กรุงเทพ--26 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศได้มีนโยบายให้สถานเอกอัครราชทูต/ สถานกงสุลใหญ่ เน้นการดำเนินงานเพื่อขยายตลาดสินค้าไทย โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศไทยเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ขอเรียนว่า สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิสได้ร่วมกับศูนย์พาณิชยกรรม ณ นครลอสแอนเจลิส จัดการประชุมเพื่อหารือและส่งเสริมการเปิดตลาดข้าวไทยกับผู้นำเข้าข้าวไทยในแคลิฟอร์เนีย เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2541 โดยมีผู้แทนบริษัท Sun Lee บริษัทพันท้าย และบริษัท LAX-C เข้าร่วม สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ข้าวไทยที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมมะลิ โดยตลาดเป็นชาวเอเชียในสหรัฐฯ ซึ่งมีประมาณ 20 ล้านคน ผู้นำเข้าเห็นว่า ตลาดข้าวหอมมะลิืไทยในสหรัฐฯ เป็นที่นิยมและจะพยายามขยาย บริษัท Sun Lee นำเข้าข้าว 100 % เช่นกัน แต่ไม่มากนัก เนื่องจากเดิมราคาข้าวชนิดนี้ของไทยแพงกว่าข้าวเมล็ดยาว (long grain) ของรัฐเท็กซัส ซึ่งร้านอาหารไทยและร้านอาหารเอเชียใช้เนื่องจากเมื่อหุงแล้วเป็นเม็ดสวยสามารถใช้ทำข้าวผัดได้ดี อย่างไรก็ดี ขณะนี้ราคาข้าว 100 % ของไทยถูกกว่าข้าวจากรัฐเท็กซัส เนื่องจากค่าเงินบาทลดลง แต่ยังไม่สามารถขายได้มากเพราะยังไม่ติดตลาด ซึ่งคงต้องมีการประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมให้ข้าวขาว 100 % ของไทยเป็นที่รู้จักและบริโภคกันมากขึ้น
2. ผู้นำเข้าให้ความเห็นว่า หากมีการแปรรูปข้าวไทยเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ทำเป็นเส้นหมี่เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นจันทน์ ฯลฯ ซึ่งผู้บริโภคจะใช้ได้ง่ายกว่าการหุงข้าวสวย น่าจะสามารถเปิดตลาดในสหรัฐฯ ได้ แต่ทั้งนี้คุณภาพสินค้าต้องได้มาตรฐานของสหรัฐฯ ด้วย
3. การผลิตข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารหรือไวตามินอยู่มาก เช่น ข้าวซ้อมมือ/ข้าวกล้อง พร้อมระบุคุณค่าอาหารบนหีบห่อ น่าจะสามารถเปิดตลาดอาหารสำหรับผู้ที่ให้ความสำคัญเครื่องสุขภาพที่กำลังขยายตัวอย่างมากในสหรัฐฯ ได้ดี ทางสถานกงสุลฯ ขอให้ผู้นำเข้าทดลองตลาดในเรื่องนี้
4. บริษัท Sun Lee แจ้งว่า ชาวเม็กซิกันใน แอล.เอ. นิยมบริโภคข้าวไทย ทั้งมีลูกค้าจากเม็กซิโกซื้อข้าวจากบริษัทฯ เป็นจำนวนมาก นำเข้าเม็กซิโกเองตามชายแดน เท่าที่ทราบลูกค้าเหล่านี้ไม่นำเข้าจากไทยโดยตรงเนื่องจากภาษีนำเข้าสูงมาก (ประมาณร้อยละ 300) แต่หากนำเข้าผ่านสหรัฐฯ ไม่มีภาษี ซึ่งในเรื่องนี้น่าจะมีการเจรจาทวิภาคีเพื่อให้ข้าวและสินค้าอื่นๆ ของไทยมีโอกาสเข้าตลาดเม็กซิโกได้มากยิ่งขึ้น แต่อาจถูกกีดกันจากสหรัฐฯ
