กรุงเทพฯ--11 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (10 มกราคม 2544) นายรัฐกิจ มานะทัต รองอธิบดีกรมสารนิเทศและรองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ตามที่ทางการอิสราเอลได้ยกเลิกการลดหย่อนภาษีรายได้ในปีสองของแรงงานต่างชาติ เมื่อปี 2543 ซึ่งส่งผลให้แรงงานไทยซึ่งได้ไปทำงานอยู่ใน อิสราเอลเป็นปีที่สองจำนวน 10,000 คน ต้องจ่ายภาษีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดือนละ 148 เชคเกล (1,480 บาท) เป็น 400 เชคเกล (4000 บาท) และมีรายได้ลดลงเดือนละ 2,520 บาท หรือประมาณร้อยละ 12 นั้น นายโดมเดช บุนนาค เอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ พร้อมด้วยเอกอัคราชทูตของประเทศ ฟิลิปปินส์ จีน ตุรกี และโรมาเนีย ได้เข้าพบกับคณะกรรมาธิการแรงงานต่างประเทศของสภา Knesset อิสราเอล เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2543 และต่อมาได้ร่วมลงนามในหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอิสราเอล เพื่อให้พิจารณาทบทวนการยกเลิกการลดหย่อนภาษีรายได้ดังกล่าว ข้างต้น ต่อมา เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2544 คณะกรรมาธิการคลัง สภา Knesset อิสราเอล ได้ให้ความเห็นชอบร่างกฏระเบียบการให้สิทธิลดหย่อนภาษีรายได้แก่แรงงานต่างชาติปีที่สอง
รวมทั้ง แรงงานไทย โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2544-2545 รวมระยะเวลา 2 ปี ซึ่งระเบียบใหม่นี้จะส่งผลให้แรงงานไทยปีที่สองจำนวนประมาณ 10,000 คนมีรายได้เพิ่มขึ้นคนละ 3,760 บาทต่อเดือน หรือเท่ากับ 30,080 บาทต่อระยะการทำงานในปีที่สอง คือ 8 เดือน (อายุสัญญาจ้างในช่วงระยะเวลา 2 ปีโดยปกติกำหนดไว้ 20 เดือน) ทั้งนี้ ประมาณว่า แรงงานไทยปีที่สองสำหรับปี 2544-2545 จะมีรายได้เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 300 ล้านบาท รวม 2 ปีเป็นเงินประมาณ 600 ล้านบาท นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ยังได้ร้องเรียนไปยังกระทรวง แรงงานของอิสราเอลถึงความไม่เป็นธรรมในส่วนของการเรียกเก็บค่าเช่าที่พักแรงงานไทย ซึ่งส่งผล ให้ทางการอิสราเอลออกระเบียบเรื่องที่พักแรงงานต่างชาติ กำหนดให้นายจ้างหักค่าที่พักจากแรงงานตามอัตราในแต่ละภูมิภาค ทำให้ค่าเช่าที่พักมีอัตราเฉลี่ยลดลง 1 เท่าตัว หรือประมาณเดือนละ 350 เชคเกล (3,500 บาท) ต่อคน จากเดิมที่แรงงานไทยต้องเสียค่าเช่าเดือนละ 740 เชคเกล (7,400 บาท) การเรียกร้องดังกล่าวของสถานเอกอัครราชทูตฯ ทำให้แรงงานไทยสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและมีรายได้เพิ่มขึ้นคนละ 3,900 บาทต่อเดือน หรือ 78,000 บาท ต่อระยะการทำงานตามสัญญาจ้างเฉลี่ย 20 เดือน ดังนั้นจึงประมาณการได้ว่า แรงงานไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเกษตรจำนวนประมาณ 18,000 คน สามารถมีรายได้เพิ่มขึ้นรวมเป็นเงินประมาณ 1,400 ล้านบาท (สำหรับการทำงาน 20 เดือนตามสัญญาจ้าง)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : [email protected] จบ--
