แท็ก
เงินบาท
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--28 ม.ค.--บิสนิวส์
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 ข้าว : เงินบาทอ่อนตัวราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์
ราคาข้าว ณ ตลาดระดับต่าง ๆ
หน่วย:บาท/ตัน
รายการ 2538 2539 2540 ปี 2541
สัปดาห์ที่ 1 สัปดาห์ที่ 2
ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้ 4,053 5,189 5,659 6,281 7,273
ข้าว 5 %
ราคาขายส่งในตลาด กรุงเทพฯ 7,343 7,817 8,419 12,723 14,333
ข้าว 5 %
ราคาส่งออก F.O.B 8,137 9,193 10,288 15,662 17,264
ข้าว 5 %
ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ราคาข้าวมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีนี้ ตั้งแต่ต้นฤดูการผลิตเป็น
ต้นมา ราคามีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีที่เกษตรกรขายได้ ความชื้น 14-15 % ราคา
ตันละ 6,075 บาท ราคาสูงกว่า ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ตันละ 1,600 บาท
สำหรับในเดือนมกราคมนี้ ราคาข้าว ณ ตลาดระดับต่าง ๆ ได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยราคาข้าว
เปลือก 5% ที่เกษตรกรขายได้ ในสัปดาห์แรกราคาตันละ 6,281 บาท ในสัปดาห์ที่ 2 ราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นเป็น
7,273 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงตันละ 992 บาท หรือร้อยละ 15.79 ส่วนราคาขายส่งข้าวสาร 5% ในตลาดกรุงเทพมหานคร
ในสัปดาห์แรกของเดือนราคาตันละ 12,723 บาท ได้ปรับตัวสูงขึ้นเป็น 14,333 บาท ในสัปดาห์ที่สอง ซึ่งสูงขึ้นถึงตันละ
1,602 บาท หรือร้อยละ 10.23
การที่ราคาข้าวได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วดังกล่าวแล้ว ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงมาก
กว่า 50 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ แต่สาเหตุที่สำคัญเกิดจากผลิตข้าวของโลกที่น้อยกว่าปริมาณความต้องการ เนื่องจากผลผลิต
ข้าวในหลายประเทศลดลงเพราะประสบภัยธรรมชาติจากปรากฎการณ์ El Nino ระยะนี้จึงมีคำสั่งซื้อข้าวไทยเข้ามามาก
และจากสถานการณ์การตลาดที่เป็นของผู้ขาย คาดว่าราคาจะสูงขึ้นโดยตลอด ทำให้ผู้ส่งออกเร่งซื้อข้าวในประเทศไว้ใน
สต๊อก เพื่อให้มีข้าวเพียงพอที่จะส่งมอบได้โดยไม่เสี่ยงต่อการขาดทุน นอกจากนี้ การที่พ่อค้าส่งออกส่วนหนึ่งขาดสภาพ
คล่องและไม่สามารถซื้อข้าวเก็บสต๊อกไว้ได้ แต่จะเร่งซื้อในช่วงที่เรือเข้าเทียบท่า จึงกระตุ้นให้เกิดความต้องการและ
ราคาข้าวเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วความเห็น
1. จากการที่ราคาข้าวในปีนี้สูงขึ้นมากคาดว่าเกษตรกรจะมีการปลูกข้าวนา-ปรังมากทั้งที่ปริมาณน้ำในฤดูแล้ง
ขาดแคลน ทำให้เสี่ยงต่อการขาดน้ำและอาจมีการร้องขอให้ราชการปล่อยน้ำจากเขื่อนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อปริมาณ
น้ำในเขื่อนของปีต่อไป
2. ควรเร่งรัดเพิ่มการผลิตข้าวคุณภาพดีที่ตลาดต้องการให้มีปริมาณมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่เหมาะ
สมในการปลูกข้าว ซึ่งจะต้องเน้นการจัดโครงการการผลิตข้าวคุณภาพดีในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพ
การผลิต
2.2 น้ำนมดิบ : เกษตรกรขอปรับราคาน้ำนมดิบ
ภาวะเศรษฐกิจที่มีปัญหาอย่างต่อเนื่องทำให้ต้นทุนการผลิตผลิตผลการเกษตรสูงขึ้นอย่างรวดเร็วต้นทุนด้านอาหาร
แม่โคนมสูงขึ้นกว่าร้อยละ 25 จึงทำให้ต้นทุนการผลิตรวมสูงขึ้นประมาณ ร้อยละ 17 ดังนั้นเมื่อประมาณปลายเดือน