5. ปัจจุบันการนำเข้าข้าวสารจากไทยเข้าสหรัฐฯ ยังประสบปัญหาการตรวจสินค้าโดยทางการสหรัฐฯ ยังไม่มีมาตรฐานหรือบรรทัดฐานการตรวจสอบ (Defect Level Action) ที่กำหนดว่าจะให้มีปริมาณสิ่งเจือปนได้ในระดับใด จำนวนเท่าใด ในการตรวจสอบเท่าที่เป็นอยู่จะขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ซึ่งแต่ละครั้งจะไม่มีเหมือนกัน แต่สำหรับสินค้าของสหรัฐฯ ที่มีลักษณะเดียวกัน เช่น ข้าวสาลี มีการกำหนดไว้ และทำให้สะดวกในการตรวจสอบสินค้า เนื่องจากเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบตามมาตรฐานที่กำหนด กรณีที่ไม่มีการกำหนดเช่นนี้ เท่ากับศูนย์ หากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบเพียงสิ่งปลอมปน แม้แต่ขามด หรือขนสัตว์ ขนาดเล็กเพียงนิดเดียวปนอยู่ในข้าวสารอาจถูกส่งกลับ ดังนั้น จึงอาจเจรจากับสหรัฐฯ เพื่อให้มีการกำหนดมาตรฐาน/บรรทัดฐานดังกล่าวที่จะเป็นประโยชน์แก่ไทย และอาจใช้หลักการประติบัติต่างตอบแทนกับการตรวจสอบสินค้าสหรัฐฯ ที่นำเข้าประเทศไทย โดยจะหาสินค้าประเภทใกล้เคียงกัน เช่น ข้าวสาลี ซึ่งไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ เช่นกัน
6. ผู้นำเข้าสินค้าไทยได้ขอให้รัฐบาลไทยให้ความสะดวกมากขึ้นในขั้นตอนต่างๆ ของการส่งสินค้าออกนอกประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งกรณีของไทยจะต้องจ่ายภาษีไปก่อนและทำเรื่องขอคืนภายหลัง และใช้เวลานานมาก บางรายเวลาผ่านมา 2 ปีแล้วก็ยังไม่ได้คืนทำให้เงินหมุนเวียนของบริษัท (เป็นจำนวนประมาณ 2-3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ค้างอยู่ จึงลดความสามารถของบริษัทที่พยายามจะขยายการนำเข้า (บริษัทผู้นำเข้าจะมีบริษัทส่งออกของตนเองในประเทศไทยด้วย) ในขณะที่กรณีของสหรัฐฯ เป็นภาษีการขายและสามารถขอคืนได้เลย ซึ่งเรื่องนี้อาจปรับปรุงวิธีการ โดยให้ผู้ส่งออกมี credit line โดยให้ผู้ส่งออกวางเงินมัดจำไว้กับธนาคาร หรือซื้อพันธบัตร (Bond) ไว้จำนวนหนึ่งที่มีดอกเบี้ยให้ ห้ามถอนหรือจำหน่ายจ่ายโอนเงินจำนวนนี้เป็นวงเงินประกันเพื่อให้ผู้ส่งออกไม่ต้องชำระภาษีทุกครั้งและมาขอคืนภายหลัง เป็นการลดขั้นตอนและช่วยผู้ส่งออก
7. นอกจากนั้น ผู้นำเข้าบางรายประสงค์จะนำเข้าสินค้าชนิดอื่น ๆ จากประเทศไทย ด้วย เช่น น้ำตาลดิบ (น้ำตาลที่ยังไม่ได้ฟอกให้ขาว) และกระดาษชำระ แต่ประสบปัญหา โดยเฉพาะน้ำตาลดิบที่ทางบริษัทผู้ผลิตแจ้งว่า มีโควต้าการส่งออก ซึ่งมีไม่กี่บริษัทที่ได้รับโควต้าให้ส่งออกเมื่อผู้นำเขิาติดต่อแล้ว บริษัทที่มีโควต้าเหล่านั้นไม่ยินดีขายให้
