ภาพรวมอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 ที่ผ่านมาได้เผชิญกับปัญหาที่ท้าทายความสามารถของผู้ประกอบการไทยอย่างมาก คือ ปัญหาราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีราคาสูงขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านลบต่อต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจุบันผลจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นส่งผลให้ราคาเม็ดพลาสติกที่เป็นวัตถุหลักของอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เมื่อเทียบกับช่วงต้นปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีปัญหาขาดแคลนเม็ดพลาสติกเนื่องจากผู้ผลิตเม็ดพลาสติกส่งออกเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เกิดการขาดสภาพคล่องทางการผลิตโดยเฉพาะ ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ทั้งนี้ราคาเม็ดพลาสติกได้เริ่มปรับตัวสูงขึ้นจากเดิมที่ 30-35 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 50-60 บาท ต่อกิโลกรัม ทำให้ผู้ผลิตโดยเฉพาะผู้ผลิตรายย่อยจำเป็นต้องลดกำลังการผลิตลง
การตลาด
การส่งออก
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.30 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.49 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สหราชอาณาจักร กลุ่มประเทศในอาเชียน และออสเตรเลีย ผลิตภัณฑ์หลักที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 3 ลำดับแรกได้แก่ แผ่นฟิล์ม ฟอยล์ และแถบ ถุงและกระสอบพลาสติก และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 29.33 25.51 และ 4.30 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 3 ลำดับแรกได้แก่ พลาสติกปูพื้นหรือผนัง ถุงและกระสอบพลาสติก และแผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.31 , 25.58 และ 13.54 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วคือ เครื่องใช้และของประกอบเครื่องแต่งกาย มีมูลค่าการส่งออกลดลงถึงร้อยละ 42.86 ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3 ลำดับแรกได้แก่ หลอดและท่อพลาสติก แผ่นฟิล์ม ฟลอยล์ และแถบ และกล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก โดยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.33 , 24.36 และ 23.08 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนได้แก่ เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบเครื่องแต่งกาย โดยมีมูลค่าการส่งออกลดลงถึงร้อยละ 52
ประเภท มูลค่าส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ผลิตภัณฑ์ 2545 2546 Q32546 Q22547 Q32547
ถุงและกระสอบพลาสติก 265.8 385.0 95.4 81.3 102.1
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบ 290.8 354.2 94.4 103.4 117.4
เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบฯ 24.3 34.1 10.0 8.4 4.8
กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก 17.9 21.1 5.2 6.0 6.4
เครื่องใช้สำนักงานทำด้วยพลาสติก 26.5 33.4 6.8 5.2 5.7
หลอดและท่อพลาสติก 20.7 26.7 6.0 8.2 7.7
พลาสติกปูพื้นและผนัง 36.3 39.1 9.8 7.8 11.1
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก 61.4 63.2 15.7 16.4 17.2
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 336.6 344.4 86.2 126.1 127.9
รวมทั้งสิ้น 1080.3 1,301.2 329.5 362.8 400.3
ที่มา : ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
การนำเข้า
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 501.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.51 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ และกลุ่มอาเซียน สำหรับผลิตภัณฑ์หลักที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด คือ แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก คิดเป็นร้อยละ 35.03 ของมูลค่าการนำเข้าโดยรวม เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาพบว่าผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น สูงสุดคือ แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.97 ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าที่ลดลงได้แก่ เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งในบ้าน สำหรับการนำเข้าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการนำเข้าโดยรวมเพิ่มขึ้นในทุกผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ถุง กล่องและกระสอบพลาสติก หลอดและท่อพลาสติก แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.16 27.45 และ 23.92 ตามลำดับ
