กรุงเทพฯ--15 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (14 สิงหาคม 2544) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับผลการประชุมคณะกรรมการบริหารราชการในต่างประเทศ (กบต.) ครั้งที่ 1/2544 โดยสรุปได้ ดังนี้
1. ที่ประชุมฯเห็นควรให้รอผลการศึกษายุทธศาสตร์รายประเทศเพื่อทราบถึงภาพรวมและเป้าหมายหลักของแต่ละประเทศ เพื่อที่จะสามารถวางแผนการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสม โดยจะใช้เวลาพิจารณายุทธศาสตร์รายประเทศดังกล่าวประมาณ 1-2 เดือนและจะจัดการประชุมเพื่อพิจารณา ยุทธศาสตร์รายประเทศในโอกาสต่อไป
2. ที่ประชุมฯรับทราบบทบาทของเอกอัครราชทูตในการทำงานซึ่งจะเสมือนเป็นผู้แทนของรัฐบาล โดยหน่วยงานในต่างประเทศต้องรายงานความคืบหน้าในเรื่องต่างๆให้เอกอัครราชทูตทราบและปฎิบัติตามแนวทางการทำงานที่ได้รับแจ้งจากเอกอัครราชทูตด้วย และจะต้องมีการประชุมหารือเพื่อการประสานราชการตามความเหมาะสม นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตจะเป็นผู้ประเมินการปฎิบัติราชการของข้าราชการที่สังกัดกระทรวงอื่นๆในต่างประเทศประกอบกับการพิจารณาประเมินผลงานโดยหน่วยงานต้นสังกัดด้วย
3. เกี่ยวกับเรื่องการแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยทูตฝ่ายตำรวจในต่างประเทศนั้น สภาความมั่นคงแห่งชาติเห็นว่าควรชะลอแนวความคิดดังกล่าวไว้ก่อน แต่ขณะเดียวกัน ที่ประชุมฯ รับทราบกรณีที่บางประเทศประสบปัญหาเรื่องอาชญากรรมข้ามชาติ อาทิ ปัญหาการลักลอบค้าสตรี เด็ก และอาวุธสงคราม ปัญหาการค้ายาเสพติด ปัญหาการก่อการร้ายข้ามชาติ ดังนั้นจึงควรมีเจ้าหน้าที่ของทางการไทยคอยดูแลและประสานงานเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้ด้วย ทั้งนี้ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เห็นชอบในหลักการเรื่องการแต่งตั้งตำแหน่งนายตำรวจประสานภารกิจประจำกระทรวงการต่างประเทศในลักษณะเดียวกับนายทหารประสานภารกิจทางทหารที่ประจำอยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศด้วย เพื่อจะสามารถประสานงานที่เกี่ยวข้องกับทางตำรวจได้อย่างใกล้ชิด โดยในชั้นนี้กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษารายละเอียด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : [email protected] จบ--
-อน-
วันนี้ (14 สิงหาคม 2544) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับผลการประชุมคณะกรรมการบริหารราชการในต่างประเทศ (กบต.) ครั้งที่ 1/2544 โดยสรุปได้ ดังนี้
1. ที่ประชุมฯเห็นควรให้รอผลการศึกษายุทธศาสตร์รายประเทศเพื่อทราบถึงภาพรวมและเป้าหมายหลักของแต่ละประเทศ เพื่อที่จะสามารถวางแผนการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสม โดยจะใช้เวลาพิจารณายุทธศาสตร์รายประเทศดังกล่าวประมาณ 1-2 เดือนและจะจัดการประชุมเพื่อพิจารณา ยุทธศาสตร์รายประเทศในโอกาสต่อไป
2. ที่ประชุมฯรับทราบบทบาทของเอกอัครราชทูตในการทำงานซึ่งจะเสมือนเป็นผู้แทนของรัฐบาล โดยหน่วยงานในต่างประเทศต้องรายงานความคืบหน้าในเรื่องต่างๆให้เอกอัครราชทูตทราบและปฎิบัติตามแนวทางการทำงานที่ได้รับแจ้งจากเอกอัครราชทูตด้วย และจะต้องมีการประชุมหารือเพื่อการประสานราชการตามความเหมาะสม นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตจะเป็นผู้ประเมินการปฎิบัติราชการของข้าราชการที่สังกัดกระทรวงอื่นๆในต่างประเทศประกอบกับการพิจารณาประเมินผลงานโดยหน่วยงานต้นสังกัดด้วย
3. เกี่ยวกับเรื่องการแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยทูตฝ่ายตำรวจในต่างประเทศนั้น สภาความมั่นคงแห่งชาติเห็นว่าควรชะลอแนวความคิดดังกล่าวไว้ก่อน แต่ขณะเดียวกัน ที่ประชุมฯ รับทราบกรณีที่บางประเทศประสบปัญหาเรื่องอาชญากรรมข้ามชาติ อาทิ ปัญหาการลักลอบค้าสตรี เด็ก และอาวุธสงคราม ปัญหาการค้ายาเสพติด ปัญหาการก่อการร้ายข้ามชาติ ดังนั้นจึงควรมีเจ้าหน้าที่ของทางการไทยคอยดูแลและประสานงานเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้ด้วย ทั้งนี้ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เห็นชอบในหลักการเรื่องการแต่งตั้งตำแหน่งนายตำรวจประสานภารกิจประจำกระทรวงการต่างประเทศในลักษณะเดียวกับนายทหารประสานภารกิจทางทหารที่ประจำอยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศด้วย เพื่อจะสามารถประสานงานที่เกี่ยวข้องกับทางตำรวจได้อย่างใกล้ชิด โดยในชั้นนี้กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษารายละเอียด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : [email protected] จบ--
-อน-