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อน (HR Sheet) เหล็กแผ่นรีดเย็น (CR carbon steel) และ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดร้อน โดยมีมูลค่า 3,618 2,240 และ2,101 ล้านบาท ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงของของมูลค่าการส่งออกในช่วงไตรมาสนี้เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวเพิ่มมากที่สุด ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิด P&O เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20,662.17 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อน (HR sheet) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 19,532.88
2. สรุป
สถานการณ์เหล็กในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ขยายตัวดีขึ้นตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.72 ปริมาณการใช้ในประเทศโดยรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.74 โดยเฉพาะเหล็กทรงยาวมีการขยายตัวของการใช้ในประเทศถึง ร้อยละ 26.71 ทั้งนี้ เนื่องจากความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมก่อสร้างยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง จากโครงการก่อสร้างต่างๆ ภายในประเทศ สำหรับเหล็กทรงแบนปริมาณการใช้ในประเทศลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 0.99 ขณะเดียวกันปริมาณและมูลค่าการนำเข้าก็ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.65 และ 43.01 ตามลำดับ ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าเหล็กแท่งแบน (Slab) เพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับเหล็กแผ่นรีดร้อน (HR flat product) ซึ่งช่วงนี้มีการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 13,965.04 โดยตลาดที่สำคัญได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา และจีน สำหรับการส่งออกในช่วงไตรมาสนี้ปริมาณและมูลค่าการส่งออกขยายตัวขึ้นร้อยละ 58.18 และ 97.71 ตามลำดับ สำหรับสถานการณ์ราคาเหล็กในช่วงไตรมาส 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ยังคงปรับตัวสูงขึ้นแต่ไม่รุนแรงเท่ากับเมื่อช่วงปลายปี 2546 ถึงต้นปี 2547 ที่ผ่านมา โดยราคาเหล็ก (FOB) จากแหล่งที่มีราคาถูกที่สุด (CIS)ในวันที่ 29 ก.ย. 47 เป็นดังนี้ เศษเหล็ก (Scrap)ชนิด EU HMS#1 ราคา 242.5 เหรียญสหรัฐต่อตัน ราคาเหล็กแท่งเล็ก (Billet) จากท่าทะเลดำ ราคา 375 เหรียญสหรัฐต่อตัน เหล็กเส้น (Rebar) จากทะเลดำ ราคา 440 เหรียญสหรัฐต่อตัน เหล็กแท่งแบน (Slab) ราคา 490 เหรียญสหรัฐต่อตัน เหล็กแผ่นรีดร้อน (HR) ราคา 585 เหรียญสหรัฐต่อตัน และเหล็กแผ่นรีดเย็น (CR) ราคา 620 เหรียญสหรัฐต่อตัน
3.แนวโน้ม
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2547 คาดการณ์ว่าจะขยายตัวขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 โดยเฉพาะเหล็กทรงยาวซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยเฉพาะโครงการของภาครัฐ ได้แก่ โครงการสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2548 ทำให้ต้องเร่งการก่อสร้างให้เสร็จทันเวลา สำหรับเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่ายังคงมีการขยายตัวตามอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศและมีแนวโน้มการส่งออกที่เพิ่มมากขึ้น สำหรับสถานการณ์เหล็กของประเทศจีนในช่วงนี้ เหล็กทรงยาวคาดการณ์ว่ายังคงมีความต้องการอยู่ เนื่องจากโครงการใหญ่ๆ หลายโครงการยังไม่แล้วเสร็จในช่วงนี้ เช่น โครงการโอลิมปิก โครงการก่อสร้างศูนย์แสดงสินค้า Shanghai World Expo รวมทั้งโครงการฟื้นฟูภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เหล่านี้ล้วนเป็นแรงผลักดันให้การบริโภคเหล็กโดยเฉพาะเหล็กทรงยาวยังคงมีปริมาณที่สูง แต่อย่างไรก็ตาม โครงการก่อสร้างกำลังจะแล้วเสร็จในอนาคตอันใกล้นี้ สำหรับเหล็กทรงแบนพบว่า ประเทศจีนมีปริมาณนำเข้าเหล็กแท่งแบน (slab) และเหล็กทรงแบน (flat product) ที่ลดลง เนื่องจากความต้องการใช้ที่ลดลง สำหรับแนวโน้มของราคาเหล็กอาจปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้นประกอบกับเข้าใกล้ฤดูหนาว ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มมากขึ้นจากค่าระวางสินค้าทางเรือที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้านานาชาติ (IISI) ได้คาดการณ์ว่า ราคาเหล็กมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงไปจนถึงปี 2548 แต่อาจจะลดลงในปีถัดไป โดยเหล็กแผ่นรีดร้อนใน ปี 2547 ราคาเฉลี่ยน่าจะอยู่ที่ 678 เหรียญสหรัฐต่อตัน และในปี 2548 ราคาประมาณ 660 เหรียญสหรัฐต่อตัน และคาดว่าจะตกมาที่ 550 เหรียญสหรัฐต่อตัน ในปี 2549
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การผลิต
ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2547 มีประมาณ 2,980,965 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปและท่อเหล็ก ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.72 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน สำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป (semi-finished) ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตขั้นปลายมีการขยายตัวมากที่สุด ร้อยละ 40.96 รองลงมาคือเหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นๆ (other coated steel) และเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 34.76 และ 30.82 ตามลำดับ ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2547 ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวการผลิตเพิ่มมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นรีดร้อน (Hot rolled flat ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 46.85
ตารางที่ 1 : ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2546 และไตรมาสที่ 2 ปี 2547
หน่วย : เมตริกตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส 3/47 ไตรมาส 3 /46 ไตรมาส 2/47 อัตราการเปลี่ยนแปลงไตรมาส 3/47
เทียบกับ
ไตรมาส 3/46 ไตรมาส 2/47
semi-finished 1,170,000 830,000 987,000 40.96 18.54
Long product 1,124,918 859,926 1,138,832 30.82 -1.22
Flat product 1,856,047 1,630,031 1,502,423 13.87 23.54
Hot rolled flat 1,014,900 861,666 691,120 17.78 46.85
Cold rolled flat 581,531 540,070 527,771 7.68 10.19
Coated Steel 259,616 228,295 283,532 13.72 -8.44
HDG 100,439 94,672 113,677 6.09 -11.65
EG
Tin plate 82,531 67,469 90,882 22.32 -9.19
Tin free 35,369 35,525 34,106 -0.44 3.70
Other 41,277 30,629 44,867 34.76 -8.00
รวม1 2,980,965 2,489,957 2,641,255 19.72 12.86
ที่มา : สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ 1 : ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป (semi-finished) เนื่องจากเป็นวัตถุดิบในการผลิตเหล็กขั้นปลาย
การใช้ในประเทศ
ปริมาณการใช้เหล็กและเหล็กกล้าในประเทศที่สำคัญในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ประมาณ 2,823,816 เมตริกตัน โดยมีอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้ในประเทศเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.74 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงยาวมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.71 แต่เหล็กทรงแบนมีอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้ในประเทศลดลงเล็กน้อย คือ ร้อยละ 0.99 ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2547 ปริมาณการใช้ในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.06 เหล็กทรงแบนมีการขยายตัว ร้อยละ 31.34 แต่เหล็กทรงยาวมีปริมาณการใช้ในประเทศลดลง ร้อยละ 4.13 รายละเอียดตามตารางที่ 2
ตารางที่ 2 : ปริมาณการใช้ในประเทศเหล็กและเหล็กกล้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 เทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2546 และไตรมาสที่ 2 ปี 2547
หน่วย : เมตริกตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส 3/47 ไตรมาส 3 /46 ไตรมาส 2/47 อัตราการเปลี่ยนแปลงของไตรมาส 3/47
เทียบกับ
ไตรมาส 3/46 ไตรมาส 2/47
Long product 1,156,417 912,618 1,206,242 26.71 -4.13
Flat product 1,667,399 1,684,142 1,269,512 -0.99 31.34
รวม 2,823,816 2,596,760 2,475,754 8.74 14.06
ที่มา : สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
การนำเข้า
มูลค่าและปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2547 มีจำนวนประมาณ 49,525 ล้านบาท และ 2,339,712 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.01 และ 3.65 ตามลำดับ ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นและรัสเซีย ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้ามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เหล็กแท่งแบน (Slab) เหล็กแผ่นรีดร้อน (HR sheet) และ เหล็กแท่งเล็ก (Billet) โดยมีมูลค่า 9,692 7,787 และ 6,973 ล้านบาท ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าการนำเข้าในช่วงไตรมาสนี้เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวเพิ่มมากที่สุด ได้แก่ เหล็กกึ่งสำเร็จรูปชนิดอื่นๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 446.19 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดแผ่นหนา (HR plate) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 145.77
การส่งออก