อนึ่ง สหรัฐฯ เป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวจากไทยมากเป็นอันดับสาม รองจากอินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยในปี 2540 สหรัฐฯ นำเข้าข้าวจากไทยถึง 185.0 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.1 ของการส่งออกข้าวของไทยทั้งหมด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศได้มีนโยบายให้สถานเอกอัครราชทูต/ สถานกงสุลใหญ่ เน้นการดำเนินงานเพื่อขยายตลาดสินค้าไทย โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศไทยเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ขอเรียนว่า สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิสได้ร่วมกับศูนย์พาณิชยกรรม ณ นครลอสแอนเจลิส จัดการประชุมเพื่อหารือและส่งเสริมการเปิดตลาดข้าวไทยกับผู้นำเข้าข้าวไทยในแคลิฟอร์เนีย เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2541 โดยมีผู้แทนบริษัท Sun Lee บริษัทพันท้าย และบริษัท LAX-C เข้าร่วม สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ข้าวไทยที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมมะลิ โดยตลาดเป็นชาวเอเชียในสหรัฐฯ ซึ่งมีประมาณ 20 ล้านคน ผู้นำเข้าเห็นว่า ตลาดข้าวหอมมะลิืไทยในสหรัฐฯ เป็นที่นิยมและจะพยายามขยาย บริษัท Sun Lee นำเข้าข้าว 100 % เช่นกัน แต่ไม่มากนัก เนื่องจากเดิมราคาข้าวชนิดนี้ของไทยแพงกว่าข้าวเมล็ดยาว (long grain) ของรัฐเท็กซัส ซึ่งร้านอาหารไทยและร้านอาหารเอเชียใช้เนื่องจากเมื่อหุงแล้วเป็นเม็ดสวยสามารถใช้ทำข้าวผัดได้ดี อย่างไรก็ดี ขณะนี้ราคาข้าว 100 % ของไทยถูกกว่าข้าวจากรัฐเท็กซัส เนื่องจากค่าเงินบาทลดลง แต่ยังไม่สามารถขายได้มากเพราะยังไม่ติดตลาด ซึ่งคงต้องมีการประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมให้ข้าวขาว 100 % ของไทยเป็นที่รู้จักและบริโภคกันมากขึ้น
2. ผู้นำเข้าให้ความเห็นว่า หากมีการแปรรูปข้าวไทยเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ทำเป็นเส้นหมี่เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นจันทน์ ฯลฯ ซึ่งผู้บริโภคจะใช้ได้ง่ายกว่าการหุงข้าวสวย น่าจะสามารถเปิดตลาดในสหรัฐฯ ได้ แต่ทั้งนี้คุณภาพสินค้าต้องได้มาตรฐานของสหรัฐฯ ด้วย
3. การผลิตข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารหรือไวตามินอยู่มาก เช่น ข้าวซ้อมมือ/ข้าวกล้อง พร้อมระบุคุณค่าอาหารบนหีบห่อ น่าจะสามารถเปิดตลาดอาหารสำหรับผู้ที่ให้ความสำคัญเครื่องสุขภาพที่กำลังขยายตัวอย่างมากในสหรัฐฯ ได้ดี ทางสถานกงสุลฯ ขอให้ผู้นำเข้าทดลองตลาดในเรื่องนี้
4. บริษัท Sun Lee แจ้งว่า ชาวเม็กซิกันใน แอล.เอ. นิยมบริโภคข้าวไทย ทั้งมีลูกค้าจากเม็กซิโกซื้อข้าวจากบริษัทฯ เป็นจำนวนมาก นำเข้าเม็กซิโกเองตามชายแดน เท่าที่ทราบลูกค้าเหล่านี้ไม่นำเข้าจากไทยโดยตรงเนื่องจากภาษีนำเข้าสูงมาก (ประมาณร้อยละ 300) แต่หากนำเข้าผ่านสหรัฐฯ ไม่มีภาษี ซึ่งในเรื่องนี้น่าจะมีการเจรจาทวิภาคีเพื่อให้ข้าวและสินค้าอื่นๆ ของไทยมีโอกาสเข้าตลาดเม็กซิโกได้มากยิ่งขึ้น แต่อาจถูกกีดกันจากสหรัฐฯ