ตุลาคม 2540 ชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทยจึงได้ทำหนังสือถึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อพิจารณาปรับราคา
รับซื้อน้ำนมดิบให้สูงขึ้น ทั้งนี้เพื่อความอยู่รอดของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม
คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการปศุสัตว์แห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่1/2541 เมื่อวันที่ 12 มกราคม
2541 ได้พิจารณาข้อร้องเรียนดังกล่าวแล้ว และได้มีมติเห็นชอบให้ปรับราคารับซื้อน้ำนมดิบหน้าโรงงาน ที่ระดับราคา
กิโลกรัมละ 12.50 บาท แต่เพื่อให้การปรับราคารับซื้อน้ำนมดิบสดอดคล้องกับการปรับราคานมพร้อมดื่มของโรงงานผู้
ผลิตและผู้ประกอบการค้าที่ประชุมจึงเห็นชอบให้นำเสนอต่อกระทรวงพาณิชย์ โดยผ่านการพิจารณาและเห็นชอบของคณะ
กรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าก่อน กลุ่มผู้ผลิตนมพร้อมดื่มดังกล่าวจึงจะสามารถรับซื้อน้ำนมดิบในราคาที่ปรับแล้วได้
คาดว่ากระทรวงพาณิชย์ จะพิจารณาแล้วเสร็จและกำหนดให้ผู้ใช้น้ำนมดิบ รับซื้อน้ำนมดิบในราคาดังกล่าวได้ ตั้งแต่ เดือน
มีนาคม 2541 เป็นต้นไป ซึ่งจากราคาน้ำนมดิบหน้าโรงงานดังกล่าว คาดว่าเกษตรกรจะขายน้ำนมดิบได้เพิ่มขึ้น เป็น
ประมาณกิโลกร้มละ 11.25 บาท(ราคาเดิม กิโลกรัมละ 9.28 บาท)
การเลี้ยงโคนมนั้น นอกจากจะเป็นอาชีพที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเน้นให้การส่งเสริมสนับสนุนตาม
แผนการผลิตและปรับโครงการทางการเกษตรแล้วการผลิตน้ำนมดิบ ยังเป็นมาตรการหนึ่งในนโยบายของกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ ที่จะเร่งรัดการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมที่ทำให้ประเทศต้องสูญเสียเงินตราไปปีละประมาณ
4,000-5,000 ล้านบาท ดังนั้น การช่วยเหลือเกษตรกรในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
นั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องให้การสนับสนุน ในขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์ก็ได้เข้ามามีบทบาทในการรวมพิจารณาเพื่อ
ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคด้วยแล้ว จึงควรสนับสนุนให้เกษตรกรขายน้ำนมดิบได้ราคาตามที่คณะ
กรรมนโยบายและพัฒนาการปศุสัตว์ เห็นชอบ
2.3 กุ้งกุลาดำ : ไทยจะขอโควตาพิเศษส่งกุ้งเข้าอียูทดแทนการลดสิทธิ GSP
สืบเนื่องจากการที่สหภาพยุโรป (อียู) ได้ลดสิทธิพิเศษทางอัตราภาษีศุลกากร (GSP) ของกุ้งแช่เย็นแช่แข็ง
ร้อยละ 50 ทั้งนี้ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2540 เป็นต้นมา ส่งผลให้สหภาพยุโรปนำเข้าสินค้าจากไทยลดลง กล่าวคือ
ช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม 2540 สหภาพยุโรปนำเข้าจากไทย 11,105 ตัน มูลค่า 2,891.67 ล้านบาท ลดลงจาก
ที่ส่งออกได้ 14,870 ตัน มูลค่า 3,493.99 ล้านบาท ในช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 25.92 และ 17.24
ตามลำดับ เนื่องจากผู้นำเข้าของสหภาพยุโรปต้องรับภาระภาษีเพิ่มขึ้น และส่งผลให้กุ้งของไทยมีราคาสูงเมื่อเทียบกับ
ประเทศคู่แข่งขัน
อย่างไรก็ตาม ในเดือนสิงหาคม 2540 สหภาพยุโรปได้ประกาศห้ามนำเข้ากุ้งแช่เย็นแช่แข็งจาก 3 ประเทศ
ได้แก่ มาดากัสการ์ อินเดีย และบังคลาเทศ เนื่องจากตรวจพบเชื้อ Salmonellae and Vibrio spp. ในสินค้า
ดังกล่าว กุ้งแช่เย็นแช่แข็งที่สหภาพยุโรปนำเข้าจาก 3 ประเทศมีปริมาณรวม 40,000 ตัน ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดี
ของไทยในการที่จะเจรจาขอเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดเพื่อทดแทนปริมาณดังกล่าว โดยเฉพาะการขอโควตาพิเศษที่เรียก
