กรุงเทพ--13 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2547 ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวง การต่างประเทศ ได้เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมระดับรัฐมนตรีของ OSCE โดยมีประธานาธิบดีของ บัลแกเรียเป็นประธาน และได้มีการกล่าวโดยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศบัลแกเรีย โดยในคำกล่าวเปิดประธานาธิบดีบัลแกเรียได้แสดงทัศนะที่สอดคล้องกับไทยในเรื่องความสำคัญ ของมิติด้านมนุษย์ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชนของความมั่นคงซึ่งถือว่ามีความจำเป็น เพื่อที่ OSCE จะสามารถต่อสู้กับสิ่งท้าทายที่มีอยู่ในศตวรรษที่ 21 นอกจากนั้นยังมีการย้ำถึงความ จำเป็นของการปรับโครงสร้างของ OSCE โดยเฉพาะสำนักเลขาธิการขององค์กรซึ่งมีความสำคัญมาก
เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2547 ดร.สรจักรฯ ได้กล่าวถ้อยแถลงโดยได้กล่าวถึงความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายในทุกรูปแบบ โดยต้องแก้ไขที่ต้นเหตุของการก่อการร้าย ได้แก่ ความยากจน สาเหตุทางสังคมและความขาดแคลนทางเศรษฐกิจ รวมทั้ง การเลือกปฏิบัติทางวัฒนธรรมและศาสนา โดยเฉพาะจะต้องไม่มีการระบุว่าหรือคิดว่า การก่อการร้ายเกี่ยวโยงกับศาสนาหรือความเชื่อใด เพราะไม่ว่าจะเป็นสัญชาติ วัฒนธรรม หรือความเชื่อใดย่อมไม่สามารถ รอดพ้นจากภัยคุกคามของการก่อการร้าย ดังนั้นไทยจึงได้ดำเนินการในทุกทางในการประสานกับประเทศต่างๆ อย่างใกล้ชิด ทั้งด้านทวิภาคีและพหุภาคี โดยเฉพาะใน ACD ในอาเซียน รวมทั้ง ใน CICA ซึ่งไทยเพิ่งจะเข้าเป็นสมาชิก ภัยคุกคามที่สำคัญนอกจากการก่อการร้าย ได้แก่ ยาเสพติด การค้ามนุษย์ข้ามชาติและอาชญากรรมข้ามชาติที่เกี่ยวเนื่อง ดังนั้นประเทศไทย จึงได้ดำเนินการ แก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจัง โดยได้ประกาศสงครามกับอาชญากรรมเหล่านี้และขณะนี้ปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องยาเสพติดก็ได้บรรเทาลงไปมาก และได้มีความร่วมมือกับประเทศต่างๆ เพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาโดยไทยจะจัดการสัมมนา OSCE ในเรื่องการค้ามนุษย์ข้ามชาติภายใน กลางปี 2548 เพื่อเป็นการกระตุ้นให้มีความร่วมมือใน OSCE และกับ OSCE ที่จะแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างจริงจัง นอกจากนั้น ประเทศไทยยังสนับสนุนการดำเนินการและกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ ระหว่างประเทศหุ้นส่วนในเอเชียกับ OSCE เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาทั้งในด้านความมั่นคงโดยตรงและมิติทางด้านมนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวโยงกับความมั่นคงต่อไป
การเข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีของ OCSE ครั้งนี้นับว่าเป็นประโยชน์อย่างจริงจัง โดยเฉพาะในการเสริมสร้างบทบาทของไทยในฐานะประเทศหุ้นส่วนของ OSCE และในการที่จะ ผลักดันประเด็นต่างๆ ที่ไทยเห็นว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะในเรื่องการแก้ไขปัญหาสังคม ที่เกี่ยวโยงกับความมั่นคง เช่น ปัญหายาเสพติดและการค้ามนุษย์ข้ามชาติ และในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของความร่วมมือและประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศหุ้นส่วนในเอเชียกับ OSCE ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรที่มีความสำคัญมากในด้านความมั่นคงในยุโรป ซึ่งความริเริ่มและข้อเสนอของไทยนับว่าได้รับการตอบรับและเป็นที่ยอมรับเป็นอย่างดี
