กรุงเทพฯ--16 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (15 ตุลาคม 2544) นายรัฐกิจ มานะทัต อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึงสถานการณ์คนไทยในประเทศปากีสถานและ อุซเบกิสถาน ดังนี้
1. สถานการณ์ในกรุงอิสลามาบัด
1.1 กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุง อิสลามาบัดว่า เหตุการณ์โดยทั่วไปในกรุงอิสลามาบัดยังคงอยู่ในความสงบ
1.2 สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้จัดประชุมโดยเชิญประธานชมรมนักศึกษาไทยประจำกรุงอิสลามาบัดและเมืองละฮอร์และอาสาสมัครนักเรียนไทย 5 คนอย่างสม่ำเสมอและเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม 2544 สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้แจ้งให้ตัวแทนนักศึกษาทราบเกี่ยวกับ มาตรการในการอพยพคนไทยในปากีสถาน ดังนี้
- นักศึกษาไทยที่ประสงค์จะเดินทางกลับประเทศไทยโดยทันที เนื่องจากเกรงอันตรายต่อชีวิต ก็อาจเดินทางได้โดยออกค่าใช้จ่ายเอง
- สำหรับนักศึกษาที่ไม่มีเงินจ่ายค่าบัตรโดยสารเครื่องบิน สถานเอกอัครราชทูตฯ จะทดรองจ่ายค่าโดยสารเครื่องบินไปก่อน ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรอง ราชการช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ พ.ศ. 2541 และให้ทำสัญญารับสภาพหนี้
1.3 สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ทำการสำรวจนักศึกษาเพื่อขอทราบความประสงค์ ในการเดินทางกลับประเทศไทย ได้รับข้อมูล ดังนี้
- คนไทยในปากีสถานซึ่งรวมทั้งนักเรียนไทยและแรงงานไทยมีจำนวน 363 คน สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับข้อมูลว่าคนไทยและนักศึกษาไทยในปากีสถานเดินทางกลับประเทศไทยไปก่อนหน้านี้แล้วประมาณ 67 คน เหลือคนไทยในปากีสถาน 296 คน
- ปัจจุบันเหลือคนไทยและนักศึกษาไทยอยู่ในกรุงอิสลามาลัด เมืองละฮอร์และเมืองใกล้เคียงจำนวน 186 คน ในจำนวนนี้ เป็นนักศึกษา 125 คน คนไทย 21 คน คนงานไทยที่ทำงานอยู่กลับบริษัท TU Plastic ที่เมืองละฮอร์ 25 คน และผู้สื่อข่าวอีก 15 คน และคนไทยในการาจี 110 คน
- นักศึกษาในกรุงอิสลามาบัดจำนวน 125 คน แสดงความจำนงที่จะเดินทางกลับประเทศไทย 74 คน และยังไม่ต้องการกลับ 51 คน
- อย่างไรก็ตาม เมื่อคนไทยและนักศึกษาไทยทราบว่า ต้องทำสัญญารับสภาพหนี้ จนกระทั่งวันที่ 15 ตุลาคม 2544 มีนักศึกษาไทยในอิสลามาบัดเพียง 4 คนและในเมือง การาจีอีก18 คนรวม 22 คนแสดงความจำนงขอเดินทางกลับประเทศไทย
2. สถานการณ์ในเมืองการาจี
2.1 สถานการณ์ทั่วไปในเมืองการาจี ตึงเครียดตั้งแต่วันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ มีการเดินขบวนอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องของกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง กลุ่มผู้นำทางศาสนา และพรรคการเมืองฝ่ายค้าน โดยมีจำนวนผู้ประท้วงประมาณ 30,000 คนและมีการทำลายทรัพย์สินและการปะทะกับตำรวจทหารในหลายจุด