ประเภท มูลค่านำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ผลิตภัณฑ์ 2545 2546 Q32546 Q22547 Q32547
ถุง กล่องและกระสอบพลาสติก 150.8 185.2 43.6 58.6 59.8
หลอดและท่อพลาสติก 49.2 66.8 15.3 19.3 19.5
เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งในบ้าน 15.6 29.5 8.1 9.9 9.1
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก 504.9 586 141.7 165.7 175.6
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 752.9 791.7 193.3 230.8 237.3
รวมทั้งสิ้น 1,473.4 1,659.2 402.0 484.3 501.3
ที่มา : ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
แนวโน้ม
ปัญหาที่สำคัญของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกในปัจจุบันและอนาคต คือปัญหาราคาเม็ดพลาสติกซึ่งเป็นต้นทุนหลักของผลิตภัณฑ์มีมูลค่าสูงขึ้น ราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสติกไม่สามารถปรับราคาให้สูงเท่ากับอัตราการเพิ่มของราคาเม็ดพลาสติก ดังนั้นรัฐบาลและผู้ผลิตจะต้องร่วมมือกันในการดำเนินกลยุทธ์ในเชิงรุกอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้กลยุทธ์เชิงรุกเพื่อขยายการส่งออกสามารถแบ่งออกเป็น 3 ด้านใหญ่ๆ คือ 1. การกระจายการส่งออกไปสู่ตลาดใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ (อาทิ ประเทศในยุโรปตะวันออก และบางประเทศในแอฟริกา) แทนที่จะกระจุกอยู่ในตลาดหลักอย่าง สหรัฐ ฯ ญี่ปุ่น กลุ่มประเทศอาเซียน และออสเตรเลีย 2. การพัฒนาประเภทหรือชนิดของสินค้าใหม่ๆ ให้มีความหลากหลายมากขึ้น และสอดคล้องกับความต้องการ และความนิยมของผู้บ่ริโภคในแต่ละตลาด และ 3. การพัฒนาสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นด้วยเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพสินค้า รวมทั้งการออกแบบเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ควบคู่ไปกับการพัฒนาตราสินค้า อันจะเป็นการขยายตลาดระดับบนให้กับผลิตภัณฑ์พลาสติกไทย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 ที่ผ่านมาได้เผชิญกับปัญหาที่ท้าทายความสามารถของผู้ประกอบการไทยอย่างมาก คือ ปัญหาราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีราคาสูงขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านลบต่อต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจุบันผลจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นส่งผลให้ราคาเม็ดพลาสติกที่เป็นวัตถุหลักของอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เมื่อเทียบกับช่วงต้นปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีปัญหาขาดแคลนเม็ดพลาสติกเนื่องจากผู้ผลิตเม็ดพลาสติกส่งออกเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เกิดการขาดสภาพคล่องทางการผลิตโดยเฉพาะ ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ทั้งนี้ราคาเม็ดพลาสติกได้เริ่มปรับตัวสูงขึ้นจากเดิมที่ 30-35 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 50-60 บาท ต่อกิโลกรัม ทำให้ผู้ผลิตโดยเฉพาะผู้ผลิตรายย่อยจำเป็นต้องลดกำลังการผลิตลง
การตลาด
การส่งออก
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.30 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.49 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สหราชอาณาจักร กลุ่มประเทศในอาเชียน และออสเตรเลีย ผลิตภัณฑ์หลักที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 3 ลำดับแรกได้แก่ แผ่นฟิล์ม ฟอยล์ และแถบ ถุงและกระสอบพลาสติก และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 29.33 25.51 และ 4.30 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 3 ลำดับแรกได้แก่ พลาสติกปูพื้นหรือผนัง ถุงและกระสอบพลาสติก และแผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.31 , 25.58 และ 13.54 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วคือ เครื่องใช้และของประกอบเครื่องแต่งกาย มีมูลค่าการส่งออกลดลงถึงร้อยละ 42.86 ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3 ลำดับแรกได้แก่ หลอดและท่อพลาสติก แผ่นฟิล์ม ฟลอยล์ และแถบ และกล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก โดยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.33 , 24.36 และ 23.08 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนได้แก่ เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบเครื่องแต่งกาย โดยมีมูลค่าการส่งออกลดลงถึงร้อยละ 52
