ภาวะเศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกของปี 2539
เศรษฐกิจไทยครึ่งแรกของปี 2539 มีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่องจากครึ่งหลังของปีก่อน โดยการส่งออกได้
ชะลอลงมากและเร็วกว่าที่คาดหมายไว้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความต้องการนำเข้าของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยมีแนวโน้มขยายตัว
น้อยกว่าที่คาดไว้ ประกอบกับภาวะการแข่งขันและการกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น อีกทั้งมีข้อจำกัดการผลิตบางด้าน เช่น ประมง
สำหรับการผลิตและการใช้จ่ายในประเทศชะลอลงเช่นกัน ซึ่งเป็นแนวโน้มที่สอดคล้องกับแนวนโยบายของธนาคารที่ต้องการให้
เศรษฐกิจขยายตัวในระดับที่เหมาะสมและมีเสถียรภาพ
เศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงดังกล่าวมีส่วนเอื้ออำนวยให้เศรษฐกิจปรับตัวสู่ภาวะสมดุลมากขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อมี
แนวโน้มต่ำลงเป็นลำดับจากร้อยละ 7.4 เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2538 เหลือร้อยละ 5.5 ในเดือนมิถุนายน 2539 อย่างไรก็ตาม
การส่งออกที่ชะลอตัวลงมากดังกล่าวส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดที่ปรับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ขาดดุลสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วง
ไตรมาสสองของปี ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดครึ่งแรกของปียังคงขาดดุลในเกณฑ์สูง
รายละเอียดที่สำคัญของเศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกของปี 2539 มีดังนี้
การผลิตภาคเกษตร
คาดว่าผลผลิตพืชผลหลักปี 2538/39 จะอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากปริมาณน้ำมีเพียงพอและราคาจูงใจ โดยผล
ผลิตพืชผลสำคัญที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปรัง ข้าวโพด อ้อยและมันสำปะหลัง ส่วนการผลิตปศุสัตว์และประมงมีแนวโน้ม
ชะลอลง เพราะต้นทุนการเลี้ยงสูง ขณะที่ภาวะตลาดไม่ดี และเกิดโรคระบาดในกุ้ง รวมทั้งมีปัญหาในการทำประมงนอกน่าน
น้ำ สำหรับการผลิตนอกภาคเกษตรชะลอตัวลง โดยการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 8.4 เทียบกับร้อยละ 13.9
ในระยะเดียวกับปีก่อน จากที่ความต้องการทั้งจากตลาดในประเทศและต่างประเทศชะลอตัวลงจากปีก่อน จากที่ความต้องการทั้ง
จากตลาดในประเทศและต่างประเทศชะลอตัวลงจากปีก่อน ทั้งนี้ การผลิตเกือบทุกหมวดชะลอลง ยกเว้นหมวดปิโตรเลียมขยาย
ตัวสูงจากที่มีการขยายกำลังการผลิต และหมวดยาสูบขยายตัวเร่งขึ้นเพื่อชดเชยสต๊อกที่ลดลง อุตสาหกรรมที่มีอัตราการขยายตัว
ชะลอลง ได้แก่ หมวดยานยนต์ อาหารและเครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก เช่น เสื้อผ้า แผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น
การใช้จ่ายอุปโภคบริโภค
ขยายตัวในอัตราชะลอตัวลงทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะในปีนี้ไม่มีการปรับโครงสร้างเงิน
เดือนและการตกเบิกเช่นปีที่แล้ว และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลจากการดำเนินนโยบายการเงินระมัดระวังของทางการ ส่วนการลง
ทุนรวมก็ชะลอตัวลงเช่นกันตามการลงทุนภาคเอกชน เนื่องจากในปีก่อนได้มีการลงทุนมากเพื่อขยายกำลังการผลิตและเพื่อปรับ
เปลี่ยนโครงสร้างการผลิต ขณะที่การลงทุนภาครัฐบาลเร่งตัวขึ้นจากปีก่อนตามความจำเป็นในการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน
เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
ด้านการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกในครึ่งแรกของปีนี้ธนาคารประมาณว่าขยายตัวในอัตราชะลอลงเหลือ
ร้อยละ 5.7 ทั้งนี้ มีสาเหตุจากปัจจัยหลายประการ อาทิ เศรษฐกิจของตลาดผู้นำเข้าสำคัญยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่หรือมีอัตราชะลอลง
เช่น ยุโรป ญี่ปุ่น และเอเชีย ผลจากมาตรการกีดกันการค้า อุปทานสินค้าบางประเภทมีน้อย และต้นทุนการผลิตสูงขึ้นทั้งด้านค่าจ้าง
แรงงานและวัตถุดิบ หมวดสินค้าที่การส่งออกลดลงมาก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ รองเท้า ผลิตภัณฑ์พลาสติกเครื่องเดินทาง ของเด็ก
เล่น และสินค้าประมง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การส่งออกบางหมวดซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูงยังขยายตัวสูงกว่า
ร้อยละ 20 อาทิ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน โทรทัศน์ วิทยุ และพัดลม เป็นต้น ส่วนการนำเข้าขยายตัวร้อยละ9.2 ปรับตัวลด
ลงตามการใช้จ่ายในประเทศและการส่งออก ทั้งนี้ เป็นการชะลอลงของการนำเข้าทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะวัตถุดิบและกึ่ง
วัตถุดิบ แต่จากที่การนำเข้าชะลอลงน้อยกว่าการส่งออก ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดจึงขาดดุลสูงขึ้น สำหรับดุลการชำระเงิน
เกินดุล 76.2 พันล้านบาท ส่งผลให้เงินสำรองระหว่างประเทศสูงขึ้นเป็น 39.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เทียบเท่า 6.6 เดือนของ
การนำเข้า
ดัชนีราคาผู้บริโภคในครึ่งแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 6.8 แต่การเพิ่มของระดับราคาได้แสดงแนวโน้ม
ต่ำลงอย่างชัดเจนในไตรมาสที่สอง โดยดัชนีราคาเดือนมิถุนายนเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5.5 จากการ
ชะลอลงของทั้งราคาสินค้าในหมวดอาหารและหมวดที่มิใช่อาหารตามการเพิ่มขึ้นของอุปทานสินค้าเกษตรและการชะลอลงของการ
ใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค ทั้งนี้ หมวดสินค้าอาหารที่ราคายังอยู่ในระดับสูง ได้แก่ ข้าว เนื้อสัตว์ สัตว์น้ำ ผักสด และอาหารที่
ซื้อบริโภคนอกบ้าน ส่วนสินค้าในหมวดที่มิใช่อาหาร ได้แก่ หมวดการบันเทิง การอ่านและการศึกษา หมวดเครื่องนุ่งห่ม และ
หมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ทางด้านฐานะการคลังยังเกินดุลจำนวน 73.0 พันล้านบาท แม้รายจ่ายเพิ่มขึ้นสูงร้อยละ 22.0 ตามราย
จ่ายลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ส่วนการจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 การเกินดุลเงินสดทำให้เงินคงคลัง ณ สิ้น
เดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นจาก 311.4 พันล้านบาท ในเดือนธันวาคม 2538 เป็น 370.7 พันล้านบาท สำหรับภาวะการเงินมีสภาพ
คล่องโดยทั่วไปอยู่ในระดับสูงจากที่การขยายตัวของเงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ปรับตัวในทิศทางที่สมดุลขึ้นจากปีที่ผ่านมา
กล่าวคือ เงินฝากขยายตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 18.2 เมื่อสิ้นปีก่อนเป็นร้อยละ 18.4 ณ สิ้นเดือนมิถุนายน ขณะที่สินเชื่อ
ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องเหลือร้อยละ 18.5 เทียบกับร้อยละ 24.2 เมื่อสิ้นปีก่อน สภาพคล่องของระบบการเงินที่อยู่ในเกณฑ์
สูงดังกล่าวส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศปรับตัวลดลง
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2539
ในช่วงครึ่งหลังของปี 2539 คาดว่าเศรษฐกิจไทยโดยรวมน่าจะมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีกว่าในครึ่งแรกของปี
จากการเร่งตัวขึ้นของการส่งออก การผลิตภาคเกษตร และการใช้จ่ายภาครัฐบาล
ด้านการส่งออก
คาดว่าจะเร่งตัวขึ้นได้ในช่วงครึ่งปีหลัง จากที่คาดว่าเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย เช่น ญี่ปุ่น และ
สหภาพยุโรปจะขยายตัวได้ดีขึ้น รวมทั้งข้อจำกัดด้านอุปทานจากปัญหาโรคระบาดในกุ้ง และข้อขัดแย้งการทำประมงกับประเทศ
เพื่อนบ้าน น่าจะคลี่คลายลงได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งจะเอื้ออำนวยต่อการส่งออกของไทย ประกอบกับแรงกระตุ้นจากมาตรการของ
ทางการทั้งด้านการเจรจาการค้า การเร่งรัดคืนภาษี และสินเชื่อการส่งออก
ด้านผลผลิตภาคเกษตร
คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยปริมาณน้ำในเขื่อนที่มีเพียงพอ และราคาพืชผลจูงใจ ทำให้
เกษตรกรมีรายได้และการใช้จ่ายที่ดีขึ้น
การใช้จ่ายภาครัฐบาล
คาดว่าจะเร่งตัวขึ้นตามการเร่งรัดงบประมาณรายจ่ายประจำปี และทางการไม่อนุมัติให้มีการกันเงินข้ามปีใน
กรณีหนี้ผูกพัน
การเร่งตัวขึ้นของการส่งออกและการใช้จ่ายรัฐบาล ประกอบกับแนวโน้มที่จะมีการเร่งรัดโครงการลงทุนที่ได้
สัมปทานจากรัฐ รวมทั้งโครงการที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนที่เพิ่มขึ้นมากตั้งแต่ครึ่งหลังของปีก่อน และอัตราดอกเบี้ยในประ
เทศได้ปรับตัวลดลงไปก่อนหน้าแล้ว อาจจะมีผลต่อภาวะลงทุนในครึ่งหลังของปี โดยรวมแล้วคาดว่าจะทำให้เศรษฐกิจไทยปี
2539 ขยายตัวในอัตราประมาณร้อยละ 7.8 ส่วนอัตราเงินเฟ้อ คาดว่าจะชะลอตัวลงต่อเนื่องจากครึ่งแรกของปี ทำให้อัตรา
เงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีเท่ากับประมาณร้อยละ 5.5 อย่างไรก็ตาม การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย จากแนว
โน้มฟื้นตัวของการส่งออกในครึ่งหลังของปี ธนาคารประมาณว่าการส่งออกทั้งปีจะขยายตัวร้อยละ 10.2 ขณะที่การนำเข้าจะ
ขยายตัวใกล้เคียงกับการส่งออกคือร้อยละ 10.1 ซึ่งจะส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ7.8 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ
ปรับตัวดีขึ้นจากอัตราร้อยละ 8.1 ในปีก่อนเล็กน้อย
แนวนโยบายการเงินในครึ่งหลังของปี 2539
การเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2539 ถือได้ว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ แม้ว่าอัตราการขยายตัวจะชะลอลง
เมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตร้อยละ 8.6 ในปีก่อน การชะลอตัวดังกล่าวได้ช่วยลดแรงกดดันเศรษฐกิจและการใช้ทรัพยากรต่างๆ
ไปได้พอสมควร โดยอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงแล้ว แต่การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงอยู่ในระดับที่สูง ทำให้การดำเนิน
นโยบายการเงินในช่วงครึ่งหลังของปึจึงยังคงต้องระมัดระวังต่อไป เพื่อเอื้ออำนวยการปรับตัวให้เสถียรภาพเศรษฐกิจดีขึ้นใน
ครึ่งหลังของปี ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต โดยมีแนวทางดังนี้
1. ธนาคารจะพยายามรักษาความสมดุลของภาคการเงินที่ปรับตัวดีขึ้นแล้วให้คงอยู่ต่อไป โดยวางเป้าหมาย
การขยายตัวของสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ในปี 2539 ประมาณร้อยละ 19 ต่อปี ขณะที่เงินฝากขยายต้วประมาณร้อยละ 16.8