2.2 ทางการปากีสถานมีมาตราการเข้มงวดมากด้านการรักษาความ ปลอดภัย และได้ใช้ความพยายามผลักดันให้มีการชุมนุมประท้วงในบริเวณรอบนอกเมือง เพื่อหลีกเลี่ยงการเผาทำลายธุรกิจและทรัพย์สิน
2.3 สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองการาจี รายงานว่า ขณะนี้ได้รับแจ้งจากนักศึกษาไทยที่ประสงค์จะเดินทางกลับไทยในวันพุธนี้จำนวน 8 ราย ทั้งนี้นักศึกษาจำนวนหนึ่งในโรงเรียนศาสนา 4 แห่งในเมืองการาจียังติดเรื่องสอบอยู่ โดยคาดว่าจะสอบเสร็จในอีก 1-2 วันนี้ นอกจากนี้ สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองการาจี ได้กำชับนักศึกษาไทยให้มีการระมัดระวังตัวอย่างเต็มที่เนื่องจากขณะนี้ทางการปากีสถานใช้วิธีการปราบปรามที่รุนแรงต่อผู้ชุมนุมประท้วง
3. สถานการณ์แรงงานไทยในอุซเบกิสถาน
3.1 ปัจจุบันมีแรงงานไทยเหลืออยู่ในอุซเบกิซสถาน 85 คน โดยส่วนใหญ่เป็นวิศวกรและช่างเทคนิคทำหน้าที่ดูแลรักษาเครื่องจักรโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองโชตาน ในภาคใต้ของอุซเบกิสถาน ติดกับอัฟกานิสถาน บริษัท ABB ของอิตาลีเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างโรงงานดังกล่าว และก่อสร้างแล้วเสร็จไปเมื่อเดือนพฤษภาคม ศกนี้
3.2 ขณะนี้ ยังไม่มีความจำเป็นที่จะอพยพคนงานไทยในอุซเบกิสถาน อย่างไรก็ตามบริษัท ABB รับที่จะอพยพแรงงานไทยดังกล่าวออกจากอุซเบกิสถาน เมื่อมีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : [email protected] จบ--
-อน-
วันนี้ (15 ตุลาคม 2544) นายรัฐกิจ มานะทัต อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึงสถานการณ์คนไทยในประเทศปากีสถานและ อุซเบกิสถาน ดังนี้
1. สถานการณ์ในกรุงอิสลามาบัด
1.1 กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุง อิสลามาบัดว่า เหตุการณ์โดยทั่วไปในกรุงอิสลามาบัดยังคงอยู่ในความสงบ
1.2 สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้จัดประชุมโดยเชิญประธานชมรมนักศึกษาไทยประจำกรุงอิสลามาบัดและเมืองละฮอร์และอาสาสมัครนักเรียนไทย 5 คนอย่างสม่ำเสมอและเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม 2544 สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้แจ้งให้ตัวแทนนักศึกษาทราบเกี่ยวกับ มาตรการในการอพยพคนไทยในปากีสถาน ดังนี้
- นักศึกษาไทยที่ประสงค์จะเดินทางกลับประเทศไทยโดยทันที เนื่องจากเกรงอันตรายต่อชีวิต ก็อาจเดินทางได้โดยออกค่าใช้จ่ายเอง
- สำหรับนักศึกษาที่ไม่มีเงินจ่ายค่าบัตรโดยสารเครื่องบิน สถานเอกอัครราชทูตฯ จะทดรองจ่ายค่าโดยสารเครื่องบินไปก่อน ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรอง ราชการช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ พ.ศ. 2541 และให้ทำสัญญารับสภาพหนี้
1.3 สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ทำการสำรวจนักศึกษาเพื่อขอทราบความประสงค์ ในการเดินทางกลับประเทศไทย ได้รับข้อมูล ดังนี้