ประเภท มูลค่าส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ผลิตภัณฑ์ 2545 2546 Q32546 Q22547 Q32547
ถุงและกระสอบพลาสติก 265.8 385.0 95.4 81.3 102.1
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบ 290.8 354.2 94.4 103.4 117.4
เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบฯ 24.3 34.1 10.0 8.4 4.8
กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก 17.9 21.1 5.2 6.0 6.4
เครื่องใช้สำนักงานทำด้วยพลาสติก 26.5 33.4 6.8 5.2 5.7
หลอดและท่อพลาสติก 20.7 26.7 6.0 8.2 7.7
พลาสติกปูพื้นและผนัง 36.3 39.1 9.8 7.8 11.1
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก 61.4 63.2 15.7 16.4 17.2
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 336.6 344.4 86.2 126.1 127.9
รวมทั้งสิ้น 1080.3 1,301.2 329.5 362.8 400.3
ที่มา : ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
การนำเข้า
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 501.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.51 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ และกลุ่มอาเซียน สำหรับผลิตภัณฑ์หลักที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด คือ แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก คิดเป็นร้อยละ 35.03 ของมูลค่าการนำเข้าโดยรวม เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาพบว่าผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น สูงสุดคือ แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.97 ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าที่ลดลงได้แก่ เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งในบ้าน สำหรับการนำเข้าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการนำเข้าโดยรวมเพิ่มขึ้นในทุกผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ถุง กล่องและกระสอบพลาสติก หลอดและท่อพลาสติก แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.16 27.45 และ 23.92 ตามลำดับ
ประเภท มูลค่านำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ผลิตภัณฑ์ 2545 2546 Q32546 Q22547 Q32547
ถุง กล่องและกระสอบพลาสติก 150.8 185.2 43.6 58.6 59.8
หลอดและท่อพลาสติก 49.2 66.8 15.3 19.3 19.5
เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งในบ้าน 15.6 29.5 8.1 9.9 9.1
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก 504.9 586 141.7 165.7 175.6
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 752.9 791.7 193.3 230.8 237.3
รวมทั้งสิ้น 1,473.4 1,659.2 402.0 484.3 501.3
ที่มา : ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
แนวโน้ม
ปัญหาที่สำคัญของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกในปัจจุบันและอนาคต คือปัญหาราคาเม็ดพลาสติกซึ่งเป็นต้นทุนหลักของผลิตภัณฑ์มีมูลค่าสูงขึ้น ราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสติกไม่สามารถปรับราคาให้สูงเท่ากับอัตราการเพิ่มของราคาเม็ดพลาสติก ดังนั้นรัฐบาลและผู้ผลิตจะต้องร่วมมือกันในการดำเนินกลยุทธ์ในเชิงรุกอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้กลยุทธ์เชิงรุกเพื่อขยายการส่งออกสามารถแบ่งออกเป็น 3 ด้านใหญ่ๆ คือ 1. การกระจายการส่งออกไปสู่ตลาดใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ (อาทิ ประเทศในยุโรปตะวันออก และบางประเทศในแอฟริกา) แทนที่จะกระจุกอยู่ในตลาดหลักอย่าง สหรัฐ ฯ ญี่ปุ่น กลุ่มประเทศอาเซียน และออสเตรเลีย 2. การพัฒนาประเภทหรือชนิดของสินค้าใหม่ๆ ให้มีความหลากหลายมากขึ้น และสอดคล้องกับความต้องการ และความนิยมของผู้บ่ริโภคในแต่ละตลาด และ 3. การพัฒนาสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นด้วยเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพสินค้า รวมทั้งการออกแบบเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ควบคู่ไปกับการพัฒนาตราสินค้า อันจะเป็นการขยายตลาดระดับบนให้กับผลิตภัณฑ์พลาสติกไทย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-