2. จากการที่ภาคเศรษฐกิจจริงได้ปรับตัวไปค่อนข้างมากแล้ว โดยเฉพาะด้านการใช้จ่ายในประเทศ การดำ
เนินมาตรการการเงินเพิ่มเติมไม่ว่าโดยตรง และที่ดำเนินการผ่านการกำกับสถาบันการเงินจึงไม่มีความจำเป็นอีกแล้วในขั้นนี้
แต่ธนาคารจะดูแลให้มาตรการที่ได้กำหนดไว้แล้วสามารถทำงานต่อไปได้ตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ ซึ่งมาตรการที่สำคัญได้แก่
การดำรงสินเทรัพย์สภาพคล่องร้อยละ 7 สำหรับเงินกู้ต่างประเทศระยะสั้น การเพิ่มวงเงินออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ให้ครบ 30,000 ล้านบาท และการเพิ่มเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของสถาบันการเงินจากร้อยละ 8 เป็นร้อยละ 8.5 ซึ่งได้
ประกาศไปเมื่อต้นปีและจะมีผลบังคับใช้ในเดือนตุลาคม
3. อย่างไรก็ดี ภายใต้กรอบการรักษาวินัยทางการเงินดังกล่าว ธนาคารจะให้ธนาคารพาณิชย์สามารถปรับ
อัตราดอกเบี้ยตามกลไกตลาดได้ต่อไป โดยจะดูแลไม่ไห้ธนาคารพาณิชย์เพิ่มส่วนต่างของดอกเบี้ยจ่ายเงินฝากจริงกับเงินให้กู้ยืมอัน
เป็นการเอาเปรียบลูกค้าและพร้อมที่จะให้ความยืดหยุ่นมากขึ้นในการจัดทำแผนสินเชื่อของสถาบันการเงิน เพื่อลดอุปสรรคในการ
ขยายตัวของสินเชื่อภาคเศรษฐกิจสำคัญอีกด้วย นอกจากนี้ เพื่อมิให้อัตราดอกเบี้ยเป็นอุปสรรคต่อการจัดสรรสินเชื่อให้แก่ภาค
เศรษฐกิจสำคัญ ซึ่งในส่วนนี้ธนาคารได้มีมาตรการเสริมให้ความช่วยเหลือทางการเงินมาโดยตลอดและก็จะทำเป็นงาน ในส่วน
นั้นต่อไป โดยเฉพาะการสนับสนุนภาคการส่งออกที่ธนาคารให้ความช่วยเหลือผ่านธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ซึ่งขณะนี้ยังมีวงเงินเหลือ หากธนาคารพาณิชย์ใช้ประโยชน์จากวงเงินดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ส่งออกได้รับสินเชื่อในอัตราที่เหมาะสม
ในปีนี้ ถึงแม้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจจะชะลอลง แต่เสถียรภาพของเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มปรับตัวใน
ทางที่ดีขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่จะสร้างความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจและช่วยให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ
ในระยะต่อไป
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญ
ปี 2537 - 2539
1. ผลิตภัณฑ์ในประเทศตามราคาคงที่ (ร้อยละ) 8.8 8.6 7.8
1.1 การผลิตภาคเกษตร 4.2 3.1 3.1
(พืชผล) (3.9) (3.5) (5.3)
1.2 การผลิตนอกภาคเกษตร 9.4 9.3 8.3
(อุตสาหกรรม) (12.1) (12.4) (10.2)
(ก่อสร้าง) (8.2) (8.1) (10.0)
(การค้า) (7.8) (7.7) (7.0)
(อื่น ๆ) (8.1) (7.4) (6.8)
1.3 การอุปโภคบริโภค 8.0 7.6 6.7
1.4 การลงทุน 12.6 12.2 10.0
- เอกชน (11.8) (12.3) (8.0)
- รัฐบาล 16.5 (12.0) (18.3)
2. ระดับราคา (ร้อยละ) 5.0 5.8 5.5
2.1 อาหาร 6.9 8.1 7.7
2.2 มิใช่อาหาร 3.8 4.2 4.1
3. การค้าระหว่างประเทศ (พันล้านบาท)
3.1 สินค้าออก 1,118.0 1,381.6 1,522.0
(อัตราเพิ่ม) (21.3) (23.6) (10.2)
3.2 สินค้าเข้า 1,344.8 1,755.4 1,932.0
(อัตราเพิ่ม) (17.6) (30.5) (10.1)
3.3 ดุลการค้า -226.8 -373.6 -410.0
3.4 ดุลบัญชีเดินสะพัด -203.2 -337.6 -410.0
(ร้อยละของ GDP) (-5.6) (-8.1) -366.0
3.5 ดุลการชำระเงิน 104.8 179.5 -
3.6 หนี้ต่างประเทศ 2/ (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 55.0 68.1 -
3.7 ภาระหนี้ต่อรายได้ส่งออก (ร้อยละ) 11.3 11.0 -
3.8 เงินสำรองระหว่างประเทศ 30.3 37.0
(พันล้านดอลลาร์ สรอ.)