5. ปัจจุบันการนำเข้าข้าวสารจากไทยเข้าสหรัฐฯ ยังประสบปัญหาการตรวจสินค้าโดยทางการสหรัฐฯ ยังไม่มีมาตรฐานหรือบรรทัดฐานการตรวจสอบ (Defect Level Action) ที่กำหนดว่าจะให้มีปริมาณสิ่งเจือปนได้ในระดับใด จำนวนเท่าใด ในการตรวจสอบเท่าที่เป็นอยู่จะขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ซึ่งแต่ละครั้งจะไม่มีเหมือนกัน แต่สำหรับสินค้าของสหรัฐฯ ที่มีลักษณะเดียวกัน เช่น ข้าวสาลี มีการกำหนดไว้ และทำให้สะดวกในการตรวจสอบสินค้า เนื่องจากเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบตามมาตรฐานที่กำหนด กรณีที่ไม่มีการกำหนดเช่นนี้ เท่ากับศูนย์ หากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบเพียงสิ่งปลอมปน แม้แต่ขามด หรือขนสัตว์ ขนาดเล็กเพียงนิดเดียวปนอยู่ในข้าวสารอาจถูกส่งกลับ ดังนั้น จึงอาจเจรจากับสหรัฐฯ เพื่อให้มีการกำหนดมาตรฐาน/บรรทัดฐานดังกล่าวที่จะเป็นประโยชน์แก่ไทย และอาจใช้หลักการประติบัติต่างตอบแทนกับการตรวจสอบสินค้าสหรัฐฯ ที่นำเข้าประเทศไทย โดยจะหาสินค้าประเภทใกล้เคียงกัน เช่น ข้าวสาลี ซึ่งไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ เช่นกัน
6. ผู้นำเข้าสินค้าไทยได้ขอให้รัฐบาลไทยให้ความสะดวกมากขึ้นในขั้นตอนต่างๆ ของการส่งสินค้าออกนอกประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งกรณีของไทยจะต้องจ่ายภาษีไปก่อนและทำเรื่องขอคืนภายหลัง และใช้เวลานานมาก บางรายเวลาผ่านมา 2 ปีแล้วก็ยังไม่ได้คืนทำให้เงินหมุนเวียนของบริษัท (เป็นจำนวนประมาณ 2-3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ค้างอยู่ จึงลดความสามารถของบริษัทที่พยายามจะขยายการนำเข้า (บริษัทผู้นำเข้าจะมีบริษัทส่งออกของตนเองในประเทศไทยด้วย) ในขณะที่กรณีของสหรัฐฯ เป็นภาษีการขายและสามารถขอคืนได้เลย ซึ่งเรื่องนี้อาจปรับปรุงวิธีการ โดยให้ผู้ส่งออกมี credit line โดยให้ผู้ส่งออกวางเงินมัดจำไว้กับธนาคาร หรือซื้อพันธบัตร (Bond) ไว้จำนวนหนึ่งที่มีดอกเบี้ยให้ ห้ามถอนหรือจำหน่ายจ่ายโอนเงินจำนวนนี้เป็นวงเงินประกันเพื่อให้ผู้ส่งออกไม่ต้องชำระภาษีทุกครั้งและมาขอคืนภายหลัง เป็นการลดขั้นตอนและช่วยผู้ส่งออก
7. นอกจากนั้น ผู้นำเข้าบางรายประสงค์จะนำเข้าสินค้าชนิดอื่น ๆ จากประเทศไทย ด้วย เช่น น้ำตาลดิบ (น้ำตาลที่ยังไม่ได้ฟอกให้ขาว) และกระดาษชำระ แต่ประสบปัญหา โดยเฉพาะน้ำตาลดิบที่ทางบริษัทผู้ผลิตแจ้งว่า มีโควต้าการส่งออก ซึ่งมีไม่กี่บริษัทที่ได้รับโควต้าให้ส่งออกเมื่อผู้นำเขิาติดต่อแล้ว บริษัทที่มีโควต้าเหล่านั้นไม่ยินดีขายให้
อนึ่ง สหรัฐฯ เป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวจากไทยมากเป็นอันดับสาม รองจากอินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยในปี 2540 สหรัฐฯ นำเข้าข้าวจากไทยถึง 185.0 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.1 ของการส่งออกข้าวของไทยทั้งหมด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--