- คนไทยในปากีสถานซึ่งรวมทั้งนักเรียนไทยและแรงงานไทยมีจำนวน 363 คน สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับข้อมูลว่าคนไทยและนักศึกษาไทยในปากีสถานเดินทางกลับประเทศไทยไปก่อนหน้านี้แล้วประมาณ 67 คน เหลือคนไทยในปากีสถาน 296 คน
- ปัจจุบันเหลือคนไทยและนักศึกษาไทยอยู่ในกรุงอิสลามาลัด เมืองละฮอร์และเมืองใกล้เคียงจำนวน 186 คน ในจำนวนนี้ เป็นนักศึกษา 125 คน คนไทย 21 คน คนงานไทยที่ทำงานอยู่กลับบริษัท TU Plastic ที่เมืองละฮอร์ 25 คน และผู้สื่อข่าวอีก 15 คน และคนไทยในการาจี 110 คน
- นักศึกษาในกรุงอิสลามาบัดจำนวน 125 คน แสดงความจำนงที่จะเดินทางกลับประเทศไทย 74 คน และยังไม่ต้องการกลับ 51 คน
- อย่างไรก็ตาม เมื่อคนไทยและนักศึกษาไทยทราบว่า ต้องทำสัญญารับสภาพหนี้ จนกระทั่งวันที่ 15 ตุลาคม 2544 มีนักศึกษาไทยในอิสลามาบัดเพียง 4 คนและในเมือง การาจีอีก18 คนรวม 22 คนแสดงความจำนงขอเดินทางกลับประเทศไทย
2. สถานการณ์ในเมืองการาจี
2.1 สถานการณ์ทั่วไปในเมืองการาจี ตึงเครียดตั้งแต่วันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ มีการเดินขบวนอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องของกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง กลุ่มผู้นำทางศาสนา และพรรคการเมืองฝ่ายค้าน โดยมีจำนวนผู้ประท้วงประมาณ 30,000 คนและมีการทำลายทรัพย์สินและการปะทะกับตำรวจทหารในหลายจุด
2.2 ทางการปากีสถานมีมาตราการเข้มงวดมากด้านการรักษาความ ปลอดภัย และได้ใช้ความพยายามผลักดันให้มีการชุมนุมประท้วงในบริเวณรอบนอกเมือง เพื่อหลีกเลี่ยงการเผาทำลายธุรกิจและทรัพย์สิน
2.3 สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองการาจี รายงานว่า ขณะนี้ได้รับแจ้งจากนักศึกษาไทยที่ประสงค์จะเดินทางกลับไทยในวันพุธนี้จำนวน 8 ราย ทั้งนี้นักศึกษาจำนวนหนึ่งในโรงเรียนศาสนา 4 แห่งในเมืองการาจียังติดเรื่องสอบอยู่ โดยคาดว่าจะสอบเสร็จในอีก 1-2 วันนี้ นอกจากนี้ สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองการาจี ได้กำชับนักศึกษาไทยให้มีการระมัดระวังตัวอย่างเต็มที่เนื่องจากขณะนี้ทางการปากีสถานใช้วิธีการปราบปรามที่รุนแรงต่อผู้ชุมนุมประท้วง
3. สถานการณ์แรงงานไทยในอุซเบกิสถาน
3.1 ปัจจุบันมีแรงงานไทยเหลืออยู่ในอุซเบกิซสถาน 85 คน โดยส่วนใหญ่เป็นวิศวกรและช่างเทคนิคทำหน้าที่ดูแลรักษาเครื่องจักรโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองโชตาน ในภาคใต้ของอุซเบกิสถาน ติดกับอัฟกานิสถาน บริษัท ABB ของอิตาลีเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างโรงงานดังกล่าว และก่อสร้างแล้วเสร็จไปเมื่อเดือนพฤษภาคม ศกนี้
3.2 ขณะนี้ ยังไม่มีความจำเป็นที่จะอพยพคนงานไทยในอุซเบกิสถาน อย่างไรก็ตามบริษัท ABB รับที่จะอพยพแรงงานไทยดังกล่าวออกจากอุซเบกิสถาน เมื่อมีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : [email protected] จบ--
-อน-