กรุงเทพฯ--25 พ.ค.-กระทรวงการต่างประเทศ
ผลการประชุมเฉพาะกิจผู้เชี่ยวชาญอาวุโสของอาเซียนว่าด้วยกับร่างอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ (Draft UN Convention against Transnational Organized Crime)
ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเฉพาะกิจผู้เชี่ยวชาญอาวุโสของอาเซียน ระหว่างวันที่ 22-24 พฤษภาคม 2543 ที่กรุงเทพฯ การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาและหารือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับร่างอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ (Draft UN Convention against Transnational Organized Crime) และพิธีสาร 3 ฉบับ เรื่องการลักลอบค้ามนุษย์โดยเฉพาะผู้หญิงและเด็ก การลักลอบผลิตและขนอาวุธปืน และการลักลอบผู้อพยพ ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนที่เข้าร่วมสัมมนาระดับรัฐมนตรีเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยการเสริมสร้างศักยภาพในการต่อต้านอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติ เมื่อวันที่ 20-21 มีนาคม 2543 ที่กรุงเทพฯ ได้แสดงความปรารถนาที่จะให้มีการประชุมระหว่างประเทศอาเซียนในเรื่องดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง เพื่อพิจารณาท่าทีและบทบาทของอาเซียนในการเข้าร่วมในกระบวนการเจรจาจัดทำร่างอนุสัญญาฯและพิธีสารในที่ประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อพิจารณาจัดทำอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติ ที่กรุงเวียนนา ในครั้งต่อ ๆ ไป ซึ่งในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของอาเซียนในระหว่างการประชุม UN Congress on Crime Prevention and Treatment of Offenders ครั้งที่ 10 ณ กรุงเวียนนา ได้ตกลงที่จะจัดการประชุมเฉพาะกิจผู้เชี่ยวชาญอาวุโสของอาเซียน ที่กรุงเทพฯ นอกจากนี้ ที่ประชุมครั้งนี้ยังถือเป็นโอกาสที่อาเซียนจะได้สร้างชื่อและผลงานในด้านที่เกี่ยวกับการต่อต้านอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติ
ประเทศไทยและอาเซียนตระหนักดีถึงอันตรายของอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติที่นับวันจะทวีความรุนแรงยิ่ง่ขึ้น และเห็นว่าไม่มีประเทศใดในโลกที่จะปลอดภัยจากอาชญากรรมประเภทนี้ซึ่งทำลายสังคม ระบบการเมือง และโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น เพื่อให้การต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่มีความสำคัญยิ่งขึ้นในยุคโลกาภิวัฒน์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประเทศต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องมีความร่วมมือและการดำเนินการที่สอดประสานกันทั้งในระดับระหว่างประเทศและระดับภูมิภาค
ในการประชุมครั้งนี้ นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม โดยมีผู้แทนประเทศอาเซียนเข้าร่วมประชุมครบทั้ง 10 ประเทศ รวมทั้งผู้แทนจากสำนักเลขาธิการอาเซียน ที่ประชุมได้รับฟังการบรรยายสรุปจากนาย Jean-Paul Laborde เจ้าหน้าที่อาวุโสของสำนักงานสหประชาชาติว่าด้วยการควบคุมยาเสพติดและป้องกันอาชญากรรม ที่กรุงเวียนนา เกี่ยวกับภูมิหลังและความคืบหน้าในการเจรจาจัดทำอนุสัญญาฯ นาย Laborde ได้แจ้งที่ประชุมว่า คณะกรรมการเฉพาะกิจฯ จะต้องพิจารณาจัดทำร่างอนุสัญญาฯ ให้แล้วเสร็จภายในการประชุมอีก 2 ครั้งที่จะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม 2543 เพื่อให้สามารถเสนอร่างอนุสัญญาฯ ฉบับนี้สู่การรับรองของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติในปีนี้ พิธีลงนามในอนุสัญญาฯ จะจัดขึ้น ณ เมืองปาเลอโม ประเทศอิตาลี ภายในเดือนธันวาคมปีนี้ ทั้งนี้คณะกรรมการเฉพาะกิจฯ จะจัดการประชุมในเดือนตุลาคม 2543 เพื่อพิจารณาจัดทำพิธีสารทั้ง 3 ฉบับ ให้แล้วเสร็จ
