การมีส่วนร่วมของประชาชน

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 31, 2005 11:54 —สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน 1. ความเป็นมา สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยคณะทำงานเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้ตระหนักและให้ความสนใจในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน สืบเนื่องจากในปัจจุบันแม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติและรับรองไว้ซึ่งการมีส่วนร่วมของประชาชนอยู่หลายด้านด้วยกัน เช่น หลักการการมีส่วนร่วมของประชาชนในหมวด 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย การมีส่วนร่วมในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา การออกเสียงลงคะแนน การมีส่วนร่วมของประชาชนทางการเมืองโดยตรงหรือการตรวจสอบการเมือง และการปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนยังประสบปัญหาอยู่มาก ทั้งปัญหาในทางกฎหมายและปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม กล่าวคือ ในส่วนของปัญหาในทางกฎหมาย ได้แก่ บทบัญญัติของกฎหมายและกฎหมายลำดับรองหลายฉบับที่ยังมีโครงสร้างไม่สอดคล้องกับหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เนื่องจากกฎหมายเหล่านั้นยังคงให้อำนาจเด็ดขาดแก่หน่วยงานของรัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว ในการบังคับใช้กฎหมายอีกประการหนึ่งแม้รัฐธรรมนูญจะได้ระบุประเภทของการมีส่วนร่วมของประชาชนไว้หลายวิธีการ แต่ทว่าช่องทางที่ประชาชนจะได้ใช้นั้น ยังคงกระจัดกระจายอยู่ในกฎหมายหลายฉบับ และประการสุดท้ายในปัจจุบันกฎหมายว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนจำนวนมาก ยังมิได้มีการประกาศใช้ นอกจากนี้ ปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ทั้งนี้เพราะกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ย่อมจะไม่สามารถสัมฤทธิ์ผลได้ หากว่าประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจถึงสิทธิและวิธีการมีส่วนร่วมตามที่กฎหมายกำหนด หรือขาดความกระตือรือร้นสนใจต่อเหตุการณ์บ้านเมือง นอกเหนือจากนี้ในส่วนของภาครัฐก็ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง หากฝ่ายรัฐยังคงมีอคติและไม่ให้ความช่วยเหลืออย่างจริงใจแล้ว กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนก็ยากที่จะสัมฤทธิ์ผลได้ในทางปฏิบัติ จากสภาวะการและปัญหาดังกล่าว คณะทำงานได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดทำโครงการสัมมนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนขึ้น ในปี พ.ศ. 2546 เพื่อศึกษาถึงสภาพปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและเพื่อแสวงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรม ซึ่งจะทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนสามารถได้เกิดขึ้นอย่างจริงจังในสังคมไทย ผลจากการดำเนินโครงการดังกล่าว ทำให้ได้มาซึ่ง “ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชน พ.ศ. ....” อันเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาและการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านกฎหมาย นอกเหนือจากนั้น เพื่อให้ร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง รวมตลอดถึงเพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้และกระตุ้นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนให้เกิดการรับรู้ ตื่นตัวและนำไปสู่การปฏิบัติจริง ในปี พ.ศ.2547 คณะทำงานจึงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินโครงการศึกษาวิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎหมายการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อนำ “ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชน พ.