กรุงเทพ--24 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2542 ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการระดับชาติเพื่อเตรียมการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ภายหลังการประชุม ฯพณฯ ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้านสารัตถะ และดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมด้านพิธีการ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เกี่ยวกับความคืบหน้าการเตรียมการด้านสารัตถะและด้านพิธีการ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ความคืบหน้าการเตรียมการด้านสารัตถะ
ดร. ศุภชัยฯ กล่าวว่า การประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 จะเป็นการประชุมระหว่างประเทศครั้งแรกและครั้งสำคัญสำหรับสหัสวรรษใหม่ โดยจะมีประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุม 190 ประเทศ ซึ่งมีทั้งประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาแล้ว
ระเบียบวาระสำคัญที่สุดในด้านสารัตถะของการประชุมครั้งนี้ คือ การพิจารณาเรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาในโลกที่มีการพึ่งพาซึ่งกันและกันมากขึ้น โดยนำบทเรียนในอดีตมาใช้เพื่อให้กระแสโลกาภิวัฒน์เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพต่อการพัฒนาที่เป็นธรรมสำหรับทุกประเทศ ซึ่งจะเป็นการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาขึ้นใหม่สำหรับศตวรรษใหม่ ในการประชุมครั้งนี้ จะมีการรับรองเอกสารสำคัญ 2 ฉบับ คือ ปฏิญญากรุงเทพฯ และแผนปฏิบัติการกรุงเทพฯ
หัวข้อเรื่องของการประชุมในครั้งนี้ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1) ประเด็นด้านการค้าและการลงทุน สืบเนื่องจากความล้มเหลวงของการเจรจาการค้ารอบใหม่ขององค์การการค้าโลกที่เมืองซีแอตเติล ประเทศสหรัฐฯ ความสนใจของโลกจะมีอยู่ที่การประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ว่าจะมี บทบาทที่จะทำให้การเจรจาการค้ารอบใหม่สามารถคืบหน้าไปได้
2) ประเด็นด้านการเงิน และ
3) ประเด็นด้านการพัฒนา
นอกจากนั้น อังค์ถัดได้ตกลงข้อเสนอของไทยที่จะให้มีการจัดตั้งสถาบันเพื่อการพัฒนาเปรียบเทียบ (Institute for Comparative Development) เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์ศึกษาและรวบรวมข้อมูลด้านการพัฒนา ตลอดจนส่งเสริมช่วยเหลือการค้นคว้าวิจัยงานด้านการพัฒนา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ประเทศในเอเชีย รวมทั้งประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก
2. ความคืบหน้าการเตรียมการด้านพิธีการ
ดร. สุรินทร์ฯ ได้กล่าวว่า เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2542 รัฐบาลไทยได้ลงนามความตกลงกับฝ่ายอังค์ถัดเพื่อรับเป็นเจ้าภาพัจัดการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ซึ่งการเตรียมการจัดประชุมอังค์ถัดครั้งที่ 10 มีความคืบหน้าไปมากและเป็นไปด้วยดี
การประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 จะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นกว่าความสำคัญในตัวของการประชุมเอง เนื่องจากภายหลังความล้มเหลวของการประชุมเพื่อเจรจากการค้ารอบใหม่ขององค์การการค้าโลกที่นครซีแอตเติ้ล จึงมีความหวังกันว่ากรุงเทพฯ จะเป็นจุดประสานรอยร้าวระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาและภายในประเทศกำลังพัฒนากันเอง
ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2543 จะมีการประชุมระหว่างผู้ประเทศอาเซียนกับเลขาธิการสหประชาชาติและหัวหน้าสำนักงานองค์การชำนัญพิเศษต่าง ๆ ในการประชุมที่เรียกว่า ASEAN-UN Summit เพื่อปรึกษาหารือร่วมกันในเรื่องต่าง ๆ อาทิ ความมั่นคงในภูมิภาค การค้า-การลงทุน การประสานงานระหว่างอาเซียนและสหประชาชาติ เป็นต้น
นอกจากนั้น จะมีการประชุมขององค์กรเอกชนต่าง ๆ ประมาณ 200 องค์กร เพื่อเปิดโอกาสให้องค์กรเหล่านั้นร่วมประชุมหารือและรวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเสนอต่อที่ประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 รวมทั้งจะมีการประชุมสหภาพรัฐสภา ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้สหภาพ รัฐสภามีส่วนร่วมในการเตรียมการและวางแผนงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศร่วมกัน
ในการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 จะเชิญบุคคลสำคัญ ๆ เข้าร่วมการประชุม อาทิ นาย Michel Camdessus โดยมีการกระจายกิจกรรมของบุคคลสำคัญต่าง ๆ ในระหว่างการประชุม เพื่อให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางของข่าวไปทั่วโลกทุกวัน
การประชุมโต๊ะกลมระหว่างผู้นำประเทศ เพื่อวางยุทธิวิธีการพัฒนาร่วมกันต่อไปสำหรับศตวรรษหน้า ซึ่งคาดว่าจะเป็นที่สนใจและได้รับการตอบรับด้วยดี--จบ--
เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2542 ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการระดับชาติเพื่อเตรียมการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ภายหลังการประชุม ฯพณฯ ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้านสารัตถะ และดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมด้านพิธีการ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เกี่ยวกับความคืบหน้าการเตรียมการด้านสารัตถะและด้านพิธีการ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ความคืบหน้าการเตรียมการด้านสารัตถะ
ดร. ศุภชัยฯ กล่าวว่า การประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 จะเป็นการประชุมระหว่างประเทศครั้งแรกและครั้งสำคัญสำหรับสหัสวรรษใหม่ โดยจะมีประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุม 190 ประเทศ ซึ่งมีทั้งประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาแล้ว
ระเบียบวาระสำคัญที่สุดในด้านสารัตถะของการประชุมครั้งนี้ คือ การพิจารณาเรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาในโลกที่มีการพึ่งพาซึ่งกันและกันมากขึ้น โดยนำบทเรียนในอดีตมาใช้เพื่อให้กระแสโลกาภิวัฒน์เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพต่อการพัฒนาที่เป็นธรรมสำหรับทุกประเทศ ซึ่งจะเป็นการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาขึ้นใหม่สำหรับศตวรรษใหม่ ในการประชุมครั้งนี้ จะมีการรับรองเอกสารสำคัญ 2 ฉบับ คือ ปฏิญญากรุงเทพฯ และแผนปฏิบัติการกรุงเทพฯ
หัวข้อเรื่องของการประชุมในครั้งนี้ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1) ประเด็นด้านการค้าและการลงทุน สืบเนื่องจากความล้มเหลวงของการเจรจาการค้ารอบใหม่ขององค์การการค้าโลกที่เมืองซีแอตเติล ประเทศสหรัฐฯ ความสนใจของโลกจะมีอยู่ที่การประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ว่าจะมี บทบาทที่จะทำให้การเจรจาการค้ารอบใหม่สามารถคืบหน้าไปได้
2) ประเด็นด้านการเงิน และ
3) ประเด็นด้านการพัฒนา
นอกจากนั้น อังค์ถัดได้ตกลงข้อเสนอของไทยที่จะให้มีการจัดตั้งสถาบันเพื่อการพัฒนาเปรียบเทียบ (Institute for Comparative Development) เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์ศึกษาและรวบรวมข้อมูลด้านการพัฒนา ตลอดจนส่งเสริมช่วยเหลือการค้นคว้าวิจัยงานด้านการพัฒนา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ประเทศในเอเชีย รวมทั้งประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก
2. ความคืบหน้าการเตรียมการด้านพิธีการ
ดร. สุรินทร์ฯ ได้กล่าวว่า เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2542 รัฐบาลไทยได้ลงนามความตกลงกับฝ่ายอังค์ถัดเพื่อรับเป็นเจ้าภาพัจัดการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ซึ่งการเตรียมการจัดประชุมอังค์ถัดครั้งที่ 10 มีความคืบหน้าไปมากและเป็นไปด้วยดี
การประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 จะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นกว่าความสำคัญในตัวของการประชุมเอง เนื่องจากภายหลังความล้มเหลวของการประชุมเพื่อเจรจากการค้ารอบใหม่ขององค์การการค้าโลกที่นครซีแอตเติ้ล จึงมีความหวังกันว่ากรุงเทพฯ จะเป็นจุดประสานรอยร้าวระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาและภายในประเทศกำลังพัฒนากันเอง
ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2543 จะมีการประชุมระหว่างผู้ประเทศอาเซียนกับเลขาธิการสหประชาชาติและหัวหน้าสำนักงานองค์การชำนัญพิเศษต่าง ๆ ในการประชุมที่เรียกว่า ASEAN-UN Summit เพื่อปรึกษาหารือร่วมกันในเรื่องต่าง ๆ อาทิ ความมั่นคงในภูมิภาค การค้า-การลงทุน การประสานงานระหว่างอาเซียนและสหประชาชาติ เป็นต้น
นอกจากนั้น จะมีการประชุมขององค์กรเอกชนต่าง ๆ ประมาณ 200 องค์กร เพื่อเปิดโอกาสให้องค์กรเหล่านั้นร่วมประชุมหารือและรวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเสนอต่อที่ประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 รวมทั้งจะมีการประชุมสหภาพรัฐสภา ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้สหภาพ รัฐสภามีส่วนร่วมในการเตรียมการและวางแผนงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศร่วมกัน
ในการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 จะเชิญบุคคลสำคัญ ๆ เข้าร่วมการประชุม อาทิ นาย Michel Camdessus โดยมีการกระจายกิจกรรมของบุคคลสำคัญต่าง ๆ ในระหว่างการประชุม เพื่อให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางของข่าวไปทั่วโลกทุกวัน
การประชุมโต๊ะกลมระหว่างผู้นำประเทศ เพื่อวางยุทธิวิธีการพัฒนาร่วมกันต่อไปสำหรับศตวรรษหน้า ซึ่งคาดว่าจะเป็นที่สนใจและได้รับการตอบรับด้วยดี--จบ--