4. การคลัง (ปีงบประมาณ)
ดุลเงินสด (พันล้านบาท) +65.8 +112.5 +125.2
(ร้อยละของ GDP) (+1.8) (+2.7) (+2.7)
4.1 รายได้ (อัตราเพิ่ม : ร้อยละ) 17.1 16.2 13.7
4.2 รายจ่าย (อัตราเพิ่ม : ร้อยละ) 17.6 10.5 15.0
5. การเงิน (ร้อยละต่อปี)
เงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ 13.1 18.2 10.8
สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ 30.1 24.2 19.0
อัตราดอกเบี้ย (ณ สิ้นระยะเวลา)
เงินฝากประจำ (1ปี) 8.25-10.25 10.25-11.0 -
เงินกู้ยืมสำหรับลูกค้าชั้นดี (เบิกเกินบัญชี) 11.75 14.0-14.20 -
ที่มา : ฝ่ายวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
1/ตัวเลขประมาณการ 25 กรกฎาคม 2539
2/ รวมหนี้ระยะสั้นและระยะยาว (ไม่รวมหนี้ธนาคารพาณิชย์ แต่รวม BIBF)
--ข่าวเศรษฐกิจ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่15 / 15 สิงหาคม 2539--
เศรษฐกิจไทยครึ่งแรกของปี 2539 มีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่องจากครึ่งหลังของปีก่อน โดยการส่งออกได้
ชะลอลงมากและเร็วกว่าที่คาดหมายไว้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความต้องการนำเข้าของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยมีแนวโน้มขยายตัว
น้อยกว่าที่คาดไว้ ประกอบกับภาวะการแข่งขันและการกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น อีกทั้งมีข้อจำกัดการผลิตบางด้าน เช่น ประมง
สำหรับการผลิตและการใช้จ่ายในประเทศชะลอลงเช่นกัน ซึ่งเป็นแนวโน้มที่สอดคล้องกับแนวนโยบายของธนาคารที่ต้องการให้
เศรษฐกิจขยายตัวในระดับที่เหมาะสมและมีเสถียรภาพ
เศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงดังกล่าวมีส่วนเอื้ออำนวยให้เศรษฐกิจปรับตัวสู่ภาวะสมดุลมากขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อมี
แนวโน้มต่ำลงเป็นลำดับจากร้อยละ 7.4 เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2538 เหลือร้อยละ 5.5 ในเดือนมิถุนายน 2539 อย่างไรก็ตาม
การส่งออกที่ชะลอตัวลงมากดังกล่าวส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดที่ปรับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ขาดดุลสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วง
ไตรมาสสองของปี ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดครึ่งแรกของปียังคงขาดดุลในเกณฑ์สูง
รายละเอียดที่สำคัญของเศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกของปี 2539 มีดังนี้
การผลิตภาคเกษตร
คาดว่าผลผลิตพืชผลหลักปี 2538/39 จะอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากปริมาณน้ำมีเพียงพอและราคาจูงใจ โดยผล
ผลิตพืชผลสำคัญที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปรัง ข้าวโพด อ้อยและมันสำปะหลัง ส่วนการผลิตปศุสัตว์และประมงมีแนวโน้ม
ชะลอลง เพราะต้นทุนการเลี้ยงสูง ขณะที่ภาวะตลาดไม่ดี และเกิดโรคระบาดในกุ้ง รวมทั้งมีปัญหาในการทำประมงนอกน่าน
น้ำ สำหรับการผลิตนอกภาคเกษตรชะลอตัวลง โดยการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 8.4 เทียบกับร้อยละ 13.9
ในระยะเดียวกับปีก่อน จากที่ความต้องการทั้งจากตลาดในประเทศและต่างประเทศชะลอตัวลงจากปีก่อน จากที่ความต้องการทั้ง
จากตลาดในประเทศและต่างประเทศชะลอตัวลงจากปีก่อน ทั้งนี้ การผลิตเกือบทุกหมวดชะลอลง ยกเว้นหมวดปิโตรเลียมขยาย
ตัวสูงจากที่มีการขยายกำลังการผลิต และหมวดยาสูบขยายตัวเร่งขึ้นเพื่อชดเชยสต๊อกที่ลดลง อุตสาหกรรมที่มีอัตราการขยายตัว
ชะลอลง ได้แก่ หมวดยานยนต์ อาหารและเครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก เช่น เสื้อผ้า แผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น
การใช้จ่ายอุปโภคบริโภค
ขยายตัวในอัตราชะลอตัวลงทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะในปีนี้ไม่มีการปรับโครงสร้างเงิน