ศ. ....” ไปจัดทำประชาพิจารณ์ทั่วทุกภาคของประเทศ รวมทั้งกรุงเทพมหานครด้วย วัตถุประสงค์เพื่อที่จะระดมความคิดเห็นของประชาชน ให้เกิดการอภิปรายเพิ่มเติมทั้งในด้านแนวคิด หลักการและกระบวนการมีส่วนร่วม รวมทั้งวิเคราะห์สภาพปัญหาและกรอบเกณฑ์ที่จัดทำขึ้นนั้นว่า กฎหมายฉบับนี้มีสาระสำคัญที่ปรากฏในแต่ละข้อแต่ละมาตรา ครอบคลุมครบถ้วนและตรงตามเจตนารมณ์มาตรา 76 ของรัฐธรรมนูญฯ หรือไม่ อย่างไร รวมทั้งมีความเหมาะสมที่จะนำไปเป็นแนวปฏิบัติในการคุ้มครองและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนตลอดจนมีความเป็นไปได้หรือไม่ที่กฎหมายฉบับนี้จะถูกนำไปบังคับใช้หรือไม่อย่างไร ทั้งนี้ ผลจากการรับฟังความคิดเห็นและการอภิปรายของฝ่ายต่างๆ นั้นได้นำไปสู่การประมวลสรุปและวิเคราะห์ข้อคิดเห็นอันนำมาประกอบการแก้ไขเพิ่มเติมและปรับปรุงร่างกฎหมายให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จนกระทั่งได้มาซึ่ง “ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชน พ.ศ. ....” (ปรากฏตามเอกสารแนบท้าย) 2. ขั้นตอนการศึกษาและการดำเนินการ 2.1 คณะผู้ศึกษาจัดประชุมร่วมกับคณะทำงานเรื่องการมีส่วนร่วมและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการฯ จากสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อนำเสนอแนวทางและกระบวนการดำเนินงานต่างๆ และดำเนินการปรับแนวทางการดำเนินงานให้เหมาะสม 2.2 เตรียมการประสานงานกับกลุ่มต่างๆ ทุกจังหวัดในแต่ละภาค เพื่อจัดเตรียมเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น โดยมีฐานคิดต่อกลุ่ม องค์กร และผู้ที่เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ดังนี้ (1) ต้องการให้เกิดการระดมความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด (2) ต้องการให้เกิดการกระจายของกลุ่มที่เข้าร่วมให้มากที่สุด ดังนั้นจึงมีทั้งกลุ่มในลักษณะตามพื้นที่ในแต่ละจังหวัดและกลุ่มที่สะท้อนถึงปัญหาในแต่ละภูมิภาค (3) ให้มีกลุ่มที่เข้าร่วมในการระดมความคิดเห็น ภาคละประมาณ 12 — 15 กลุ่ม (4) ให้แต่ละกลุ่มมีผู้เข้าร่วมประมาณ 8 — 10 คน โดยคัดเลือกมาตามลักษณะพื้นที่ และกลุ่มในลักษณะประเด็นปัญหา อันได้แก่ (ก) กลุ่มที่จะต้องมีทุกภาค ประมาณอย่างน้อย 7 กลุ่มพื้นฐาน โดยเลือกจากกลุ่มเหล่านี้ อันได้แก่ กลุ่มเกษตรกร , กลุ่มผู้นำท้องถิ่น/นักการเมืองท้องถิ่น , กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน, กลุ่มข้าราชการที่ทำงานกับชุมชน (สาธารณสุข พัฒนาชุมชน กศน.ฯลฯ) , กลุ่มผู้สูงอายุ , กลุ่มสถาบันการศึกษาในท้องถิ่น, กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข , กลุ่มทนายความ , กลุ่มหอการค้าจังหวัด , กลุ่มอุตสาหกรรมจังหวัด , กลุ่มสตรีแม่บ้าน , กลุ่มเยาวชน , กลุ่มอาสาสมัครพัฒนาชุมชน , กลุ่มแรงงาน , กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เป็นต้น (ข) กลุ่มที่เกิดจากประเด็นปัญหาในแต่ภูมิภาค/ พื้นที่ ได้แก่ ภาคเหนือ : (ปัญหาด้านทรัพยากร สิ่งแวดล้อม) กลุ่มฮักเมืองน่าน กลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าแม่เมาะ , กลุ่มต่อต้านแก่งเสือเต้น ภาคอีสาน : (ปัญหาความยากจน ที่ดินทำกิน) ได้แก่ กลุ่มสมัชชาคนจน, กลุ่มปากมูล , กลุ่มชุมชนลำน้ำพอง เป็นต้น ภาคใต้ : ได้แก่ กลุ่มท่อก๊าซ , กลุ่มประมงพื้นบ้าน เป็นต้น ภาคกลาง : ได้แก่ กลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน , กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์, กลุ่มอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน , กลุ่มประชาคมกรุงเทพ , กลุ่มสื่อสารมวลชน, กลุ่มชาวบ้านครัว , กลุ่มบางกอกฟอรั่ม เป็นต้น (ค) กรุงเทพมหานครมีการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มกรรมาธิการการมีส่วนร่วม , กรรมาธิการสิทธิมนุษยชน , กลุ่มคณะกรรมการกฤษฎีกา , กลุ่มนักกฎหมาย , กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานด้านการมีส่วนร่วม เป็นต้น โดยประเด็นที่จะทำการระดมความคิดเห็นคือ ประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย กฎหมายการมีส่วนร่วมควรมีบทลงโทษหรือไม่และอย่างไร แนวปฏิบัติเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมนั้นควรเป็นอย่างไร 2.3 จัดเวทีรับฟังและระดมความคิดเห็น ในกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ดังนี้ กระบวนการในการรับฟังความคิดเห็น (1) นำเสนอแนวทางของกฎหมาย และ ร่าง พ.ร.บ.การมีส่วนร่วมของประชาชนในการรับฟังและระดมความคิดเห็น ภาคละ 1 ครั้ง และกรุงเทพมหานคร 1 ครั้ง รวม 5 ครั้ง (2) การจัดเวทีรับฟังและระดมความคิดเห็น มีวิทยากรประจำกลุ่มๆ ละ 1 คน หลังจากระดมความเห็นตามกลุ่มแล้ว จะมาร่วมกันเสนอในเวทีใหญ่ (3) ทำการบันทึกความคิดเห็นของแต่ละกลุ่ม 2.4 รวบรวมข้อเสนอแนะ ข้อพิจารณาต่างๆ ในแต่ละภูมิภาคและนำมาจัดทำเป็นเอกสารและนำเสนอต่อเวทีประชุมโต๊ะกลม ครั้งที่ 1 เพื่อให้นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน10 ท่าน ร่วมประมวลวิเคราะห์และสังเคราะห์ความคิดเห็นของประชาชน พร้อมทั้ง ช่วยพิจารณาปรับปรุงร่างกฎหมาย 2.5 นำข้อเสนอจากที่ประชุมโต๊ะกลม ครั้งที่ 1 ไปปรับปรุงแก้ไข และนำเข้าสู่ที่ประชุมโต๊ะกลม ครั้งที่ 2 เพื่อให้นักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 10 ท่าน พิจารณาเป็นครั้งที่ 2 3. หลักการและสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของ ประชาชน พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชน พ.ศ. .... มีหลักการและสาระสำคัญ ดังนี้ 3.1 การรับรองและคุ้มครองสิทธิของประชาชนในกระบวนการการมีส่วนร่วม 3.1.1 กำหนดให้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญฯมาตรา 76 ได้รับการรับรอง คุ้มครองและนำไปสู่การปฏิบัติจริง โดยห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการใดๆ อันเป็นการขัดขวางการใช้สิทธิและเสรีภาพโดยชอบด้วยกฎหมาย 3.1.2 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานมีหน้าที่ต้องสนับสนุนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเต็มที่ และในกรณีที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง การไม่สนับสนุนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนให้ถือว่าเป็นการละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ 3.1.3 กำหนดถึงวิธีการในการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนี้ (1) การให้ข้อมูลข่าวสารอย่างรอบด้านแก่ประชาชน (2) การรับฟังความคิดเห็นและปรึกษาหารือกับประชาชน (3) การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (4) การให้ประชาชนร่วมมือในการดำเนินการ (5) การมอบให้ประชาชนดำเนินงาน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติ รายละเอียดของวิธีการในการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนจะเป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชน 3.1.4 รับรองสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องที่มีความสำคัญและมีผลกระทบสำคัญต่อประโยชน์สาธารณะ คือ (1) การผังเมือง (2) การจัดรูปที่ดิน (3) การปฏิรูปที่ดิน (4) การดำเนินการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 3.1.5 กำหนดถึงระดับของการให้การคุ้มครองและนำไปปฏิบัติ ซึ่งสิทธิและเสรีภาพในการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยจะต้องคำนึงถึงโอกาสในการพัฒนาระดับของการมีส่วนร่วมจากระดับแรกจนถึงระดับสุดท้าย 3.1.6 กำหนดให้การละเลยเพิกเฉยของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาจากระดับของการมีส่วนร่วมตามลำดับ อาจเป็นเหตุในการร้องเรียนเรื่องดุลยพินิจในการปฏิบัติหน้าที่ได้ โดยให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด 3.2 คณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชน 3.2.1 กำหนดให้มีคณะกรรมการ จำนวน 15 คน โดยคณะกรรมการทั้งสิ้นมีที่มาจาก (1) บุคคลซึ่งเป็นตัวแทนจากภาคประชาชนกลุ่มต่างๆ ในสังคม จำนวน 8 คน (2) ผู้แทนจากสื่อมวลชนแขนงต่างๆ จำนวน 1 คน (3) ผู้แทนซึ่งเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย จำนวน 1 คน (4) ผู้แทนจากสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จำนวน 1 คน (5) ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 1 คน (6) ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จำนวน 1 คน (7) ผู้แทนจากคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จำนวน 1 คน (8) ผู้แทนจากกระทรวงการคลัง จำนวน 1 คน 3.2.2 กำหนดให้กระบวนการสรรหาเป็นไปตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนดภายใต้กรอบของกระบวนการสรรหา คือ ต้องคำนึงถึงความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์การมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ 3.2.3 คณะกรรมการจะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (1) มีสัญชาติไทย (2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ (3) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (4) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (5) ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง 3.2.4 กำหนดให้เงินเดือน เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์อื่นของคณะกรรมการเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกา 3.2.5 กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการให้มีวาระสี่ปี นับแต่วันประกาศรายชื่อกรรมการในราชกิจจานุเบกษา และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้ 3.2.6 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ คณะกรรมการจะพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (1) ตาย (2) ลาออก (3) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3.2.3 (4) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก (5) คณะกรรมการมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง 3.2.7 กำหนดอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการไว้ ดังต่อไปนี้ (1) สนับสนุนและประสานงานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันวิชาการ องค์กรชาวบ้าน องค์กรภาคธุรกิจ สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป ในการเสริมสร้างและพัฒนาความเข้มแข็งของกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน (2) ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนประชาชนในการใช้สิทธิและเสรีภาพในการมีส่วนร่วม ในการนี้ หากมีการร้องเรียนว่าหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐใดละเลยหรือปฏิเสธมิให้ประชาชนมีส่วนร่วมตามกระบวนการที่กฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับ กำหนดไว้ให้คณะกรรมการมีอำนาจฟ้องศาลปกครองแทนประชาชนได้ (3) ให้คำปรึกษา แนะนำและฝึกอบรมแก่หน่วยงานของรัฐและประชาชน ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชน (4) เสนอแนะและให้ความเห็นต่อองค์กรภายนอก และสาธารณชนเกี่ยวกับมาตรการและรูปแบบต่างๆ ในการมีส่วนร่วมของประชาชน (5) เป็นตัวแทนภาคประชาสังคมในการผลักดันเรียกร้องให้การปฏิบัติการต่างๆต้องเคารพต่อหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน (6) ดำเนินการเท่าที่เหมาะสมและเปิดโอกาสให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณชน เกี่ยวกับนโยบาย โครงการ การปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ พนักงานเจ้าหน้าที่ และองค์กร หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในแต่ละเรื่องรวมทั้งให้ความเห็นจากผลของการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมนั้นเพื่อปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติต่อไป (7) จัดให้มีการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา อภิปราย เผยแพร่อย่างต่อเนื่อง ด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ สื่อการเรียนรู้ เครือข่ายเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้ ทักษะ ภูมิปัญญา วิสัยทัศน์สากล ให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในการพัฒนาคุณค่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืนถาวร (8) เสนอแนะและจัดทำร่างกฎหมายเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อเร่งรัดให้มีการจัดทำหรือแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้ามีส่วนร่วมของประชาชน (9) เป็นตัวแทนภาคประชาสังคมในประชาคมโลก เพื่อการแลกเปลี่ยนความร่วมมือ การประชุม และการร่วมโครงการต่างๆ กับต่างประเทศ (10) ทำรายงานประจำปีเสนอต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และบุคคลทั่วไป เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์การมีส่วนร่วมของประชาชน โดยในรายงานให้ระบุโดยชัดแจ้งว่าหน่วยงานของรัฐใดที่ละเลยหรือปฏิเสธมิให้ประชาชนมีส่วนร่วมในด้านต่างๆ (11) กำกับดูแลการทำงานของสำนักงานสนับสนุนและประสานงานกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน (12) แต่งตั้งและถอดถอนคณะอนุกรรมการด้านต่างๆ มอบหมายให้ประธานอนุกรรมการเฉพาะด้านปฏิบัติหน้าที่แทน (13) มอบนโยบายและสนับสนุนงานธุรการของสำนักงานและศูนย์สนับสนุนและประสานงานกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน (14) ประสานงานนโยบายภายในระหว่างงานของสำนักงานและงานบริการของศูนย์ต่างๆ (15) บริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนากระบวนการเรียนรู้การมีส่วนร่วมของประชาชน (16) พิจารณาศึกษาเรื่องที่เห็นว่าสมควรกำหนดเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย หรือแนวทางเพื่อให้เกิดกระบวนการที่จะส่งเสริมการมีสวนร่วมของประชาชนในด้านต่างๆ รวมทั้งจัดทำรายงานเกี่ยวกับภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อเผยแพร่เป็นการทั่วไปก็ได้ 3.2.8 อำนาจของคณะกรรมการในการดำเนินงาน มีดังต่อไปนี้ (1) มีหนังสือสอบถามส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้มีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงหรือให้ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการหรืองานใดๆหรือส่งวัตถุ เอกสาร หรือพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือส่งผู้แทนมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำประกอบการพิจารณาได้ (2) มีหนังสือเรียกบุคคล นิติบุคคล หรือหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งวัตถุ เอกสาร หรือพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องมาตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด (3) ดำเนินการขอให้ศาลที่มีเขตอำนาจออกหมาย เพื่อเข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ใดๆ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (4) วางระเบียบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าเดินทางของพยานบุคคลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่คณะกรรมการแต่งตั้ง เพื่อทำการตรวจสอบการละเมิดการมีส่วนร่วมของประชาชน 3.2.9 กรรมการ อนุกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่คณะกรรมการแต่งตั้ง เพื่อทำการตรวจสอบการละเมิดการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ 3.3 สำนักงานคณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชน 3.3.1 กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชน มีชื่อเรียกโดยย่อว่า “ส.