กรุงเทพฯ--11 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ภาวะเศรษฐกิจมหภาค
ภาวะเศรษฐกิจโลก
ในปี 2543 เศรษฐกิจโลกขยายตัวในอัตราที่สูงที่สุดในรอบทศวรรษ การเติบโตนี้ เป็นผลมาจากเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกามีการขยายตัวอยู่ในระดับสูง กอปรกับการกระตุ้นจากการระดมเงินทุนเพื่อใช้ป้องกันปัญหา Y2K และเพื่อสนับสนุนการเริ่มใช้เงินสกุลยูโร แต่สำหรับปีนี้ เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวในอัตราที่ลดลง เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เริ่มชะลอตัวลง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงเปราะบาง และเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปจะชะลอตัวลงเช่นกัน ในการนี้ อังค์ถัดได้ ชักชวนให้โลกจับตามองภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เนื่องจากเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของโลกและการผันผวนของเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อาจ ก่อให้เกิดการผันผวนต่อเศรษฐกิจของโลก ด้วย
ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย
มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงตามทิศทางเศรษฐกิจโลก หลายประเทศที่พึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐฯ จะได้รับผลกระทบจากการปรับตัวลดลงของอุปสงค์ โดยเฉพาะในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ การชะลอตัวและความผันผวนของเศรษฐกิจนอกภูมิภาคอาจก่อให้เกิด การผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และปัญหาทางการเงินอีกระลอกหนึ่ง
การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
ในปีที่ผ่านมา ประเทศที่ประสบปัญหาภาวะวิกฤตได้เริ่มฟื้นตัวอย่างช้าๆ ในอัตราที่แตกต่างกันท่ามกลางภาวะของเศรษฐกิจโลกที่เป็นใจ แต่สำหรับปีนี้ การขยายตัวทางเศรษฐกิจจะต้องพึ่งพาอุปสงค์ภายในประเทศเป็นหลัก เพราะอุปสงค์ภายนอกประเทศมีข้อจำกัดจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ผลกระทบจากการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัว
ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งมีการขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาหลายปีได้เริ่มชะลอตัวลง โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2543 มีการขยายตัวในอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี จึงทำให้ เริ่มเป็นที่วิตกว่าการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะเป็นไปในลักษณะรุนแรง เนื่องจากมีปัจจัยต่างๆ เช่น ตลาดเงินขาดสภาพคล่อง เนื่องจากการที่ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ตกต่ำ โดยเฉพาะหุ้นไอที ซึ่งมีผลทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ การลงทุนภาคธุรกิจจึงลดลง ทำให้ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนตัวลง และผู้บริโภคไม่มั่นใจในการใช้จ่าย นอกเหนือจากนี้ ภาคเอกชนของสหรัฐฯ ยังมีภาระหนี้ที่สูง ซึ่งหากเอกชนต้องขายสินทรัพย์เพื่อใช้หนี้ จะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวมากยิ่งขึ้น สำหรับปัจจัยในด้านการค้าระหว่างประเทศ สหรัฐฯ มีการ ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ในระดับสูง ทำให้ต้องขอ กู้เงินจากต่างประเทศเพื่อชดเชยการขาดดุล ฉะนั้นในกรณีที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงจะทำให้เป็นการยาก สำหรับธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะดำเนินนโยบายเพื่อลดความรุนแรงของการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ผลกระทบของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ต่อการค้าของไทยและภูมิภาค
การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะมีผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกของประเทศที่พึ่งพาการส่งออกสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงเป็นหลัก เช่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน อย่างไรก็ดีในระยะยาวหากอุปสงค์สหรัฐฯ ลดลงมาก และผู้บริโภคสหรัฐฯ ยังคงชะลอการใช้จ่าย จะมีผลกระทบต่อการส่งออกของไทยเนื่องจาก สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญที่สุดของไทย โดยมีมูลค่ามากกว่าร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) นอกเหนือจากนี้ ภาวะของเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นคู่ค้าอื่นของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคที่อาจชะลอตัวลงตามทิศทางของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะทำให้อุปสงค์ในสินค้าไทยลดลงตามไปด้วย ผลกระทบของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ต่ออัตราแลกเปลี่ยนและระบบการเงิน
การลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยไทย / ภูมิภาคและสหรัฐฯ แคบลง ค่าเงินบาทและเงินในภูมิภาคสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อประเทศที่มีหนี้ต่างประเทศในสกุลดอลลาร์จำนวนมาก อย่างไรก็ดี ประเทศที่เศรษฐกิจอ่อนแอ ไม่น่าจะได้รับประโยชน์จากการลดอัตราดอกเบี้ยนี้มากนัก การปฏิรูประบบการเงินระหว่างประเทศ
ความไม่เสมอภาคของระบบการเงินระหว่างประเทศ
วิกฤตทางการเงินของเอเชียได้แสดงให้เห็นถึงอันตรายของการพึ่งพาเงินทุนและความล้มเหลวของระบบการเงินระหว่างประเทศที่ไม่มีกฎหมายหรือ องค์กรใด ที่กำกับดูแลและควบคุมการเคลื่อนย้ายของเงินทุน เกี่ยวกับเรื่องนี้ อังค์ถัดได้ให้ข้อคิดเห็นว่า ในปัจจุบัน การกำหนดมาตรการทางการเงินต่างๆ นั้น มีเพื่อควบคุมความประพฤตของประเทศลูกหนี้เพียงฝ่ายเดียว ทั้งๆ ที่วิกฤตทางการเงินของประเทศกำลังพัฒนาเกือบทั้งหมดนั้นเชื่อมโยงกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและนโยบายการเงินของประเทศเจ้าหนี้ เพื่อป้องกันการผันผวนที่เกิดจากอุปทานในตลาดเงินทุน อังค์ถัดจึงเสนอให้มีการกำหนดมาตรการเพื่อสร้างความโปร่งใสและควบคุมการให้กู้ยืมของประเทศเจ้าหนี้ด้วย
กลยุทธในการแก้ปัญหาวิกฤตทางการเงิน
เมื่อเกิดวิกฤตทางการเงิน อังค์ถัดแนะนำว่าไม่ควรตั้งความคาดหวังไว้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในการแก้ปัญหา เพราะยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า IMF เป็น องค์กรที่ไม่ได้เป็นกลาง ฉะนั้นเพื่อสร้างเสถียรภาพภายหลังจากเกิดวิกฤต ต้องมีการหยุดพักการชำระหนี้และ ยืดเวลาชำระหนี้ หลังจากนั้นประเทศที่ประสบปัญหาวิกฤตต้องใช้นโยบายเศรษฐกิจมหภาค ที่เหมาะสม มีสร้างสภาพคล่องที่พอเพียงเพื่อใช้เสริมฐานะเงินทุนสำรอง และมีการกระตุ้นให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการแก้ปัญหา
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : [email protected] จบ--
-อน-
ภาวะเศรษฐกิจมหภาค
ภาวะเศรษฐกิจโลก
ในปี 2543 เศรษฐกิจโลกขยายตัวในอัตราที่สูงที่สุดในรอบทศวรรษ การเติบโตนี้ เป็นผลมาจากเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกามีการขยายตัวอยู่ในระดับสูง กอปรกับการกระตุ้นจากการระดมเงินทุนเพื่อใช้ป้องกันปัญหา Y2K และเพื่อสนับสนุนการเริ่มใช้เงินสกุลยูโร แต่สำหรับปีนี้ เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวในอัตราที่ลดลง เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เริ่มชะลอตัวลง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงเปราะบาง และเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปจะชะลอตัวลงเช่นกัน ในการนี้ อังค์ถัดได้ ชักชวนให้โลกจับตามองภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เนื่องจากเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของโลกและการผันผวนของเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อาจ ก่อให้เกิดการผันผวนต่อเศรษฐกิจของโลก ด้วย
ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย
มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงตามทิศทางเศรษฐกิจโลก หลายประเทศที่พึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐฯ จะได้รับผลกระทบจากการปรับตัวลดลงของอุปสงค์ โดยเฉพาะในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ การชะลอตัวและความผันผวนของเศรษฐกิจนอกภูมิภาคอาจก่อให้เกิด การผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และปัญหาทางการเงินอีกระลอกหนึ่ง
การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
ในปีที่ผ่านมา ประเทศที่ประสบปัญหาภาวะวิกฤตได้เริ่มฟื้นตัวอย่างช้าๆ ในอัตราที่แตกต่างกันท่ามกลางภาวะของเศรษฐกิจโลกที่เป็นใจ แต่สำหรับปีนี้ การขยายตัวทางเศรษฐกิจจะต้องพึ่งพาอุปสงค์ภายในประเทศเป็นหลัก เพราะอุปสงค์ภายนอกประเทศมีข้อจำกัดจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ผลกระทบจากการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัว
ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งมีการขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาหลายปีได้เริ่มชะลอตัวลง โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2543 มีการขยายตัวในอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี จึงทำให้ เริ่มเป็นที่วิตกว่าการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะเป็นไปในลักษณะรุนแรง เนื่องจากมีปัจจัยต่างๆ เช่น ตลาดเงินขาดสภาพคล่อง เนื่องจากการที่ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ตกต่ำ โดยเฉพาะหุ้นไอที ซึ่งมีผลทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ การลงทุนภาคธุรกิจจึงลดลง ทำให้ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนตัวลง และผู้บริโภคไม่มั่นใจในการใช้จ่าย นอกเหนือจากนี้ ภาคเอกชนของสหรัฐฯ ยังมีภาระหนี้ที่สูง ซึ่งหากเอกชนต้องขายสินทรัพย์เพื่อใช้หนี้ จะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวมากยิ่งขึ้น สำหรับปัจจัยในด้านการค้าระหว่างประเทศ สหรัฐฯ มีการ ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ในระดับสูง ทำให้ต้องขอ กู้เงินจากต่างประเทศเพื่อชดเชยการขาดดุล ฉะนั้นในกรณีที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงจะทำให้เป็นการยาก สำหรับธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะดำเนินนโยบายเพื่อลดความรุนแรงของการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ผลกระทบของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ต่อการค้าของไทยและภูมิภาค
การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะมีผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกของประเทศที่พึ่งพาการส่งออกสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงเป็นหลัก เช่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน อย่างไรก็ดีในระยะยาวหากอุปสงค์สหรัฐฯ ลดลงมาก และผู้บริโภคสหรัฐฯ ยังคงชะลอการใช้จ่าย จะมีผลกระทบต่อการส่งออกของไทยเนื่องจาก สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญที่สุดของไทย โดยมีมูลค่ามากกว่าร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) นอกเหนือจากนี้ ภาวะของเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นคู่ค้าอื่นของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคที่อาจชะลอตัวลงตามทิศทางของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะทำให้อุปสงค์ในสินค้าไทยลดลงตามไปด้วย ผลกระทบของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ต่ออัตราแลกเปลี่ยนและระบบการเงิน
การลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยไทย / ภูมิภาคและสหรัฐฯ แคบลง ค่าเงินบาทและเงินในภูมิภาคสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อประเทศที่มีหนี้ต่างประเทศในสกุลดอลลาร์จำนวนมาก อย่างไรก็ดี ประเทศที่เศรษฐกิจอ่อนแอ ไม่น่าจะได้รับประโยชน์จากการลดอัตราดอกเบี้ยนี้มากนัก การปฏิรูประบบการเงินระหว่างประเทศ
ความไม่เสมอภาคของระบบการเงินระหว่างประเทศ
วิกฤตทางการเงินของเอเชียได้แสดงให้เห็นถึงอันตรายของการพึ่งพาเงินทุนและความล้มเหลวของระบบการเงินระหว่างประเทศที่ไม่มีกฎหมายหรือ องค์กรใด ที่กำกับดูแลและควบคุมการเคลื่อนย้ายของเงินทุน เกี่ยวกับเรื่องนี้ อังค์ถัดได้ให้ข้อคิดเห็นว่า ในปัจจุบัน การกำหนดมาตรการทางการเงินต่างๆ นั้น มีเพื่อควบคุมความประพฤตของประเทศลูกหนี้เพียงฝ่ายเดียว ทั้งๆ ที่วิกฤตทางการเงินของประเทศกำลังพัฒนาเกือบทั้งหมดนั้นเชื่อมโยงกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและนโยบายการเงินของประเทศเจ้าหนี้ เพื่อป้องกันการผันผวนที่เกิดจากอุปทานในตลาดเงินทุน อังค์ถัดจึงเสนอให้มีการกำหนดมาตรการเพื่อสร้างความโปร่งใสและควบคุมการให้กู้ยืมของประเทศเจ้าหนี้ด้วย
กลยุทธในการแก้ปัญหาวิกฤตทางการเงิน
เมื่อเกิดวิกฤตทางการเงิน อังค์ถัดแนะนำว่าไม่ควรตั้งความคาดหวังไว้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในการแก้ปัญหา เพราะยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า IMF เป็น องค์กรที่ไม่ได้เป็นกลาง ฉะนั้นเพื่อสร้างเสถียรภาพภายหลังจากเกิดวิกฤต ต้องมีการหยุดพักการชำระหนี้และ ยืดเวลาชำระหนี้ หลังจากนั้นประเทศที่ประสบปัญหาวิกฤตต้องใช้นโยบายเศรษฐกิจมหภาค ที่เหมาะสม มีสร้างสภาพคล่องที่พอเพียงเพื่อใช้เสริมฐานะเงินทุนสำรอง และมีการกระตุ้นให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการแก้ปัญหา
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : [email protected] จบ--
-อน-