มูลค่าและปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2547 มีจำนวนประมาณ 14,706 ล้านบาท และ 564,995 ตัน โดยมีอัตราการเปลี่ยนแปลงมูลค่าและปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 97.71 และ 58.18 ตามลำดับ ซึ่งตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยในช่วงไตรมาสนี้คือ อเมริกาและออสเตรเลีย ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออก 3 อันดับแรกในช่วงนี้ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อน (HR Sheet) เหล็กแผ่นรีดเย็น (CR carbon steel) และ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดร้อน โดยมีมูลค่า 3,618 2,240 และ2,101 ล้านบาท ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงของของมูลค่าการส่งออกในช่วงไตรมาสนี้เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวเพิ่มมากที่สุด ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิด P&O เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20,662.17 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อน (HR sheet) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 19,532.88
2. สรุป
สถานการณ์เหล็กในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ขยายตัวดีขึ้นตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.72 ปริมาณการใช้ในประเทศโดยรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.74 โดยเฉพาะเหล็กทรงยาวมีการขยายตัวของการใช้ในประเทศถึง ร้อยละ 26.71 ทั้งนี้ เนื่องจากความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมก่อสร้างยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง จากโครงการก่อสร้างต่างๆ ภายในประเทศ สำหรับเหล็กทรงแบนปริมาณการใช้ในประเทศลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 0.99 ขณะเดียวกันปริมาณและมูลค่าการนำเข้าก็ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.65 และ 43.01 ตามลำดับ ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าเหล็กแท่งแบน (Slab) เพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับเหล็กแผ่นรีดร้อน (HR flat product) ซึ่งช่วงนี้มีการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 13,965.04 โดยตลาดที่สำคัญได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา และจีน สำหรับการส่งออกในช่วงไตรมาสนี้ปริมาณและมูลค่าการส่งออกขยายตัวขึ้นร้อยละ 58.18 และ 97.71 ตามลำดับ สำหรับสถานการณ์ราคาเหล็กในช่วงไตรมาส 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ยังคงปรับตัวสูงขึ้นแต่ไม่รุนแรงเท่ากับเมื่อช่วงปลายปี 2546 ถึงต้นปี 2547 ที่ผ่านมา โดยราคาเหล็ก (FOB) จากแหล่งที่มีราคาถูกที่สุด (CIS)ในวันที่ 29 ก.ย. 47 เป็นดังนี้ เศษเหล็ก (Scrap)ชนิด EU HMS#1 ราคา 242.5 เหรียญสหรัฐต่อตัน ราคาเหล็กแท่งเล็ก (Billet) จากท่าทะเลดำ ราคา 375 เหรียญสหรัฐต่อตัน เหล็กเส้น (Rebar) จากทะเลดำ ราคา 440 เหรียญสหรัฐต่อตัน เหล็กแท่งแบน (Slab) ราคา 490 เหรียญสหรัฐต่อตัน เหล็กแผ่นรีดร้อน (HR) ราคา 585 เหรียญสหรัฐต่อตัน และเหล็กแผ่นรีดเย็น (CR) ราคา 620 เหรียญสหรัฐต่อตัน
3.แนวโน้ม
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2547 คาดการณ์ว่าจะขยายตัวขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 โดยเฉพาะเหล็กทรงยาวซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยเฉพาะโครงการของภาครัฐ ได้แก่ โครงการสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2548 ทำให้ต้องเร่งการก่อสร้างให้เสร็จทันเวลา สำหรับเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่ายังคงมีการขยายตัวตามอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศและมีแนวโน้มการส่งออกที่เพิ่มมากขึ้น สำหรับสถานการณ์เหล็กของประเทศจีนในช่วงนี้ เหล็กทรงยาวคาดการณ์ว่ายังคงมีความต้องการอยู่ เนื่องจากโครงการใหญ่ๆ หลายโครงการยังไม่แล้วเสร็จในช่วงนี้ เช่น โครงการโอลิมปิก โครงการก่อสร้างศูนย์แสดงสินค้า Shanghai World Expo รวมทั้งโครงการฟื้นฟูภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เหล่านี้ล้วนเป็นแรงผลักดันให้การบริโภคเหล็กโดยเฉพาะเหล็กทรงยาวยังคงมีปริมาณที่สูง แต่อย่างไรก็ตาม โครงการก่อสร้างกำลังจะแล้วเสร็จในอนาคตอันใกล้นี้ สำหรับเหล็กทรงแบนพบว่า ประเทศจีนมีปริมาณนำเข้าเหล็กแท่งแบน (slab) และเหล็กทรงแบน (flat product) ที่ลดลง เนื่องจากความต้องการใช้ที่ลดลง สำหรับแนวโน้มของราคาเหล็กอาจปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้นประกอบกับเข้าใกล้ฤดูหนาว ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มมากขึ้นจากค่าระวางสินค้าทางเรือที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้านานาชาติ (IISI) ได้คาดการณ์ว่า ราคาเหล็กมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงไปจนถึงปี 2548 แต่อาจจะลดลงในปีถัดไป โดยเหล็กแผ่นรีดร้อนใน ปี 2547 ราคาเฉลี่ยน่าจะอยู่ที่ 678 เหรียญสหรัฐต่อตัน และในปี 2548 ราคาประมาณ 660 เหรียญสหรัฐต่อตัน และคาดว่าจะตกมาที่ 550 เหรียญสหรัฐต่อตัน ในปี 2549
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-