ส.ป.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Office For Public Participation”เรียกโดยย่อว่า “OPP” 3.3.2 กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของประธานคณะกรรมการ และมีฐานะเป็นส่วนราชการตามกฎหมายวิธีการงบประมาณ 3.3.3 สำนักงานมีที่ทำการใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดใกล้เคียง และอาจจัดตั้งศูนย์ประสานงานในภูมิภาคหรือท้องถิ่นก็ได้ 3.3.4 ให้สำนักงานมีเลขาธิการคณะกรรมการหนึ่งคน ซึ่งมาจากการแต่งตั้งของคณะกรรมการ รับผิดชอบการปฏิบัติงานของสำนักงาน โดยขึ้นตรงต่อประธานกรรมการ 3.3.5 โครงสร้างของสำนักงานให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด 3.4 ศูนย์สนับสนุนและประสานงานกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน 3.4.1 กำหนดให้ศูนย์อยู่ภายใต้สังกัดของสำนักงาน โดยสามารถแบ่งส่วนงานออกเป็นศูนย์ย่อยที่มีคณะกรรมการโดยเฉพาะของตนเองได้ 3.4.2 ศูนย์มีอำนาจหน้าที่ในการใบริการแลกเปลี่ยน สื่อสาร และสำรวจความคิดเห็นของประชาชนให้บริการปรึกษาข้อมูลวิชาการและฝึกอบรมกระบวนการและให้บริการจัดเวทีสาธารณะและสาธิตโครงการ 3.5 กองทุนเพื่อการพัฒนากระบวนการเรียนรู้การมีส่วนร่วมของประชาชน 3.5.1 กำหนดให้กองทุนอยู่ภายใต้สังกัดของสำนักงาน และการบริหารกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด 3.5.2 กำหนดวัตถุประสงค์ของกองทุน เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนและนำรายได้ของกองทุนไปใช้ในการบริหารงาน การกำกับ ดูแลและการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ของสำนักงานคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการคณะกรรมการเฉพาะด้าน และศูนย์ต่างๆ 3.5.3 กำหนดแหล่งรายได้ของกองทุน ไว้ดังนี้ (1) ทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ (2) เงินอุดหนุนทั่วไปเป็นรายปีจากรัฐบาล (3) เงินอุดหนุนจากภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การระหว่างประเทศ และเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (4) ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือรายได้อื่นจากการดำเนินการ (5) ดอกผลของเงินรายได้ หรือทรัพย์สินอื่นใดของกองทุน 3.6 บทลงโทษ กรณีผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 5 วรรคสอง (ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการใดๆ อันเป็นการขัดขวางการใช้สิทธิและเสรีภาพโดยชอบด้วยกฎหมายตามหมวดนี้) ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หกพันบาทแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท 4. ความคิดเห็นของประชาชนต่อร่าง พ.ร.บ. การมีส่วนร่วมของประชาชน พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติ ความคิดเห็นของประชาชน / การมีส่วนร่วมของประชาชน พ.ศ. ... เหตุผลในการแก้ไขเพิ่มเติม1. ชื่อกฎหมาย ชื่อกฎหมาย “ พระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม เห็นด้วยของประชาชน พ.ศ. ....” 2.สิทธิของประชาชนในการมีส่วนร่วม2.1 เพิ่มเติมวรรคสองของมาตรา 5 “ห้ามมิให้ผู้ใด องค์กรควรมีลักษณะเป็นสื่อกลางในการประสานกระทำการใดๆ อันเป็นการขัดขวางการใช้สิทธิและ และตรวจสอบการทำงานของรัฐ โดยเน้นเสรีภาพโดยชอบด้วยกฎหมายตามหมวดนี้” บทบาทการคุ้มครองและการสนับสนุนการ มีส่วนร่วมของประชาชน2.2 เพิ่มเติมวรรคสองของมาตรา 7 “ ใครจะเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจว่ามีการมีเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติตาม ส่วนร่วมนั้นจะมีวิธีการอย่างไร จะมีระดับมาตรานี้ ให้คณะกรรมการตราระเบียบ แค่ไหน เพียงใดเพื่อกำหนดรายละเอียดของวิธีการในการส่วนร่วม”3. คณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชน ควรกำหนดให้ผู้แทนจากภาคประชาชน 8 คน3.1 จำนวนคณะกรรมการ (มาตรา 9) เพื่อจะได้มีเสียงมากขึ้นและเป็นสัดส่วนกำหนดจำนวนคณะกรรมการให้ประกอบด้วย มากกว่ากึ่งหนึ่งกรรมการ 15 คน โดยเพิ่มสัดส่วนกรรมการที่มาจากผู้แทนภาคประชาชนจาก 7 คนเป็น 8 คน 3.2 วิธีการสรรหาแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 9 วิธีการให้ได้มาต้องชัดเจนและต้องคำนึงถึงวรรคสอง โดยกำหนดให้การสรรหาจะต้อง ผู้แทนจากภาคประชาชนที่อาจไม่มีวุฒิการศึกษาสูงอยู่ภายใต้กรอบ คือ ต้องคำนึงถึงความรู้ แต่เป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการมีส่วนร่วมและความเข้าใจ และประสบการณ์การมีส่วนร่วม ได้รับการยอมรับนับถือ ดังนั้น จึงไม่ควรจำกัดของผู้แทนผู้นั้นเป็นสำคัญ วุฒิการศึกษาและคำนึงถึงประสบการณ์ ในการทำงาน3.3 คุณสมบัติ (มาตรา 10) แก้ไขอนุมาตรา ควรกำหนดให้มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป(2) โดยกำหนดให้กรรมการต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ 3.4 การพ้นจากตำแหน่ง (มาตรา 12) ควรคำนึงถึงการตรวจสอบการทำงานเพิ่มเติมมาตรา 12 โดยกำหนดกรณีให้พ้นตำแหน่ง ของคณะกรรมการและบทลงโทษด้วย นอกเหนือจากการพ้นตำแหน่งตามวาระ คือ (1) ตาย (2) ลาออก (3) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 10 (4) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก (5) คณะกรรมการมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง 3.5 ค่าตอบแทน (มาตรา 13)เงินเดือนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นของคณะกรรมการให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการนั้น 3.6 อำนาจหน้าที่ (มาตรา 14) เพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ 3 ประการ คือประการที่หนึ่ง ดำเนินการเท่าที่เหมาะสม คณะกรรมการควรจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและเปิดโอกาสให้มีการรับฟังความคิดเห็นจาก ของประชาชนสาธารณชน เกี่ยวกับนโยบาย โครงการการปฏิบัติของหน่วยงาน ของรัฐ พนักงานเจ้าหน้าที่ และองค์กร หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในแต่ละเรื่อง รวมทั้งให้ความเห็นจากผลของการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมนั้น เพื่อปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติต่อไป (อนุมาตรา (6))ประการที่สอง จัดให้มีการศึกษา ค้นคว้า วิจัย โครงการของเอกชนมีผลกระทบต่อประชาชนฝึกอบรม ประชุม สัมมนา อภิปราย เผยแพร่ ก็ต้องทำเรื่องกระบวนการมีส่วนร่วมเช่นเดียวกัน อย่างต่อเนื่องด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ สื่อการเรียนรู้ เครือข่ายเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้ ทักษะ ภูมิปัญญา วิสัยทัศน์สากลให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในการพัฒนาคุณค่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืนถาวร (อนุมาตรา (7)) ประการที่สาม เสนอแนะและจัดทำร่างกฎหมาย คณะกรรมการควรมีอำนาจในการเสนอร่างกฎหมายเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อเร่งรัดให้มีการจัดทำ เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อรัฐบาลหรือแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้ามี4. สำนักงานคณะกรรมการ 4.1 ที่ทำการ ให้สามารถจัดตั้งศูนย์ประสานงาน ควรให้มีการจัดตั้งสำนักงานในภูมิภาค ในภูมิภาคหรือท้องถิ่นได้ หรือในระดับจังหวัดทุกจังหวัด4.2 วัตถุประสงค์การดำเนินงาน เพิ่มเติม ควรเพิ่มความว่า “องค์กรประชาชนทุกองค์กรหน่วยรับการสนับสนุนและช่วยเหลือเรื่องการ และเครื่อข่าย"มีส่วนร่วมขึ้นอีก 1 องค์กร คือ องค์กรชาวบ้าน (อนุมาตรา (1)) และ ให้สำนักงานมีวัตถุประสงค์ในการสร้างเครือข่ายด้านการมีส่วนร่วมของ (ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