เดือนและการตกเบิกเช่นปีที่แล้ว และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลจากการดำเนินนโยบายการเงินระมัดระวังของทางการ ส่วนการลง
ทุนรวมก็ชะลอตัวลงเช่นกันตามการลงทุนภาคเอกชน เนื่องจากในปีก่อนได้มีการลงทุนมากเพื่อขยายกำลังการผลิตและเพื่อปรับ
เปลี่ยนโครงสร้างการผลิต ขณะที่การลงทุนภาครัฐบาลเร่งตัวขึ้นจากปีก่อนตามความจำเป็นในการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน
เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
ด้านการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกในครึ่งแรกของปีนี้ธนาคารประมาณว่าขยายตัวในอัตราชะลอลงเหลือ
ร้อยละ 5.7 ทั้งนี้ มีสาเหตุจากปัจจัยหลายประการ อาทิ เศรษฐกิจของตลาดผู้นำเข้าสำคัญยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่หรือมีอัตราชะลอลง
เช่น ยุโรป ญี่ปุ่น และเอเชีย ผลจากมาตรการกีดกันการค้า อุปทานสินค้าบางประเภทมีน้อย และต้นทุนการผลิตสูงขึ้นทั้งด้านค่าจ้าง
แรงงานและวัตถุดิบ หมวดสินค้าที่การส่งออกลดลงมาก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ รองเท้า ผลิตภัณฑ์พลาสติกเครื่องเดินทาง ของเด็ก
เล่น และสินค้าประมง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การส่งออกบางหมวดซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูงยังขยายตัวสูงกว่า
ร้อยละ 20 อาทิ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน โทรทัศน์ วิทยุ และพัดลม เป็นต้น ส่วนการนำเข้าขยายตัวร้อยละ9.2 ปรับตัวลด
ลงตามการใช้จ่ายในประเทศและการส่งออก ทั้งนี้ เป็นการชะลอลงของการนำเข้าทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะวัตถุดิบและกึ่ง
วัตถุดิบ แต่จากที่การนำเข้าชะลอลงน้อยกว่าการส่งออก ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดจึงขาดดุลสูงขึ้น สำหรับดุลการชำระเงิน
เกินดุล 76.2 พันล้านบาท ส่งผลให้เงินสำรองระหว่างประเทศสูงขึ้นเป็น 39.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เทียบเท่า 6.6 เดือนของ
การนำเข้า
ดัชนีราคาผู้บริโภคในครึ่งแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 6.8 แต่การเพิ่มของระดับราคาได้แสดงแนวโน้ม
ต่ำลงอย่างชัดเจนในไตรมาสที่สอง โดยดัชนีราคาเดือนมิถุนายนเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5.5 จากการ
ชะลอลงของทั้งราคาสินค้าในหมวดอาหารและหมวดที่มิใช่อาหารตามการเพิ่มขึ้นของอุปทานสินค้าเกษตรและการชะลอลงของการ
ใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค ทั้งนี้ หมวดสินค้าอาหารที่ราคายังอยู่ในระดับสูง ได้แก่ ข้าว เนื้อสัตว์ สัตว์น้ำ ผักสด และอาหารที่
ซื้อบริโภคนอกบ้าน ส่วนสินค้าในหมวดที่มิใช่อาหาร ได้แก่ หมวดการบันเทิง การอ่านและการศึกษา หมวดเครื่องนุ่งห่ม และ
หมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ทางด้านฐานะการคลังยังเกินดุลจำนวน 73.0 พันล้านบาท แม้รายจ่ายเพิ่มขึ้นสูงร้อยละ 22.0 ตามราย
จ่ายลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ส่วนการจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 การเกินดุลเงินสดทำให้เงินคงคลัง ณ สิ้น
เดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นจาก 311.4 พันล้านบาท ในเดือนธันวาคม 2538 เป็น 370.7 พันล้านบาท สำหรับภาวะการเงินมีสภาพ
คล่องโดยทั่วไปอยู่ในระดับสูงจากที่การขยายตัวของเงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ปรับตัวในทิศทางที่สมดุลขึ้นจากปีที่ผ่านมา
กล่าวคือ เงินฝากขยายตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 18.2 เมื่อสิ้นปีก่อนเป็นร้อยละ 18.4 ณ สิ้นเดือนมิถุนายน ขณะที่สินเชื่อ
ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องเหลือร้อยละ 18.5 เทียบกับร้อยละ 24.2 เมื่อสิ้นปีก่อน สภาพคล่องของระบบการเงินที่อยู่ในเกณฑ์
สูงดังกล่าวส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศปรับตัวลดลง
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2539
ในช่วงครึ่งหลังของปี 2539 คาดว่าเศรษฐกิจไทยโดยรวมน่าจะมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีกว่าในครึ่งแรกของปี
จากการเร่งตัวขึ้นของการส่งออก การผลิตภาคเกษตร และการใช้จ่ายภาครัฐบาล
ด้านการส่งออก
คาดว่าจะเร่งตัวขึ้นได้ในช่วงครึ่งปีหลัง จากที่คาดว่าเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย เช่น ญี่ปุ่น และ
สหภาพยุโรปจะขยายตัวได้ดีขึ้น รวมทั้งข้อจำกัดด้านอุปทานจากปัญหาโรคระบาดในกุ้ง และข้อขัดแย้งการทำประมงกับประเทศ
เพื่อนบ้าน น่าจะคลี่คลายลงได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งจะเอื้ออำนวยต่อการส่งออกของไทย ประกอบกับแรงกระตุ้นจากมาตรการของ
ทางการทั้งด้านการเจรจาการค้า การเร่งรัดคืนภาษี และสินเชื่อการส่งออก
ด้านผลผลิตภาคเกษตร
คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยปริมาณน้ำในเขื่อนที่มีเพียงพอ และราคาพืชผลจูงใจ ทำให้
เกษตรกรมีรายได้และการใช้จ่ายที่ดีขึ้น
การใช้จ่ายภาครัฐบาล
คาดว่าจะเร่งตัวขึ้นตามการเร่งรัดงบประมาณรายจ่ายประจำปี และทางการไม่อนุมัติให้มีการกันเงินข้ามปีใน
กรณีหนี้ผูกพัน
การเร่งตัวขึ้นของการส่งออกและการใช้จ่ายรัฐบาล ประกอบกับแนวโน้มที่จะมีการเร่งรัดโครงการลงทุนที่ได้
สัมปทานจากรัฐ รวมทั้งโครงการที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนที่เพิ่มขึ้นมากตั้งแต่ครึ่งหลังของปีก่อน และอัตราดอกเบี้ยในประ
เทศได้ปรับตัวลดลงไปก่อนหน้าแล้ว อาจจะมีผลต่อภาวะลงทุนในครึ่งหลังของปี โดยรวมแล้วคาดว่าจะทำให้เศรษฐกิจไทยปี
2539 ขยายตัวในอัตราประมาณร้อยละ 7.8 ส่วนอัตราเงินเฟ้อ คาดว่าจะชะลอตัวลงต่อเนื่องจากครึ่งแรกของปี ทำให้อัตรา
เงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีเท่ากับประมาณร้อยละ 5.5 อย่างไรก็ตาม การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย จากแนว
โน้มฟื้นตัวของการส่งออกในครึ่งหลังของปี ธนาคารประมาณว่าการส่งออกทั้งปีจะขยายตัวร้อยละ 10.2 ขณะที่การนำเข้าจะ
ขยายตัวใกล้เคียงกับการส่งออกคือร้อยละ 10.1 ซึ่งจะส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ7.8 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ
ปรับตัวดีขึ้นจากอัตราร้อยละ 8.1 ในปีก่อนเล็กน้อย
แนวนโยบายการเงินในครึ่งหลังของปี 2539
การเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2539 ถือได้ว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ แม้ว่าอัตราการขยายตัวจะชะลอลง
เมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตร้อยละ 8.6 ในปีก่อน การชะลอตัวดังกล่าวได้ช่วยลดแรงกดดันเศรษฐกิจและการใช้ทรัพยากรต่างๆ
ไปได้พอสมควร โดยอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงแล้ว แต่การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงอยู่ในระดับที่สูง ทำให้การดำเนิน
นโยบายการเงินในช่วงครึ่งหลังของปึจึงยังคงต้องระมัดระวังต่อไป เพื่อเอื้ออำนวยการปรับตัวให้เสถียรภาพเศรษฐกิจดีขึ้นใน
ครึ่งหลังของปี ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต โดยมีแนวทางดังนี้
1. ธนาคารจะพยายามรักษาความสมดุลของภาคการเงินที่ปรับตัวดีขึ้นแล้วให้คงอยู่ต่อไป โดยวางเป้าหมาย
การขยายตัวของสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ในปี 2539 ประมาณร้อยละ 19 ต่อปี ขณะที่เงินฝากขยายต้วประมาณร้อยละ 16.8
2. จากการที่ภาคเศรษฐกิจจริงได้ปรับตัวไปค่อนข้างมากแล้ว โดยเฉพาะด้านการใช้จ่ายในประเทศ การดำ
เนินมาตรการการเงินเพิ่มเติมไม่ว่าโดยตรง และที่ดำเนินการผ่านการกำกับสถาบันการเงินจึงไม่มีความจำเป็นอีกแล้วในขั้นนี้
แต่ธนาคารจะดูแลให้มาตรการที่ได้กำหนดไว้แล้วสามารถทำงานต่อไปได้ตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ ซึ่งมาตรการที่สำคัญได้แก่
