กรุงเทพฯ--12 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (10 ตุลาคม 2544) นายรัฐกิจ มานะทัต อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีมีกำหนดเดินทางไปเยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 12-13 ตุลาคม ศกนี้ โดยนางกลอเรีย มาคาปากาล อาร์โรโย ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ จะเป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงอาหารค่ำในวันที่ 12 ตุลาคม 2544 สำหรับในวันที่ 13 ตุลาคม 2544 นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการพบปะคนไทย และมีกำหนดเข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารกลางวันกับสภานักธุรกิจฟิลิปปินส์ -ไทย
สำหรับการหารือทวิภาคีนั้นจะครอบคลุมเรื่องการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ความร่วมมือในเอเชีย-แปซิฟิก ในการรับมือกับการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของภูมิภาค รวมทั้ง Asia Cooperation Dialogue (ACD) ซึ่งเป็นข้อเสนอของ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่จะให้มีการจัดการประชุมแบบ informal meeting เพื่อให้มีการหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างกันสำหรับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศในภูมิภาคเอเชีย นอกจากนั้น จะมีการลงนามสนธิสัญญาการโอนตัวผู้ต้องคำพิพากษาและความร่วมมือในการบังคับการตามคำพิพากษาในคดีอาญา โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของฟิลิปปินส์ และการลงนามต่ออายุ “สภาธุรกิจไทย-ฟิลิปปินส์” และ “สภาธุรกิจฟิลิปปินส์-ไทย” เป็นระยะเวลา 2 ปี (ตุลาคม 2544 - กันยายน 2546)
สำหรับความสัมพันธ์กับประเทศไทยนั้น ทั้งสองฝ่ายสถาปนาความสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2492 โดยมีกลไกในการดำเนินความสัมพันธ์โดยใช้คณะกรรมาธิการร่วม (JC) ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536 และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วมกัน และมีการประชุมมาแล้ว 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 4 ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม
ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ฟิลิปปินส์ ดำเนินไปอย่างราบรื่น และใกล้ชิดมาเป็นเวลานานโดยในปัจจุบันมีความร่วมมือด้านการทหารอย่างใกล้ชิด เช่น การแลกเปลี่ยนนักเรียนนายร้อย นายทหารเข้ารับการอบรม และแลกเปลี่ยนการดูงานของนักศึกษา รวมถึงการสัมมนาแลกเปลี่ยน ข่าวกรองทางทหาร และการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างผู้นำเหล่าทัพ นอกจากนี้ ได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนผู้นำของทั้งสองประเทศอย่างสม่ำเสมอ โดยล่าสุดนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้เดินทางเยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ เมื่อเดือนมิถุนายน 2542 เพื่อร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-ฟิลิปปินส์ และได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอด อาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่ 3 ที่กรุงมะนิลา เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2542 นายโจเซฟ เอกสตราดา ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ในขณะนั้น ได้เดินทางเยือนประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมการประชุม UNCTAD ครั้งที่ 10 เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2543
สำหรับมูลค่าการลงทุนของไทยในฟิลิปปินส์ในปี 2543 มีประมาณ 500 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนในด้านการโรงแรม ร้านอาหารและการบริการธุรกิจ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม การท่องเที่ยว เป็นต้น
ในด้านการค้า ฟิลิปปินส์เป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 15 ของไทย (รองจากสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย) ในช่วงปี 2539-2543 มีมูลค่าการค้ารวมโดยเฉลี่ยปีละ 1558.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในปี 2543 ทั้งสองฝ่ายมีมูลค่าการค้ารวม 2196.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 มูลค่าการค้าคิดเป็น 1,111.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 จากช่วงเดียวกันของปี 2543 โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ากับฟิลิปปินส์
- สินค้านำเข้าจากไทย มีอุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องสำอาง สบู่ ผลิตภัณฑ์รักษาผิว แผงวงจรไฟฟ้า เม็ดพลาสติก ยานพาหนะ ส่วนประกอบมอเตอร์และ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
- สินค้าส่งออกมาไทย ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ โครงรถและตัวถัง เครื่องจักรไฟฟ้า สินแร่โลหะและเศษโลหะ เป็นต้น
ในด้านความช่วยเหลือด้านวิชาการ ไทยได้จัดทุนการฝึกอบรมให้แก่บุคคลากรของ ฟิลิปปินส์ในสาขาต่างๆ คือ การเกษตร การประมง สิ่งแวดล้อม สุขอนามัย และได้เคยให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าแก่ฟิลิปปินส์ ในการบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติ นอกจากนี้ ได้ให้เงินช่วยเหลือ 30 ล้านบาท เพื่อจัดตั้งศูนย์เก็บรักษาและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : [email protected] จบ--