ว่า Autonomous Tariff Quota เพื่อชดเชยกับการที่ไทยถูกลดสิทธิพิเศษทางการค้า โดยใช้เหตุผลการขาด
แคลนกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งในสหภาพยุโรปเป็นสำคัญในการเจรจา
รายงานล่าสุดจากสำนักงานพาณิชย์ไทย ณ ปารีสกับลิสบอน เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ไทยจะขอโควตาพิเศษดัง
กล่าว แจ้งว่าโปรตุเกสตกลงในหลักการที่สนับสนุนการขอโควตาพิเศษของฝ่ายและกลุ่มประเทศเบเนลัก (เบลเยี่ยม-เน
เธอร์แลนด์-ลักแซมเบิร์ก) ก็จะสนับสนุนไทยด้วย สำหรับประเทศฝรั่งเศสนั้น ไทยได้เสนอขอการสนับสนุนในเรื่องนี้
ผ่านที่ประชุมคณะทำงานร่วมไทย-ฝรั่งเศสด้วยแล้ว
หากไทยสามารถเจรจากับสหภาพยุโรปจนประสบผลสำเร็จแล้ว จะช่วยให้การส่งออกกุ้งแช่เย็นแช่แข็งมีปริมาณ
เพิ่มมากขึ้น และจะเป็นผลดีต่อการนำเข้าเงินตราต่างประเทศในภาวะที่ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจถดถอย
แต่การเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำของเกษตรกรในระยะที่ผ่านมา ประสบปัญหาค่อนข้างมาก ทั้งด้านโรคระบาด และการ
เลี้ยงที่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำเสียรวมทั้งผลกระทบต่อภาวะแวดล้อมด้วย หากปัญหาเหล่านี้ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังแล้ว
การผลิตกุ้งกุลาดำจะไม่บรรลุผลตามเป้าหมายและจะขาดผลผลิตสำหรับส่งออก รวมทั้งผลกระทบที่อาจเกิดต่อการส่งออก
หากประเทศผู้ซื้อนำปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นมาเป็นข้ออ้าง ดังนั้น กรมประมงจะต้องดำเนินการควบคุมการผลิตในระบบ
ครบวงจรอย่างจริงจัง เพื่อแก้ปัญหาทั้งในระยะสั้นและแบบยั่งยืนด้วย
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 12-18 มกราคม 2541--
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 ข้าว : เงินบาทอ่อนตัวราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์
ราคาข้าว ณ ตลาดระดับต่าง ๆ
หน่วย:บาท/ตัน
รายการ 2538 2539 2540 ปี 2541
สัปดาห์ที่ 1 สัปดาห์ที่ 2
ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้ 4,053 5,189 5,659 6,281 7,273
ข้าว 5 %
ราคาขายส่งในตลาด กรุงเทพฯ 7,343 7,817 8,419 12,723 14,333
ข้าว 5 %
ราคาส่งออก F.O.B 8,137 9,193 10,288 15,662 17,264
ข้าว 5 %
ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ราคาข้าวมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีนี้ ตั้งแต่ต้นฤดูการผลิตเป็น
ต้นมา ราคามีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีที่เกษตรกรขายได้ ความชื้น 14-15 % ราคา
ตันละ 6,075 บาท ราคาสูงกว่า ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ตันละ 1,600 บาท
สำหรับในเดือนมกราคมนี้ ราคาข้าว ณ ตลาดระดับต่าง ๆ ได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยราคาข้าว
เปลือก 5% ที่เกษตรกรขายได้ ในสัปดาห์แรกราคาตันละ 6,281 บาท ในสัปดาห์ที่ 2 ราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นเป็น
7,273 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงตันละ 992 บาท หรือร้อยละ 15.79 ส่วนราคาขายส่งข้าวสาร 5% ในตลาดกรุงเทพมหานคร
ในสัปดาห์แรกของเดือนราคาตันละ 12,723 บาท ได้ปรับตัวสูงขึ้นเป็น 14,333 บาท ในสัปดาห์ที่สอง ซึ่งสูงขึ้นถึงตันละ
1,602 บาท หรือร้อยละ 10.23
การที่ราคาข้าวได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วดังกล่าวแล้ว ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงมาก
กว่า 50 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ แต่สาเหตุที่สำคัญเกิดจากผลิตข้าวของโลกที่น้อยกว่าปริมาณความต้องการ เนื่องจากผลผลิต
ข้าวในหลายประเทศลดลงเพราะประสบภัยธรรมชาติจากปรากฎการณ์ El Nino ระยะนี้จึงมีคำสั่งซื้อข้าวไทยเข้ามามาก
และจากสถานการณ์การตลาดที่เป็นของผู้ขาย คาดว่าราคาจะสูงขึ้นโดยตลอด ทำให้ผู้ส่งออกเร่งซื้อข้าวในประเทศไว้ใน
สต๊อก เพื่อให้มีข้าวเพียงพอที่จะส่งมอบได้โดยไม่เสี่ยงต่อการขาดทุน นอกจากนี้ การที่พ่อค้าส่งออกส่วนหนึ่งขาดสภาพ
คล่องและไม่สามารถซื้อข้าวเก็บสต๊อกไว้ได้ แต่จะเร่งซื้อในช่วงที่เรือเข้าเทียบท่า จึงกระตุ้นให้เกิดความต้องการและ
ราคาข้าวเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วความเห็น
1. จากการที่ราคาข้าวในปีนี้สูงขึ้นมากคาดว่าเกษตรกรจะมีการปลูกข้าวนา-ปรังมากทั้งที่ปริมาณน้ำในฤดูแล้ง
ขาดแคลน ทำให้เสี่ยงต่อการขาดน้ำและอาจมีการร้องขอให้ราชการปล่อยน้ำจากเขื่อนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อปริมาณ
น้ำในเขื่อนของปีต่อไป
2. ควรเร่งรัดเพิ่มการผลิตข้าวคุณภาพดีที่ตลาดต้องการให้มีปริมาณมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่เหมาะ
สมในการปลูกข้าว ซึ่งจะต้องเน้นการจัดโครงการการผลิตข้าวคุณภาพดีในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพ
การผลิต
2.2 น้ำนมดิบ : เกษตรกรขอปรับราคาน้ำนมดิบ
ภาวะเศรษฐกิจที่มีปัญหาอย่างต่อเนื่องทำให้ต้นทุนการผลิตผลิตผลการเกษตรสูงขึ้นอย่างรวดเร็วต้นทุนด้านอาหาร
แม่โคนมสูงขึ้นกว่าร้อยละ 25 จึงทำให้ต้นทุนการผลิตรวมสูงขึ้นประมาณ ร้อยละ 17 ดังนั้นเมื่อประมาณปลายเดือน
ตุลาคม 2540 ชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทยจึงได้ทำหนังสือถึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อพิจารณาปรับราคา
รับซื้อน้ำนมดิบให้สูงขึ้น ทั้งนี้เพื่อความอยู่รอดของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม
คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการปศุสัตว์แห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่1/2541 เมื่อวันที่ 12 มกราคม
2541 ได้พิจารณาข้อร้องเรียนดังกล่าวแล้ว และได้มีมติเห็นชอบให้ปรับราคารับซื้อน้ำนมดิบหน้าโรงงาน ที่ระดับราคา
กิโลกรัมละ 12.50 บาท แต่เพื่อให้การปรับราคารับซื้อน้ำนมดิบสดอดคล้องกับการปรับราคานมพร้อมดื่มของโรงงานผู้
ผลิตและผู้ประกอบการค้าที่ประชุมจึงเห็นชอบให้นำเสนอต่อกระทรวงพาณิชย์ โดยผ่านการพิจารณาและเห็นชอบของคณะ
กรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าก่อน กลุ่มผู้ผลิตนมพร้อมดื่มดังกล่าวจึงจะสามารถรับซื้อน้ำนมดิบในราคาที่ปรับแล้วได้
คาดว่ากระทรวงพาณิชย์ จะพิจารณาแล้วเสร็จและกำหนดให้ผู้ใช้น้ำนมดิบ รับซื้อน้ำนมดิบในราคาดังกล่าวได้ ตั้งแต่ เดือน
มีนาคม 2541 เป็นต้นไป ซึ่งจากราคาน้ำนมดิบหน้าโรงงานดังกล่าว คาดว่าเกษตรกรจะขายน้ำนมดิบได้เพิ่มขึ้น เป็น
ประมาณกิโลกร้มละ 11.25 บาท(ราคาเดิม กิโลกรัมละ 9.28 บาท)
การเลี้ยงโคนมนั้น นอกจากจะเป็นอาชีพที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเน้นให้การส่งเสริมสนับสนุนตาม
แผนการผลิตและปรับโครงการทางการเกษตรแล้วการผลิตน้ำนมดิบ ยังเป็นมาตรการหนึ่งในนโยบายของกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ ที่จะเร่งรัดการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมที่ทำให้ประเทศต้องสูญเสียเงินตราไปปีละประมาณ
4,000-5,000 ล้านบาท ดังนั้น การช่วยเหลือเกษตรกรในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
