เครื่องชี้เศรษฐกิจในเดือนตุลาคมส่วนใหญ่แสดงการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยการใช้จ่ายของภาคเอกชนชะลอตัวทั้งดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและดัชนีการลงทุนภาคเอกชน ในขณะที่รายจ่ายรัฐบาลยังคงขยายตัวดี ส่วนภาคการขยายตัวสูงโดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์
ด้านอุปทาน รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนเป็นผลจากด้านราคาเป็นสำคัญส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวจากการลดลงของการผลิตสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยรวมยังคงเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ดี แม้ว่าสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้จะยังไม่คลี่คลาย
เสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ แม้ว่าจะมีแรงกดดันทางด้านราคาจากราคาน้ำมันที่ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไป แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงอยู่ในระดับต่ำ
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนตุลาคมมีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนเป็นร้อยละ 5.5 โดยหมวดที่ผลิตลดลงมากได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ ตามอุปสงค์ของแผงวงจรรวมจากตลาดส่งออกที่ลดลง ประกอบกับฐานปีก่อนที่การผลิตมีระดับสูงมาก สำหรับหมวดอาหารยังลดลงต่อเนื่องแม้ว่าปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบจะคลี่คลายลงแล้ว และหมวดเครื่องดื่มที่ลดลงจากการปิดซ่อมบำรุงโรงงานเบียร์บางส่วน อย่างไรก็ดีการผลิตในหมวดยานยนต์ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 74.6
2. การใช้จ่ายภายในประเทศ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) ในเดือนตุลาคมอยู่ที่ระดับ 116.0 หรือขยายตัวร้อยละ 2.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน เป็นผลจากการอุปโภคบริโภคสินค้าไม่คงทนเป็นสำคัญ ขณะที่การอุปโภคบริโภคสินค้าคงทนเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ การชะลอตัวลงของดัชนีการอุปโภคสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ยังคงลดลงต่อเนื่องจากต้นปีจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ยังไม่คลี่คลาย
ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ในเดือนตุลาคมอยู่ที่ระดับ 67.0 หรือขยายตัวร้อยละ 3.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการชะลอตัวของการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรเป็นสำคัญ สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ทรงตัวจากเดือนก่อนที่ระดับ 47.4 บ่งชี้ว่าความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อสถานการณ์เศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้นเช่นกัน
3. ภาคการคลัง ในเดือนตุลาคมรัฐบาลมีรายได้ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.9 เนื่องจากมีการถอนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มโอนให้ อปท. จำนวน 17.4 พันล้านบาท(หากไม่รวมการถอนคืนดังกล่าวรายได้จะลดลงร้อยละ 1.7)โดยรายได้ภาษีและรายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 23.8 และร้อยละ 5.2 ตามลำดับ สำหรับรายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 และมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 7.3 ทำให้ดุลเงินในงบประมาณขาดดุล 36.0 พันล้านบาทขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณเกินดุล 24.7 พันล้านบาท(เนื่องจากมีเงินที่เบิกจากงบประมาณมาพักไว้ที่เงินนอกงบประมาณแล้วเบิกจ่ายไปไม่หมด ได้แก่ เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ และภาษีมูลค่าเพิ่มที่โอนให้ อปท. 17.0 และ 9.6 พันล้านบาท ตามลำดับ)รัฐบาลจึงขาดดุลเงินสด 11.3 พันล้านบาท
4. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.5 โดยราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 4.3 ซึ่งเป็นผลจากราคาในหมวดอาหารสดที่ชะลอลงตามอุปทานที่ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผักและผลไม้ ส่วนราคาหมวดที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 3.0 ในเดือนก่อน เป็นผลจากการปรับตัวของอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (Ft) และราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.6 ทรงตัวเท่ากับเดือนก่อนหน้า
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.1 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาในทุกหมวด ได้แก่หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง หมวดผลผลิตเกษตรกรรมและหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 17.1 และ 10.0 ตามลำดับ
5. ภาคต่างประเทศ การส่งออกมีมูลค่า 8,909 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือขยายตัวร้อยละ 22.1 โดยสินค้าที่ ขยายตัวดีต่อเนื่อง ได้แก่ สินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูง เช่น ยานพาหนะและชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์โลหะสามัญ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์เคมี ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 8,257 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือขยายตัวร้อยละ 15.2 ตามการนำเข้าวัตถุดิบสำคัญ ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เหล็ก รวมทั้งมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นจากปัจจัยทางด้านราคาเป็นสำคัญ ขณะที่อัตราการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนชะลอลงโดยเฉพาะการชะลอของการนำเข้าเครื่องจักรไฟฟ้าและชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ดุลการค้าเกินดุล 652 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน เกินดุล 412 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน จากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการท่องเที่ยว ประกอบกับรายจ่ายผลประโยชน์จากการลงทุนลดลงจากเดือนก่อน ดุลบัญชีเดินสะพัด จึงเกินดุล 1,064 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลการชำระเงินเกินดุล 664 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2547 อยู่ที่ระดับ 46.