กรุงเทพ--24 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (23 ธันวาคม) ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนกรณีที่มีข่าวว่านายซก เยือนหลบหนีอยู่ในประเทศไทย สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. นายซก เยือน เป็นบุคคลภายใต้การดูแลของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่ง สหประชาชาติ (UNHCR) และทราบมาว่า ในบ่ายวันนี้ UNHCR จะแถลงข่าวถึงหน้าที่ที่ต้องดูแลบุคคลดังกล่าวตามอาณัติระหว่างประเทศ (International Mandate) ที่ได้รับ
2. การที่ UNHCR รับที่จะดูแลบุคคลดังกล่าวในสถานะ "บุคคลในความห่วงใย" เป็นการตัดสินใจของ UNHCR แต่เพียงผู้เดียวบนพื้นฐานของข้อมูลที่ UNHCR ได้รับจากการสัมภาษณ์และตรวจสอบเอง
3. จนกระทั่งเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2542 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยต่างก็ไม่มี ข้อมูลว่านายซก เยือนขณะนั้นอยู่ที่ใด จนกระทั่งปรากฎเป็นข่าวเมื่อเช้าวันนี้
4. กรณีที่ปรากฏเป็นข่าวพาดพิงว่านายซก เยือนอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐมนตรี บางคนนั้น เป็นข่าวที่ไม่เป็นความจริง ซึ่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดก็ได้ปฏิเสธข่าวดังกล่าวไปแล้ว นอกจากนั้น ผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติก็ได้ยืนยันว่า ไม่มีการกล่าวพาดพิงดังที่ปรากฏเป็นข่าวแต่อย่างใด
5. จากการตรวจสอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ปรากฎว่ามีการติดต่อขอเข้ามาประเทศไทยและขอความคุ้มครองจากหน่วยงานของไทยแต่อย่างใด และโดยเฉพาะกับกระทรวงการต่างประเทศ แม้กระทั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศก็ไม่ได้รับการติดต่อใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นจากหน่วยงานของไทยหรือกัมพูชา
6. ดร. สุรินทร์ฯ ได้เสนอ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีว่า น่าจะได้มีการตรวจสอบและประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อความชัดเจนและความกระจ่างของประเด็นปัญหาข้างต้น
7. ดร. สุรินทร์ฯ ได้ตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับเรื่องนี้ สรุปได้ว่า กรณีนายซก เยือน ถือเป็นการเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ซึ่งประเทศไทยจะดำเนินการไปตามครรลองของกฎหมายไทยซึ่งมีหลักปฏิบัติที่ชัดเจนและตามครรลองของกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ขณะนี้ฝ่ายไทยยังไม่ได้รับการร้องขอเป็นทางการจากกัมพูชาเกี่ยวกับการส่งตัวนายซก เยือน ในฐานะผู้ร้าย ข้ามแดน การที่ UNHCR ไม่แจ้งการให้ความคุ้มครองดูแลนายซก เยือน เป็นการปฏิบัติของ UNHCR ทุกประเทศ และเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการประกันความปลอดภัย ยกเว้นกรณีจำเป็นหรือมีปัญหาเกิดขึ้น UNHCR จึงจะขอความร่วมมือไปยังประเทศที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น กรณีนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชาแต่อย่างใด เนื่องจากทุกอย่างวางอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง เป็นไปตามครรลองของกฎหมายไทยและกฎหมายระหว่างประเทศ--จบ--
วันนี้ (23 ธันวาคม) ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนกรณีที่มีข่าวว่านายซก เยือนหลบหนีอยู่ในประเทศไทย สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. นายซก เยือน เป็นบุคคลภายใต้การดูแลของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่ง สหประชาชาติ (UNHCR) และทราบมาว่า ในบ่ายวันนี้ UNHCR จะแถลงข่าวถึงหน้าที่ที่ต้องดูแลบุคคลดังกล่าวตามอาณัติระหว่างประเทศ (International Mandate) ที่ได้รับ
2. การที่ UNHCR รับที่จะดูแลบุคคลดังกล่าวในสถานะ "บุคคลในความห่วงใย" เป็นการตัดสินใจของ UNHCR แต่เพียงผู้เดียวบนพื้นฐานของข้อมูลที่ UNHCR ได้รับจากการสัมภาษณ์และตรวจสอบเอง
3. จนกระทั่งเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2542 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยต่างก็ไม่มี ข้อมูลว่านายซก เยือนขณะนั้นอยู่ที่ใด จนกระทั่งปรากฎเป็นข่าวเมื่อเช้าวันนี้
4. กรณีที่ปรากฏเป็นข่าวพาดพิงว่านายซก เยือนอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐมนตรี บางคนนั้น เป็นข่าวที่ไม่เป็นความจริง ซึ่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดก็ได้ปฏิเสธข่าวดังกล่าวไปแล้ว นอกจากนั้น ผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติก็ได้ยืนยันว่า ไม่มีการกล่าวพาดพิงดังที่ปรากฏเป็นข่าวแต่อย่างใด
5. จากการตรวจสอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ปรากฎว่ามีการติดต่อขอเข้ามาประเทศไทยและขอความคุ้มครองจากหน่วยงานของไทยแต่อย่างใด และโดยเฉพาะกับกระทรวงการต่างประเทศ แม้กระทั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศก็ไม่ได้รับการติดต่อใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นจากหน่วยงานของไทยหรือกัมพูชา
6. ดร. สุรินทร์ฯ ได้เสนอ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีว่า น่าจะได้มีการตรวจสอบและประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อความชัดเจนและความกระจ่างของประเด็นปัญหาข้างต้น
7. ดร. สุรินทร์ฯ ได้ตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับเรื่องนี้ สรุปได้ว่า กรณีนายซก เยือน ถือเป็นการเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ซึ่งประเทศไทยจะดำเนินการไปตามครรลองของกฎหมายไทยซึ่งมีหลักปฏิบัติที่ชัดเจนและตามครรลองของกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ขณะนี้ฝ่ายไทยยังไม่ได้รับการร้องขอเป็นทางการจากกัมพูชาเกี่ยวกับการส่งตัวนายซก เยือน ในฐานะผู้ร้าย ข้ามแดน การที่ UNHCR ไม่แจ้งการให้ความคุ้มครองดูแลนายซก เยือน เป็นการปฏิบัติของ UNHCR ทุกประเทศ และเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการประกันความปลอดภัย ยกเว้นกรณีจำเป็นหรือมีปัญหาเกิดขึ้น UNHCR จึงจะขอความร่วมมือไปยังประเทศที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น กรณีนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชาแต่อย่างใด เนื่องจากทุกอย่างวางอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง เป็นไปตามครรลองของกฎหมายไทยและกฎหมายระหว่างประเทศ--จบ--