นั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องให้การสนับสนุน ในขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์ก็ได้เข้ามามีบทบาทในการรวมพิจารณาเพื่อ
ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคด้วยแล้ว จึงควรสนับสนุนให้เกษตรกรขายน้ำนมดิบได้ราคาตามที่คณะ
กรรมนโยบายและพัฒนาการปศุสัตว์ เห็นชอบ
2.3 กุ้งกุลาดำ : ไทยจะขอโควตาพิเศษส่งกุ้งเข้าอียูทดแทนการลดสิทธิ GSP
สืบเนื่องจากการที่สหภาพยุโรป (อียู) ได้ลดสิทธิพิเศษทางอัตราภาษีศุลกากร (GSP) ของกุ้งแช่เย็นแช่แข็ง
ร้อยละ 50 ทั้งนี้ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2540 เป็นต้นมา ส่งผลให้สหภาพยุโรปนำเข้าสินค้าจากไทยลดลง กล่าวคือ
ช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม 2540 สหภาพยุโรปนำเข้าจากไทย 11,105 ตัน มูลค่า 2,891.67 ล้านบาท ลดลงจาก
ที่ส่งออกได้ 14,870 ตัน มูลค่า 3,493.99 ล้านบาท ในช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 25.92 และ 17.24
ตามลำดับ เนื่องจากผู้นำเข้าของสหภาพยุโรปต้องรับภาระภาษีเพิ่มขึ้น และส่งผลให้กุ้งของไทยมีราคาสูงเมื่อเทียบกับ
ประเทศคู่แข่งขัน
อย่างไรก็ตาม ในเดือนสิงหาคม 2540 สหภาพยุโรปได้ประกาศห้ามนำเข้ากุ้งแช่เย็นแช่แข็งจาก 3 ประเทศ
ได้แก่ มาดากัสการ์ อินเดีย และบังคลาเทศ เนื่องจากตรวจพบเชื้อ Salmonellae and Vibrio spp. ในสินค้า
ดังกล่าว กุ้งแช่เย็นแช่แข็งที่สหภาพยุโรปนำเข้าจาก 3 ประเทศมีปริมาณรวม 40,000 ตัน ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดี
ของไทยในการที่จะเจรจาขอเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดเพื่อทดแทนปริมาณดังกล่าว โดยเฉพาะการขอโควตาพิเศษที่เรียก
ว่า Autonomous Tariff Quota เพื่อชดเชยกับการที่ไทยถูกลดสิทธิพิเศษทางการค้า โดยใช้เหตุผลการขาด
แคลนกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งในสหภาพยุโรปเป็นสำคัญในการเจรจา
รายงานล่าสุดจากสำนักงานพาณิชย์ไทย ณ ปารีสกับลิสบอน เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ไทยจะขอโควตาพิเศษดัง
กล่าว แจ้งว่าโปรตุเกสตกลงในหลักการที่สนับสนุนการขอโควตาพิเศษของฝ่ายและกลุ่มประเทศเบเนลัก (เบลเยี่ยม-เน
เธอร์แลนด์-ลักแซมเบิร์ก) ก็จะสนับสนุนไทยด้วย สำหรับประเทศฝรั่งเศสนั้น ไทยได้เสนอขอการสนับสนุนในเรื่องนี้
ผ่านที่ประชุมคณะทำงานร่วมไทย-ฝรั่งเศสด้วยแล้ว
หากไทยสามารถเจรจากับสหภาพยุโรปจนประสบผลสำเร็จแล้ว จะช่วยให้การส่งออกกุ้งแช่เย็นแช่แข็งมีปริมาณ
เพิ่มมากขึ้น และจะเป็นผลดีต่อการนำเข้าเงินตราต่างประเทศในภาวะที่ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจถดถอย
แต่การเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำของเกษตรกรในระยะที่ผ่านมา ประสบปัญหาค่อนข้างมาก ทั้งด้านโรคระบาด และการ
เลี้ยงที่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำเสียรวมทั้งผลกระทบต่อภาวะแวดล้อมด้วย หากปัญหาเหล่านี้ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังแล้ว
การผลิตกุ้งกุลาดำจะไม่บรรลุผลตามเป้าหมายและจะขาดผลผลิตสำหรับส่งออก รวมทั้งผลกระทบที่อาจเกิดต่อการส่งออก
หากประเทศผู้ซื้อนำปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นมาเป็นข้ออ้าง ดังนั้น กรมประมงจะต้องดำเนินการควบคุมการผลิตในระบบ
ครบวงจรอย่างจริงจัง เพื่อแก้ปัญหาทั้งในระยะสั้นและแบบยั่งยืนด้วย
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 12-18 มกราคม 2541--