-อน-
วันนี้ (10 มกราคม 2544) นายรัฐกิจ มานะทัต รองอธิบดีกรมสารนิเทศและรองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ตามที่ทางการอิสราเอลได้ยกเลิกการลดหย่อนภาษีรายได้ในปีสองของแรงงานต่างชาติ เมื่อปี 2543 ซึ่งส่งผลให้แรงงานไทยซึ่งได้ไปทำงานอยู่ใน อิสราเอลเป็นปีที่สองจำนวน 10,000 คน ต้องจ่ายภาษีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดือนละ 148 เชคเกล (1,480 บาท) เป็น 400 เชคเกล (4000 บาท) และมีรายได้ลดลงเดือนละ 2,520 บาท หรือประมาณร้อยละ 12 นั้น นายโดมเดช บุนนาค เอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ พร้อมด้วยเอกอัคราชทูตของประเทศ ฟิลิปปินส์ จีน ตุรกี และโรมาเนีย ได้เข้าพบกับคณะกรรมาธิการแรงงานต่างประเทศของสภา Knesset อิสราเอล เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2543 และต่อมาได้ร่วมลงนามในหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอิสราเอล เพื่อให้พิจารณาทบทวนการยกเลิกการลดหย่อนภาษีรายได้ดังกล่าว ข้างต้น ต่อมา เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2544 คณะกรรมาธิการคลัง สภา Knesset อิสราเอล ได้ให้ความเห็นชอบร่างกฏระเบียบการให้สิทธิลดหย่อนภาษีรายได้แก่แรงงานต่างชาติปีที่สอง
รวมทั้ง แรงงานไทย โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2544-2545 รวมระยะเวลา 2 ปี ซึ่งระเบียบใหม่นี้จะส่งผลให้แรงงานไทยปีที่สองจำนวนประมาณ 10,000 คนมีรายได้เพิ่มขึ้นคนละ 3,760 บาทต่อเดือน หรือเท่ากับ 30,080 บาทต่อระยะการทำงานในปีที่สอง คือ 8 เดือน (อายุสัญญาจ้างในช่วงระยะเวลา 2 ปีโดยปกติกำหนดไว้ 20 เดือน) ทั้งนี้ ประมาณว่า แรงงานไทยปีที่สองสำหรับปี 2544-2545 จะมีรายได้เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 300 ล้านบาท รวม 2 ปีเป็นเงินประมาณ 600 ล้านบาท นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ยังได้ร้องเรียนไปยังกระทรวง แรงงานของอิสราเอลถึงความไม่เป็นธรรมในส่วนของการเรียกเก็บค่าเช่าที่พักแรงงานไทย ซึ่งส่งผล ให้ทางการอิสราเอลออกระเบียบเรื่องที่พักแรงงานต่างชาติ กำหนดให้นายจ้างหักค่าที่พักจากแรงงานตามอัตราในแต่ละภูมิภาค ทำให้ค่าเช่าที่พักมีอัตราเฉลี่ยลดลง 1 เท่าตัว หรือประมาณเดือนละ 350 เชคเกล (3,500 บาท) ต่อคน จากเดิมที่แรงงานไทยต้องเสียค่าเช่าเดือนละ 740 เชคเกล (7,400 บาท) การเรียกร้องดังกล่าวของสถานเอกอัครราชทูตฯ ทำให้แรงงานไทยสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและมีรายได้เพิ่มขึ้นคนละ 3,900 บาทต่อเดือน หรือ 78,000 บาท ต่อระยะการทำงานตามสัญญาจ้างเฉลี่ย 20 เดือน ดังนั้นจึงประมาณการได้ว่า แรงงานไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเกษตรจำนวนประมาณ 18,000 คน สามารถมีรายได้เพิ่มขึ้นรวมเป็นเงินประมาณ 1,400 ล้านบาท (สำหรับการทำงาน 20 เดือนตามสัญญาจ้าง)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : [email protected] จบ--
-อน-