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 6.4 7.4 และ 6.9 ตามลำดับ ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า สำหรับเงินฝากธราคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 3.2 ชะลอลงจากเดือนกันยายน เป็นผลจากเงินฝากของประชาชนที่ลดลงกอปรกับฐานเงินฝากที่ลดต่ำลงจากการถอนเงินของประชาชนไปลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ ขณะที่สินเชื่อภาคเอกชน(รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนจากการลดลงของสินเชื่อภาคธุรกิจ
อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงิน ในเดือนตุลาคมปรับตัวสูงขึ้น ทั้งอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วัน เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.53 และ 1.52 ต่อปี ตามลำดับ โดยเป็นการปรับเพิ่มตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท.ที่ได้ปรับขึ้นร้อยละ 0.25 ต่อปี เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2547
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในเดือนตุลาคมและในช่วงวันที่ 1-25 พฤศจิกายน 2547 ยังไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า ทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.00 และ 5.69 ต่อปี ตามลำดับ
7. เงินบาท ค่าเงินบาทเฉลี่ยในเดือนตุลาคม 2547อยู่ที่ 41.31 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในเดือนกันยายน โดยเป็นการแข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับค่าเงินสกุลหลักและค่าเงินในภูมิภาค เนื่องจาก Sentiment ของเงินดอลลาร์ สรอ. ที่ลดลง ภายหลังการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯในเดือนกันยายนออกมาต่ำกว่าคาดอย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทในเดือนนี้ยังได้รับปัจจัยลบจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับเพิ่ม และปัญหาความไม่สงบในภาคใต้
ในช่วงวันที่ 1-25 พฤศจิกายน 2547 เงินบาทแข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากเฉลี่ยอยู่ที่ 40.48 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ.เป็นผลจาก Sentiment ของเงินดอลลาร์ สรอ.ที่ยังเป็นไปในทิศทางเดิม โดยนักลงทุนมีความกังวลต่อปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลงบประมาณของสหรัฐฯรวมทั้งมีข่าวที่จีนอาจจะปรับค่าเงินหยวน ส่งผลให้กองทุนต่างประเทศเทขายเงินดอลลาร์ สรอ.เพื่อซื้อสกุลเงินเอเชียและทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากที่สุดในรอบ 7 เดือน
---ธนาคารแห่งประเทศไทย---
ด้านอุปทาน รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนเป็นผลจากด้านราคาเป็นสำคัญส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวจากการลดลงของการผลิตสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยรวมยังคงเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ดี แม้ว่าสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้จะยังไม่คลี่คลาย
เสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ แม้ว่าจะมีแรงกดดันทางด้านราคาจากราคาน้ำมันที่ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไป แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงอยู่ในระดับต่ำ
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนตุลาคมมีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนเป็นร้อยละ 5.5 โดยหมวดที่ผลิตลดลงมากได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ ตามอุปสงค์ของแผงวงจรรวมจากตลาดส่งออกที่ลดลง ประกอบกับฐานปีก่อนที่การผลิตมีระดับสูงมาก สำหรับหมวดอาหารยังลดลงต่อเนื่องแม้ว่าปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบจะคลี่คลายลงแล้ว และหมวดเครื่องดื่มที่ลดลงจากการปิดซ่อมบำรุงโรงงานเบียร์บางส่วน อย่างไรก็ดีการผลิตในหมวดยานยนต์ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 74.6
2. การใช้จ่ายภายในประเทศ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) ในเดือนตุลาคมอยู่ที่ระดับ 116.0 หรือขยายตัวร้อยละ 2.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน เป็นผลจากการอุปโภคบริโภคสินค้าไม่คงทนเป็นสำคัญ ขณะที่การอุปโภคบริโภคสินค้าคงทนเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ การชะลอตัวลงของดัชนีการอุปโภคสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ยังคงลดลงต่อเนื่องจากต้นปีจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ยังไม่คลี่คลาย
ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ในเดือนตุลาคมอยู่ที่ระดับ 67.0 หรือขยายตัวร้อยละ 3.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการชะลอตัวของการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรเป็นสำคัญ สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ทรงตัวจากเดือนก่อนที่ระดับ 47.4 บ่งชี้ว่าความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อสถานการณ์เศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้นเช่นกัน