-อน-
วันนี้ (10 ตุลาคม 2544) นายรัฐกิจ มานะทัต อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีมีกำหนดเดินทางไปเยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 12-13 ตุลาคม ศกนี้ โดยนางกลอเรีย มาคาปากาล อาร์โรโย ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ จะเป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงอาหารค่ำในวันที่ 12 ตุลาคม 2544 สำหรับในวันที่ 13 ตุลาคม 2544 นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการพบปะคนไทย และมีกำหนดเข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารกลางวันกับสภานักธุรกิจฟิลิปปินส์ -ไทย
สำหรับการหารือทวิภาคีนั้นจะครอบคลุมเรื่องการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ความร่วมมือในเอเชีย-แปซิฟิก ในการรับมือกับการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของภูมิภาค รวมทั้ง Asia Cooperation Dialogue (ACD) ซึ่งเป็นข้อเสนอของ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่จะให้มีการจัดการประชุมแบบ informal meeting เพื่อให้มีการหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างกันสำหรับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศในภูมิภาคเอเชีย นอกจากนั้น จะมีการลงนามสนธิสัญญาการโอนตัวผู้ต้องคำพิพากษาและความร่วมมือในการบังคับการตามคำพิพากษาในคดีอาญา โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของฟิลิปปินส์ และการลงนามต่ออายุ “สภาธุรกิจไทย-ฟิลิปปินส์” และ “สภาธุรกิจฟิลิปปินส์-ไทย” เป็นระยะเวลา 2 ปี (ตุลาคม 2544 - กันยายน 2546)
สำหรับความสัมพันธ์กับประเทศไทยนั้น ทั้งสองฝ่ายสถาปนาความสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2492 โดยมีกลไกในการดำเนินความสัมพันธ์โดยใช้คณะกรรมาธิการร่วม (JC) ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536 และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วมกัน และมีการประชุมมาแล้ว 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 4 ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม
ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ฟิลิปปินส์ ดำเนินไปอย่างราบรื่น และใกล้ชิดมาเป็นเวลานานโดยในปัจจุบันมีความร่วมมือด้านการทหารอย่างใกล้ชิด เช่น การแลกเปลี่ยนนักเรียนนายร้อย นายทหารเข้ารับการอบรม และแลกเปลี่ยนการดูงานของนักศึกษา รวมถึงการสัมมนาแลกเปลี่ยน ข่าวกรองทางทหาร และการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างผู้นำเหล่าทัพ นอกจากนี้ ได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนผู้นำของทั้งสองประเทศอย่างสม่ำเสมอ โดยล่าสุดนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้เดินทางเยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ เมื่อเดือนมิถุนายน 2542 เพื่อร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-ฟิลิปปินส์ และได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอด อาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่ 3 ที่กรุงมะนิลา เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2542 นายโจเซฟ เอกสตราดา ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ในขณะนั้น ได้เดินทางเยือนประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมการประชุม UNCTAD ครั้งที่ 10 เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2543
สำหรับมูลค่าการลงทุนของไทยในฟิลิปปินส์ในปี 2543 มีประมาณ 500 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนในด้านการโรงแรม ร้านอาหารและการบริการธุรกิจ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม การท่องเที่ยว เป็นต้น
ในด้านการค้า ฟิลิปปินส์เป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 15 ของไทย (รองจากสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย) ในช่วงปี 2539-2543 มีมูลค่าการค้ารวมโดยเฉลี่ยปีละ 1558.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในปี 2543 ทั้งสองฝ่ายมีมูลค่าการค้ารวม 2196.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 มูลค่าการค้าคิดเป็น 1,111.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 จากช่วงเดียวกันของปี 2543 โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ากับฟิลิปปินส์
- สินค้านำเข้าจากไทย มีอุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องสำอาง สบู่ ผลิตภัณฑ์รักษาผิว แผงวงจรไฟฟ้า เม็ดพลาสติก ยานพาหนะ ส่วนประกอบมอเตอร์และ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
- สินค้าส่งออกมาไทย ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ โครงรถและตัวถัง เครื่องจักรไฟฟ้า สินแร่โลหะและเศษโลหะ เป็นต้น
ในด้านความช่วยเหลือด้านวิชาการ ไทยได้จัดทุนการฝึกอบรมให้แก่บุคคลากรของ ฟิลิปปินส์ในสาขาต่างๆ คือ การเกษตร การประมง สิ่งแวดล้อม สุขอนามัย และได้เคยให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าแก่ฟิลิปปินส์ ในการบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติ นอกจากนี้ ได้ให้เงินช่วยเหลือ 30 ล้านบาท เพื่อจัดตั้งศูนย์เก็บรักษาและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : [email protected] จบ--
-อน-