การดำรงสินเทรัพย์สภาพคล่องร้อยละ 7 สำหรับเงินกู้ต่างประเทศระยะสั้น การเพิ่มวงเงินออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ให้ครบ 30,000 ล้านบาท และการเพิ่มเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของสถาบันการเงินจากร้อยละ 8 เป็นร้อยละ 8.5 ซึ่งได้
ประกาศไปเมื่อต้นปีและจะมีผลบังคับใช้ในเดือนตุลาคม
3. อย่างไรก็ดี ภายใต้กรอบการรักษาวินัยทางการเงินดังกล่าว ธนาคารจะให้ธนาคารพาณิชย์สามารถปรับ
อัตราดอกเบี้ยตามกลไกตลาดได้ต่อไป โดยจะดูแลไม่ไห้ธนาคารพาณิชย์เพิ่มส่วนต่างของดอกเบี้ยจ่ายเงินฝากจริงกับเงินให้กู้ยืมอัน
เป็นการเอาเปรียบลูกค้าและพร้อมที่จะให้ความยืดหยุ่นมากขึ้นในการจัดทำแผนสินเชื่อของสถาบันการเงิน เพื่อลดอุปสรรคในการ
ขยายตัวของสินเชื่อภาคเศรษฐกิจสำคัญอีกด้วย นอกจากนี้ เพื่อมิให้อัตราดอกเบี้ยเป็นอุปสรรคต่อการจัดสรรสินเชื่อให้แก่ภาค
เศรษฐกิจสำคัญ ซึ่งในส่วนนี้ธนาคารได้มีมาตรการเสริมให้ความช่วยเหลือทางการเงินมาโดยตลอดและก็จะทำเป็นงาน ในส่วน
นั้นต่อไป โดยเฉพาะการสนับสนุนภาคการส่งออกที่ธนาคารให้ความช่วยเหลือผ่านธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ซึ่งขณะนี้ยังมีวงเงินเหลือ หากธนาคารพาณิชย์ใช้ประโยชน์จากวงเงินดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ส่งออกได้รับสินเชื่อในอัตราที่เหมาะสม
ในปีนี้ ถึงแม้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจจะชะลอลง แต่เสถียรภาพของเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มปรับตัวใน
ทางที่ดีขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่จะสร้างความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจและช่วยให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ
ในระยะต่อไป
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญ
ปี 2537 - 2539
1. ผลิตภัณฑ์ในประเทศตามราคาคงที่ (ร้อยละ) 8.8 8.6 7.8
1.1 การผลิตภาคเกษตร 4.2 3.1 3.1
(พืชผล) (3.9) (3.5) (5.3)
1.2 การผลิตนอกภาคเกษตร 9.4 9.3 8.3
(อุตสาหกรรม) (12.1) (12.4) (10.2)
(ก่อสร้าง) (8.2) (8.1) (10.0)
(การค้า) (7.8) (7.7) (7.0)
(อื่น ๆ) (8.1) (7.4) (6.8)
1.3 การอุปโภคบริโภค 8.0 7.6 6.7
1.4 การลงทุน 12.6 12.2 10.0
- เอกชน (11.8) (12.3) (8.0)
- รัฐบาล 16.5 (12.0) (18.3)
2. ระดับราคา (ร้อยละ) 5.0 5.8 5.5
2.1 อาหาร 6.9 8.1 7.7
2.2 มิใช่อาหาร 3.8 4.2 4.1
3. การค้าระหว่างประเทศ (พันล้านบาท)
3.1 สินค้าออก 1,118.0 1,381.6 1,522.0
(อัตราเพิ่ม) (21.3) (23.6) (10.2)
3.2 สินค้าเข้า 1,344.8 1,755.4 1,932.0
(อัตราเพิ่ม) (17.6) (30.5) (10.1)
3.3 ดุลการค้า -226.8 -373.6 -410.0
3.4 ดุลบัญชีเดินสะพัด -203.2 -337.6 -410.0
(ร้อยละของ GDP) (-5.6) (-8.1) -366.0
3.5 ดุลการชำระเงิน 104.8 179.5 -
3.6 หนี้ต่างประเทศ 2/ (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 55.0 68.1 -
3.7 ภาระหนี้ต่อรายได้ส่งออก (ร้อยละ) 11.3 11.0 -
3.8 เงินสำรองระหว่างประเทศ 30.3 37.0
(พันล้านดอลลาร์ สรอ.)
4. การคลัง (ปีงบประมาณ)
ดุลเงินสด (พันล้านบาท) +65.8 +112.5 +125.2
(ร้อยละของ GDP) (+1.8) (+2.7) (+2.7)
4.1 รายได้ (อัตราเพิ่ม : ร้อยละ) 17.1 16.2 13.7
4.2 รายจ่าย (อัตราเพิ่ม : ร้อยละ) 17.6 10.5 15.0
5. การเงิน (ร้อยละต่อปี)
เงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ 13.1 18.2 10.8
สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ 30.1 24.2 19.0
อัตราดอกเบี้ย (ณ สิ้นระยะเวลา)
เงินฝากประจำ (1ปี) 8.25-10.25 10.25-11.0 -
เงินกู้ยืมสำหรับลูกค้าชั้นดี (เบิกเกินบัญชี) 11.75 14.0-14.20 -
ที่มา : ฝ่ายวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
1/ตัวเลขประมาณการ 25 กรกฎาคม 2539
2/ รวมหนี้ระยะสั้นและระยะยาว (ไม่รวมหนี้ธนาคารพาณิชย์ แต่รวม BIBF)
--ข่าวเศรษฐกิจ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่15 / 15 สิงหาคม 2539--