กรุงเทพ--31 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (31 สิงหาคม) นายกอบศักดิ์ ชุติกุล อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวง การต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ณ ศูนย์ข่าว กรมสารนิเทศ เกี่ยวกับสถานการณ์ทางเมืองในรัสเซียกับผลกระทบที่มีต่อภูมิภาคอื่นๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก แจ้งว่า วันนี้ (31 สิงหาคม) เวลา 15.00 น. (เวลาในรัสเซีย) ประธานาธิบดีเยลต์ซินจะเสนอชื่อนายวิคเตอร์ เชอร์โนมีร์ดินเป็นนายกรัฐมนตรีของรัสเซียต่อสภาผู้แทนราษฎร (สภาดูมา) เป็นการเสนอชื่อครั้งแรกต่อสภาดังกล่าวฯ ในชั้นนี้ ยังไม่ข้อประนีประนอมระหว่างสำนักประธานาธิบดีกับสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับรูปแบบและกลไกของการบริหารประเทศต่อไปหรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ คาดว่า ในการลงคะแนนเสียงครั้งแรก นายเชอร์โนมีร์ดินอาจไม่ได้รับเสียงสนับสนุนจากพรรคการเมืองต่าง ๆ แต่ภายใต้รัฐธรรมนูญรัสเซีย ประธานาธิบดีมีสิทธิที่จะเสนอชื่อได้อีกสองครั้ง
2. เกี่ยวกับเรื่องนี้ แม้ประเทศไทยจะตั้งอยู่ห่างไกลจากสถานการณ์ทางการเมืองรัสเซียและเป็นประเทศเล็ก แต่ประเทศไทยขอร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศแสดงความคาดหวังว่า สถานการณ์ทางการเมืองในรัสเซียจะสามารถแก้ไขให้ลุล่วงด้วยความเรียบร้อย ทั้งนี้ ปัจจัยทางด้านการเมืองมีส่วนสำคัญต่อการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในประเทศรัสเซีย
3. ประเทศไทยในฐานะมิตรประเทศขอร่วมเรียกร้องให้ฝ่ายการเมืองของรัสเซียเร่งดำเนินการจัดตั้งรัฐบาลที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐสภาโดยเร็ว และขอให้รัฐบาลที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่เร่งดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจตามแผนงานและพันธกรณีที่มีต่อสถาบันการเงินระหว่างประเทศและกลุ่ม G-8 ต่อไป ทั้งนี้ การดำเนินการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจของรัสเซียจะส่งผลทางด้านจิิตวิทยาต่อความมั่นใจของตลาดการเงินระหว่างประเทศที่มีต่อประเทศที่อยู่ในภาวะเจริญเติบโต (emerging markets) ทั้งหมด รวมทั้งประเทศไทย
4. ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยและรัสเซียมีไม่มากนัก ในปี 2540 ไทยส่งสินค้าออกไปประเทศรัสเซีย 114 ล้านเหรียญสหรัญ และนำเข้าจากรัสเซีย 559 ล้านเหรียญสหรัฐ รัสเซียจึึงมิได้เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย เมื่อ 3 ปีที่แล้ว การลงทุนของรัสเซียในไทยประมาณ 10.3 ล้านบาท การลงทุนของไทยในรัสเซียประมาณ 10 ล้านบาทเช่นกัน อย่างไรก็ดี วิิกฤตกาณ์ด้านเศรษฐกิจในรัสเซียที่ส่งผลกระทบในทางลบต่อภูมิภาคอื่นๆ ได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐฯ และอาจส่งผลกระทบต่อภูมิภาคลาตินอเมริกา อีกทั้งอาจส่งผลกระทบมายังเอเชียเป็นรอบที่สองผ่านทางฮ่องกง จีน มาเลเซีย ซึ่งประเทศไทยกำลังติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
5. จากการหารือกับเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทยเมื่อเช้าวันนี้ (31 สิงหาคม) ได้รับแจ้งว่า โดยทั่วไป ภาคธนาคารของยุโรปได้ปล่อยเงินกู้ให้กับรัสเซีย 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และภาคธนาคารของสหรัฐฯ ได้ปล่อยเงินกู้ให้รัสเซียประมาณ 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้น ยุโรปจึงได้รับผลกระทบมากกว่าสหรัฐฯ ในส่วนของเยอรมนี แม้ว่าสถาบันการเงินของเยอรมนีจะปล่อยกู้ให้กับรัสเซียเป็นรายใหญ่ที่สุด แต่ก็เชื่อมั่นว่าจะสามารถรองรับสถานการณ์ได้ แม้รัสเซียจะไม่ชำระหนี้ทั้งหมด ก็จะมีผลกระทบต่อเยอรมนีเพียงทำให้กำไรประจำปีของภาคธนาคารของเยอรมนีลดลงเพียงร้อยละ 15-20 เท่านั้น แต่จะไม่กระทบต่อความแข็งแกร่งของภาคธนาคารของเยอรมนีแต่อย่างใด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--