3. ภาคการคลัง ในเดือนตุลาคมรัฐบาลมีรายได้ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.9 เนื่องจากมีการถอนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มโอนให้ อปท. จำนวน 17.4 พันล้านบาท(หากไม่รวมการถอนคืนดังกล่าวรายได้จะลดลงร้อยละ 1.7)โดยรายได้ภาษีและรายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 23.8 และร้อยละ 5.2 ตามลำดับ สำหรับรายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 และมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 7.3 ทำให้ดุลเงินในงบประมาณขาดดุล 36.0 พันล้านบาทขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณเกินดุล 24.7 พันล้านบาท(เนื่องจากมีเงินที่เบิกจากงบประมาณมาพักไว้ที่เงินนอกงบประมาณแล้วเบิกจ่ายไปไม่หมด ได้แก่ เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ และภาษีมูลค่าเพิ่มที่โอนให้ อปท. 17.0 และ 9.6 พันล้านบาท ตามลำดับ)รัฐบาลจึงขาดดุลเงินสด 11.3 พันล้านบาท
4. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.5 โดยราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 4.3 ซึ่งเป็นผลจากราคาในหมวดอาหารสดที่ชะลอลงตามอุปทานที่ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผักและผลไม้ ส่วนราคาหมวดที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 3.0 ในเดือนก่อน เป็นผลจากการปรับตัวของอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (Ft) และราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.6 ทรงตัวเท่ากับเดือนก่อนหน้า
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.1 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาในทุกหมวด ได้แก่หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง หมวดผลผลิตเกษตรกรรมและหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 17.1 และ 10.0 ตามลำดับ
5. ภาคต่างประเทศ การส่งออกมีมูลค่า 8,909 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือขยายตัวร้อยละ 22.1 โดยสินค้าที่ ขยายตัวดีต่อเนื่อง ได้แก่ สินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูง เช่น ยานพาหนะและชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์โลหะสามัญ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์เคมี ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 8,257 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือขยายตัวร้อยละ 15.2 ตามการนำเข้าวัตถุดิบสำคัญ ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เหล็ก รวมทั้งมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นจากปัจจัยทางด้านราคาเป็นสำคัญ ขณะที่อัตราการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนชะลอลงโดยเฉพาะการชะลอของการนำเข้าเครื่องจักรไฟฟ้าและชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ดุลการค้าเกินดุล 652 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน เกินดุล 412 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน จากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการท่องเที่ยว ประกอบกับรายจ่ายผลประโยชน์จากการลงทุนลดลงจากเดือนก่อน ดุลบัญชีเดินสะพัด จึงเกินดุล 1,064 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลการชำระเงินเกินดุล 664 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2547 อยู่ที่ระดับ 46.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 6.4 7.4 และ 6.9 ตามลำดับ ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า สำหรับเงินฝากธราคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 3.2 ชะลอลงจากเดือนกันยายน เป็นผลจากเงินฝากของประชาชนที่ลดลงกอปรกับฐานเงินฝากที่ลดต่ำลงจากการถอนเงินของประชาชนไปลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ ขณะที่สินเชื่อภาคเอกชน(รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนจากการลดลงของสินเชื่อภาคธุรกิจ
อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงิน ในเดือนตุลาคมปรับตัวสูงขึ้น ทั้งอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วัน เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.53 และ 1.52 ต่อปี ตามลำดับ โดยเป็นการปรับเพิ่มตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท.ที่ได้ปรับขึ้นร้อยละ 0.25 ต่อปี เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2547
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในเดือนตุลาคมและในช่วงวันที่ 1-25 พฤศจิกายน 2547 ยังไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า ทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.00 และ 5.69 ต่อปี ตามลำดับ
7. เงินบาท ค่าเงินบาทเฉลี่ยในเดือนตุลาคม 2547อยู่ที่ 41.31 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในเดือนกันยายน โดยเป็นการแข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับค่าเงินสกุลหลักและค่าเงินในภูมิภาค เนื่องจาก Sentiment ของเงินดอลลาร์ สรอ. ที่ลดลง ภายหลังการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯในเดือนกันยายนออกมาต่ำกว่าคาดอย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทในเดือนนี้ยังได้รับปัจจัยลบจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับเพิ่ม และปัญหาความไม่สงบในภาคใต้
ในช่วงวันที่ 1-25 พฤศจิกายน 2547 เงินบาทแข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากเฉลี่ยอยู่ที่ 40.48 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ.เป็นผลจาก Sentiment ของเงินดอลลาร์ สรอ.ที่ยังเป็นไปในทิศทางเดิม โดยนักลงทุนมีความกังวลต่อปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลงบประมาณของสหรัฐฯรวมทั้งมีข่าวที่จีนอาจจะปรับค่าเงินหยวน ส่งผลให้กองทุนต่างประเทศเทขายเงินดอลลาร์ สรอ.เพื่อซื้อสกุลเงินเอเชียและทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากที่สุดในรอบ 7 เดือน
---ธนาคารแห่งประเทศไทย---