สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาเกษตรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่ามมาเล็กน้อย แม้ว่าช่วงนี้จะมีสุกรออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นไปตามฤดูกาล แต่นื่องจากเป็นช่วงเทศกาลความต้องการบริโภคยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 44.95 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.58 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 46.72 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 43.29 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 44.00 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 47.10 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,200 บาท (บวกลบ 44 บาท) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.25 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 53.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.87
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากเข้าสู่ช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองต่าง ๆ ทำให้ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกพื้นที่ และผู้ประกอบการภาคเอกชนไทยได้หารือกับผู้ประกอบการภาคเอกชนในกลุ่มประเทศที่เกิดปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนก ในเอเซีย 4 ประเทศ คือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ในการที่จะประสานงานทำการรณรงค์โฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในแต่ละประเทศหันมาบริโภคเนื้อไก่เพิ่มขึ้นเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันหลังจากภาวะการระบาดของโรคไข้หวัดนกทำให้ความต้องการบริโภคลดลง และขณะนี้สามารถควบคุมการระบาดของโรคไข้หวัดนกให้ อยู่ในวงจำกัดได้แล้ว และมีคำสั่งซื้อไก่ปรุงสุกอย่างต่อเนื่องจากกลุ่มประเทศในEU และญี่ปุ่น แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 25.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 23.80 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.86 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 27.34 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 21.31 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 27.56 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 29.92 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 7.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 15.56 ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 35.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.94
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้โดยรวมปรับตัวลดลงอีกจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากช่วงนี้สภาพอากาศค่อนข้างเย็นเอื้ออำนวยให้ผลผลิตมีมากขึ้น ความต้องการบริโภคยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะภาคเหนือซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว ราคาได้ปรับตัวสูงขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 213 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 214 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 194 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 226 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 210 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 220 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 14 บาท ลดลงจากตัวละ 16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 12.50
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 192 บาท เพิ่มขึ้นร้อยฟองละ 182 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.49
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 256 บาท เพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 246 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.07 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 222 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 259 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 264 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 287 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 325 ลดลงร้อยละฟองละ 338 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.85
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 46.61 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.11 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.09 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 39.20 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 50.13 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 48.13 บาท ส่วนภาคกลางไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 35.07 บาท
ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.26 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.54 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 35.28 บาท ส่วนภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 48 ประจำวันที่ 6-12 ธันวาคม 2547--
-พห-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาเกษตรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่ามมาเล็กน้อย แม้ว่าช่วงนี้จะมีสุกรออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นไปตามฤดูกาล แต่นื่องจากเป็นช่วงเทศกาลความต้องการบริโภคยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 44.95 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.58 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 46.72 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 43.29 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 44.00 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 47.10 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,200 บาท (บวกลบ 44 บาท) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.25 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 53.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.87
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากเข้าสู่ช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองต่าง ๆ ทำให้ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกพื้นที่ และผู้ประกอบการภาคเอกชนไทยได้หารือกับผู้ประกอบการภาคเอกชนในกลุ่มประเทศที่เกิดปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนก ในเอเซีย 4 ประเทศ คือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ในการที่จะประสานงานทำการรณรงค์โฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในแต่ละประเทศหันมาบริโภคเนื้อไก่เพิ่มขึ้นเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันหลังจากภาวะการระบาดของโรคไข้หวัดนกทำให้ความต้องการบริโภคลดลง และขณะนี้สามารถควบคุมการระบาดของโรคไข้หวัดนกให้ อยู่ในวงจำกัดได้แล้ว และมีคำสั่งซื้อไก่ปรุงสุกอย่างต่อเนื่องจากกลุ่มประเทศในEU และญี่ปุ่น แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 25.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 23.80 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.86 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 27.34 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 21.31 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 27.56 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 29.92 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 7.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 15.56 ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 35.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.94
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้โดยรวมปรับตัวลดลงอีกจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากช่วงนี้สภาพอากาศค่อนข้างเย็นเอื้ออำนวยให้ผลผลิตมีมากขึ้น ความต้องการบริโภคยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะภาคเหนือซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว ราคาได้ปรับตัวสูงขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 213 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 214 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 194 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 226 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 210 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 220 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 14 บาท ลดลงจากตัวละ 16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 12.50
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 192 บาท เพิ่มขึ้นร้อยฟองละ 182 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.49
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 256 บาท เพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 246 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.07 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 222 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 259 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 264 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 287 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 325 ลดลงร้อยละฟองละ 338 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.85
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 46.61 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.11 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.09 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 39.20 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 50.13 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 48.13 บาท ส่วนภาคกลางไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 35.07 บาท
ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.26 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.54 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 35.28 บาท ส่วนภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 48 ประจำวันที่ 6-12 ธันวาคม 2547--
-พห-