วันนี้ (31 สิงหาคม) นายกอบศักดิ์ ชุติกุล อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวง การต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ณ ศูนย์ข่าว กรมสารนิเทศ เกี่ยวกับสถานการณ์ทางเมืองในรัสเซียกับผลกระทบที่มีต่อภูมิภาคอื่นๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก แจ้งว่า วันนี้ (31 สิงหาคม) เวลา 15.00 น. (เวลาในรัสเซีย) ประธานาธิบดีเยลต์ซินจะเสนอชื่อนายวิคเตอร์ เชอร์โนมีร์ดินเป็นนายกรัฐมนตรีของรัสเซียต่อสภาผู้แทนราษฎร (สภาดูมา) เป็นการเสนอชื่อครั้งแรกต่อสภาดังกล่าวฯ ในชั้นนี้ ยังไม่ข้อประนีประนอมระหว่างสำนักประธานาธิบดีกับสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับรูปแบบและกลไกของการบริหารประเทศต่อไปหรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ คาดว่า ในการลงคะแนนเสียงครั้งแรก นายเชอร์โนมีร์ดินอาจไม่ได้รับเสียงสนับสนุนจากพรรคการเมืองต่าง ๆ แต่ภายใต้รัฐธรรมนูญรัสเซีย ประธานาธิบดีมีสิทธิที่จะเสนอชื่อได้อีกสองครั้ง
2. เกี่ยวกับเรื่องนี้ แม้ประเทศไทยจะตั้งอยู่ห่างไกลจากสถานการณ์ทางการเมืองรัสเซียและเป็นประเทศเล็ก แต่ประเทศไทยขอร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศแสดงความคาดหวังว่า สถานการณ์ทางการเมืองในรัสเซียจะสามารถแก้ไขให้ลุล่วงด้วยความเรียบร้อย ทั้งนี้ ปัจจัยทางด้านการเมืองมีส่วนสำคัญต่อการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในประเทศรัสเซีย
3. ประเทศไทยในฐานะมิตรประเทศขอร่วมเรียกร้องให้ฝ่ายการเมืองของรัสเซียเร่งดำเนินการจัดตั้งรัฐบาลที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐสภาโดยเร็ว และขอให้รัฐบาลที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่เร่งดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจตามแผนงานและพันธกรณีที่มีต่อสถาบันการเงินระหว่างประเทศและกลุ่ม G-8 ต่อไป ทั้งนี้ การดำเนินการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจของรัสเซียจะส่งผลทางด้านจิิตวิทยาต่อความมั่นใจของตลาดการเงินระหว่างประเทศที่มีต่อประเทศที่อยู่ในภาวะเจริญเติบโต (emerging markets) ทั้งหมด รวมทั้งประเทศไทย
4. ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยและรัสเซียมีไม่มากนัก ในปี 2540 ไทยส่งสินค้าออกไปประเทศรัสเซีย 114 ล้านเหรียญสหรัญ และนำเข้าจากรัสเซีย 559 ล้านเหรียญสหรัฐ รัสเซียจึึงมิได้เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย เมื่อ 3 ปีที่แล้ว การลงทุนของรัสเซียในไทยประมาณ 10.3 ล้านบาท การลงทุนของไทยในรัสเซียประมาณ 10 ล้านบาทเช่นกัน อย่างไรก็ดี วิิกฤตกาณ์ด้านเศรษฐกิจในรัสเซียที่ส่งผลกระทบในทางลบต่อภูมิภาคอื่นๆ ได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐฯ และอาจส่งผลกระทบต่อภูมิภาคลาตินอเมริกา อีกทั้งอาจส่งผลกระทบมายังเอเชียเป็นรอบที่สองผ่านทางฮ่องกง จีน มาเลเซีย ซึ่งประเทศไทยกำลังติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
5. จากการหารือกับเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทยเมื่อเช้าวันนี้ (31 สิงหาคม) ได้รับแจ้งว่า โดยทั่วไป ภาคธนาคารของยุโรปได้ปล่อยเงินกู้ให้กับรัสเซีย 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และภาคธนาคารของสหรัฐฯ ได้ปล่อยเงินกู้ให้รัสเซียประมาณ 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้น ยุโรปจึงได้รับผลกระทบมากกว่าสหรัฐฯ ในส่วนของเยอรมนี แม้ว่าสถาบันการเงินของเยอรมนีจะปล่อยกู้ให้กับรัสเซียเป็นรายใหญ่ที่สุด แต่ก็เชื่อมั่นว่าจะสามารถรองรับสถานการณ์ได้ แม้รัสเซียจะไม่ชำระหนี้ทั้งหมด ก็จะมีผลกระทบต่อเยอรมนีเพียงทำให้กำไรประจำปีของภาคธนาคารของเยอรมนีลดลงเพียงร้อยละ 15-20 เท่านั้น แต่จะไม่กระทบต่อความแข็งแกร่งของภาคธนาคารของเยอรมนีแต่อย่างใด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--