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2547 ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวง การต่างประเทศ ได้เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมระดับรัฐมนตรีของ OSCE โดยมีประธานาธิบดีของ บัลแกเรียเป็นประธาน และได้มีการกล่าวโดยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศบัลแกเรีย โดยในคำกล่าวเปิดประธานาธิบดีบัลแกเรียได้แสดงทัศนะที่สอดคล้องกับไทยในเรื่องความสำคัญ ของมิติด้านมนุษย์ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชนของความมั่นคงซึ่งถือว่ามีความจำเป็น เพื่อที่ OSCE จะสามารถต่อสู้กับสิ่งท้าทายที่มีอยู่ในศตวรรษที่ 21 นอกจากนั้นยังมีการย้ำถึงความ จำเป็นของการปรับโครงสร้างของ OSCE โดยเฉพาะสำนักเลขาธิการขององค์กรซึ่งมีความสำคัญมาก
เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2547 ดร.สรจักรฯ ได้กล่าวถ้อยแถลงโดยได้กล่าวถึงความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายในทุกรูปแบบ โดยต้องแก้ไขที่ต้นเหตุของการก่อการร้าย ได้แก่ ความยากจน สาเหตุทางสังคมและความขาดแคลนทางเศรษฐกิจ รวมทั้ง การเลือกปฏิบัติทางวัฒนธรรมและศาสนา โดยเฉพาะจะต้องไม่มีการระบุว่าหรือคิดว่า การก่อการร้ายเกี่ยวโยงกับศาสนาหรือความเชื่อใด เพราะไม่ว่าจะเป็นสัญชาติ วัฒนธรรม หรือความเชื่อใดย่อมไม่สามารถ รอดพ้นจากภัยคุกคามของการก่อการร้าย ดังนั้นไทยจึงได้ดำเนินการในทุกทางในการประสานกับประเทศต่างๆ อย่างใกล้ชิด ทั้งด้านทวิภาคีและพหุภาคี โดยเฉพาะใน ACD ในอาเซียน รวมทั้ง ใน CICA ซึ่งไทยเพิ่งจะเข้าเป็นสมาชิก ภัยคุกคามที่สำคัญนอกจากการก่อการร้าย ได้แก่ ยาเสพติด การค้ามนุษย์ข้ามชาติและอาชญากรรมข้ามชาติที่เกี่ยวเนื่อง ดังนั้นประเทศไทย จึงได้ดำเนินการ แก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจัง โดยได้ประกาศสงครามกับอาชญากรรมเหล่านี้และขณะนี้ปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องยาเสพติดก็ได้บรรเทาลงไปมาก และได้มีความร่วมมือกับประเทศต่างๆ เพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาโดยไทยจะจัดการสัมมนา OSCE ในเรื่องการค้ามนุษย์ข้ามชาติภายใน กลางปี 2548 เพื่อเป็นการกระตุ้นให้มีความร่วมมือใน OSCE และกับ OSCE ที่จะแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างจริงจัง นอกจากนั้น ประเทศไทยยังสนับสนุนการดำเนินการและกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ ระหว่างประเทศหุ้นส่วนในเอเชียกับ OSCE เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาทั้งในด้านความมั่นคงโดยตรงและมิติทางด้านมนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวโยงกับความมั่นคงต่อไป
การเข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีของ OCSE ครั้งนี้นับว่าเป็นประโยชน์อย่างจริงจัง โดยเฉพาะในการเสริมสร้างบทบาทของไทยในฐานะประเทศหุ้นส่วนของ OSCE และในการที่จะ ผลักดันประเด็นต่างๆ ที่ไทยเห็นว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะในเรื่องการแก้ไขปัญหาสังคม ที่เกี่ยวโยงกับความมั่นคง เช่น ปัญหายาเสพติดและการค้ามนุษย์ข้ามชาติ และในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของความร่วมมือและประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศหุ้นส่วนในเอเชียกับ OSCE ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรที่มีความสำคัญมากในด้านความมั่นคงในยุโรป ซึ่งความริเริ่มและข้อเสนอของไทยนับว่าได้รับการตอบรับและเป็นที่ยอมรับเป็นอย่างดี
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-