นาย Mathew Joseph (ผู้แทนสิงคโปร์) และนายวันชัย รุจนวงศ์ อัยการผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้เข้าร่วมการประชุมของคณะกรรมการเฉพาะกิจฯ มาอย่างต่อเนื่อง ได้ร่วมให้ข้อคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ได้จากการเจรจาจัดทำร่างอนุสัญญาฯ และพิธีสารแก่ที่ประชุมด้วย ที่ประชุมได้หารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นอย่างกว้างขวางในประเด็นสำคัญ 3 เรื่อง ได้แก่ ขอบเขตของอนุสัญญาฯ และพิธีสาร ข้อบทของอนุสัญญาฯ เกี่ยวกับการฟอกเงิน และการปฏิบัติตามข้อบทของอนุสัญญาฯ และพิธีสาร
ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่าเพื่อให้อนุสัญญาฯ และพิธีสารเป็นตราสารทางกฎหมายที่สามารถใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องส่งเสริมและสร้างความร่วมมือในรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งได้แก่ มาตรการความร่วมมือระหว่างประเทศทางศาล ความร่วมมือในการใช้บังคับกฎหมาย การส่งผู้ร้ายข้ามแดน และความให้ช่วยเหลือทางกฎหมายร่วมกัน
ที่ประชุมยังได้ย้ำถึงคำมั่นของอาเซียนตามที่ประกาศไว้ในปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยอาชญากรรมข้ามชาติเมื่อปี 2540 และย้ำถึงแผนปฏิบัติงานของอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมระดับรัฐมนตรีของอาเซียนเกี่ยวกับอาชญากรรมข้ามชาติที่พม่าเมื่อปี 2542 นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ย้ำถึงคำมั่นทางการเมืองที่จะต่อต้านอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติ และการสนับสนุนอย่างแข็งขันต่อการทำงานของคณะกรรมการเฉพาะกิจฯ ตามที่ระบุในถ้อยแถลงร่วมระดับรัฐมนตรีเอเชีย-แปซิฟิก โดยที่ประชุมตระหนักว่ามีความจำเป็นต้องเร่งรัดกระบวนการเจรจาจัดทำอนุสัญญาฯ และพิธีสารดังกล่าวให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ที่ประชุมยังได้พิจารณาจัดทำข้อเสนอแนะต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรีของอาเซียนในเดือนกรกฎาคม 2543 เพื่อแสดงถึงคำมั่นของอาเซียนที่จะร่วมมือกับประชาคมโลกในการต่อสู้กับอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติอีกด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : [email protected] จบ--
-อน-
ผลการประชุมเฉพาะกิจผู้เชี่ยวชาญอาวุโสของอาเซียนว่าด้วยกับร่างอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ (Draft UN Convention against Transnational Organized Crime)
ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเฉพาะกิจผู้เชี่ยวชาญอาวุโสของอาเซียน ระหว่างวันที่ 22-24 พฤษภาคม 2543 ที่กรุงเทพฯ การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาและหารือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับร่างอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ (Draft UN Convention against Transnational Organized Crime) และพิธีสาร 3 ฉบับ เรื่องการลักลอบค้ามนุษย์โดยเฉพาะผู้หญิงและเด็ก การลักลอบผลิตและขนอาวุธปืน และการลักลอบผู้อพยพ ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนที่เข้าร่วมสัมมนาระดับรัฐมนตรีเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยการเสริมสร้างศักยภาพในการต่อต้านอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติ เมื่อวันที่ 20-21 มีนาคม 2543 ที่กรุงเทพฯ ได้แสดงความปรารถนาที่จะให้มีการประชุมระหว่างประเทศอาเซียนในเรื่องดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง เพื่อพิจารณาท่าทีและบทบาทของอาเซียนในการเข้าร่วมในกระบวนการเจรจาจัดทำร่างอนุสัญญาฯและพิธีสารในที่ประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อพิจารณาจัดทำอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติ ที่กรุงเวียนนา ในครั้งต่อ ๆ ไป ซึ่งในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของอาเซียนในระหว่างการประชุม UN Congress on Crime Prevention and Treatment of Offenders ครั้งที่ 10 ณ กรุงเวียนนา ได้ตกลงที่จะจัดการประชุมเฉพาะกิจผู้เชี่ยวชาญอาวุโสของอาเซียน ที่กรุงเทพฯ นอกจากนี้ ที่ประชุมครั้งนี้ยังถือเป็นโอกาสที่อาเซียนจะได้สร้างชื่อและผลงานในด้านที่เกี่ยวกับการต่อต้านอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติ
ประเทศไทยและอาเซียนตระหนักดีถึงอันตรายของอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติที่นับวันจะทวีความรุนแรงยิ่ง่ขึ้น และเห็นว่าไม่มีประเทศใดในโลกที่จะปลอดภัยจากอาชญากรรมประเภทนี้ซึ่งทำลายสังคม ระบบการเมือง และโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น เพื่อให้การต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่มีความสำคัญยิ่งขึ้นในยุคโลกาภิวัฒน์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประเทศต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องมีความร่วมมือและการดำเนินการที่สอดประสานกันทั้งในระดับระหว่างประเทศและระดับภูมิภาค
ในการประชุมครั้งนี้ นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม โดยมีผู้แทนประเทศอาเซียนเข้าร่วมประชุมครบทั้ง 10 ประเทศ รวมทั้งผู้แทนจากสำนักเลขาธิการอาเซียน ที่ประชุมได้รับฟังการบรรยายสรุปจากนาย Jean-Paul Laborde เจ้าหน้าที่อาวุโสของสำนักงานสหประชาชาติว่าด้วยการควบคุมยาเสพติดและป้องกันอาชญากรรม ที่กรุงเวียนนา เกี่ยวกับภูมิหลังและความคืบหน้าในการเจรจาจัดทำอนุสัญญาฯ นาย Laborde ได้แจ้งที่ประชุมว่า คณะกรรมการเฉพาะกิจฯ จะต้องพิจารณาจัดทำร่างอนุสัญญาฯ ให้แล้วเสร็จภายในการประชุมอีก 2 ครั้งที่จะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม 2543 เพื่อให้สามารถเสนอร่างอนุสัญญาฯ ฉบับนี้สู่การรับรองของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติในปีนี้ พิธีลงนามในอนุสัญญาฯ จะจัดขึ้น ณ เมืองปาเลอโม ประเทศอิตาลี ภายในเดือนธันวาคมปีนี้ ทั้งนี้คณะกรรมการเฉพาะกิจฯ จะจัดการประชุมในเดือนตุลาคม 2543 เพื่อพิจารณาจัดทำพิธีสารทั้ง 3 ฉบับ ให้แล้วเสร็จ
นาย Mathew Joseph (ผู้แทนสิงคโปร์) และนายวันชัย รุจนวงศ์ อัยการผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้เข้าร่วมการประชุมของคณะกรรมการเฉพาะกิจฯ มาอย่างต่อเนื่อง ได้ร่วมให้ข้อคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ได้จากการเจรจาจัดทำร่างอนุสัญญาฯ และพิธีสารแก่ที่ประชุมด้วย ที่ประชุมได้หารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นอย่างกว้างขวางในประเด็นสำคัญ 3 เรื่อง ได้แก่ ขอบเขตของอนุสัญญาฯ และพิธีสาร ข้อบทของอนุสัญญาฯ เกี่ยวกับการฟอกเงิน และการปฏิบัติตามข้อบทของอนุสัญญาฯ และพิธีสาร
ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่าเพื่อให้อนุสัญญาฯ และพิธีสารเป็นตราสารทางกฎหมายที่สามารถใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องส่งเสริมและสร้างความร่วมมือในรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งได้แก่ มาตรการความร่วมมือระหว่างประเทศทางศาล ความร่วมมือในการใช้บังคับกฎหมาย การส่งผู้ร้ายข้ามแดน และความให้ช่วยเหลือทางกฎหมายร่วมกัน
ที่ประชุมยังได้ย้ำถึงคำมั่นของอาเซียนตามที่ประกาศไว้ในปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยอาชญากรรมข้ามชาติเมื่อปี 2540 และย้ำถึงแผนปฏิบัติงานของอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมระดับรัฐมนตรีของอาเซียนเกี่ยวกับอาชญากรรมข้ามชาติที่พม่าเมื่อปี 2542 นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ย้ำถึงคำมั่นทางการเมืองที่จะต่อต้านอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติ และการสนับสนุนอย่างแข็งขันต่อการทำงานของคณะกรรมการเฉพาะกิจฯ ตามที่ระบุในถ้อยแถลงร่วมระดับรัฐมนตรีเอเชีย-แปซิฟิก โดยที่ประชุมตระหนักว่ามีความจำเป็นต้องเร่งรัดกระบวนการเจรจาจัดทำอนุสัญญาฯ และพิธีสารดังกล่าวให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ที่ประชุมยังได้พิจารณาจัดทำข้อเสนอแนะต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรีของอาเซียนในเดือนกรกฎาคม 2543 เพื่อแสดงถึงคำมั่นของอาเซียนที่จะร่วมมือกับประชาคมโลกในการต่อสู้กับอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติอีกด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : [email protected] จบ--
-อน-